การตรวจสุขภาพและการทดสอบสมรรถภาพทางกาย


สุขภาพที่ดี

1.  การตรวจสุขภาพ

การตรวจสุขภาพในการเรียนวิชาพลานามัยควรทำทุกครั้งหรือบ่อยที่สุดเมื่อมีการเรียนการสอน และให้สัมพันธ์กับการตรวจสุขภาพในโครงการด้านสุขภาพของโรงเรียน ในการดำเนินการตรวจนั้นอาจดำเนินการโดยครูหรือมอบหมายให้หัวหน้ากุล่มเป็นผู้ตรวจแล้วบันทึกผล และมีรายงานผลการตรวจเป็นระยะ ๆ ด้วย

สำหรับการตรวจสุขภาพนั้นแบ่งเป็น 2 วิธี คือ

1.  การคำนวณหาดัชนีมวลกาย (การชั่งน้ำหนักเปรียบเทียบกับส่วนสูง) สำหรับในเด็กและวัยรุ่น อายุระหว่าง  5-19 ปี  จะนำค่าของน้ำหนัก และส่วนสูง ไปเปรียบเทียบกับกราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตน้ำหนักกับเกณฑ์ส่วนสูง ส่วนสำหรับผู้ใหญ่อายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป จะนำค่าของน้ำหนักและส่วนสูง แล้วมาคำนวณตามสูตร ดังนี้

 

                ดัชนีมวลกาย  =     น้ำหนักเป็นกิโลกรัม            กิโลกรัมต่อตารางเมตร

                                                 (ส่วนสูงเป็นเมตร)2                 

 

ผลลัพธ์ที่ได้  ถ้ามีค่า

ต่ำกว่า    18.5       กิโลกรัมต่อตารางเมตร  แสดงว่า  ผอม  น้ำหนักน้อยหรือขาดสารอาหาร

                อยู่ในช่วง  18.5-24.9  กิโลกรัมต่อตารางเมตร  แสดงว่า  น้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

                อยู่ในช่วง  25.0-29.9  กิโลกรัมต่อตารางเมตร  แสดงว่า  น้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน (ท้วม)

                อยู่ในช่วง  30.0  กิโลกรัมต่อตารางเมตร  แสดงว่า  เป็นโรคอ้วน

 

                2.  การสังเกต  โดยวิธีดังต่อไปนี้

1.1    ความสะอาดของร่างกาย  ตั้งแต่เส้นผมจรดปลายเท้า ดูลักษณะของผิวหนัง ผิวพรรณ

1.2    ทรวดทรง ดูท่ายืน ท่านั่ง มีการจัดทรวดทรงที่สดดุลย์หรือไม่

 

การตรวจสุขภาพนี้เป็นการค้นหาสิ่งผิดปกติหรือความเบี่ยงเบนเพื่อจะได้หาทางแก้ไขความผิดปกติแต่เนิ่น ๆ

 

2.  การทดสอบสมรรถภาพ

                การทดสอบสมรรถภาพทางกาย มีจุดมุ่งหมายในการประเมิน ดูความสมบูรณ์ของร่างกายในการเคลื่อนไหวทำงานโดยทั่วไป ซึ่งแบบทดสอบที่ใช้กันนั้นมีอยู่หลายแบบครูผู้สอนสามารถเลือกได้ตามความถนัดความสนใจ และตามความพร้อมของสถานที่และอุปกรณ์

                ตัวอย่างแบบทดสอบสมรรถภาพ  นิยมวัดจากปัจจัยที่มีผลต่อสมรรถภาพ คือ ความแข็งแรง ความเร็ว ความอ่อนตัว  ความคล่องตัว ความอดทน ความสมดุล และพละกำลัง

               

รายการทดสอบสมรรถภาพ

1.       วิ่ง 50 เมตร  (วัดความเร็ว)

2.       ยืนกระโดยไกล  (วัดพละกำลัง)

3.       ลุก นั่ง  30 วินาที  (วัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อท้อง)

4.       ดึงข้อราวเดี่ยว / งอแขนห้อยตัว  (วัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออกและหัวไหล่)

5.       วิ่งเก็บของ  10 เมตร (วัดความคล่องตัว)

6.       งอตัวข้างหน้า  (วัดความอ่อนตัว)

7.       วิ่ง 800 (หญิง) / 1,000 (ชาย)  เมตร    (วัดความอดทน)

 

การเลือกแบบทดสอบที่ใช้ตามมาตรฐานสากล  หรือ มาตรฐานของประเทศ  มีจุดดี  คือ  สามารถเปรียบ

เทียบความสามารถของนักเรียนกับเกณฑ์มาตรฐาน แต่ก็จะมีความยุ่งยากในการวัดและทดสอบ ซึ่งต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ดังนั้นครูจึงเลือกใช้แบบทดสอบใดก็ได้

หมายเลขบันทึก: 189374เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2008 13:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 14:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท