เพื่อนช่วยเพื่อน(3)


เพื่อนช่วยเพื่อน (3)
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่


     จุดเริ่มต้นเหมือนกับศาลภาษีอากรกลาง โดย คุณสมชัย เอมบำรุง ได้โทรศัพท์ติดต่อมาและแจ้งว่าได้รับคำแนะนำจาก ศจ.นพ.วิจารย์ พานิช   ทีม KM กรมฯ จึงชักชวนให้มาฟังการหารือของทีม KM กรมฯ เพื่อเตรียมการสัมมนา KM ให้แก่เจ้าหน้าที่ส่วนกลางวันที่ 7 มีนาคม 2549 แต่เนื่องจากกรมอุตสาหกรรมฯ ไม่ว่างเพราะมีสัมมนาเรื่อง KM, Blueprint for Change จึงขอให้ทีม KM กรมฯ ไปบรรยายวันที่ 8 มีนาคม 2549 

      ทีม KM กรมฯจึงได้มอบหมายให้คุณธุวนันท์      พานิชโยทัย และคุณอุษา ทองแจ้ง ไปบรรยาย โดยขอให้คุณสมชัย ส่งเอกสารแผนปฏิบัติการจัดการความรู้ที่ส่งให้ ก.พ.ร.มาเพื่อดำเนินการศึกษาก่อนวันสัมมนา เป้าหมายการจัดการความรู้ของกรมอุตสาหกรรมฯคือ การเสริมสร้างมาตรฐานการกำกับดูแลอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐาน 


 
      ขอเล่าบรรยากาศในการสัมมนา เริ่มต้นจากคุณธุวนันท์ พานิชโยทัย ได้บรรยายในหัวข้อ “หลักการและประยุกต์ใช้เครื่องมือสำหรับการจัดการความรู้ในองค์กร” และคุณอุษา ทองแจ้ง ได้บรรยาย"ประสบการณ์การจัดการความรู้ กรณีตัวอย่างการจัดการความรู้ของสำนักงานเกษตรจังหวัดน่าน" ตาม model ปลาทู ของ สคส. โดยใช้เวลาคนละประมาณ 1ชั่วโมง

       จบการบรรยาย ได้ทำ AAR โดยมีคำถามหลัก 4 ข้อ
                (1)  สิ่งที่คาดหวังจะได้เรียนรู้
                (2)  สิ่งที่บรรลุเกินความคาดหวัง
                (3)  สิ่งที่ยังไม่บรรลุตามที่คาดหวัง
                (4)  จะทำอะไรต่อไป
โดยให้ทุกคนเขียนแสดงความรู้สึก

มีผู้สะท้อนในเวที 2 ท่าน คือ คุณสมชัย เอมบำรุง นิติกร และคุณเกียรติชัย ตุลาธรรมกุล นักธรณีวิทยา
          ผลสะท้อนจากผู้เข้าสัมมนาคือ บรรลุเกินความคาดหวัง เนื่องจากวิทยากรได้ให้ข้อมูลประสบการณ์เกิดคาด โดยกล่าวว่า นึกว่าจะบรรยายแค่ใน Powerpoint เท่านั้น และฟังแล้วรู้สึกว่า KM ภาคปฏิบัติเป็นสิ่งที่ยาก เกรงว่าจะทำไม่ได้ตามประสบการณ์ที่วิทยากรให้ และขอให้กรมฯเป็นพี่เลี้ยงช่วยเหลือให้กำลังใจต่อไป สิ่งที่ไม่บรรลุเป้าหมายคือ เวลาน้อยเกินไป กรมฯไม่ได้ให้ข้อมูลแก่วิทยากรเท่าที่ควรและยังไม่แน่ใจว่าจะประยุกต์ใช้เครื่องมือได้หรือไม่ สิ่งที่จะทำต่อไปคือ การนำ KM ไปใช้ในการจัดการความรู้ในเรื่องเทคนิคการตรวจเหมืองแร่ให้มีประสิทธิภาพต่อไป และคงไม่ทำเฉพาะในแผนที่จัดทำและส่ง ก.พ.ร.ไปแล้วเท่านั้นแต่จะดำเนินการโดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้ได้ประโยชน์แก่องค์กรอย่างแท้จริง 

          จากการสังเกตของดิฉันพบว่า กรณีตัวอย่าง จ.น่าน ตั้งแต่จุดเริ่มต้นการทำกระบวนการและตัวอย่างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องส้มเมืองน่านมีมาตรฐานและความปลอดภัย และคลังความรู้ถั่วงอกไร้ราก สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับผู้เข้าสัมมนาเป็นอย่างยิ่ง


          ขอขอบคุณ สคส.และทีมกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมพื้นฐานและเหมืองแร่ ที่เปิดโอกาสให้เรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในครั้งนี้ โดยคุณอุษา ทองแจ้ง ได้เล่าประสบการณ์เรื่องนี้ในบล๊อกเช่นเดียวกัน สามารถติดตามทางบล็อกได้ค่ะ
 
 

หมายเลขบันทึก: 19147เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2006 16:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 18:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ไพโรจน์ ลิ้มจำรูญ
แวะมาเยี่ยมครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท