การวิเคราะห์ PZSE (Point of zero salt effect) และ σp


สถานะภาพการผุพังอยู่กับที่ (weathering status) เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการอธิบายลักษณะของดินในพื้นที่แห่งนั้น

ผลจากการวิเคราะห์ PZSE และ σp สามารถถูกแปลตีความเพื่อกำหนดสถานภาพของการผุพังของดินในบริเวณนั้นได้

โดยหลักการของวิธี Sakurai et al (1988) จะวัดปริมาณของไฮโดรเจนไอออนที่ถูกดูดซับ ในสภาพที่มีความเป็นกรดด่างต่างกัน (pH1 และ pH2) จากนั้นนำค่าปริมาณ adsorbed H+ เขียนออกมาเป็นกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ไฮโดรเจนไอออนที่ถูกดูดซับ กับค่า pH (ของทั้ง pH1 และ pH2)

แล้วหาตำแหน่งที่เสเส้นกราฟทั้งสองของ pH1 ที่ตัดกัน pH2 จะได้ค่า pH ที่เป็น zero point of  charge (ZPC) และค่า permanent negative charge (σp) ในสภาพจริง ซึ่งโดยปกติค่า sigma-p จะสัมพันธ์กับปริมาณของไอออนด่างที่แลกเปลี่ยนได้ (exchangeable bases) และ ปริมาณประจุบวกทั้งหมด

การที่ดินมีค่า ZPC สูง นั้นหมายถึง ดินมีการผุพังมาก ซึ่งมักเป็นดินที่มีวิวัฒนาการยาวนาน พบมากในสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้น

นอกจากนี้ปริมาณของ amorphorous oxides contents (Alo และ Feo) มีอิทธิพลในเชิงบวกต่อค่า ZPC  ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการสะสมของอินทรีย์วัตถุบนผิวดินจะเป็นการเพิ่มปริมาณ Alo และ Feo

สำหรับปริมาณของ crystalline Al, Si และ Fe (Ald, Sid, Fed) สามารถบ่งบอกถึงสถานภาพของการผุพังอยุ่กับที่ได้เช่นกัน โดยการสะสมของ oxidized Al และ Fe ในปริมาณมากชี้ให้เห็นว่าดินในบริเวณนั้นมีการผุพังที่รุนแรง

โดยทั่วไปแล้ว ระบบการเกษตรส่วนใหญ่มักคำนึกถึงการจัดการปริมาณของอินทรีย์วัตถุที่หมุนเวียนอยู่ในระบบ  การเพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุสามารถลดอัตราการผุพังอยุ่กับที่และการชะล้างของamorphorous oxides of Alo และ Feo ได้  และส่งผลต่อการรักษาปริมาณธาตุคาร์บอนในระบบอีกด้วย

หมายเหตุ: การวิเคราะห์ PZSE ด้วยวิธี STPT สามารถอ่านรายละเอียดได้ที่

Sakurai et al (1988) Soil Sci Plant Nutr. 42(1):93-103

 

หมายเลขบันทึก: 19175เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2006 17:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท