ประสบการณ์


การสังเกตอาการผู้ป่วยสุรา

การบำบัดรักษาผู้ป่วยสุราของแพทย์มียาอยู่ตัวหนึ่งที่ใช้ในการบำบัดรักษาคือ  librium  25  mg.รับประทานครั้งละ  1  เม็ดหลังอาหารเช้า-เย็นและ  2  เม็ดก่อนนอน  วันแรกๆผู้ป่วยรับประมทานยาก็ยังไม่มีอาการอะไรเกิดขึ้น  พยาบาลเฝ้าระวังอย่แล้วเพราะผลข้างเคียงของยาตัวนี้อาจทำให้ผู้ป่วยปวดศีรษะ  สมาธิลดลง  อ่อนแรง  ตาพร่า  คลื่นไส้อาเจียน  ผู้ป่วยบางรายรับประทานยาตัวนี้ได้  2 - 3  วัน  พบว่ามีอาการเดินทรงตัวไม่ดี  และจากการพูดคุยกับผู้ป่วย  ผู้ป่วยจะบอกว่ารู้สึกแขนขาไม่ค่อยมีแรง  โดยเฉพาะขาและยังมึนศีรษะ  เหมือนมีอะไรอยู่ข้างในแต่ไม่ถึงกับปวดพอทนได้  ซึ่งอาการที่พยาบาลสังเกตเห็นและจากการที่ผู้ป่วยบอกทำให้สงสัยว่า  ผู้ป่วยอาจจะแพ้ยาlibrium  ได้  จึงรายงานแพทย์  แพทย์ปรับขนาดของยาจาก  25  mg  เป็น  10  mg  ส่วนเวลารับประทานยังเหมือนเดืม  หลังจากปรับขนาดยาลงแล้วพบว่าผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นเรื่อยๆ  จนเป็นปกติ  แต่มีผู้ป่วยบางรายอาการแขนขาไม่ค่อยมีแรงกลับเป็นมากกว่าเดิม  ไม่ใช่แค่นี้  ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยา   librium  บางรายก็มีอาการแขนขาไม่ค่อยมีแรง  พยาบาลมาวิเคราะห์กันว่าเกิดอะไรขึ้นกับผู้ป่วยกันแน่  เมื่อนึกถึงความจริงแล้วพบว่าเวลาผู้ป่วยดื่มสุรา  ผู้ป่วยมักจะไม่ค่อยรับประทานอาหาร  มีบางรายดื่มสุราแทนน้ำ  คนเราเมื่อขาดสารอาหารก็จะทำให้เกิดความไม่สมดุลของ electrolyte  ได้  จึงรายงานอาการให้แพทย์รับทราบอีกครั้ง  คราวนี้แพทย์สั่งเจาะเลือดตรวจหาelectrolyte  ผลปรากฏว่ามีภาวะโปรแตสเซี่ยมต่ำ  ซึ่งสอดคล้องหลักทางวิชาการว่า  ภาวะโปรแตสเซี่ยมในเลือดต่ำส่วนหนึ่งเกิดจากการที่รับประทานอาหารน้อย  หรืออดอาหาร  จะทำให้มีอาการอ่อนเพลีย  ซึม  กล้ามเนื้ออ่อนแรง  อาจไม่มีแรงหายใจ  แพทย์จึงสั่งการรักษาเพิ่มโดยให้รับประทาน  KCL  Elixer  ครั้งละ  2  ช้อนโต๊ะ   ทุก  4  ชั่วโมงเฉพาะเมื่อมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง  ดังนั้น  ทางตึกมรกตจึงได้กำหนดแนวทางการดูแลผู้ป่วยสุราไว้ดังนี้

1.  ผู้ป่วยที่ได้รับประทานยา librium  ตามการรักษาของแพทย์ให้เฝ้าระวังอย่างใกลิชิดโดยเฉพาะ  2 - 3  วันแรก  ถ้าพบมีอาการแขนขาอ่อนแรง  มึนศรีษะ  ให้สงสัยไว้เลยว่าผู้ป่วยอาจจะมีอาการแพ้ยาlibrium  ก็ได้  ให้รีบรายงานแพทย์ทันที  เพื่อปรับขนาดยา

2.  ผู้ป่วยสุราที่ได้รับการปรับลดขนาดยา  librium  แล้วและผู้ป่วยที่ไม่เคยได้รับยา  librium ถ้ามีอาการแขนขาอ่อนแรงมากขึ้น  ให้สงสัยไว้ก่อนเลยว่าอาจจะมีโปรแตสเซี่ยมในเลือดต่ำ  ให้รายงานแพทย์ทันที  เมื่อแพทย์สั่งเจาะเลือดแล้วถ้าพบ่วาโปรแตสเซี่ยมต่ำจริงจะได้รับการรักษาที่ถูกต้องเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย

      จากประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยสุราของพยาบาลตึกมรกต  คงจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่มทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยสุรา  ถ้าผู้ป่วยที่ท่านดูแลมีอาการเหมือนผู้ป่วยที่กล่าวมาแล้วข้างต้น  ท่านอาจจะนำวิธีการดูแลผู้ป่วยของพยาบาลตึกมรกตไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยสุราของท่านก็ได้

 

                                                                      ด้วยความปรารถนาดีจากพยาบาลตึกมรกต

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 18885เขียนเมื่อ 14 มีนาคม 2006 12:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 12:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท