หลากหลายประโยชน์ของธารปัญญา


ใช้ประเมิน วางยุทธศาสตร์ ติดตามผล
หลากหลายประโยชน์ของธารปัญญา
           ขอเอาส่วนหนึ่งของ e-mail ของ ดร. อุษา ดวงสา แห่งคณะศึกษาศาสตร์  มช. ([email protected]) เขียนแลกเปลี่ยนความเห็นจากประสบการณ์กับสมาชิกเครือข่าย KM Aids competence, [email protected]  ดังต่อไปนี้

 

Dear friends,
I've found your sharing on self-assessment tool very interesting and
very useful, so please allow me to share  some experiences from
Thailand too.  During the past 1-2 years we have also used the tool
quite a lot with communities participating in the Project for
Promoting Participatory Learning from HIV/AIDS and other related
projects in several regions of the country.   Sometimes the tool was
used as an evaluation tool i.e. to compare 'past' and 'present'
achievements (such as before the project started, and one year after
project implementation).  Sometimes the tool was used as a
strategizing and planning tool i.e. to compare 'current' and 'target'
levels of achievement, then prioritize which targets to aim for first,
then strategize how to arrive at  that level of competence.  
Sometimes both were combined into one i.e. communities analyzed their
past, current, and target levels of competence, then strategized and
planned further action.  The tool was also used sometimes as a
monitoring tool, i.e. several months after having developed and put
the strategies and plan into practice, the community would do the
self-assessment again to assess whether they were now where they had
planned to be several months ago.   Some communities were taking the
self-assessment so seriously that they proposed to postponed the
scheduled self-assessment session for a while so that they would have
time to do more activities and so that they could give themsleves a
higher score.

 

Overall the experiences were very positive and my colleagues as well
as the participating communities found the tool very useful. 
However, my colleagues and I agree that the tool should be reviewed,
updated,  and/or  revised based on lessons learned in different
communities, countries, contexts,  etc.  I'm sure many of us have
adapted the tool in some ways to make it serve our various purposes
and contexts better.  So it will be great if  we can all share not
only experiences of using the tool but also ideas on how to improve on
it.  Or to suggest which practice may be taken out or merged with
another practice, so as to give way to another, more pressing
practice.

 

            ตัวเข้มและตัวอักษรขนาดใหญ่นั้นผมเป็นผู้เน้น     เพื่อให้เห็นว่าเครื่องมือธารปัญญานี้อาจเอาไปใช้ประโยชน์ได้ในหลายเป้าหมาย     ดร. อุษา บอกว่าตนเคยใช้เป็นเครื่องมือ ในกิจกรรม ๓ ด้าน ได้แก่
1.        ประเมินเพื่อเปรียบเทียบขีดความสามารถในอดีต กับปัจจุบัน     การใช้แบบนี้ ดร. วิบูลย์ วัฒนาธร แห่ง มน. ก็ใช้
2.        วางยุทธศาสตร์และแผน    คือใช้เปรียบเทียบขีดความสามารถในปัจจุบัน กับในอนาคต     และร่วมกันกำหนดว่าขีดความสามารถใดที่มีความสำคัญลำดับต้นที่จะพัฒนาก่อน
3.        ติดตามผล    คือเมื่อดำเนินการพัฒนาขีดความสามารถตามลำดับความสำคัญที่กำหนดไปได้ระยะหนึ่ง เช่น ๓ เดือน    ก็ใช้เครื่องมือธารปัญญาในการติดตามความคืบหน้า 

 

ท่านผู้อ่านมีประสบการณ์ใช้เครื่องมือธารปัญญาเพื่อการอื่นอีกไหมครับ     ขอเชิญชวนให้เขียน บล็อกเล่าประสบการณ์การใช้เครื่องมือธารปัญญากันนะครับ
วิจารณ์ พานิช
๒ สค. ๔๘

คำสำคัญ (Tags): #เทคนิค#km
หมายเลขบันทึก: 1900เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2005 08:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2012 16:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ประโยชน์ของเครื่องมือธารปัญญาจากประสบการณ์ที่ได้ใช้เครื่องมือดังกล่าวพบว่าในเวทีขณะทำ work shop สร้างเกณฑ์และ ประเมินตนเอง  สุดท้าย วางแผนเพื่อจะเดินให้ถึงเป้าหมาย

  • ในจังหวะนี้เองที่ดิฉันได้ทดลองโยนคำถามเข้าไปเพื่อให้สมาชิกได้สะท้อนความคิด อาทิเช่น 1. มีวิธีการอื่นอีกไหม? ที่สามารถพัฒนาศักยภาพของสมาชิกจากที่เป็นอยู่ให้ไปสู่เป้าหมายในระยะเวลาสั้นๆ     2. หากใช้วิธีการเรียนลัดจะทำอย่างไร  ใครจะช่วยเรา    และ ป้อนคำถามที่กระตุกต่อมความคิดของสมาชิก  และฝึกทักษะการตั้งคำถามและทักษะ coaching ของคุณอำนวย                
  • อีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญต่อความสำเร็จคือการสร้างแรงจูงใจ ด้วยการให้กำลังใจ ในระหว่างการดำเนินการพัฒนาควบคู่กับการติดตามประเมินผล และตบท้ายด้วยความชื่นชมในความพยายาม
  • ฉะนั้น การประยุกต์เครื่องมือธารปัญญากับเทคนิค coaching  การตั้งคำถาม และ motivation     ด้วยกันจะทำให้เกิดพลังอย่างมหาศาล
  •       ไพฑูรย์  ช่วงฉำ

ปัจจุบันผมทำหน้าที่หัวหน้าโครงการ HR Scorecard และ Competency ของสถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษาอยู่ สนใจ tools ที่อาจารย์เขียนไว้มาก  ขณะนี้กำลังจัดทำการประเมิน Competency ขององค์กรและบุคลากรอยู่ตามระบบงาน HR Scorecard  จึงอยากขอความอนุเคราะห์ว่าจะขอหรือติดต่อนำ Tools ดังกล่าวมาใช้งานได้หรือไม่ และอย่างไรครับ

                          ชัชรินทร์  ชวนวัน เจ้าหน้าที่ฝึกอบรม 8

                          สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา 

                          กระทรวงศึกษาธิการ

อ. ชัชรินทร์ เข้าไปดู (และ download) เรื่องธารปัญญา ได้ที่ www.kmi.or.th
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท