กุ่ยชายขาว


การปลูกกุ่ยชายขาว

การผลิตกุ่ยฉายขาว

สถานการณ์การปลูกและผลิตกุยฉ่ายขาว

                                กุยฉ่ายจัดเป็นพืชผักชนิดหนึ่ง แบบแบ่งปลูกส่วนใหญ่อยู่ภาคกลาง มีการปลูกกระจายตามจังหวัดใหญ่ ของประเทศ ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แทบทุกจังหวัดโดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวและจังหวัดที่เป็นศูนย์กลางการเดินทาง

                                การปลูกกุยฉ่ายมักประสบปัญหาหลายอย่าง ทำให้การผลิตต้องหยุดชะงักแม้ว่าเกษตรกรชาวสวนบางพื้นที่จะสามารถนำเทคนิคการจัดการปรับใช้ในการผลิตกุยฉ่ายก็ตาม แต่เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาโดยเฉพาะการจัดการผลิตไม่สามารถแก้ปัญหาได้ผลดีเท่าที่ควร  เนื่องจากยังขาดวิทยากรที่จะใช้สำหรับแก้ปัญหาและไม่รู้วิธีการปฏิบัติที่ถูกต้อง เพื่อปรับปรุงการผลิตปริมาณและคุณภาพสูงขึ้น

                                ปัญหาและอุปสรรคในการผลิตกุยฉ่ายสามารถสรุปได้

                                1. ผลผลิตต่อพื้นที่มีความแปรปรวนมากขึ้นกับความชำนาญและการจัดการของชาวสวน  อายุต้น  ความอุดมสมบูรณ์ของดินและพื้นที่

                                2. ผลผลิตไม่สม่ำเสมอ

                                3. พันธุ์ที่ปลูกแปรปรวน  ไม่มีความรู้เรื่องพันธุ์และแหล่งผลิตพันธุ์

                                4. ขาดความรู้ที่เหมาะสมในการจัดการ

การปลูกกุ่ยฉายที่ผ่านมาการปลูกกุยฉ่ายที่ผ่านมา  ยังไม่สามารถที่จะผลิตให้ได้ปริมาณและคุณภาพที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด  กล่าวคือ  พื้นที่ปลูกกุยฉ่ายขาวมีการนำเข้าสู่ตลาดน้อย ตลาดมีความต้องการสูง

พันธุ์กุยฉ่าย  ในประเทศไทยมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น หรือชื่อยังไม่มีความชัดเจนที่พบทั่วไป  ได้แก่ พันธุ์พื้นเมือง  พันธุ์จีน   พันธุ์ใบเล็ก   พันธุ์ใบใหญ่   พันธุ์ดอก

              ที่นิยมปลูกเพื่อเป็นการค้า  คือ พันธุ์พื้นเมือง  พันธุ์จีน   พันธุ์ดอก  มีลักษณะเป็นพืชผักใบเป็นใบเดี่ยว ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม 

การคัดเลือกพันธุ์    พันธุ์ที่นิยมปลูกมี  3  พันธุ์ คือ  พันธุ์พื้นเมือง  พันธุ์จีน  พันธุ์ดอก  การจำแนกพันธุ์ทำได้ค่อนข้างยากเนื่องจากลักษณะภายนอกแตกต่างกันไม่ชัดเจน  ขยายพันธุ์ด้วยการแยกต้นปลูก  แยกหัวปลูก

วิธีการดำเนินการปลูก 

การเตรียมพื้นที่ปลูก

                               1. ยกร่องแปลงสูงจากผิวดินเดิม  20 30 เซนติเมตร เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง  มีความกว้าง 1 1.20 เมตร  ยาวตามพื้นที่

                                2. ปรับปรุงสภาพพื้นที่ดินด้วยปุ๋ยคอก แกลบดิบ หรือปุ๋ยหมักอัตรา 1 2  กิโลกรัม / พื้นที่ 1 ตารางเมตร

                   3. ย่อยดินตากแดดไว้  1  สัปดาห์เพื่อฆ่าแมลงและเชื้อโรค บดย่อยดินอีกครั้งก่อนทำการปลูก

วิธีการปลูก

                                ปลูกโดยใช้หัวหรือแยกต้นปลูก โดยการตัดใบออกยาวประมาณ  10 15 เซนติเมตร  ระยะปลูก  20 x 20 เซนติเมตร ใช้ประมาณ  4 5 ต้น / หลุม 

การปฏิบัติดูแลรักษา   การดูแลรักษาด้วยความเอาใจใส่จะช่วยให้ผักเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์จนถึงระยะเก็บเกี่ยว

การให้น้ำ    ต้องให้น้ำอย่างเพียงพอตอนเช้า เย็น

การให้ปุ๋ย   ใส่ปุ๋ยรองพื้นคือใส่เมื่อเวลาเตรียมดินก่อนปลูกปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก  แกลบดิบ คลุกให้ทั่วก่อนปลูก ปุ๋ยคอก 2 3 กก / พื้นที่ 1  ตารางเมตร 

การป้องกันกำจัดวัชพืช   ควรบำรุงกุยฉ่ายให้แข็งแรงโดยการกำจัดวัชพืชให้น้ำอย่างเพียงพอ

วิธีการทำผักกุยฉ่ายขาว   หลังจากปลูกได้ประมาณ  3 -  4  เดือน ทำการตัดครั้งที่ 1   เรียกว่าตัดเขียวขาย กิโลกรัมละ 15 20  บาท   ต่อมาปล่อยให้เจริญเติบโตเพื่อให้ต้นแข็งแรงก่อนปล่อยไว้ประมาณ  1  เดือน   ครั้งที่  2   ตัดเขียวขายอีกหลังจากตัดเขียวตอนบ่ายช่วงเช้าทำการครอบเพื่อจะทำกุยฉ่ายขาว

วิธีการครอบโดยใช้กระถางดินเผาหรือใช้ไม่ไผ่แห้ง โดยไม่ให้แตกหรือมีแสงเข้าสู่ต้นผักเพราะถ้าโดนแสงจะทำให้เป็นเขียวได้  หลังจากครอบได้  8 10  วัน ทำการตัดกุยฉ่ายขาวได้ การตัดกุยฉ่ายขาวต้องทำการตัดเวลาช่วงบ่ายถึงค่ำ  หากตัดช่วงเช้าจะทำให้ผักสังเคราะห์แสงจะทำให้เขียวได้ จะมีสีเขียวออกมากทำให้ไม่มีราคา  หากผักสมบูรณ์ดีใน 1  กิโลกรัม จะใช้ผักกุยฉ่ายขาว 10 12   กอ/ กก  การตัดใน 1 รอบปี จะทำการตัดเขียว 4 5  ครั้ง  ตัดขาวโดยประมาณ  3 4  ครั้ง  ครบ 1 ปี ต้นไม่สมบูรณ์ก็ทำการปลูกขยายใหม่ 

การใส่ปุ๋ย   หลังจากตัดเขียวทำการพรวนดินใส่แกลบดิบและปุ๋ยคอก  2 -3  กก / พื้นที่ 1 ตารางเมตร  หากเป็นปุ๋ยมูลไก่จะดีที่สุดเพราะต้นจะสมบูรณ์และไม่มีเมล็ดหญ้าปุ๋ยคอกเป็นปุ๋ยขี้วัวขี้ควาย จะมีเมล็ดหญ้าติดมา  หลังจากนั้นถ้ามีน้ำหมัก 2 อาทิตย์จะทำการรดน้ำหมักอีกครั้งหนึ่ง  น้ำหมัก 4 ช้อน / น้ำ 20 ลิตร  รดต้นผักจะสมบูรณ์และแข็งแรงดี

การควบคุมวัชพืช   หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีทุกชนิด

การให้น้ำ  จะให้น้ำ 2 3 วัน / ครั้ง โดยระบบเปิดสปริงเกอร์หรือรดเอาก็ได้

การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวก่อนจำหน่าย  ตัดแต่งส่วนที่แห้งจากขอบปลายใบออกและลอกคลุมใบที่ท่อหุ้มด้านนอกก่อนแล้วนำมามัด ๆ ละ 1 กิโลกรัม  ห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์

ตลาด   ส่งตลาดทั่วไปตามตลาดสด   หรือส่งที่ร้านอาหาร   ร้านข้าวต้ม  ราคา 100 120  บาท / กิโลกรัม 

หมายเลขบันทึก: 191575เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2008 13:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับ

ขอบคุณสำหรับความรู้ที่แบ่งปันครับ

ปลูกยากขนาดนี้ ถึงได้แพง แต่ไม่เป็นไร ชอบทานค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท