วิจัยท้องถิ่นกับการจัดการความรู้


เริ่มจากความคิดความเห็นที่ถูกต้อง และทำด้วยตัวเอง

วิจัยเริ่มต้นจากความไม่รู้(If you know what have you done,It doesn't a research-ไอสไตน์)คือเริ่มจากคำถามวิจัย สรุปได้ 3 คำถามคือ1)สิ่งที่อยากรู้เป็นยังไง?2)ทำไมถึงเป็นยังงั้น? 3)จะทำให้เกิดขึ้นหรือพัฒนาให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้อย่างไร?
คำถามที่ 3 เป็นคำถามเชิงพัฒนา ส่วนใหญ่จะบอกว่าต้องรู้ 1 และ 2 ก่อน จึงไป 3 ได้

วิจัยท้องถิ่นสนใจให้คนในชุมชนเป็นผู้ตั้งคำถาม และดำเนินการหาความรู้ โดยสนใจความรู้จากการปฏิบัติในข้อ 3 จากการเรียนรู้ร่วมกัน

การจัดการความรู้เริ่มจากข้อ 3 เลยโดยอาศัยจินตนาการและเป้าหมายที่แจ่มชัด มีพลัง เอาเค้าโครงความรู้ในข้อ 2 มาเป็นแนวทาง เอาประสบการณ์(ตัวอย่าง)คล้ายคลึงกันในข้อ 3 มาเป็น   บทเรียน
ตัวอย่างของพี่น้องตระกูลไรท์เป็นการจัดการความรู้
ไมเคล ฟาราเดย์ก็น่าจะใช่
ยายไฮและน้องที่แม่ต้องขังฆ่าสามีโดยต่อสู้ทุกวิถีทางเพื่อให้บรรลุเป้าหมายคืออิสรภาพในผืนดินและการพ้นโทษของแม่ก็น่าจะใช่ แต่เป็นการจัดการความรู้โดยบุคคลที่มีพลังจิตเข้มแข็งและจินตนาการที่ยิ่งใหญ่

การจัดการความรู้เพื่อประโยชน์ร่วมกันของกลุ่มคน ชุมชนและสังคมก็ใช้คำถามข้อ 3
ความรู้ที่เกิดขึ้นคือความรู้จากการปฏิบัติ

ความรู้แรก ทุกข์คืออะไร?   - อุปทานขันธ์ทั้ง 5
ข้อ 2        เหตุให้เกิดทุกข์  - วงจรปฏิจจสมุปบาท
ข้อ 3        มรรค              -  องค์แปด
ถ้ารู้ 1 และ 2 ก็พ้นทุกข์ไม่ได้
ความรู้ข้อ 3 ต่างจาก 1 และ 2
ข้อ 3 ต้องปฏิบัติถึงจะรู้(TK) แต่ทำได้ยากมาก
คนทำได้จะเล่าอย่างไรคนอื่นก็ไม่มีทางเข้าใจได้ มีเพียงคำแนะนำให้ไปทำดูด้วยตัวเอง ซึ่งต้องเริ่มจากความคิดความเห็น(ทิฐิ)ที่ถูกต้อง

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 1860เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2005 16:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท