เรื่องแนวทางการแนะนำบิดามารดา ในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก อายุ 0 – 5 ปี คลินิกส่งเสริมสุขภาพเด็กดี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่


เรื่องแนวทางการแนะนำบิดามารดา ในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก อายุ 0 – 5 ปี คลินิกส่งเสริมสุขภาพเด็กดี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่

ผลงานที่เป็นการดำเนินงานที่ผ่านมา
1.ชื่อผลงาน เรื่องแนวทางการแนะนำบิดามารดา ในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก อายุ 0 – 5 ปี
คลินิกส่งเสริมสุขภาพเด็กดี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่
2.ระยะเวลาดำเนินงาน
เดือนกุมภาพันธ์ 2548 ถึง กรกฏาคม 2548
3.สัดส่วนของผลงานในส่วนที่ตนเองปฏิบัติ 100% ( ในส่วนของงานคลินิกส่งเสริมสุขภาพเด็กดี )
4.ผู้ร่วมจัดทำผลงาน ( ถ้ามี )
นางปราณี สุทธาชัย
5.บทคัดย่อ
เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตต่อการพัฒนาประเทศ เด็กที่มีคุณภาพ คือ เด็กที่มีการเจริญเติบโตสมวัยพัฒนาการสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคม บิดามารดา และครอบครัว คือบุคคลที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการอบรมเลี้ยงดู และสร้างเสริมประสบการณ์ต่างๆ ให้แก่เด็กในช่วงอายุนี้ บิดามารดา และครอบครัวเป็นผู้ใกล้ชิด และเป็นบุคคลที่เลี้ยงดูเด็กตลอดเวลา ย่อมมีอิทธิพลต่อการพัฒนาการเด็กในทุกๆ ด้าน ถ้าบุคคลเหล่านี้ขาดความรู้ในการเลี้ยงดูเด็กย่อมจะมีผลทำให้เด็กมีการเจริญเติบโตไม่ดีเท่าที่ควร ถ้าหากเป็นเช่นนั้น จะเป็นที่เสียดายยิ่งต่อการพัฒนาการของเด็ก ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะพัฒนาประเทศของเราในวันข้างหน้า ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งในฐานะที่เราปฏิบัติงานในส่วนของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ต้องให้คำแนะนำ และเป็นที่ปรึกษาแก่บิดามารดา และครอบครัวของเด็กจะต้องหาสิ่งที่ดีที่สุดให้แก่บิดามารดา และครอบครัว สามารถนำปฏิบัติในการดูแลเด็ก 0 -5 ปี ในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก ความสำคัญของพัฒนาการของเด็ก ซึ่งจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วต่อสมอง และร่างกายของเด็กบิดามารดาจะต้องเป็นผู้ช่วยประเมินการพัฒนาการของเด็ก และช่วยในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กในทุกๆด้านตามวัยในการที่บิดามารดาจะส่งเสริมพัฒนาการของเด็กให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพนั้น บิดามารดาจะต้องมีความรู้ในการช่วยส่งเสริมพัฒนาการ และทักษะในการปฏิบัติต่อเด็ก อีกทั้งต้องรู้จักการสังเกตการพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย ซึ่งเด็กอายุ 0-5 ปี จะมีพัฒนาการในแต่ละด้านอย่างรวดเร็ว ถ้าขาดการกระตุ้นหรือส่งเสริมที่ดีจะทำให้พัฒนาการ ในด้านต่างๆ ช้ากว่าปกติ คลินิกส่งเสริมสุขภาพเด็กดี จึงได้จัดทำแผนการสอนการส่งเสริมพัฒนาการเด็กขึ้นมาให้แก่บิดามารดาที่พาบุตรมารับบริการหลังจากที่ดำเนินการไปได้ระยะ
1
หนึ่งจึงได้ทำการศึกษา ผลของการสอนบิดามารดาในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กเพื่อประโยชน์ในการทำข้อมูล ปรับปรุงการทำงาน ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้รับบริการต่อไป
6.บทนำ
คลินิกส่งเสริมสุขภาพเด็กดี เป็นคลินิกที่ให้บริการแก่เด็กอายุ 0 – 5 ปี ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 10 ที่ให้การดูแลและบริการแก่เด็กแบบองค์รวม คือ ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม ตลอดจนถึงครอบครัวที่ต้องให้ความช่วยเหลือ ในด้านการเจริญเติบโตของเด็กนั้นจะต้องมีการพัฒนาการในด้านต่างๆ ของร่างกายด้วยเสมอ ดังนั้นบิดามารดาของเด็ก จะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการของเด็ก เพื่อที่จะทำให้เด็กมีพัฒนาการที่สมวัยอย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนาการของเด็กเป็นการเรียนรู้เพื่อชีวิตสำหรับทุกคนที่จะได้รู้จักและเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ บิดามารดา สมาชิกในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการพัฒนาเด็ก ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาการเด็กทั้งด้านที่เป็นคุณและโทษ จะอบรมเลี้ยงดูบุตรหลานด้วยความรัก ความเข้าใจ สามารถส่งเสริมลูกหลานไปในทิศทางที่พึงประสงค์ ป้องกันปัญหาและรู้วิธีแก้ไขปัญหาตั้งแต่แรกเริ่ม ดังนั้น คลินิกส่งเสริมสุขภาพเด็กดี จึงได้มีการสอนและแนะนำแก่บิดามารดาในการส่งเสริมและสังเกตพัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วงวัยว่ามีพัฒนาการอย่างไร และมีทักษะในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กอย่างถูกต้อง จึงได้จัดทำแผนการแนะนำบิดามารดาขึ้นควบคู่ไปกับการใช้สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก เพื่อที่บิดามารดาสามารถสังเกตและบันทึกพัฒนาการของเด็กได้อย่างถูกต้อง และส่งเสริมพัฒนาการเด็กในแต่ละวัยได้
7.วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้บิดามารดา มีความรู้ และทักษะในการเลี้ยงดูบุตรที่ถูกต้อง
2.บิดา มารดา สามารถประเมินพัฒนาการของบุตรได้ถูกต้อง ตามแบบประเมินพัฒนาการเด็กในสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก
8.วิธีการดำเนินงาน / วิธีการศึกษา / ขอบเขตของงาน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่ มุ่งหวังจะพัฒนาคุณภาพของบิดามารดา ในการดูแลบุตร ซึ่งทางคลินิกส่งเสริมสุขภาพเป็นคลินิกที่ให้บริการแก่เด็กอายุ 0–5 ปี ซึ่งจะมีเด็กมารับบริการในแต่ละช่วงวัย มุ่งหวังจะให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีสมกับวัยที่ควรจะมีพัฒนาการให้มากที่สุด ทั้งนี้จะต้องมีบิดามารดามีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการให้แก่เด็ก ดังนั้นคลินิกส่งเสริมสุขภาพเด็กดี จึงได้จัดมีการสอนและให้คำแนะนำแก่บิดามารดาขึ้น เพื่อเพิ่มทักษะในการ สังเกตและส่งเสริมพัฒนาการของเด็กให้ได้ดีอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างความมั่นใจในการบันทึกพัฒนาการของเด็กในช่วงวัย ซึ่งในการสอนแนะนำแก่บิดามารดาจะมีการให้การแนะนำเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4 – 2
3
5 ครอบครัว เพื่อที่จะแลกเปลี่ยนในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก และมีเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ และทักษะในการให้คำแนะนำแก่บิดามารดา พร้อมเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์แก่การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม เพื่อเป็นอนาคตของชาติต่อไป
ขั้นตอนดำเนินงาน
1.จัดเตรียมสถานที่ อุปกรณ์ เอกสารประจำคลินิก
2.ตรวจสอบเอกสารผู้รับบริการ ลงทะเบียน
3.จัดกลุ่ม บิดา มารดา ของผู้รับบริการ ครั้งละ 4 – 5 คู่
4.วิธีสอนแบบมีส่วนร่วม จัดการแลกเปลี่ยน ความรู้ ความคิดเห็น ซักถาม ปัญหาในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก โดยมีเจ้าหน้าที่เป็นวิทยากรประจำกลุ่ม
5.ใช้หลักสูตรการสอนบิดา มารดาในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก อายุ 0 – 5 ปี
6.ประเมินผลการเรียนรู้จากสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก
9.ผลการดำเนินงาน
ในการดำเนินงานสอนบิดามารดา ในการให้บิดามารดา มีส่วนช่วยส่งเสริมพัฒนาการเด็ก และบันทึกพัฒนาการเด็ก ในแต่ละช่วงวัยของเด็ก 0 – 5 ปี นั้น บิดามารดามีความตระหนักถึงการที่จะมีส่วนร่วมไปสังเกตและบันทึกพัฒนาการเด็กในสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก มีการซักถาม และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากสมาชิกกลุ่มด้วยกันสร้างบรรยากาศในการเข้ากลุ่มแบบมีส่วนร่วมได้มีการเสนอความคิดเห็นในการส่งเสริมพัฒนาการในด้านต่างๆ ให้แก่สมาชิกกลุ่ม หลังจากได้ให้การสอนแก่บิดามารดาไปแล้ว ได้มีการติดตามดูการบันทึกพัฒนาการของเด็ก ในสมุดบันทึกสุภาพแม่และเด็ก ในจำนวน 100 คน พบว่ามีการบันทึกพัฒนาการของเด็กถูกต้อง 80% ซึ่งจะต้องติดตามในกลุ่มที่บันทึกไม่ถูกต้อง อีก 20% และให้บิดามารดา เห็นความสำคัญต่อการบันทึกพัฒนาการของเด็กต่อไป เพื่อจะให้บิดา มารดา ช่วยส่งเสริมพัฒนาการเด็ก และบันทึกพัฒนาการของเด็กในสมุดสุขภาพแม่และเด็กอย่างต่อเนื่อง เด็กจะได้รับการดูแลเอาใจใส่จากบิดามารดาเป็นอย่างดี
ตัวอย่าง
แผนการสอน บิดา มารดา
ผู้รับการอบรมพ่อแม่เด็ก อายุ 0 – 5 ปี
วัตถุประสงค์ / เนื้อหา สถานที่ รอบการจัด วิธีสอน เวลา สื่อการใช้
การส่งเสริมพัฒนาการ โรงเรียนพ่อ – แม่ วันพฤหัสบดี แบบมีส่วนร่วม 30 นาที -ภาพพลิก
เด็กอายุ 1 – 2 เดือน หน่วยที่ 8 08.30-11.00 น.
-สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก
คลินิกส่งเสริม
สุขภาพเด็กดี
4
แผนการสอน เลี้ยงลูกอย่างไรให้ฉลาด
ผู้เข้ารับการอบรม พ่อแม่ เด็กอายุ 4 เดือน
วัตถุประสงค์ เพื่อให้พ่อ แม่ มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุ 4 เดือนได้
เวลา 10 นาที
วัตถุประสงค์เฉพาะ
เนื้อหาสาระ
กิจกรรมการเรียนการสอน
เวลา
สื่อการสอน
ประเมินผล
1.เพื่อให้ผู้เข้าอบรม
เข้าใจและเห็นความ
สำคัญของพัฒนาของ
สมองเด็ก
การพัฒนาสมองเด็ก
เด็กแรกเกิด ถึง 5 ปี สมองจะมีการเจริญเติบโต
สูงสุดการที่จะกระตุ้นสมองให้เจริญเติบโตอย่างเต็มที่นั้น จะต้องมีองค์ประกอบสำคัญ คือ
-สิ่งแวดล้อมและอาหารที่สมบูรณ์
-ได้รับการสัมผัสที่อ่อนโยน อบอุ่นในการเลี้ยงดู
-สมองควรกระตุ้นจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ
ดมกลิ่น ตาเห็น หูฟัง ปากลิ้มรส ผิวสัมผัส
-การได้เล่นและโต้ตอบพูดคุยจากพ่อแม่
-ได้รับการตอบสนองตามความต้องการมีความ
เครียดน้อย
1.วิทยากรแนะนำตัว
2.วิทยากรนำเข้าบทเรียน โดยให้ผู้เข้าอบรม
เสนอความคิดเห็นว่าพัฒนาการของเด็ก
มีความสำคัญอย่างไร
3.วิทยากรบรรยายและให้กลุ่มเสนอแนะ
องค์ประกอบที่สำคัญต่อการพัฒนาของ
สมองเด็ก
5 นาที
-บรรยาย
-การถาม ตอบ
2.เพื่อให้ผู้เข้าอบรม
เข้าใจความหมายของ
พัฒนาการ
เลี้ยงลูกให้เก่ง ดี มีสุข
ความหมายของพัฒนาการ หมายถึง ความสามารถของเด็กในด้านต่างๆ ที่เด็กสามารถทำได้ในช่วงอายุ ที่ควรทำได้ แบ่งออกเป็นพัฒนาการด้านร่างกาย ด้านสติปัญญา ด้านจิตใจและอารมณ์ ด้านสังคม
1.วิทยากรถามผู้เข้าอบรมเกี่ยวกับความหมาย
ของพัฒนาการ
2.วิทยากรสรุปความคิดเห็นและบรรยายถึง
ความหมายของพัฒนาการและการแบ่ง
ลักษณะพัฒนาการของเด็ก
5 นาที
-ซักถาม
-การเสนอความ
คิดเห็นของสมาชิก
5
วัตถุประสงค์เฉพาะ
เนื้อหาสาระ
กิจกรรมการเรียนการสอน
เวลา
สื่อการสอน
ประเมินผล
3.ผู้รับการอบรมเข้าใจ
พัฒนาการปกติและส่งเสริมพัฒนาการ
เด็กได้อย่างเหมาะสม
เด็กจะเก่งดี มีสุข จะต้องมีพัฒนาการทุกด้านสมวัยและได้รับความอบอุ่นจากพ่อแม่ที่มีปฏิสัมพันธ์ด้วย
พัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วงวัย
-อายุ 4 เดือน ไขว่คว้า หัวเราะเสียงดัง ชูคอในท่าคว่ำ
-อายุ 5 เดือน คืบ พลิกคว่ำพลิกหงาย หันตามเสียงเรียก
-อายุ 6 เดือน คว้าของมือเดียว หันหาเสียงเรียกชื่อ
ลักษณะที่สงสัยว่าลูกอาจมีพัฒนาการผิดปกติ
-3 เดือน ลูกไม่สบตาหรือยิ้มตอบไม่ชูคอในท่านอน
คว่ำ
-6 เดือน ไม่มองตาม ไม่หันตามเสียง ไม่สนใจคนเล่น
ด้วย ไม่พลิกคว่ำ พลิกหงาย
วิธีการส่งเสริมพัฒนาการหรือทำให้เด็กเก่ง / ดี / มีสุข
-เล่นกับลูก พูดคุยหยอกล้อและยิ้มกับลูกบ่อยๆ
-ชมเชยลูกเมื่อลูกทำได้ ให้กำลังใจลูก สนองตอบ
เมื่อลูกต้องการ เช่น ให้นมลูกเมื่อลูกร้องหิว
เล่านิทาน ให้ลูกฟังบ่อยๆ โดยเลือกนิทานที่ดีมี
คุณธรรม และสอนลูกทุกครั้งเมื่อจบการเล่าแต่ละครั้ง
4 เดือน ชูของเล่นให้ลูกไขว่คว้า หัดให้คว่ำ คืบ
5 เดือน วางของเล่นให้ลูกคืบไปหา พูดคุยกับลูก
6 เดือน เรียกชื่อลูกบ่อยๆ เล่านิทาน ประกอบภาพ
3.วิทยากรให้สมาชิกกลุ่มพิจารณาประเด็นพัฒนาการปัจจุบันของลูกและวิธีการส่งเสริมพัฒนาการที่จะกระทำอยู่ และให้เปิดสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็กและทดลองบันทึกพัฒนาการที่ลูกทำได้ด้วยตนเอง
-สาธิตวิธีการส่งเสริมพัฒนาการเด็กและใช้
อุปกรณ์ในชุดประเมินพัฒนาการเด็ก
สมุดบันทึก
สุขภาพแม่และเด็ก
-การบันทึก
พัฒนาการได้
6
แผนการสอน การเล่านิทานสำหรับเด็ก
ผู้รับบริการอบรม พ่อแม่ เด็ก อายุ 9 เดือน - 1 ปี
วัตถุประสงค์ ผู้รับการอบรมสามารถส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้วยการส่งเสริมการเล่น และเล่านิทาน
เวลา 15 นาที
วัตถุประสงค์เฉพาะ
เนื้อหาสาระ
กิจกรรมการเรียนการสอน
เวลา
สื่อการสอน
ประเมินผล
1.บอกประโยชน์ของการเล่นที่มีประโยชน์ต่อพัฒนาการเด็กได้ถูกต้อง
1.การส่งเสริมการเล่นสำหรับเด็ก
ให้ผู้ปกครอง พูดคุย ซักถาม แลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับของเล่น และการเล่านิทาน
5 นาที
ภาพเด็กกับของเล่นในแต่ละวัย
ความสนใจในการสนทนา
2.ระบุวิธีการเลือกของเล่นที่ใช้ในการกระตุ้นพัฒนาการในแต่ละด้านได้เหมาะสม
ถูกต้อง
2.การเลือกของเล่นสำหรับเด็ก
1.ความปลอดภัย
2.ประโยชน์ในการเล่น
3.ประสิทธิภาพในการใช้เล่น
4.ประหยัดทรัพยากร
แสดงของเล่นในแต่ละวัยให้ผู้ปกครองดูและให้ผู้ปกครองแสดงความคิดเห็นและเสริมรายละเอียดตามเนื้อหาสาระให้ในกรณีที่ผู้ปกครองยังแสดงความคิดเห็นไม่ครบถ้วน วิทยากรเสนอแนะเพิ่มเติม
5 นาที
ของเล่นประมาณ1 ชิ้นที่ใช้ในการฝึกทักษะการเรียนรู้แต่ละด้าน
ความสนใจสนทนาและ ซักถาม
3.ชนิดของเล่นเสริมทักษะและการเรียนรู้
3.1 ของเล่นฝึกทักษะการเคลื่อนไหว
3.2 ของเล่นฝึกทักษะกล้ามเนื้อนิ้วมือ
3.3 ของเล่นฝึกทักษะ การใช้มือ ตาให้สัมพันธ์
กัน
7
วัตถุประสงค์เฉพาะ
เนื้อหาสาระ
กิจกรรมการเรียนการสอน
เวลา
สื่อการสอน
ประเมินผล
4.การเล่านิทาน
พ่อแม่ควรเริ่มต้นเล่านิทานปากเปล่า หนังสือ
ควรมีขนาดเล่มที่เด็กถือได้ รูปภาพใหญ่สีสดใส
รูปเล่มนิ่มๆ ให้เด็กถือเล่นโดยเด็กนั่งตัก
วิทยากรนำหนังสือนิทานแต่ละประเภท
รูปแบบที่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็กให้ผู้รับการอบรมดูและถามว่าผู้ปกครองเคยเล่านิทานให้เด็กฟังแล้ววิทยากรและผู้รับการ
อบรมร่วมกันสรุปประโยชน์ของการเล่า
นิทานและการเลือกนิทานที่เหมาะสมกับเด็กพูดคุยและให้ผู้ปกครองได้แสงความคิดเห็นและร่วมสังเกตการเล่นของเด็ก
3.บอกประโยชน์ของการเล่านิทานให้เด็กฟังได้ถูกต้องและวิธีการเล่านิทานได้
ประโยชน์ของการเล่านิทาน ลักษณะของ
ความสนใจของเด็ก
การเลือกนิทานที่เหมาะสมกับเด็กในแต่ละวัย
-โอกาสในการเล่นของเด็ก
-ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเล่านิทานให้เด็กฟัง
-การจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมที่อยู่อาศัย
ที่เสริมสร้างเพื่อเสริมทักษะให้กับเด็ก
หนังสือนิทาน
ตัวอย่างหลายๆ
เรื่อง หลายรูปแบบสำหรับเด็ก
แต่ละวัย
ความสนใจ
ในการแสดงความคิดเห็น
การสรุปเนื้อหา
8
วัตถุประสงค์เฉพาะ
เนื้อหาสาระ
กิจกรรมการเรียนการสอน
เวลา
สื่อการสอน
ประเมินผล
4.สามารถสร้าง ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง
พ่อแม่ลูกได้อย่างเหมาะสมถูกต้อง
ความสำคัญของการมีปฎิสัมพันธ์ต่อ
พัฒนาการ
วิธีการสร้างปฏิสัมพันธ์ ระหว่างการเล่านิทาน
-การโอบกอด
-การเล่นด้วยการสัมผัสเด็กระหว่างการเล่า
เช่น เมื่อปูคลาน ก็ไต่นิ้วไปตามแขนเด็ก
ระหว่างการเล่านิทาน
สาธิตการสร้างปฏิสัมพันธ์ในโอกาสต่างๆ
เช่น เล่นกับลูก เล่านิทาน
5 นาที
หนังสือนิทาน
การแสดงความ
คิดเห็นพูดคุย
ซักถาม
9
ตัวอย่างการบันทึกพัฒนาการเด็ก 0 – 1 ปี ในสมุดบันทึกสุขภาพ
แม่และเด็กที่ให้บิดามารดาเป็นผู้บันทึก (ในช่วงอายุที่ทำได้ )
อายุ
พัฒนาการตามวัย
อายุที่ทำได้
วิธีการส่งเสริมให้ลูกทำได้
แรกเกิด
ถึง 1 เดือน
-มองหน้าแม่
15 วัน
• อุ้มให้หน้าลูกอยู่ในระดับเดียวกับ
หน้าแม่ ยิ้มแย้ม มองสบตาม พูดกับ
ลูกบ่อยๆ หรือขณะให้นมลูก
-ตอบสนองเสียงพูดทำเสียงในคอ
1 เดือน
• พูดกับลูกบ่อยๆ หรือขณะให้นมลูก
• พูดคุยโต้ตอบบ่อยๆ หรืออุ้ม เห่กล่อม
-เคลื่อนไหวแขนขาทั้ง
2 ข้าง
2 วัน
• ให้ลูกนอนหงาย ออกกำลังแขนขา
ขึ้น-ลง– งอ– เหยียด และให้ลูก
เคลื่อนไหวด้วยตนเอง
• ใช้นิ้วมือสัมผัสฝ่ามือลูก ไม่ควรใส่
ถุงมือให้ลูกตลอดเวลา
• ให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียว
จนอายุ 6 เดือน
อายุ 1 – 2 เดือน
-ยิ้มตอบ ยิ้มทักทาย
1 เดือน
• อุ้มลูกหันหน้าแม่เข้าหาแม่ ขณะนั่ง
-แสดงท่าดีใจเมื่อแม่อุ้ม
50 วัน
พูดคุยทำเสียงโต้ตอบ ยิ้มแย้ม สบตาลูก
-ทำเสียง อืออา สนใจ
50 วัน
บ่อยๆ เอียงหน้าไปมาช้าๆ ให้ลูกมอง
-มองตามสิ่งเคลื่อนไหว
2 เดือน
ตามและสัมผัสลูกอย่างอ่อนโยน
-ชันคอในท่าคว่ำ
55 วัน
• ขณะตื่น จัดให้ลูกอยู่ในท่าคว่ำ พูดคุย
ส่งเสียงเหนือศีรษะเพื่อให้ลูกสนใจ
เงยหน้ามอง
อายุ 3 – 4 เดือน
-ทักทายคนคุ้นเคย
-หันหาเสียงหัวเราะ
ส่งเสียงอ้อแอ้โต้ตอบ
-เอามือจับกัน มองตาม
จากด้านหนึ่งจนสุดอีก
ด้านหนึ่ง
3 เดือน
4 เดือน
4 เดือน
• ทักทาย เรียกชื่อลูกเมื่อพบกัน
• พูดคุย สัมผัส เล่นและหัวเราะกับลูก
บ่อยๆ
• พูดคุยโต้ตอบ และหยุดฟัง เพื่อรอ
จังหวะให้ลูกส่งเสียง
10
อายุ
พัฒนาการตามวัย
อายุที่ทำได้
วิธีการส่งเสริมให้ลูกทำได้
-ในท่าคว่ำ ใช้แขนยัน
ชูคอตั้งขึ้น 90 องศา
4 เดือน
• ใช้นิ้วมือแม่ให้ลูกจับเล่นสีสดใส
ลำตัวลูก ด้วยมือลูก 2 ข้าง เขย่า
กรุ๋งกริ๋ง หรือของเล่นสีสดใสให้ลูก
สนใจมอง ค่อยๆ เคลื่อนของเล่นจาก
มือข้างหนึ่งไปอีกข้างหนึ่ง ให้ลูกมอง
ตาม จากนั้นแตะที่หลังมือลูก กระตุ้น
ให้ลูกจับ
• จัดที่ปลอดภัยให้ลูกนอนคว่ำ นำของ
เล่นที่มีเสียง สีสดใสเขย่าเหนือศีรษะ
ลูก ให้ลูกสนใจเงยหน้าขึ้นมอง
อายุ 5 – 6 เดือน
-แสดงอารมณ์และ
ท่าทาง เช่น ดีใจ ขัดใจ
จำหน้าพ่อแม่ได้
-หันตามเสียง เรียกชื่อ
ส่งเสียงสูงๆ ต่ำๆ
-คว้าของมือเดียวและ
สลับมือถือของได้
-เริ่มพลิกคว่ำ พลิกหงาย
คืบ
4 เดือน
10 วัน
6 เดือน
6 เดือน
5 เดือน
15 วัน
•ยิ้มแย้ม ขณะพูดคุยโต้ตอบกับลูก
เรียกชื่อลูกในทิศทางต่างๆ ฝึกให้ลูก
ตอบสนองต่อเสียง
• พูดถึงสิ่งที่กำลังทำอยู่กับลูก หรือพูด
สิ่งที่ลูกสนใจ เช่น อาบน้ำ ฯลฯ
• หาของเล่นที่มีเสียง สีสดใส ทำให้ลูก
สนใจ และไขว่คว้าเล่น
• จัดที่ปลอดภัยและกว้างพอให้ลูกหัด
พลิกคว่ำ พลิกหงายและคืบได้อย่าง
อิสระ พ่อแม่อาจใช้เสียงเรียกหรือของ
เล่นสีสดใสเพื่อกระตุ้นความสนใจให้
ลูกพลิกตัวหรือคืบ
อายุ 7 – 8 เดือน
-กลัวคนแปลกหน้า
รู้สึกผูกพัน ติดคน
ที่เลี้ยงดู
-ชูมือให้อุ้ม
7 เดือน
6 เดือน
• อุ้มลูกไว้ให้ลูกรู้สึกอุ่นใจ ขณะพบปะ
ผู้อื่น และให้เวลาลูกทำความคุ้นเคย
• บอกหรือทำท่าอุ้มให้ลูกรู้ทุกครั้ง
11
อายุ
พัฒนาการตามวัย
อายุที่ทำได้
วิธีการส่งเสริมให้ลูกทำได้
-ทำเสียงพยางค์เดียว เช่น
จ๊ะ ป๊ะ หม่ำ หันหาเสียง
เรียกได้ถูกต้อง
-มองตามของตก
ถือของมือละชิ้น
-นั่งทรงตัวได้เอง
โดยไม่ต้องใช้มือยัน
8 เดือน
8 เดือน
7 เดือน
•พูดถึงสิ่งที่กำลังทำอยู่กับลูก หรือพูด
สิ่งที่ลูกสนใจ เช่น หม่ำๆ ขณะพูดกับ
ลูก ให้เรียกชื่อลูกทุกครั้ง
• อ่านหนังสือกับลูก ชี้ภาพประกอบ
• อุ้มลูกในท่านั่ง ถือของเล่นหรือผ้า
ที่มีสีสดใส ให้อยู่ระดับสายตาลูก
เพื่อให้ลูกสนใจ ปล่อยของเล่นตกลง
เพื่อกระตุ้นให้ลูกมองตามของตก
เปิดโอกาสให้ลูก หยิบของเล่นขนาด
พอดีมือ
• อุ้มลูก น้อยลง ปล่อยให้ลูกนั่งเล่น
ของเล่นที่มือหยิบจับได้ถนัด โดยให้
ลูกเอี้ยวตัวคว้าของจากหลายๆ ทิศทาง
อายุ 9 – 10 เดือน
-เล่นจ๊ะเอ๋ ปรบมือ
มองหาของที่ซ่อนอยู่
-หยิบอาหารกินเอง
ด้วยมือ
-ใช้ท่าทางหรือบอก
ความต้องการ
-ฟังรู้ภาษา เข้าใจสีหน้า
ท่าทางและตอบสนอง
-ส่งเสียงหลายพยางค์
เช่น หม่ำ ๆ จ๊ะ จ๋า
-ใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือ
หยิบของ
-มองหาของ
-คลาน เกาะยืนและ
เหนี่ยวตัวลุกขึ้นยืนจาก
ท่านั่ง
9 เดือน
8 เดือน
10 วัน
9 เดือน
15 วัน
9 เดือน
9 เดือน
9 เดือน
8 เดือน
15 วัน
8 เดือน
10 วัน
•เล่นจ๊ะเอ๋ ร้องเพลง ทำท่าทางต่างๆ
และปรบมือเล่นกับลูกบ่อยๆ
•ให้ลูกใช้นิ้วมือหยิบอาหารชิ้นเล็ก
ที่อ่อนนุ่มเข้าปากเอง เช่น ข้าวสุก
ฟักทองต้ม ไม่ใช้ถั่วหรือของที่จะ
สำลักได้ง่าย หาอาหารชิ้นเล็กให้ลูก
หัดกินเอง
•สอนให้ลูกแสดงท่าทาง เช่น ชี้เมื่อ
อยากได้สิ่งของ
•พูดคุย โต้ตอบกับลูกด้วยน้ำเสียง
และท่าทางที่นุ่มนวล
•จัดพื้นที่ให้ลูกคลาน และเกาะยืนอย่าง
ปลอดภัย
•กระตุ้นให้ลูกยืนจากท่านั่ง โดยวาง
ของที่ลูกสนใจบนเก้าอี้ กระตุ้นให้ลูก
เหนี่ยวเก้าอี้ลุกขึ้นหยิบของ
12
อายุ
พัฒนาการตามวัย
อายุที่ทำได้
วิธีการส่งเสริมให้ลูกทำได้
อายุ
11 – 12 เดือน
-เลียนแบบท่าทางต่างๆ
เช่น ไหว้ โบกมือลา
หอมแก้ม โยกตัวตาม
จังหวะเพลง
-ดื่มน้ำจากถ้วย โดยต้อง
ช่วยเหลือ
-พูดได้ 1 คำ อย่างมีความ
หมาย เข้าใจเสียงห้าม
และหยุดทำ
-ถือสิ่งของขนาดพอมือ
2 อัน เคาะกัน
-ยืนเองได้ชั่วครู่ หรือ
ตั้งไข่
11 เดือน
10 เดือน
12 เดือน
11 เดือน
11 เดือน
5 วัน
• เป็นตัวอย่างสอนให้ลูกเลียนแบบ
ท่าทางต่างๆ เช่น ไหว้ โบกมือ
หอมแก้ม และชมเชยเมื่อลูกทำได้
• สิ่งที่ลูกไม่ควรทำ ให้บอกทุกครั้ง
• ให้ลูกถือของมือละชิ้น แล้วกระตุ้น
ให้ลูกนำมาเคาะกัน โดยแม่อาจทำให้
ดูเป็นตัวอย่าง
• จัดหาสถานที่ราบเรียบ ไม่ลื่น
ปลอดภัย ให้ลูกหัดยืน โดยพ่อแม่ดูแล
อย่างใกล้ชิด และให้กำลังใจ
13
10. การนำไปใช้ประโยชน์
1.บิดา มารดา มีความรู้ และทักษะในการเลี้ยงดูบุตรได้อย่างถูกต้อง
2.บิดา มารดา สามารถบันทึกพัฒนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็กในสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็กได้ถูกต้อง
11. ความยุ่งยากในการดำเนินการ / ปัญหา / อุปสรรค
1. การจัดทำแผนการสอน ในการสอนบิดามารดาในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0 – 5 ปี ต้องใช้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับเนื้อหาในการให้คำแนะนำต้องใช้วิชาการ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้รับบริการ
2.การใช้องค์ความรู้ ทักษะ ความสามารถในการให้ความรู้แก่ผู้รับบริการตลอดจนถึงทักษะการให้บริการแบบองค์รวม
3.ในการเข้ากลุ่มในแต่ละครั้ง เพื่อฐานความเข้าใจของผู้รับบริการ ไม่เหมือนกัน ผู้ให้การแนะนำจะต้องใช้ทักษะอย่างมากเพื่อให้ผู้รับบริการมีความเข้าใจในเรื่องเดียวกัน
12. ข้อเสนอแนะ / วิจารณ์
1.ในการจัดทำการสอนนั้น จะต้องมีการพัฒนาความรู้ และรูปแบบในการให้ความรู้ คำแนะนำอยู่เสมอ เพื่อให้ครอบคลุมถึงปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเกิดหรือมีเพิ่มขึ้น
2.นำประสบการณ์ในการให้คำแนะนำแก่บิดามารดาที่ได้รับมาพิจารณา และหาความบกพร่อง
ของเนื้อหาที่จะนำมาปรับใช้อยู่เสมอ
3.พัฒนาทักษะการให้คำแนะนำแก่บิดามารดา ในบางครั้งผู้รับบริการอาจมีความวิตกกังวล เกี่ยวกับเนื้อหาที่ให้คำแนะนำต้องหาวิธีช่วยผ่อนคลาย ความวิตกกังวล แก่บิดามารดา ที่เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
13. กิตติกรรมประกาศ
การศึกษาในครั้งนี้ได้รับความอนุเคราะห์ในการให้คำปรึกษา และคำแนะนำในการดำเนินงาน ด้านข้อมูล จากนายแพทย์ภิศักดิ์ เลิศเรืองปัญญา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ฝ่ายการพยาบาลทุกท่าน หัวหน้าคลินิกส่งเสริมสุขภาพเด็กดี และเจ้าหน้าที่ประจำคลินิกทุกท่าน ที่ช่วยรวบรวมข้อมูล ทำให้การทำงานครั้งนี้สำเร็จไปได้ด้วยดี
14
14. เอกสารอ้างอิง
กระทรวงสาธารณสุข.2548.สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก (เอกสารอ้างอิง)
กระทรวงสาธารสุข.2548. คู่มือการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค.กรุงเทพมหานคร.สำนักงานกิจทาง
โรงพิมพ์องค์การ สงเคราะห์ทหารผ่านศึกษา
นิตยา คบภักดี. 2547. การส่งเสริมการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย. สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนา
เด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ .
ลดาวัลย์ ศิริรินิรันดร์ . 2547. การศึกษาใช้สื่อคำแนะนำประกอบเสียงทางคอมพิวเตอร์ แก่ผู้ดูแลเด็ก
ในการสังเกตและบันทึกพัฒนาการเด็ก อายุ 1 - 12 เดือน ที่คลินิกส่งเสริมสุขภาพเด็กดี.
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่.
สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. กระทรวงสาธารณสุข.2549. โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กสมวัย
(อายุ 0-5 ปี). ปีงบประมาณ 2549 เอกสารประกอบการประชุม วันที่ 20 มกราคม 2549.
ณ ห้องประชุมกลุ่มอนามัยแม่และเด็ก ชั้น 2 สำนักส่งเสริมสุขภาพ (เอกสารอัดสำเนา)
15

หมายเลขบันทึก: 190237เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2008 10:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อยากสมัครเป็นสมาชิก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท