"เรา" ต้องการอะไร...


         

          จะมีสักกี่มากคนที่จะตั้งคำถามกับตัวเองว่า..."เรา" กำลังต้องการอะไร...ในชีวิต เพราะต่างวิ่งและแสวงหา...ถึงแม้บางครั้งสิ่งที่แสวงหานั้นจะได้มาครอบครองแล้วก็ตาม...แต่ "มนุษย์" ก็ยังไม่เพียงพอ..ที่จะไขว้คว้า...ในสิ่งนั้นๆ  แล้วอะไรล่ะคือสิ่งที่เรากำลังต้องการ...


          เหนือสิ่งอื่นใดที่ "มนุษย์" แสดงออก..และรับรู้นั่นคือ..พฤติกรรม คำพูด สีหน้า แววตา ท่าทาง บ่งบอกทางอารมณ์...แล้วภายใต้การแสดงออกนั้น..คืออะไร

 

h2o

 

เคยมีใครตั้งคำถามหรือไม่..

เพราะอะไรเราถึงมีพฤติกรรมอย่างนั้น..พูดอย่างนั้น...มีอารมณ์อย่างนั้น  เพราะอะไร
เราคาดหวังอะไร..ต่อการแสดงออกนั้น เราอยากให้เกิดอะไร..

อยากให้อีกคน ชุมชน สังคม...รับรู้ว่าอย่างไรเกี่ยวกับเรา
และหากเมื่อเขาเหล่านั้น..รับรู้แล้ว...เรารู้สึกอย่างไร...

หาให้เจอว่าเรารู้สึกอย่างไร..."ดีใจ เสียใจ ผิดหวัง..." หรือว่าอย่างไร

....................


          เมื่อหาความรู้สึกเจอ..ถามตัวเองต่อไปอีกสิว่า...ที่รู้สึกอย่างนั้น..เรารู้สึกอย่างไรกับความรู้สึกนั้น (Feeling about Feeling) เช่น "รู้สึกเสียใจที่รู้สึกโกรธ..ให้เพื่อน" ความรู้สึกไม่ใช่ความคิด...เราต้องแยกให้ออก...เช่น.."รู้สึกว่าเขาไม่ชอบเรา" นี่คือความคิด แต่หากเปลี่ยนได้เป็น ---> "เรารู้สึกเสียใจที่เขาไม่ชอบเรา"...หาให้เจอกับความรู้สึกที่ซ่อนอยู่..และยอมรับ..ให้ได้

 

 

          จากนั้นภายใต้ความรู้สึกที่เกิดขึ้น...คืออะไร...เราคาดหวังอะไร...และลึกลงไปจากความคาดหวังนั้นล่ะ...คืออะไร..นั่นหมายถึง..จากความคาดหวังดังกล่าว...ส่งผลให้เราเกิดอะไรขึ้นได้บ้าง....เมื่อเป็นไปตามที่เราคาดหวัง..นั่นคือ..ความอิ่มเอมใจใช่ไหม..และความอิ่มเอมใจนั้นคืออะไร...คือ "ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง..รู้สึกว่าเรามีค่า"..ตรงกันข้าม ลองตรวจสอบอีกครั้งว่า..หากไม่เป็นไปตามที่เราคาดหวัง...นั่นทำให้เรารู้สึกไร้ค่าหรือไม่...หากเรายอมรับกับตนเองได้...เราจะเข้าใจตัวเราเองมากขึ้น...เมื่อเราเข้าใจตัวเราเองมากขึ้น...สิ่งที่ตามมาคือ..การมองมนุษย์..อย่างที่เรามองเรา..แล้วเราก็จะเข้าใจเขายิ่งขึ้น

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 18784เขียนเมื่อ 14 มีนาคม 2006 11:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
     ในขณะประชุม คณะทำงานกำหนดเขตพื้นที่รอยต่อบริการฯ สสจพัทลุง --> อยากจะขอตอบประเด็นนี้ตามโจทย์ว่า...ต้องการ "ความสุข" ครับ แต่ขอเป็นความสุขที่ผมเป็นผู้ตัดสินตามนิยามของผมเองนะ...ครับ โดยไม่มีใครเดือดร้อนเพราะเราเป็นเหตุ

                    " แท้จริงแล้วเราต้องการอะไร "

Peace  within...> Peace  between...> Peace  among... 

ความคิดและความรู้สึก  สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา จากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับชีวิต ถ้าเราคิดและทำในสิ่งที่เราคิดว่าดี  เราเองจะเป็นคนตัดสินเองว่าเรามีค่าในตนเอง ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นไปตามที่เราหวังหรือไม่ก็ตาม
เหมือนดังที่  Dr.Ka-Poom  ว่า 

"ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง..รู้สึกว่าเรามีค่า"

คุณชายขอบ

"ความสุข"..คือ ความเชื่อที่ "มนุษย์" เราต่างวิ่งดิ้นรนและแสวงหา
ขอเพียงแค่เรา...ให้ความหมายได้ว่า..สุขนั้นคืออะไร..ที่เราต้องการ
และไม่เดือดร้อน..ใคร..ก็เป็นเรื่องที่น่ายินดียิ่งนะคะ...
แล้วความสุข...ที่ว่านั้น คุณ "ชายขอบ" นิยามว่าอะไรคะ ไม่อยาก ลปรร.
ให้ใครคนอื่นๆ..รับทราบล่ะคะ (ยิ้ม)

คุณ "คนข้างนอก"

"ความสงบ"...ในจิตใจ..คือ สิ่งที่มนุษย์เราปรารถนา..
แต่นั่นก็ไม่ทั้งหมด...แต่เหนือสิ่งอื่นใดสิ่งที่ดิฉัน...
ต้องการ...คือ..ความรู้สึกที่ว่า.."ฉันรู้สึกมีคุณค่า"...
โดยไม่จำเป็นต้องว่าเพื่อใคร..หากเป็นไปเพื่อตัวเอง

คุณ "ดอกหญ้า"

เชื่อในเรา..ศรัทธาในเรา..
ความเชื่อและความศรัทธาที่มีอยู่..
ไม่ทำให้เดือดร้อน..ทั้งเราและคนอื่น
เท่านี้..ก็เพียงพอ..
สำหรับการดำรงอยู่..เพื่อให้โอกาสตนและคนทั่วไป

     "ความสุข" ของผมเป็น คือ "ทำแล้ว(ผม)บายใจ ใครไม่เดือดร้อนไหร" (ภาษาใต้)=ทำแล้ว(ผม)สบายใจ ใครไม่เดือดร้อนเพราะเราเป็นเหตุ (ภาษากลาง) แค่นี้แหละครับจริง ๆ และจริงใจ

 Dr.Ka-poom

" ศานติ " ( Peace ) คือ ความสว่าง  สะอาด  สงบ  เย็น แห่งจิต เมื่อใดที่จิต สว่าง สงบ เย็น  ก็จะเกิด สุขในใจ และค้นพบตนเอง ตระหนักถึงคุณค่าแห่งตนและคุณค่าแห่งผู้อื่นอย่างเท่าเทียม เมื่อพบ "ตนที่แท้จริง" ก็ไม่ยากที่จะละวาง " ตนที่ถูกร้อยรัดด้วยพันธนาการต่างๆ "  เมื่อละวาง " ตนที่ถูกร้อยรัดด้วยพันธนาการต่างๆ " ก็เกิด "ว่าง" เมื่อว่างใยมิใช่มรรคาแห่งการพ้นทุกข์ใดๆ ?   และสุขที่แท้ย่อมเกิดขึ้นในใจตน ,คุณชายขอบตอบได้น่าสนใจว่าความสุขคือทำแล้วเราสบายใจเพราะเมื่อใดที่เราทำแล้วเราสบายใจแสดงว่าสิ่งที่ทำนั้นไม่ผิดต่อใคร และเมื่อไม่ผิดต่อใครก็ย่อมไม่มีใครเดือดร้อนเพราะเราเป็นเหตุเช่นเดียวกัน

 

" Self  Esteem "  = ความภาคภูมิใจในตนเอง หรือความรู้สึกว่าเรามีคุณค่าเกิดขึ้นได้ 2 ทาง ทางแรก เกิดด้วยตัวเองที่มองตัวเองว่ามีคุณค่าและทางที่ 2 เกิดจากคนรอบข้างเราให้คุณค่ากับตัวเราเอง ซึ่งไม่ว่าจะเกิดจากทางใดทางหนึ่งหรือทั้ง 2 ทางก็ตาม ความรู้สึกที่ตระหนักถึงคุณค่าในตนเองย่อมเป็นสิ่งที่ทำให้เรามีคุณค่าตลอดไป  " เชื่อในสิ่งที่ตนคิด  มั่นใจในสื่งที่ตนเชื่อ  ตัดสินใจด้วยตนเอง...>คุณค่าในตน "

เมื่อใดรู้สึกท้อแท้..  อ่อนแอ..หมดความกล้าหาญ

จำไว้มั่นในดวงมาลย์  " ..ทุกสิ่ง..ต้องการเวลา "

คุณ "คนข้างนอก"

ในเวทีเสมือน..แห่งนี้...สื่อสัมผัสที่มี
เพียงแค่..ผ่านตัวอักษร..ที่ถักทอ...
หากแต่รับ...และสัมผัสได้..
ถึง "มิตรภาพ"...ที่ไม่มีเงื่อนใดใด

ขอบคุณ...ที่คอยอยู่..ณ..ตรงนี้
ในที่เวที..เสมือน..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท