การจัดสัมมนาทักษะการจดบันทึก (2)


เรามักจะเคยชินกับการระดมสมอง การจัดวง ลปรร. แล้วไม่สามารถสรุปสาระสำคัญได้ บรรยากาศการ ลปรร. ที่มีแต่คนพูดไม่มีคนฟัง ลองปรับเปลี่ยนวิธีการมาใช้ Dialogue ควบคู่อีกสักเครื่องมือและเรียนรู้ไป อาจจะเกิดประโยชน์มากขึ้นก็ได้

CoP + Story Telling + Dialogue

       สิ่งที่เราได้เรียนรู้จากการจัดการสัมมนา ทั้ง 2 รุ่น ที่อยากจะเล่าให้ฟังในบันทึกนี้ คือ การออกแบบกระบวนการการเรียนรู้ในวันที่ 2 ตอนบ่าย ที่เป็นการจำลองวง ลปรร.ของชุมชนนักปฏิบัติ (CoP) โดยแบ่งผู้เข้าร่วมสัมมนาออกเป็น 5 กลุ่ม ๆ ละ ประมาณ 12 คน ตามประเด็นที่สนใจ เพื่อถอดบทเรียนในเรื่องนั้น ๆ ด้วยการใช้เทคนิคของการเล่าเรื่อง (Success Story Telling)  ซึ่งหลังจากการสัมมนารุ่นที่ 1 ทีมวิทยากรได้ร่วมกัน AAR ทุกคนเห็นตรงกันว่ากิจกรรมนี้เรายังไม่ค่อยบรรลุผลตามที่คาดหวัง จากการสังเกต พบว่า

  • น่าจะเป็นการ Brain Storming มากกว่า Story Telling
  • ยังคงมีคนที่เป็นเจ้าของวงอยู่ไม่ถึงครึ่งหนึ่งของแต่ละวง (มีคนพูดมากอยู่กลุ่มเล็ก ๆ โดยคนอื่นไม่ค่อยได้พูด)
  • บรรยากาศยังมีลักษณะต่างคนต่างพูด ไม่ฟังคนอื่นพูด
  • มีกลุ่มเล็ก ๆ ในวง ลปรร. ที่จับกลุ่มคุยกันเอง(ไม่ค่อยได้ฟังคนอื่น)

ทั้งนี้ ขอบอกว่าไม่ใช่เป็นความผิดของใคร แต่ทีมวิทยากรเองที่ออกแบบกระบวนการได้ไม่ดี และก็หลายการสัมมนาที่เราพยายามใช้เทคนิคนี้ ก็มีผลคล้าย ๆ ครั้งนี้

ในวง AAR คุณสิงห์ป่าสักเลยเสนอว่าเราลองใช้เทคนิคของ Dialogue เข้ามาร่วมอีกตัวหนึ่งใน     รุ่นหน้าดีไหม คณสิงห์ป่าสัก ก็อธิบายสั้น ๆ ให้ฟัง ทุกคนก็ปิ๊งแว็บขึ้นมา ตกลงว่ารุ่นที่ 2 เราลองใช้เทคนิคนี้เข้ามาร่วม

     คุณเบิร์ดในฐานะที่รับผิดชอบกิจกรรมนี้ ก็ได้ไปค้นคว้าศึกษาเพิ่มเติม ซึ่งนำมาสู่การปรับปรุงกระบวนการเรียนรู้ในรุ่นที่2 ตามที่ผมฉั่วหัวไว้ว่า CoP + Story Telleing + Dailogue โดยในการแบ่งวงลปรร. คุณเบิร์ดก็ได้ชี้แจงกระบวนการ ลปรร. (แต่เราไม่ได้บอกว่านี้คือเครื่องมือ Dialouge) ผล    ปรากฎว่าทุกคน ในทีมวิทยากรมีความพอใจกับผลที่เกิดขึ้น สถานการณ์ได้เปลี่ยนไปจากเดิมมาก ทั้งๆที่วงแลกเปลี่ยนเรียนรู้อยู่ติดกัน (เพราะห้องประชุมสหกรณ์ ชั้น 4 มีขนาดเล็กกว่าห้องสัมมนาของรุ่นที่ 1) เสี่ยงของแต่ละวงก็ไม่รบกวนกัน เพราะไม่มีการแย่งกันพูด ทุกคนได้พูด เวลาคนอื่นพูดคนอื่นก็ตั้งใจฟัง และเขาเล่าความรู้ที่ผ่านการปฏิบัติจริง ๆ กระบวนการต่อมาในการสังเคราะห์เพื่อสกัดขุมความรู้ออกมาโดยเครื่องมือ Mind Map และเขียนออกมาเป็นขุมความรู้ได้ชัดเจน (คุณเบิร์ด ได้นำผล ลปรร. ไปดูแล้วและจะนำขึ้นใน Blog ของคุณเบิร์ด (YAWDTHONG) ต่อไป

          สิ่งที่คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์และนำไปประยุกต์ใช้ ผมว่าในส่วนของพวกเรา เรามักจะเคยชินกับการระดมสมอง การจัดวง ลปรร. แล้วไม่สามารถสรุปสาระสำคัญได้ บรรยากาศการ ลปรร. ที่มีแต่คนพูดไม่มีคนฟัง ลองปรับเปลี่ยนวิธีการมาใช้ Dialogueควบคู่อีกสักเครื่องมือและเรียนรู้ไป อาจจะเกิดประโยชน์มากขึ้นก็ได้

          คราวหน้าจะเอาข้อสรุปคร่าว ๆ ของ Dialogue มาให้ดูกันครับ ภาษาไทยเขาใช้คำไว้ไพเราะมาก "สุนทรียสนทนา"

 

คำสำคัญ (Tags): #คุณลิขิต
หมายเลขบันทึก: 190528เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2008 08:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 เมษายน 2012 10:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ผมคิดว่าเป็นจุดเริ่มต้นความสำเร็จของทุกคน ที่อาจจะนำไปประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การAAR ช่วยพัฒนาการจัดรูปแบบ จัดกระบวนการ ให้ดีขึ้นได้มากเลยที่เดียว...ขอบคุณมากครับ(เบิร์ด)

  • แวะมาติดตามผลการปรับกระบวนการครับ
  • ขอบพระคุณมากครับทีบันทึกมาแลกเปลี่ยน
  • เรียนรู้ร่วมกันนะครับ  ทำไปปรับไป  ไม่มีอะไรที่สมบูรณ์ที่สุด  แต่ให้เหมาะกับเราก็แล้วกัน
  • ผมเคยเข้าร่วมไปเรียนรู้การ "สุนทรียสนทนา"  กับชาวเฮฮาศาสตร์  พบว่ามีอะไรมากมายที่เราสามารถนำมาปรับใช้ในการพัฒนาคุณอำนวย-คุณลิขิตของกรมฯ เราได้  แต่ผมก็ยังรู้แค่เพียงเล็กน้อย
  • มันเป็นเทคนิคการพัฒนาจากด้านใน  ท่องเที่ยวด้านใน(ตัวเรา)
  • วิธีคิดของคนจะเปลี่ยนไปได้มาก  ฟังได้ดีขึ้น   คิดบวกและยืดหยุ่นมากขึ้น ฯลฯ
  • แต่เวทีอาจต้องปรับให้เพิ่มที่นั่ง(กับพื้น) หรือที่นอน...อิอิ

เรียน คุณเกษตรอยู่จังหวัด

  • ขอบคุณครับที่เข้ามา ลปรร.
  • ประสบการณ์ของท่านก็มีค่ามากอย่าลืมนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
  • ขอบคุณ คุณเบิร์ดที่ช่วยไปค้นหาและปรับกระบวนการ  เยี่ยมมากครับ  
  • ขอบคุณ  คุณวีระยุทธ ที่ช่วยกันเสนอแนะปรับปรุงกระบวนการ
  • เรียนรู้ร่วมกัน  ดูแลและห่วงใยเพื่อนเรา  องค์กรของเราจะได้พัฒนา

จะลองนำมาใช้ที่สถานีสุราษฎร์ฯดูบ้างครับ

  • น่าลองจริงๆนะ  ส่วนตัวผม  ผมชอบเวทีครั้งนี้มาก
  • ได้ผลอย่างไรมาเล่าสู่กันฟังบ้าง
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท