การจัดการความรู้อย่างสร้างสรรค์


พนักงานระดับกลาง..คือพลังขับเคลื่อนขององค์กร(middle-up-down management)

  ได้อ่าน.วิธีการจัดความรู้ในองค์กร..ตามแนวทางของ nonaka   & Takeuchi ของคุณหมอวิจารณ์ ทำให้เข้าใจเรื่องนี้มากยิ่งขึ้น..ขณะนี้พวกเราทุกหน่วยงานราชการ ในจังหวัดชุมพร มีการพัฒนาระบบบริหารจัดการความรู้ในองค์กร..บางหน่วยงานก็ทำมาสองปีแล้ว..หน่วยงานเช่น กศน. เราเพิ่งเริ่มนำ KM  มาใช้  เพื่อการเข้าถึงข้อมูล.ที่สร้างเป็นความรู้ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกองค์การทีมงาน KM รวมทั้งผู้บริหารต่างก็ร่วมกันสร้างบรรยากาศและวัฒนธรรมการเรียนรู้..ภายในองค์กร

     ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 11 ได้กำหนดภารกิจของการพัฒนาความรู้ภายในจังหวัด เพื่อให้มีลักษณะองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ..โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลความรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารราชการได้อย่างถูกต้อง.. รวดเร็วเหมาะสมกับสถานการณ์..รวมทั้งต้องส่งเสริมความรู้ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์ และปรับเปลี่ยนทัศนคติข้าราชการในสังกัด  ให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ มีการเรียนรู้ร่วมกัน..ในระยะแรก.พวกเราก็มีความรู้สึกว่า การนำ KM เปรียบเสมือนการทำงาน ตามนโยบายหน่วยเหนือ..เราขาดความตระหนัก..ซึ่งก็เหมือนเวลาเราไปสอนนักศึกษาผู้ใหญ่ของเรา..เราก็พบว่าการสร้างความตระหนักนั้นทำได้ยาก แต่ถ้าผ่านวัตถประสงค์..ข้อนี้แล้ว ทุกอย่างก็ทำได้ง่าย..อาจารย์ที่สอนพวกเราท่านก็ใจเย็น..เข้าใจข้าราชการอย่างพวกเรา..รวมทั้งมีผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านทั้งในและนอกจังหวัดก็คอยแนะแนว ให้กำลังใจ เช่น อ.เทียมพบ  อ.ไอศูรย์   พวกเราข้าราชการในจังหวัดชุมพรต่างก็มีกำลังใจที่จะร่วมกันพัฒนาองค์กร รวมทั้งพัฒนาตัวเองมากขึ้น..อ่านหนังสือ..อ่านข้อเขียนของผู้อื่นมากขึ้น..ยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นมากขึ้น..อย่างเช่นบทความที่อ่านข้างต้น..ได้บอกว่า..ในตำราของการจัดการนั้นมักเอ่ยถึงวิธีการจัดการแบบบนลงล่าง หรือไม่ก็ล่างขึ้นบน..แต่รูปแบบของการจัดการองค์กรที่เหมาะสมต่อการจัการความรู้นั้นคือแบบ กลาง-ขึ้น-ลง(middle-up-down`) เน้นการใช้พนักงานหรือผู้บริหารระดับกลาวงในการขับเคลื่อน ยุคของการจัดการความรู้ ผู้บริหารระดับกลางจะเป็นกำลังหลัก ในการเชื่อมโยงให้เกิดการจัดการความรู้ที่ทรงพลัง และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กร..มุมมองแบบนี้เป็นมุมมองที่แตกต่างแต่มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ..อ่านแล้วก็ เห็นด้วย.  และสงสัยว่า ทำไมเขาจึงคิดอะไรที่แปลก  ไม่เหมือนคนอื่น  เป็นการคิดอย่างสร้างสรรค์   คิดได้ยังไงนะ   ถ้าใครสนใจรายละเอียดวิธีการดำเนินการจัดความรู้ในองค์กร ตามแนวทางของ Nonaka&Takeuchi  ของคุณหมอวิจารณ์..เปิดดูรายละเอียดที่ http://www.kmi.or.th ..

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 1923เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2005 16:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ไอศูรย์ ภาษยะวรรณ์

อ่าน Blog ของ อ.ภีม ภคเมธาวี เมื่อ จ. 25 ก.ค. 11:21:44 2005 พบข้อความว่า

"มีชาวกศน.ชุมพรคุยผ่าน Blog ประชาคมวลัยลักษณ์ เรื่องการจัดการความรู้องค์กรการเงินชุมชน ถ้าได้กำลังของอาจารย์ไอศูรย์ช่วยน่าจะก่อรูปเครือข่ายที่ชุมพรได้

ห้องเรียนของชุมชน คือ กลุ่ม, วิชาที่เรียน คือ การจัดการกลุ่มให้มีประสิทธิภาพ เข้มแข็ง อาจารย์ชำนาญเรื่องการเงิน ผมอยากชวนอาจารย์ช่วยสอน (สนับสนุนการจัดการความรู้) ให้กลุ่มการเงินที่ชุมพรเป็นวิทยาทานด้วยครับ

ผมเห็นว่าชาวกศน.สามารถทำหน้าที่คุณอำนวยได้เป็นอย่างดีครับ"

ผมยินดีให้การสนับสนุน ช่วยเหลืออย่างเต็มที่ครับ แต่ไม่ทราบว่า ท่านใดเป็นผู้ประสานงานในเรื่องนี้ ขอความกรุณาติดต่อมาที่ผมโดยตรงได้เลยครับ ที่ ชุมพรออนไลน์ฯ (077) 507226

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท