Key success factors ของPrelude นเรศวรวิจัย ครั้งที่ 2 วันที่ 10-11 มี.ค.49


      ผมชื่นใจมากกับการได้มีส่วนร่วมในการจัดงาน Prelude นเรศวรวิจัย ครั้งที่ 2 วันที่ 10-11 มีนาคม 2549 ณ ทรัพย์ไพรวัลย์ แกรน โฮเต็ล แอนด์ รีสอร์ท สำหรับตัวผม ผมว่า งานนี้ประสบความสำเร็จทั้งผู้จัด และ ผู้เข้ร่วมประชุม

      ในมุมมองของผม งานนี้สำเร็จได้ขึ้นอยู่กับ Key success factors ดังต่อไปนี้
1. ทีมจัดงาน (orgeniser)
   เราได้เตรียมงานกันมาค่อนข้างนาน แม้จะมีอุปสรรคด้านการสื่อสารบ้าง แต่เราก็สามารถแก้ไขได้บ้าง การเตรียมงานที่เป็นระบบ แบ่งงานกันอย่างดี และที่สำคัญ เราประชุมกันทุกอาทิตย์ก่อนถึงวันงาน ทำให้เราจัดงานนี้ได้ดี เป็นที่น่าพอใจ ขอบคุณทีมงานทุกคน และคิดว่าทุกคนคงหายเหนื่อยจากผลลัพธ์ที่ได้ "เกินคาดครับ"

2. วิทยากร (Instructor)
   รศ.ดร.พีรเดช  ทองอำไพ รองผู้อำนวยการ สกว. ฝ่ายวิจัยและพัฒนา  ท่านคือ ครูที่ดีมากๆ ทั้งในด้านของ การเป็นนักวิจัย และ นักบริหารการวิจัย ผมว่า ด้วยบุคลิกภาพของท่าน และความเป็นกันเอง ทำให้ทีมงานและนักวิจัยได้รับความรู้และประสบการณ์จากท่านอย่างเต็มเปี่ยม และที่สำคัญ ท่านมีเครื่องมือที่ดีในการช่วยวิเคราะห์ชุดโครงการที่ทำงานยากให้เป็นงานง่ายๆ และได้ใจความจริงๆ ผมขอมอบตัวเป็นศิษย์ครับ

3. นักวิจัย
    เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดของงานนี้ ถ้าไม่มีนักวิจัยไปร่วมงาน กิจกรรมนี้ก็คงไม่ประสบความสำเร็จ ถึงแม้ภาพรวมจะมีนักวิจัยไปร่วมงานน้อยไปหน่อย แต่กลุ่มนักวิจัยที่ไป ส่วนใหญ่คงไม่รู้สึกผิดหวัง และเสียดายเวลาที่อยู่กับเรา ไม่ว่าจะ 1 วัน หรือ 1 วันครึ่ง ก็ตาม การเตรียมตัวของนักวิจัยที่ดี และการเปิดใจยอมรับความคิดของวิทยากร และนักวิจัยด้วยกันเองเป็นบรรยากาศที่เกิดขึ้นในงาน และนี่คือ ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จของโครงการ

4. รูปแบบกิจกรรม
   ด้วยรูปแบบกิจกรรมที่เป็นกันเอง เรียบง่าย แฝงด้วยความสนุกสนาน ทำให้สามารถละลายพฤติกรรมของภาพการเป็นนักวิชาการ (จ๋า) ของทุกคนออกเกือบหมด เหลือแต่ความเป็นเพื่อน และเป็นพี่น้องระหว่างกัน ใครจะไปคิดว่า รองอธิการบดี หรือแม้แต่นักวิชาการที่เคร่งขรึม อย่าง ดร.อนุสรณื  วรสิงห์ ดร.สมชาย มณีวรรณ์ จะร้องเพลงได้ไพเราะ และทันสมัยขนาดนั้น

   4 ปัจจัยที่ผมกล่าวมานี้ คงเป็นปัจจัยหลักๆ ที่นำไปสู่ความสำเร็จของงาน นักวิจัยท่านใดที่พลาดโอกาส เมื่อวันที่ 10-11 มีนาคม 2549 ท่านยังมีโอกาสได้สัมผัสบรรยากาศนี้อีกครั้ง ในวันที่ 20-21 เม.ย. 49 นี้นะครับ แล้วพบกันครับ

 

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 19187เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2006 17:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ผมจะจำบันทึกนี้ไว้ใช้อ้างอิงว่ามีคนชมผมว่าร้องเพลงได้ไพเราะ และทันสมัย
ภาพรวม ๆ นะครับ หัวปลา และตัวปลา ยอดเยี่ยมมาก แต่หางปลายังต้องปรับปรุง แต่ก็ไม่ได้ถึงกับเลวร้ายอะไร ต้องขอขอบคุณทุกท่านทุกฝ่ายอีกครั้ง

 อยากจะให้อาจารย์หรือผู้มีประสบการณ์  ช่วยกันแนะนำการทำส่วนหางปลาให้ประสบผลสำเร็จด้วยค่ะ  เพื่อในคร้งต่อไป (20-21 เมษายน 2549)  จะได้เป็นปลา KMที่สมบูรณ์แบบซะที

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท