โครงการประสานงานวิจัยการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น


หลักการและเหตุผล

          ฐานคิดสำคัญของการบริหารและจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานคือ  การจัดการศึกษาที่ให้โอกาสชุมชนได้มีส่วนร่วมมีความเหมาะสมสอดคล้องกับท้องถิ่นและเอื้อต่อการปฏิบัติงานร่วมกันกับงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย  ที่มีทิศทางการทำงานมุ้งเน้นไปที่  "สร้างสรรค์ปัญญาพัฒนาท้องถิ่น"  และด้วยแนวคิดดังกล่าว  ศูนย์ประสานงานวิจัยการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นจังหวัดมหาสารคาม  ร่วมกับโครงการวิจัยรูปแบบและ  ได้ริเริ่มที่จะพัฒนา  "ชุดโครงการประเด็นการศึกษา"  โดยกำหนดโจทย์วิจัยเบื้องต้นว่า  "ชุมชน  สถานศึกษาและท้องถิ่น  จะร่วมกันพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้อย่างไร"

          จึงเริ่มจากการพัฒนา โครงการด้านการศึกษา  ที่ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจาก  (สกว.)  สำนักงานภาค  แล้ว  2  โครงการจากนั้นได้ขยายเครือข่ายโครงการจนพร้อมที่จะนำเสนอเอกสารเชิงหลักการเพื่อขออนุมัติทุนอีก  จำนวน  10  โครงการ  และกำหนดเป้าหมายการพัฒนาเครือข่ายให้ได้  จำนวน  20  โครงการ  ภายในปี  พ.ศ.2549  โดยการพัฒนาคุณภาพการศึกษาครั้งนี้ใช้ชื่อว่า  "โครงการชุดประเด็นการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น  จังหวัดมหาสารคาม" 

          เพื่อให้มีศูนย์กลางประสานงานตามกิจกรรมของโครงการชุดประเด็นการศึกษาจึงควรกำหนดให้มีและจัดตั้ง  "ศูนย์ประสานงานวิจัยชุดประเด็นการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นจังหวัดมหาสารคาม"  เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ภารกิจ / กิจกรรม  ของงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น   ชุดประเด็นการศึกษา  ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ  บรรลุสำเร็จตามวัตถุประสงค์  และมีพัฒนาการที่ดีขึ้นตามลำดับต่อไป

วัตถุประสงค์

          1.  เพื่อเป็นศุนย์กลางประสานงานวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่นชุดประเด็นการศึกษา        

          2.  เพื่อส่งเสริมสนับสนุนงานวิจัย  เพื่อพัฒนาท้องถิ่นชุดประเด็นการศึกษา  ให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ

          3.  เพื่อประมวลสถานการณ์การพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาชุมชนและท้องถิ่น

          4.  เพื่อค้นหา  สังเคราะห์  ทางเลือก  รูปแบบของคุณภาพการศึกษาโดยความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาชุมชนและท้องถิ่น

คำถามวิจัย

           ชุมชน  สถานศึกษา  และท้องถิ่น  จะร่วมมือกันพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้ความเป็นท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้อย่างไร

เป้าหมาย

           1.  การดำเนินงานระยะที่  1  พ.ศ.  2549 - 2552  โดยมีการวางแผนการดำเนินงานใน  2  ลักษณะ  คือ

                1.1  แผนดำเนินงานระยะที่  1  พ.ศ.  2549 - 2552

                1.2  แผนดำเนินงานเฉพาะปี    พ.ศ.  2549 - 2550 , 2551 - 2552

           2.  สาระหลักของการดำเนินงาน

                เพื่อพัฒนาท้องถิ่น  จังหวัดมหาสารคาม  โดย  "การค้นหาและสังเคราะห์  ทางเลือก   รูปแบบของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยความร่วมมือระหว่างสถานศึกษา  ชุมชนและท้องถิ่น"

           3.  เป้าหมายเชิงปริมาณ

               กำหนดพื นที่เป้าหมายเป็นสถานศึกษา  ชุมชน  ท้องถิ่น  ได้เข้าร่วมโครงการอย่าง

น้อย  20  โครงการ 

           4.  เป้าหมายเชิงคุณภาพ

               เป้าหมายเชิงคุณภาพโดยมีทิศทางไปที่การได้มาซึ่งทางเลือก   หรือรูปแบบ  ของการพัฒนาคุณภาพการศึกษา   โดยความร่วมมือระหว่างสถานศึกษา  ชุมชนและท้องถิ่นซึ่งทางเลือกหรือรูปแบบนั้น  จะต้องมีคุณภาพบนความผสมผสานของการศึกษาในระบบ  นอกระบบ  และตามอัธยาศัย  สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้จริงอย่างเป็นรูปธรรม

ยุทธศาสตร์การดำเนินงาน 
                   การดำเนินงานวิจัย   มีเจตนารมณ์สำคัญ ที่จะร่วมกันค้นหาและสังเคราะห์ ทางเลือก, รูปแบบ  ของการพัฒนาคุณภาพการศึกษา  โดยความร่วมมือระหว่าง  สถานศึกษา  ชุมชน  และ ท้องถิ่นด้วยคำถามวิจัย   

              “ชุมชน  สถานศึกษา  และท้องถิ่นจะร่วมกันพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้อย่างไร”   จึงกำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงาน ดังนี้

              1.  ยุทธศาสตร์การสร้างเครือข่ายพื้นที่วิจัย
              2.  ยุทธศาสตร์การค้นหา  ทางเลือกรูปแบบของ   การพัฒนาคุณภาพการศึกษา
              3.  ยุทธศาสตร์การสังเคราะห์  ทางเลือก  รูปแบบ  ของการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
              4.  ยุทธศาสตร์การประสาน  ส่งเสริม  สนับสนุน  งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น  ชุดประเด็นการศึกษา

โครงสร้างการดำเนินงาน
                
ศูนย์ประสานงานได้กำหนดโครงสร้างการดำเนินงาน  ด้วยโครงสร้างการบริหารจัดการ  ดังนี้

            1.  ผู้ประสานางาน  ศูนย์ประสานงานวิจัย  ชุดประเด็นการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น

            2.  คณะทำงานศูนย์ประสานงานวิจัย  จำนวน 10 คน

            3. เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ประสานงานวิจัย จำนวน  1  คน   
            4. โครงการวิจัยย่อยในชุดประเด็นการศึกษาที่เป็น
เครือข่ายพื้นที่วิจัย ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคามและจังหวัดใกล้เคียง
            5.  หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  เพื่อการประสาน  ส่งเสริม  สนับสนุนการดำเนินงานให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น   
            6.  คณะที่ปรึกษาศูนย์ประสานงานวิจัย   


วิธีดำเนินงาน
              การดำเนินงานศูนย์ประสานงานวิจัย     ดำเนินงานภายใต้โครงการ ชุดประเด็นการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น 

จังหวัดมหาสารคาม”   ซึ่งกำหนดแผนดำเนินงานระยะที่  1  พ.ศ. 2549-2552  โดยมีวิธีดำเนินงาน  
                   1.  ประสานความร่วมมือกับศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น จังหวัดมหาสารคาม
                   2.  จัดเวทีชุมชนร่วมกับศูนย์ประสานงานวิจัย       เพื่อท้องถิ่น   
                   3.  เสนอโครงการชุดประเด็น  ต่อ  (สกว.)
สำนักงานภาค
                   4.  จัดตั้งสำนักงานศูนย์ประสานงาน
                   5.  จัดทำแผนดำเนินงานเฉพาะปี  พ.ศ. 2549  จัดทำแผนดำเนินงาน  ระยะที่  1  พ.ศ. 2549-2552
                   6.  ดำเนินงานตามแผนที่กำหนด
                   7.  รายงานผลการดำเนินงานต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
                   8.  เผยแพร่ผลงานสู่สาธารณะ


ผลที่คาดว่าจะได้รับ
                   1.  เชิงปริมาณ
                         ศูนย์ประสานงานวิจัย    มีเครือข่ายพื้นที่วิจัย อย่างน้อย  20  โครงการ  ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม  และจังหวัดใกล้เคียง
                   2.  เชิงคุณภาพ
                         ศูนย์ประสานงานการวิจัย   ได้ค้นพบทางเลือก  รูปแบบของความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
โดยชุมชน  สถานศึกษาท้องถิ่น  โดยเป็นทางเลือกหรือรูปแบบ
ที่มีคุณภาพ  เป็นรูปธรรม   

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 18902เขียนเมื่อ 14 มีนาคม 2006 13:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท