มองแบบ “เหตุปัจจัย” ทำให้ “อัตตาตัวตน” ของคนเราลดลงได้ ?


ผู้รู้บางท่านบอกผมว่าการมองแบบเหตุปัจจัย ก็คือการใช้หลัก “อิทัปปัจจยาตา” ของพระพุทธเจ้านั่นเอง!!

         การมองเห็นเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในลักษณะ เหตุปัจจัย จะทำให้ อัตตาตัวตน ของคนเราลดลงได้ . . . ท่านว่าจริงไหม? ตัวอย่างเช่น เวลาใครมาชมผมว่า บรรยายดี ผมจะรู้สึกเปรมปรีดิ์ หัวใจพองโต ยิ่งถ้าตอนนั้นสติไม่ว่องไว ก็เผลอ (หลง) คิดไปว่า ข้าแน่ ข้าเก่ง แต่การมองแบบ เหตุปัจจัย ช่วยทำให้ Ego ลดลงไปได้ คือทำให้เห็นว่าสิ่งนี้มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้มันออกมาดี อาทิเช่น เป็นเพราะผู้ฟังมีสมาธิในการฟัง บรรยากาศของห้องบรรยายเอื้อให้เกิดการเรียนรู้ มีการเตรียมความพร้อมให้ผู้ฟังมาตั้งแต่ Session ก่อนหน้านี้ เป็นต้น 

         การมองแบบ เหตุปัจจัย ถ้าใช้ภาษาอังกฤษผมว่าน่าจะตรงกับหลักของ “Systems Thinking” คือเป็นการคิดแบบไม่ให้หลุด ภาพรวม ให้เห็น ป่าทั้งป่า ก่อนที่จะมามอง ต้นไม้แต่ละต้น คนส่วนใหญ่มักจะแปลคำว่า Systems Thinking เป็น การคิดเชิงระบบ ซึ่งอาจทำให้หลายคนเข้าใจผิด คิดว่าคำว่า ระบบ นั้นหมายถึงระบบที่เป็น กลไก ที่ตรงกับคำว่า “Systematic Thinking” การมองแบบเหตุปัจจัย หรือ Systems Thinking นั้นผมว่าเป็นระบบในลักษณะที่ โยงใย ไม่ใช่ระบบที่เป็น กลไก คือเป็นการมองภายใต้กระบวนทัศน์ของ วิทยาศาสตร์ใหม่ ที่ได้จากทฤษฎี ควอนตัมฟิสิกซ์ ไม่ใช่มองแบบกลไกภายใต้กระบวนทัศน์  วิทยาศาสตร์แบบนิวตัน

         ผู้รู้บางท่านบอกผมว่าการมองแบบเหตุปัจจัย ก็คือการใช้หลัก อิทัปปัจจยตา ของพระพุทธเจ้านั่นเอง!!

หมายเลขบันทึก: 190189เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2008 08:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • สวัสดีครับอาจารย์
  • มา ลปรร. ครับ
  •  ที่ว่าหลักมูลฐานนั้น มิส่วนที่เป็นหลักอยู่ไม่มากมาย จนถึงกับพระพุทธเจ้าท่านเรียกของท่านว่า "มันกำมือเดียว" มันมีเรื่องเพียงกำมือเดียว ไม่มากมายเต็มไปทั้งบ้านทั้งเมืองหรือทั้งป่า ซึ่งในสูตรที่มีอยู่ในสังยุตนิกายเล่าเรื่องนี้ไว้ชัดว่า ; เมื่อกำลังเดินกันอยู่ในป่า พระพุทธเจ้าท่านกำใบไม้ที่เรี่ยราดอยู่ขึ้นมากำมือหนึ่ง แล้วถามภิกษุทั้งทลายในที่นั้นว่า ใบไม้ที่กำขึ้นมานี้กับใบไม้หมดทั้งป่ามันมากน้อยกว่ากันกี่มากน้อย ทุกคนก็เห็นได้ว่า มันมากกว่ากันมาก จนเปรียบกันไม่ไหว ถึงแม้พวกเราที่นี่ เดี๋ยวนี้ก็ลองทำมโนภาพถึงของจริงในเรื่องนี้ดูให้เห็นชัดว่ามัน มากมายยิ่งกว่ากันเสียทีหนึ่งก่อน พระพุทธเจ้าจึงบอกว่านี่มันอย่างนี้ คือว่าเรื่องที่ตรัสรู้และรู้นั้นมันมาก เท่ากับใบไม้ทั้งป่า แต่เรื่องจำเป็นที่ควรรู้ ควรนำมาสอนและนำมาปฏิบัตินั้นเท่ากับ ใบไม้กำมือเดียว
  • แก่นพุทธศาสตร์ โดย พระราชชัยกวี (ภิกขุ พุทธทาส อินทปัญโญ) : ธรรมกถาในโอกาสพิเศษ ณ ชุมนุมศึกษาพุทธธรรม (ศิริราช) ในอุปการะของคณะแพทย์ศาสตร์และศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ ๑๗ ธันวาคม ๒๕o๔

ขอบคุณอาจารย์กวิน สำหรับ link "แก่นพุทธศาสตร์" ของท่านอาจารย์พุทธทาส ที่ให้มาครับ . . . เยี่ยมมากครับ

เรียน ท่านอาจารย์ 

  • เห็นตัวเองให้น้อยลง ก็จะเห็นคนอื่นให้มากขึ้น

so sad

ภาพๆเดียว มีความหมายเท่าคำนับร้อยคำ แค่ภาพนี้จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในจีน ก็ทำให้จินตนาการได้เป็นเรื่องราวว่ามือที่เห็นอยู่ในหลืบเป็นมือชายหรือหญิง เด็กหรือผู้ใหญ่ เพื่อนหรือพี่น้อง ที่สำคัญคือ ยังมีชีวิตอยู่หรือไม่....









 

 

ขอเสริมนิดหนึ่งครับว่า การมองแบบ "เหตุปัจจัย" นั้นกว้างใหญ่กว่าการใช้ "เหตุผล" มากมายนัก

ผมเห็นด้วยกับอาจารย์กวิน เรื่องใบไม้กำมือเดียว ความจริงแท้นั้นมีหนึ่งเดียว ทั้ง 84000 พระธรรมขันธ์ ล้วนมุ่งสู่ความจริงแท้

อย่างไรก็ตามเรามักจะสับสนปนกันเรื่อง สัจจธรรม กับ สมมุตสัจจะ บางครั้งความเคยชินทำให้เรามองไม่ออกก็มี

คำสอนของพระพุทธองค์ ล่วงมากว่า 2500 ปี ผ่านการแต่งเติม ตีความ โจมตี มามากมายทุกวันนี้ รูปแบบทำให้ พุทธศาสนิกชนค่อนข้างสับสนและหลงได้ง่าย

ก็ต้องแยกเอาแหละครับ เรื่องใดที่แปลกแยกไปจากการสอนเรื่องความหลุดพ้น การตีความใดที่ผิดไปจากเรื่องความหลุดพ้น คงต้องชั่งน้ำหนักกันดู

ดร.ปรพนธ์ ไม่ทราบช่วงนี้มีงานแปลของ Osho เพิ่มเติมบ้างหรือเปล่าครับ

ขอเสริมคุณ "พบธรรม" ว่า . . . การใช้ชีวิตทุกวันนี้ ผมว่ามันมีทั้งเรื่อง "สัจจธรรม และ สมมุตสัจจะ" สลับกันไปสลับกันมาอยู่ตลอดเวลา . . .

แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น (ตามความคิดของผม) น่าจะเป็นเพราะเรา "หลง(ยึด)ติด" อยู่กับ สมมุตสัจจะ ตลอดเวลาจนลืมไปว่า "ธรรมะ หรือ สัจจธรรม" ตามที่เป็นจริงนั้นคืออะไร?

เรื่องหนังสือเล่มใหม่ของโอโช่ที่ถามมามีชื่อว่า "เซน: หนทางบนความขัดแย้ง" ครับ เข้าใจว่ายังไม่มีวางขาย สนใจติดต่อได้โดยตรงที่ 08-1919-8111 ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท