วิธีคิดตัดสินใจแบบพุทธ


ฝึกฝน กระบวนการคิด 3 ขั้นตอน

วิธีคิดตัดสินใจแบบพุทธ

ในยามที่เราจะต้องตัดสินใจอะไรสักอย่างหนึ่ง อย่าเพิ่งผลีผลามด่วนคิดตัดสินใจไปตามความชอบใจ หรือความไม่ชอบใจของตนเอง เพราะมีโอกาสที่จะตัดสินใจผิดพลาดได้มาก

ชาวพุทธที่มีจิตสำนึกฝึกตน ควรฝึกฝน กระบวนการคิด 3 ขั้นตอน อันเป็นกระบวนการคิดที่จะทำให้ เราได้การตัดสินใจที่ดีที่สุด เท่าที่สติปัญญาของแต่ละคนจะสามารถทำได้

ดังมีขั้นตอนต่อไปนี้

ขั้นตอนที่ ๑

  • ก่อนที่จะคิดตัดสินใจกระทำอะไรลงไป ให้คิดถึงข้อดี ในสิ่งที่ต้องการจะกระทำนั้น ว่า มันมีข้อดีอะไรบ้าง แจกแจงออกมาให้หมด

ขั้นตอนที่ ๒

  • จากนั้นให้คิดถึงแง่เสีย ข้อด้อย ข้อบกพร่องของมันว่าน่าจะมีอะไรบ้าง แจกแจงออกมาให้หมดเช่นเดียวกัน

ขั้นตอนที่ ๓

  • คิดหาวิธีทางออก ทางเลือกใหม่ ๆ วิธีการที่เหมาะสม ที่ได้รับผลดีมากที่สุด โดยที่ได้รับผลเสียน้อยที่สุด

ยกตัวอย่าง

อึมม์...วันนี้เราจะโดดเรียนดีไหมหว่า !

ขั้นตอนที่ ๑ คิดข้อดีก่อน

  1. เราจะได้ไปดูหนังให้สนุกไปเลย
  2. ดีสิ..ไม่ต้องเซ็งทั้งวันกับการเรียนที่น่าเบื่อ
  3. เผื่อจะได้เจอเพื่อนใหม่ ๆ ที่รู้ใจกัน


ขั้นตอนที่ ๒ แต่มีข้อเสียที่ว่า

  1. ขืนหนีเรียน คงเรียนไม่ทันเพื่อนแน่..แถมไม่รู้เรื่องอีกต่างหาก
  2. สงสารคุณพ่อคุณแม่ ถ้าท่านรู้คงเสียใจแย่
  3. อีกหน่อยคงถลำลึกไปเรื่อยๆ ไม่ได้ผุดไม่ได้เกิดเป็นคนดีกับเขาแน่
  4. อยู่ดีไม่ว่าดี ชอบหาเรื่องเสียเงินเสียทอง


ขั้นตอนที่ ๓ คิดหาทางออกที่ดีกว่า

  1. คิดเอาเองครับ ของอย่างนี้ คิดแทนให้กันไม่ได้
  2. ไม่ต้องรอคนอื่นมาคิดให้ เอาเลยครับ นำข้อดีข้อเสียมาชั่งกันดู สุดท้ายจะคิดตัดสินใจหาทางออกที่ดีที่สุดกันอย่างไร มันก็เป็นผลงานจากสติปัญญาแท้ ๆ ของคุณเองครับ..สวัสดี
    ฯลฯ

จากผู้หวังดี  ส่งมาให้อีกแล้วค่ะ


คำสำคัญ (Tags): #วิธีคิด
หมายเลขบันทึก: 19224เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2006 09:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 15:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

โชดดีจังค่ะที่ได้อ่านวิธีคิดตัดสินใจแบบพุทธ  เพราะว่าเพิ่งจะเกิดกับตัวเองไปเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมานี้เองค่ะ 

เรื่องก็มีอยู่ว่า  ใกล้ถึงฤดูกาลของการเบิกเงินโครงการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดินปี 49 แล้วและการส่งรายงานความก้าวหน้าของโครงการวิจัยด้วย  แต่รายงานที่นักวิจัยส่งมานั้นงานวิจัยไม่ได้ตรวจสอบอย่างจริงจังและก็ไม่สามารถช่วยนักวิจัยแก้ปัญหาในส่วนของเนื้องานได้เลย (ข้าน้อยมี(นา)จังกึมไร่ความสามารถจริง ๆ)  ก็เลยคิดวิธีที่จะให้นักวิจัยมานำเสนอรายงานความก้าวหน้าด้วยตนเองและจัดหาผู้ทรงคุณวุฒิเก่ง ๆ มาช่วยนักวิจัย  แต่โครงการนี้ไม่มีอยู่ในแผน  ไม่รู้ว่าเสนอไปแล้วจะมีเงินทำหรือเปล่า   และถ้าถูกถามว่าจะไปทำไมและจะได้ผลอะไร  ก็เลยนั่งแจงเป็นตารางถึงผลดีของการจัดงานและผลเสียของการไม่จัดงานและตั้งคำถามที่คิดว่าจะต้องถูกถามและเขียนเป็นคำตอบไว้ด้วย    แต่ก็ไม่รู้ว่าที่ทำไปนั้นถูกหรือไม่ถูก  จนมาได้อ่านblog ของอาจารย์นี่แหละค่ะ  รู้สึกประทับใจมากและมีกำลังใจที่จะทำงานให้มหาวิทยาลัยต่อไปค่ะ 

ปล.งานที่หนูคิดไว้ได้นำเสนอ อ.เสมอและอ.วิบูลย์แล้ว  ผ่านฉลุยค่ะ  และ อ.เสมอยังรับปากที่จะหาเงินให้ด้วยค่ะ (งานจะจัดในวันที่  28  เม.ย. 49 นี้ค่ะ)

อย่างนี้ไม่เรียกว่าไร้ความสามารถดอกค่ะ  ควรจะเรียกว่า ไร้เทียมทานมากกว่า  ยินดีเหลือเกินในความสำเร็จ

คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ฟังดูเป็นเรื่องธรรมดาแล้ว เพราะมีคนเอามาพูดกันมาก พอมีคนที่ลงมือทำได้อย่างกรณีนี้ของมีนาก็เป็นเรื่องที่น่าให้กำลังใจซึ่งกันและกันต่อไปครับ

ให้กำลังใจและขอสนับสนุนโครงการคุณมีนานะคะ ผลดีย่อมมากกว่าผลเสียแน่นอนค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท