Proceedings มหกรรมจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งที่ ๒ (๔๖)_๒


ความรู้ระหว่างทาง
         ตั้งแต่ 1 เดือนกระทั่ง 1 ปี (พค. 46 – เม.ย.47 )ของการเรียนรู้เรื่องดิน เกิดความรู้งอกเงยขึ้นเป็นลำดับ พวกเขารู้ว่าดินเสียเพราะอะไร ทำอย่างไรให้ดินดี และจะปลูกอะไรให้เอื้อประโยชน์แก่ดิน ความรู้เหล่านี้เปรียบเสมือนขุมทรัพย์อันมีค่าของเกษตรกร อาทิ ชุดความรู้เรื่องการพัฒนาดิน ในแบบต่างซึ่งแต่ละฐานการเรียนรู้ได้ลองผิดลองถูกมาหลายครั้งกระทั่งเป็นคลังความรู้  เช่น
1.ชุดความรู้เรื่องการปลูกพืชคลุมดิน การปลูกไม้ยืนต้นเพื่อให้ล่มเงา และเพื่ออาศัยใบไม้กิ่งไม้ที่ร่างหล่นทับถมลงดินเป็นการคืนธาตุอาหารให้กับดิน
 2.ชุดความรู้เรื่องการสร้างหน้าดินโดยใช้ใบไม้กั่งไม้ และมูลสัตว์กองเป็นชั้นแล้วทดลองปลูกพืช
 3.ชุดความรู้เรื่องการปรับปรุงดินโดยใช้ต้นไม้ที่ทนแล้งเป็นตัวเบิกนำ แล้วไถกลบคืนคุณค่าให้กับกิน
 4.ชุดความรู้เรื่องการขุดหลุมรองหลุมด้วยอินทรีย์ก่อนปลูกพืช
 5.ชุดความรู้เรื่องการปรับหน้าดินก่อนปลูกพืชโดยรองอินทรีย์วัตถุไว้ใต้ดินเพื่อเป็นคลังอาหารให้กับต้นไม้
 6.ชุดความรู้เรื่องการปลูกไม้ใหญ่และไม้ล้มลุกไว้คู่กันเพื่ออาศัยร่มเงาซึ่งกันและกัน
 7.ชุดความรู้เรื่องปลูกพืชอะไรก็ได้ แต่ให้ปลูกหลายๆ ชนิด และอย่าปลูกซ้ำๆ กันบนผืนดินเดิม
 8.ชุดความรู้เรื่องคุณลักษณะของดินดี และดินไม่ดี ซึ่งมีวิธีการพิสูจน์ที่แตกต่างกัน
 9.ชุดความรู้เรื่องเทคนิคการทำการเกษตรเช่น เทคนิคการทำให้กล้วยผลใหญ่โดยการตัดหัวปลี หรือเทคนิคการทำให้ผักหวานแตกยอดได้ดีเป็นต้น
 10. ชุดความรู้เรื่องกระสัง ที่ชาวบ้านค้นพบว่าเป็นไม้ยืนต้นตระกูลมะนาว ที่อดทนต่อความแห้งแล้งและมีรากลึกชอนไชหาอาหารเก่ง จึงทดลองนำมะนาว และพืชในตระกูลเดียวกันมาทาบกิ่ง จนพบว่ามะนาวบนต้นกระสังสามารถออกผลให้เก็บได้ทั้งปี 
  
ระบบการปูนบำเหน็จความดีความชอบ
         สำหรับเทคนิคในการสร้างกำลังใจซึ่งกันและกันในการเรียนรู้ของ สมาชิกฟ้าสู่ดิน ก็คือ การปูนบำเหน็ดความดีความชอบ ซึ่งมิใช่ทรัพย์ที่ประเมินค่า หากแต่เป็นการได้รับการยอมรับจากเพื่อนๆ การมีบทบาทในองค์กรมากขึ้น และการได้ปรากฎภาพในสื่อต่างๆ ถือได้ว่าเป็นการยกย่องทางอ้อมที่เจ้าตัวภูมิใจ สิ่งเหล่านี้เป็นแรงกระตุ้นศักยภาพที่ซ่อนเร้นให้เผยโฉมออกมา สังเกตเห็นได้จากความแข็งขัน และความเชื่อมั่นทั้งตนเอง และเพื่อนสมาชิกที่เพิ่มขึ้นมาตามลำดับ 

เวทีปันผลความรู้  
         เป็นกิจกรรมหนึ่งของโครงการ ที่เปิดโอกาสให้แต่ละฐานการเรียนรู้ ที่อยู่กันอย่างกระจัดกระจาย เพราะแยกย้ายไปทดลองทำจริง เรียนรู้จริง ในท้องถิ่น ได้นำความรู้ที่ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน เกิดเป็นความรู้ใหมที่ไหลเวียนงอกเงิอยเพิ่มพูน ให้กับสมาชิกได้นำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่ดินของตนเอง

         โครงการนี้จึงเป็นการวิจัยและพัฒนาเชิงบูรณาการ ที่เป็นรูปธรรมในลักษณะย้อนศร ชาวชนบท ที่ต้องการความรู้เป็นของตนเอง เพื่อใช้สำหรับพัฒนาวิถีชีวิตและอาชีพให้ทันต่อสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลง  การจัดการความรู้เรื่องดินของสมาชิกโครงการ ฟ้าสู่ดิน ทำให้ได้ชุดความรู้เรื่องดินชุดใหม่ที่เป็นความต้องการของชาวบ้านอย่างแท้จริง ทั้งเป็นการประสานความรู้จากทุกส่วน คือจากชาวบ้านและนักวิชาการก่อเกิดเป็นวัฒนธรรมการเรียนรู้ ของการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้  
         ฉะนั้นผลของการจัดการความรู้ที่ถูกต้องที่สุดสำหรับชาวบ้านก็คือ อยู่ดีกินดี มีความสุข ด้วยความคิดไม่ติดกรอบ การเรียนรู้ของชาวฟ้าสู่ดินจึงเลื่อนไหลและหมุนเวียนไปอย่างไม่หยุดนิ่ง และกำลังย่างก้าวเข้าสู่การจัดการความรู้ที่ยกระดับขั้นไปอีก 1 ขั้น โดยเน้นความรู้ที่นำไปขยายต่อเชื่อมกับองค์กรเครือข่ายให้มากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งพยายามสร้างคุณอำนวยใหม่ๆ  ภายใต้ฐานการเรียนรู้ที่เพิ่มมากขึ้นเป็น 10 ฐาน เพื่อขยายกิจกรรมการจัดการความรู้ที่สร้างพลังในการพัฒนาชุมชนยั่งยืนต่อไป
    

ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์
34 ปากช่อง ต.สนามชัย อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ กรุงเทพฯ 31150
โทร.044-782-313
มือถือ 01-7601337
แฟกซ์ 044-681-220
E-mail :
[email protected]

หมายเลขบันทึก: 19244เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2006 09:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ชุดความรู้ต่างๆมีรวบรวมเป็นเล่มเพื่อจำหน่ายหรือไม่ เช่น ชุดความรู้การจัดการดิน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท