ประวัติของ e-Learning


e-Learning มีพัฒนาการมาจากการศึกษาทางไกลผ่านระบบไปรษณีย์ ในช่วงกลางศตวรรษที่ 18 ในทวีปยุโรปเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่อยู่ห่างไกลได้เรียน

 e-Learning มีพัฒนาการมาจากการศึกษาทางไกลผ่านระบบไปรษณีย์ ในช่วงกลางศตวรรษที่ 18 ในทวีปยุโรปเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่อยู่ห่างไกลได้เรียน แต่ประสบปัญหาในการติดต่อใช้เวลานานและบางครั้งสูญหายระหว่างทาง ต่อมามีการเปิด Home-study Program ทางไปรษณีย์สำหรับผู้ที่ต้องการเรียนจากที่บ้านหรืออยู่ห่างไกลสถานศึกษา จนถึงปัจจุบันมีการเปิดสอนในลักษณะมหาวิทยาลัยเปิดที่ผู้เรียนไม่ต้องมาเรียนในห้องเรียน

          เมื่อมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการศึกษามากขึ้นในปี ค.ศ. 1960 จึงมีการพัฒนาแนวคิดของการใช้คอมพิวเตอร์และโสตทัศนวัสดุเป็นสื่อการเรียนการสอน เช่น เทปบันทึกภาพ เทปบันทึกเสียง ต่อมาเป็นการใช้ซีดี-รอม ในวงการศึกษาเรียกว่า CAI (Computer-aided instruction) และ CBT (Computer-based learning) ในการฝึกอบรมของวงการธุรกิจและอุตสาห-กรรม
         ในปี ค.ศ. 1990 เป็นต้นมา เมื่อมีการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างแพร่หลายผ่านโปรแกรมแสดงผล(Web browser) และโปรโตคอล TCP/IP จึงมีการพัฒนาการเรียนการสอนผ่าน World Wide Web โดยใช้ในวงการศึกษาว่า Web-based education หรือ Web-based instruction หรือ Web-based learning และใช้ในวงการธุรกิจว่า Web-based training เนื่องจากเป็นการเรียนรู้ผ่านระบบเครือข่ายออนไลน์จึงมีการใช้คำว่า Online training หรือ Online learning ซึ่ง Online training เป็นส่วนหนึ่งของ e-Learning และ ในปี ค.ศ. 2000 เป็นต้นมาคำว่า e-Learning เริ่มแพร่หลายจากการที่บริษัท Cisco (http://www. ciscolearning.org/) ได้เริ่มแนะนำเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ e-Learning มาใช้ในการฝึกอบรมโปรแกรม การอบรมพนักงานของบริษัท (น้ำทิพย์, 2545: 80-81)
          Emarath (2001) กล่าวว่า e-Learning มีการเขียนที่แตกต่างกันหลายรูปแบบ ได้แก่  eLearning, e-Learning, E-Learning, E-Learning เป็นต้นในอดีต ปี ค.ศ.1998 มีเพียงคำว่า e-Learning ซึ่งมีขีด hyphen เช่น SmartForce เป็น “ บริษัท e-Learning ” , John Chambers แห่ง Cisco เผยแพร่ e-Learning, บริษัท Microsoft, SRI และ Internet Time Group ใช้ elearn เป็นต้น ต่อมาเมื่อ elearning แพร่หลายมากขึ้น การเขียนก็มีหลายรูปแบบ บางแห่งก็ตัดขีดทิ้งไป บางแห่งใช้อักษรตัวใหญ่ สามารถใช้ search engine เช่น Google ค้นเว็บเพจโดยใช้ Key words ต่างกัน จะได้ผลลัพธ์ต่างกัน เช่น คำว่า “elearning” (ไม่มีขีด) 105,000  หน้า, “e-Learning” (มีขีด) 525,000 หน้า เป็นต้น          จากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงแนวความคิดในเกี่ยวกับการเรียนรู้ ทำให้สามารถแบ่งยุคของการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้เป็น 4 ยุค ดังนี้ (บุปผชาติ, 2546: 50-51)
         1. ยุคคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและฝึกอบรม (Instructor-Led Training Era) เป็นยุคเริ่มใช้คอมพิวเตอร์ในวงการศึกษาจนถึงปี ค.ศ. 1983
         2. ยุคมัลติมีเดีย (Multimedia Era) ช่วงปี ค.ศ.1984-1993 เป็นยุคกำเนิดโปรแกรมวินโดว์ 3.1 การใช้ซีดีรอมบันทึกข้อมูล การใช้โปรแกรมการนำเสนอ Power Point การสร้างบทเรียน เป็นต้น สามารถนำไปเรียนตามเวลาและสถานที่ที่สะดวก แต่มีข้อเสีย คือ ผู้เรียนขาดปฏิสัมพันธ์กับผู้สอน
         3. ยุคเว็บเริ่มแรก (Web infancy) ช่วงปี ค.ศ.1994-1999 เริ่มมีการใช้เทคโนโลยีเว็บบนอินเทอร์เน็ตและมีมัลติมีเดียบนเว็บบ         4. ยุคเว็บรุ่นใหม่ (Next Generation Web) ช่วงปี ค.ศ. 2000-2005 เป็นยุคที่เทคโนโลยีก้าวหน้ามาก          e-Learning ในประเทศไทยเริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. 2538 โดยรัฐบาลได้เปิดเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย เพื่อต้องการจะเชื่อมโยงโรงเรียนต่าง ๆ ในประเทศเข้าด้วยกันโดยผ่านเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ตลอดจนการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารทางการศึกษาร่วมกันบนเครือข่าย (นิรนาม, 2547ก: 15)
         ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2542 ให้ขยายเครือข่ายให้ครอบคลุมโรงเรียนในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอาชีวศึกษาทั่วประเทศโดยความรับผิดชอบของเนคเทค ปัจจุบันเนคเทคได้ดำเนินกิจกรรมบนเครือข่ายหลายอย่าง ประกอบด้วย การจัดทำเว็บไซต์ของโครงการเพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้และเรียนรู้ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งในการรวบ รวมเว็บไซต์ของโรงเรียนจากทุกภาคทั่วประเทศ ผ่านทางเว็บไซต์ http://www.school.net.th และจัดกิจกรรม การเรียนรู้สำหรับเยาวชนอีกหลากหลาย (นิรนาม, 2547ก: 15)
         ในระดับอุดมศึกษา มีสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ได้ให้ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนมากขึ้น แนวคิดเรื่องการใช้ e-Learning ในประเทศไทยค่อย ๆ พัฒนาขึ้นตามลำดับจากการสร้างบทเรียนออนไลน์เพื่อให้ผู้เรียนสามารถทบทวนบทเรียนต่าง ๆ รวมทั้งสามารถสั่งพิมพ์เอกสารเองได้ มาสู่การพัฒนาเต็มระบบ เช่น ระบบการจัดการด้านเนื้อหา ระบบห้องเรียนเสมือน และระบบการลงทะเบียนวัดผลเพื่อให้ทัดเทียมกับต่างประเทศที่สามารถเรียนออนไลน์ได้เต็มรูปแบบจนจบได้ปริญญา (ศักดา, 2545: 18)

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 18685เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2006 16:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 01:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท