การส้มมนาพัฒนาทักษะการจดบันทึก (3)


เราจะไม่ได้เรียนรู้อะไรเลยถ้าหากไม่ได้ไปทำดูเอง และถ้าทำแล้วได้ผลอย่างไรอย่าลืมนำมา ลปรร.กับเพื่อนๆนะ

            ตามที่ได้รับปากไว้ว่าจะหารายละเอียดเกี่ยวกับ  สุนทรียสนทนา(Dialogue) มาเรียนรู้ร่วมกัน  บันทึกนี้ขอนำมาให้ดู      จากการไปค้นหามา   ตามนี้ครับ 

 

D-I-A-L-O-G-U-E

ไดอะล็อค    : สุนทรียสนทนา

โดย 

สุกานดา เมฆทรงกลด    โรงพยาบาลพิจิตร

 

 >>>>ความหมาย

 

                — กระบวนการสื่อความหมาย และเรียนรู้

                — การสนทนาภายในกลุ่มเพื่อสร้างความรู้

                — การเชื่อมโยงความคิดที่กระจายอยู่ให้เกิดพลัง

                — การสนทนาอย่างลึกซึ้งและลุ่มลึกกว่าการพูดคุยกันแบบธรรมดา

                — การสนทนาที่เน้นการพูดจาจากใจถึงใจ ที่สะท้อนความเข้าใจกัน

 

               เป็นการพูดคุยของคนตั้งแต่ 2 คน โดย ขจัดความเห็นที่แตกต่างออกไป และทำให้เกิดความเข้าใจ      ความแตกต่าง ของ ตนเอง : ผู้อื่น

 

 >>>>ต้องใช้ทักษะที่สำคัญ คือ การฟัง

 

                - Attentive Listening  ฟังแบบรับไว้ก่อน

                - Deep Listening ฟังแบบเข้าใจอารมณ์/ความรู้สึก

 

           มีหลักการฟัง

1.       Respecting เคารพในตัวตนของผู้พูด

2.       Deep listening ฟังถึงอารมณ์/ความรู้สึก

3.       Voicing ฟังแบบอุเบกขา ปราศจากอคติ

4.       Suspending ติดตามต่อเนื่อง/แขวานไว้ก่อน

          

           แก่นแท้ของสุนทรียสนทนา

                1. ฟังอย่างไร จึงจะลึกซึ้ง

                                - ฟังอย่างเมตตา   ทุกคนต้องการความสุข

                                - ฟังอย่างไม่ตัดสิน  ฟังเหตุผลเขาก่อน

                                - ฟังอย่างเอาใจเขามาใส่ใจเรา  คิดว่าถ้าเราเป็นเขา 

                2. ฟังอะไร

                                - ฟังผู้อื่น

                                   ความคิด/ความรู้สึก/เหตุผล ให้เวลาผู้อื่นได้พูดสิ่งที่อยู่ในใจ ให้เวลาตัวเองได้ฟังคนอื่นอย่างเข้าใจ

                                - ฟังตัวเอง

                                   ความคิด/ความรู้สึก/เหตุผล

- ฟังความเงียบ

                                   สะท้อนความคิดด้วยสมาธิ / สติ

                3. ฟังเพื่อ

                                - หาความหมายด้วยกัน

                                - การมีส่วนร่วม

                                - เกิดการยึดเหนี่ยว/เข้าใจ                              

                                                                            ช่วยให้เกิดการ มองผิด เป็น มองต่าง   

                                                                            ความเชื่อที่ไม่เหมือนไม่ใช่ความผิด 

                                                                            แต่เป็นเพียงความแตกต่าง 

                                                                            และ ความแตกต่างไม่ใช่ความแตกแยก

>>>>สุนทรียสนทนา  เป็นการฟัง การสื่อสาร

                เพื่อ ............... พัฒนาจิตภายใน

                        ...............การเรียนรู้

                        ...............การเกิดเป้าหมายร่วม

                        ...............สันติสุขร่วมกัน

                หาก...............เกิดอารมณ์/ความรู้สึก เป็นลบ       

                อาจ...............แสดงอารมณ์/ความรู้สึกได้

                แต่  ...............ต้องมีสติในการแสดงความเห็นต่าง

                โดย...............ไม่ก้าวร้าว ต่อ กาย วาจาใจ

 

สุนทรียสนทนา  ท้าท้ายความเป็นมนุษย์แท้

สุนทรียสนทนา  เกื้อกูล แต่ไม่ก้าวก่าย

 

>>>>กติกาการทำ Dialogue                          

 จากงานมหกรรมจัดการความรู้แห่งชาติ  ครั้งที่ 4    โดย

                        สมปอง  อ้นเดช

                                  บัญจธร  เตชวณิชย์พงศ์

                                                                     ฝ่ายการพยาบาล  โรงพยาบาลจุฬาฯ

 

 

                1. ปิดมือถือ

                2. วางหัวโขน  ตำแหน่งงาน  ให้ถือว่าสมาชิกทุกคนมีความเท่าเทียมกัน

                3. ทำสมาธิก่อนทำ Dialogue ประมาณ 3-5 นาที

                4. สร้างบรรยากาศที่เปิดกว้างและเป็นอิสระ

                5. ให้ยกมือแสดงความประสงค์เมื่อต้องการพูด

                6. พูดทีละคน สมาชิกที่เหลือฟังอย่างตั้งใจ โดยแขวน/วางกรอบความคิดและสมมุติฐานของตนเองไว้

                7. ไม่ครอบครองการพูด ต้องเปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้พูด/บอกเล่าประสบการณ์

                8. ขณะพูดให้พูดกับกลุ่ม ไม่พูดกับคนใดคนหนึ่ง โดยเฉพาะ

                9. ไม่มุ่งที่จะพูดในสิ่งที่ตนคิดไว้ล่วงหน้า ซึ่งจะเป็นเหตุให้ปิดกั้นการรับฟังความคิด/ประสบการณ์ของคนอื่น

                10. ผู้ที่เป็นสมาชิกกลุ่มไม่ต้องจดบันทึกขณะทำ Dialogue

                11. ไม่พยายามโน้มน้าวให้คนอื่นคล้อยตามความคิดเรา

                12. ไม่มุ่งหาข้อสรุป ตัดสิน หรือตกลงในประเด็นใดประเด็นหนึ่งว่า ผิด/ถูก” “ดี/ไม่ดี” “ใช่/ไม่ใช่

                13. พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์และสร้างสรรค์

                14. ไม่วิพากษ์คำพูดหรือความคิดของใคร ไม่ใช้คำพูด

                                ใช่.......แต่ว่า......."  หรือ  "เห็นด้วย.........แต่ว่า...........

                15. กรณีที่เห็นด้วย หรือต้องการเสริมความคิดเห็นของผู้อื่น  ควรใช้คำว่า ใช่ และ...... เห็นด้วยและ......

 

ทั้งหมดที่ว่ามาเป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้ที่เคยปฏิบัติและได้ผล  ท่านเอาความรู้มาเผื่อแผ่ไว้ ณ แหล่งต่างๆ  แต่เราจะไม่ได้เรียนรู้อะไรเลยถ้าหากไม่ได้ไปทำดูเอง      และถ้าทำแล้วได้ผลอย่างไรอย่าลืมนำมา  ลปรร. กับเพื่อนๆนะครับ           

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #dialogue
หมายเลขบันทึก: 191565เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2008 11:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 15:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • มาแอบฟังครับ
  • แต่ไม่ได้ยิน
  • ต้องอ่านเอา ฮิ ฮิ
  • แต่ชื่อสุนทรีย์ดีครับ
  • น่าจะจำไปใช้ได้บ้างบางข้อ ถ้าไม่ลืม 555

จะเอาไปใช้ครับ

ขอบคุณบันทึกดีดี

  • เยี่ยมมากเลยครับ
  • ขอบคุณมากครับที่นำมาแบงปัน-แลกเปลี่ยน

คุณเกษตรอยู่จังหวัดครับ

P

  • ลองไปใช้ดูนะครับ  ในวง DW  DM หรือวง ลปรร.ของเกษตรกรก็ได้
  • ได้ผลอย่างไรมาเล่าสู่กันฟังบ้าง

หวัดดี คุณออต

P

  • ลูกอีสาน  ทำไมจึงชูสะตอหราเลย  ทำให้ผมคิดถึงบ้าน(ผมเกิดที่ ตรัง ครับ)
  • ยินดีที่ได้รู้จักครับ  ลองนำไปใช้ดูนะครับ  ด้วยความยินดี

หวัดดีครับ ท่านสิงห์ป่าสัก

P

  • ผมต่อยอดการเรียนรู้ตามที่ท่านได้แนะนำนะครับ

สวัสดีครับ

  • น่าจะใช้ dialogue ในสภา บ้างนะ ครับ
  • คุณสิงห์ป่าสัก นำเสนอหน่อยครับ

เมื่อตอนผมเดะๆมีผู้ใหญ่มักพูดว่าเด็กบ้านนอกไม่ค่อยกล้าแสดงออก เช่นการพูดคุย การตอบคำถาม ไม่เหมือนกับเด็กในเมือง..ผมก็เห็นพ้องด้วยต่อมาเมื่อผมโตเป็นหนุ่มก็พอมีเห็นบ้างว่า การศึกษาช่วยให้คนพูดเก่งขึ้น..แต่เดี๋ยวนี้ผมเป็นหนุ่มใหญ่แล้ว...พบว่า ไม่ว่าจะไปวงการไหนๆก็เจอแต่นักพูด พูดกันสะบั้นหั่นแหลก พูดแทรก พูดโดยไม่แกรงใจกัน ไม่เกรงใจประธาน ไม่เกรงใจผู้ดำเนินรายการ ไม่เกรงใจคนฟัง ไม่ให้เกียรติซึ่งกันและกัน..ผมก็มาวิเคราะห์เท่าที่ระดับสติปัญญาน้อยนิดของผมว่า...เมื่อคนเราศึกษากันในระดับการศึกษาสูงๆ ทำงานกันจนมีประสบการณ์มากๆ หรือว่าวัยอาวุโส ก็อยากจะพูดอยากจะแสดงออกให้คนอื่นรับรู้...อาจจะเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น กลัวว่าผู้อื่นจะไม่รู้ว่าตนเองมีความรู้ (อาจจะไม่รู้ก็ได้ว่าที่ตนเองรู้นั้นคือความไม่รู้)จึงเกิดการแย่งกันพูด ไม่มีใครฟังใคร ไม่เคารพกัน...ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมจะเห็นได้ทางหน้าจอทีวี. ต้องขอบคุณอาจารย์สำราญ ที่ไปค้นคว้ามาแบ่งปัน ขอบุญกุศล จงบังเกิดแก่ท่านและสาธุชน(เบิร์ด)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท