พลังของ AAR


ณ ตรงนั้น ทำให้ตนเองรู้สึกถึงพลังของการทำ AAR อย่างมาก

"ไม่เห็นได้อะไรมากไปกว่าที่อ่านจาก blog ของอาจารย์วิจารณ์เลย

"ไปดูที่โรงงาน ไม่เห็นสอดคล้องกับส่วนที่บรรยายเลย พูดแต่วิธีประกอบรถยนต์

นี่คือเสียงบ่นของหลายคนชาว มอ. รวมทั้งตนเองที่ไปดูงาน “The Toyota Way”  ก่อนที่จะเริ่มทำ AAR   แต่เสียงบ่นนี้หายไป พร้อมกับความรู้สึกดีๆ เข้ามาแทน หลังจากกระบวนการ AAR เสร็จสิ้น

เมื่อบ่ายวันที่ศุกร์ที่ 10 มีนาคม ที่ผ่านมา ได้มีโอกาสไปดูงานที่บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย ร่วมกับสมาชิกเครือข่ายการจัดการความรู้ระหว่างมหาวิทยาลัย (UKM) ตามคำเชิญชวนของ อ.วิจารณ์ เพื่อไปดูแนวทางการบริหารที่เรียกว่า “The Toyota Wayซึ่งอาจารย์ได้เขียนในบล็อกThaiKM ไว้อย่างละเอียด   คุณเมตตา ชุมอินทร์ จากกองการเจ้าหน้าที่ มอ. ผู้ประสานงานครั้งนี้ ก็ได้กรุณานำมาพิมพ์แจกพวกเราที่ไปจากมอ. ได้ศึกษาก่อนไปดูงาน
 
การดูงาน ประกอบด้วยการบรรยาย “วิถีโตโยต้า” โดยย่อ  ย่อมากๆ ค่ะ เพราะมีเวลาเพียง 1 ชม. และมีเวลาซักถามอีกประมาณ 15 นาที หลังจากนั้น ก็ไปดูการประกอบรถในโรงงานอีกชั่วโมงกว่า (ผู้นำชมก็บอกแต่วิธีประกอบรถจริงๆ ค่ะ ทั้งที่มีบอร์ดกิจกรรมคุณภาพวางเรียงรายมากมาย แต่ก็ไม่มีโอกาสได้เรียนรู้) เสร็จแล้ว ผู้ดูงานทั้งหมดกว่า 60 ชีวิตก็ไปทำ AAR ที่ร้านอาหาร 13 เหรียญบางนา โดยมี อ.ประพนธ์ ผาสุขยืด จาก สคส. เป็นวิทยากรกระบวนการ  ใช้เวลาในการทำ AAR เกือบ 2 ชม

ก่อนทำ AAR พวกเราชาว มอ. บ่นกันขรม ว่า รู้สึก “ไม่คุ้มค่า แต่พอผู้ดูงานคนแล้ว คนเล่า พูดแสดงความเห็นของตนออกมา ความรู้สึกของพวกเรา ก็เริ่มเปลี่ยนไปมากขึ้นเรื่อยว่า การดูงานครั้งนี้ มีสิ่งดีๆ ที่มีประโยชน์ให้เรียนรู้มากมาย  ณ ตรงนั้น ทำให้ตนเองรู้สึกถึงพลังของการทำ AAR อย่างมาก และนึกถึงที่อ.วิจารณ์ บอกว่าเมื่อทำ AAR จะทำให้เราเห็นว่า เราดูดซับ “ความรู้” จากกิจกรรมที่เราไปทำมานั้นได้ไม่หมด เพราะแต่ละคนมีทรรศนคติและมุมมองที่ไม่เหมือนกันในเรื่องราวเดียวกัน

การทำ AAR ครั้งนี้ ทำให้เห็นได้จริงๆ ค่ะว่า การดูดซับความรู้ ขึ้นกับหลายหลายปัจจัย โดยเฉพาะ วัยวุฒิ คุณวุฒิ และประสบการณ์ของผู้ดูงาน ซึ่งสามารถจัดกลุ่มผู้ดูงานในวันนั้น และความคิดเห็นที่ได้ เป็น…....  

  1. กลุ่มมือใหม่ หัดขับ KM  ไม่ว่าอ่านเยาว์หรือไม่ ส่วนใหญ่บอกว่า ได้เรียนรู้อะไรเยอะมาก (2 ใน 5 )
  2. รู้ KM บ้างแล้ว แต่คงไม่ได้ทำการบ้าน (ไม่ได้อ่านบันทึก The Toyota Way ของอ.วิจารณ์) กลุ่มนี้ บอกว่า ได้เรียนรู้สิ่งดีๆ พอสมควร เท่าที่มีเวลา แต่ยังมีส่วนที่ไม่ได้ (1 ใน 5)
  3. รู้ KM บ้างแล้ว และทำการบ้านมาอย่างดี (อ่านบันทึก The Toyota Way ของอ.วิจารณ์) กลุ่มนี้ บอกว่า ไม่ค่อยได้ตามที่คาดหวังไว้ (1 ใน 5)
  4. กลุ่มอาจารย์ หรือ ผู้บริหาร (ค่อนข้างอาวุธโส) ทั้งที่เกี่ยวข้องกับงาน KM และไม่เกี่ยวข้อง (ถูกชักชวนมาดูงาน) กลุ่มนี้ให้ความเห็นปนๆ กันไป ไม่แยกว่าได้ หรือไม่ได้ตามคาด รวมทั้งวิเคราะห์ วิจารณ์ สิ่งที่ได้พบเห็นค่อนข้างลงรายละเอียด (เช่น คนไทยได้ประโยชน์จริงหรือกับบริษัทลักษณะนี้ เป็นต้น) (1 ใน 5)

ค่ะ โชคดี ที่ กลุ่ม 1 และ 2 รวมกันเกินครึ่ง และก็โชคดี ที่เป็นกลุ่มที่ได้แสดงความคิดเห็นก่อน (โดยบังเอิญ) ส่วนกลุ่มที่ 4 เป็นกลุ่มที่แสดงความคิดเห็นหลังสุด 

การทำ AAR ครั้งนี้  ทำให้ตนเองเรียนรู้ที่จะมองหาสิ่งดีๆ ที่ได้ไปพบเห็นให้รอบด้านมากขึ้น รวมไปถึง ทำความเข้าใจข้อจำกัดหรือบริบทของสถานที่ที่เราไปดูงานด้วย

หมายเหตุ: The Toyota Way ประกอบด้วยหลักยึด (pillar) 2 ข้อ และหลักการ (principles) 5 ข้อ
2 pillars : continuous improvement และ respect for people
5 principles: challenge, Kaizen (better), Genchi genbatsu (go & see), respect, teamwork
ซึ่งรายละเอียด อ.สมลักษณ์ (beeman) จากมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้บันทึกบน blog ไว้อย่างละเอียดแล้ว อยากให้ชาวชุมชน Smart Path ได้เข้าไปอ่านรายละเอียด มีประโยชน์มากๆ

หมายเลขบันทึก: 18710เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2006 23:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท