ความงดงามในความว่างเปล่า...


แต่ในการเดินทางของการทำงานครั้งนี้ ตลอดเส้นทางมีความงดงามให้เราสัมผัส สัมผัสด้วยใจ ด้วยความรัก ด้วยมิตรภาพ นับเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ และมีความสุข.

ความงดงามในความว่างเปล่า...

               

        คำว่าความสำเร็จของงาน....กลายเป็นคำที่ไม่อยากใช้กับสิ่งที่พบเห็น หรือสิ่งที่ทำ เพราะเราได้สัมผัสกับความรู้สึกที่มากกว่านั้น คือ....พบความงดงามในหมู่คน..ความสำเร็จอาจต้องใช้เวลาในการเดินทาง...เร็วบ้าง ช้าบ้าง  และในระหว่างเส้นทางก็แฝงด้วยความเหนื่อยมาเป็นระยะๆ 

 

.....แต่ในการเดินทางของการทำงานครั้งนี้ ตลอดเส้นทางมีความงดงามให้เราสัมผัส  สัมผัสด้วยใจ  ด้วยความรัก ด้วยมิตรภาพ นับเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ และมีความสุข...

.....หลายๆปีที่ผ่านมา งานเรื่องสุขภาพโดยเฉพาะการสร้างสุขภาพ...เป็นเรื่องที่มองไม่เห็น...ในความรู้สึกของคน  การเสี่ยงต่อการป่วย  ความเสี่ยงที่จับต้องไม่ได้ เพราะยังไม่เป็นโรค ....เวลาเท่านั้นที่เราต้องรอ ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา เราแสวงหาหนทางและดำเนินการสร้างสุขภาพ เพราะเราไม่รอให้ความเจ็บป่วยมาถึง ...ผู้คนที่เราดูแล  โดยไม่คิดทำอะไร

 

3 เดือนก่อนในเดือนเมษายน เราหว่านเมล็ดพันธุ์  สุขภาพลงในกลุ่มคน กลุ่มหนึ่ง งานในวันนั้นเราเรียกว่า แกนนำคนต้นแบบ ซึ่งมีแนวคิดอยากให้ทุกคนอยู่สบาย ๆ ตามสไตส์โรคที่เป็น  โดยใช้พลังจากเรื่องเล่าดีดี ๆ ก่อให้เกิดพลัง อยากเล่าเรื่องดีดี ช้ำแล้วช้ำอีก   ไม่นานก็เปลี่ยนเป็นอยากทำเรื่องดีดี ช้ำแล้วช้ำอีก 

 

        เมล็ดพันธ์ที่เราลงแรงหว่าน เราหวังว่าสักวันต้องเติบโตและงดงาม เรามั่นใจเพราะเรามีปุ๋ยดี ดินดี และคนรดน้ำพรวนดิน ใครบ้างหละที่มีส่วนในการเจริญงอกงาม  ทีมสุขภาพในพื้นที่ มีอาจารย์ที่ช่วยชี้แนะและแนะนำ และที่สำคัญ คนส่วนหนึ่งของชุมชน เริ่มขยับออกมายืนอย่างสง่างามในการมาช่วยรดน้ำพรวนดินให้เมล็ดพันธุ์สุขภาพของเราให้งดงาม 

เกิดอะไรขึ้นกับกลุ่มคนตนแบบที่ตำบล...บ้านป่า

         - ป้าก้อนดิน ป้าฟ้อย ลุงบุญธรรม  กลับสู่ชุมชนด้วยใจ ..ฮึกเหิม.. ผสมผสานการทำงานกับทีมสุขภาพ  ดังเช่น ป้าก้อนดิน ที่ขี่จักรยานไปรอบหมู่บ้านหาเพื่อน  ๆ คนป่วย ให้มารวมตัวกัน ช่วยกันดูแลตนเอง เกิดเป็นกลุ่มช่วยเหลือกัน เพื่อนำมาสู่การดูแลมีสุขภาพดี

        - ลุงบุญธรรม กลับมาทำความเข้าใจกับคำว่ากลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรค จากทีมสุขภาพบ้านป่า และลงไปช่วยค้นหาคนเสี่ยงตามบ้าน วัดรอบเอวบ้าง ชั่งน้ำหนักบ้าง กดเครื่องคิดเลขติ๋ด ๆ และบอกว่า แกนะแก อ้วนเกินมาตรฐานที่เค้าบอกไว้ ถ้าแกกินเรื่อย เฉื่อย  แกจะเป็นโรคแบบลุง  ว่าแล้วก็รวบรวมสมาชิกอวบ ๆ อ้วน ๆ ได้ 50  กว่าคน มาร่วมงานลดเสี่ยง เสี่ยงโรค (จัดไปแล้ววันที่ 6 มิ.ย. 51)

    

เรื่องยาก ๆ ของเราในการชักจูงคนที่ไม่ป่วย มาสู่กิจกรรมลดเสี่ยง ก็กลายเป็นเรื่องง่าย ๆ ของลุงบุญธรรม ป้าก้อนดิน ป้าฟ้อย

        - แล้วเราหละทำอะไร.....ทีมสุขภาพบ้านป่า และทีม ร.พ. ก็เตรียมรูปแบบการจัดกิจกรรมสร้างอารมณ์ กลุ่มเสี่ยงให้ดำดิ่งลงไปจนเกิดการอยากเปลี่ยนพฤติกรร  แล้วจัดกิจกรรมวันนั้น ก็ผ่านไปอย่างสนุกสนานและมีความสุข เมล็ดพันธ์สุขภาพของเรางอกงามจาก 3 4 คน ขยายเพิ่มเป็น 50 60 คน

 

 

ตัวชี้วัดของเราที่วัดพฤติกรรมการทานอาหาร การออกกำลังกาย รอบเอวที่ลดทำเพิ่มน้ำหนัก ระดับน้ำตาล ระดับความดันโลหิต เป็นสิ่งที่เราต้องเก็บรวบรวม

       

        ตัวชี้วัดที่เราไม่เก็บมารายงานแต่อยากบอกเล่า คือ ความสุข รอยยิ้ม และพลังของป้าก้อนดิน ป้าฟ้อย ลุงบุญธรรม อิ่มแอมไปกับการทำบุญรูปแบบใหม่ คือ ดูแลลูกหลาน เพื่อนบ้าน ไม่ให้ป่วย กลายเป็นพลังการทำงาน เพื่อตัวเอง เพื่อครอบครัว เพื่อชุมชน

 

ผู้เล่า รัชดา พิพัฒน์ศาสตร์

 

หมายเลขบันทึก: 188982เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2008 15:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

รอยยิ้มและความสุขจากการดูแลสุขภาพตนเองได้ดี เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จงานของเราได้ดีที่สุด อ้อ

เป็นกิจกรรมที่ดีนะคะขอชื่นชมมาก ๆผู้ป่วยน่ารักและมีรอยยิ้มสดใสจริง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท