เราทำอะไรกันใน Prelude (10-11 มี.ค. 49)


เวลาประมาณ 11.30 น. ล้อมวงทำ AAR ผมชอบบรรยากาศช่วงนี้มากเป็นพิเศษ เสร็จเวลาประมาณ 13.00 น. แล้วมารับประทานอาหารกลางวันกัน ก่อนแยกย้ายกันกลับบ้านด้วยความสุข

         สืบเนื่องจาก Prelude “นเรศวรวิจัย” (10-11 มี.ค. 49) ครับ < Link >

         และ การบริหารงานวิจัย : เรื่องสำคัญ จำเป็น และเร่งด่วน ของชาว มน. < Link >

ศุกร์ที่ 10 มี.ค. 49

เช้า    - นักวิจัยออกเดินทางจาก มน. แต่เช้าตรู่ ไปรับประทานอาหารเช้าที่ทรัพย์ไพรวัลย์

         - ท่านอธิการฯ ติดภารกิจที่พะเยา ผมทำหน้าที่กล่าวเปิดแทน โดย ดร.เสมอ ถาน้อย (ผู้ช่วยอธิการบดี) เป็นคนรายงานและแนะนำวิทยากร (รศ.ดร.พีรเดช ทองอำไพ) ทำกันแบบเรียบง่ายที่สุด วัตถุประสงค์เพื่อให้ทุกท่านเข้าใจตรงกันถึงที่มาที่ไปและเข้าใจขั้นตอนของการดำเนินกิจกรรม

         - วิทยากร บรรยาย “การพัฒนาชุดโครงการวิจัยสู่ความเป็นเลิศ” คำถามในช่วงนี้ยังมีไม่มาก นักวิจัยทั้งหมด (จริง ๆ) เริ่มรู้สึกแล้วว่าคุ้มค่ามากที่เข้าร่วมกิจกรรม ตัวผมเองเริ่มคิดถึงคนที่พลาดโอกาส โดยเฉพาะผู้บริหารงายวิจัยระดับคณะ

         - Coffee break

         - หัวหน้าชุดโครงการวิจัยนำเสนอแนวคิดของชุดโครงการวิจัยของตนเอง ซักถามโดยผู้เข้าร่วมและวิพากษ์โดยวิทยากร ช่วงเช้านี้ทำไปได้ 2 ชุดโครงการ

         - พักรับประทานอาหารกลางวันกันประมาณ 12.45 น.

บ่าย   - เริ่มประมาณ 13.30 น.

         - นำเสนอชุดโครงการต่ออีก 4 ชุดโครงการ ซักถามกันมากขึ้น วิทยากรวิพากษ์และให้คำแนะนำเหมือนเดิม ผมเริ่มมองเห็นชุดโครงการที่จะใช้เป็นตัวอย่างที่ดีได้

         - Coffee break (ท่านอาจารย์เสมอเปรยกับผมว่า “ประสบความสำเร็จและมีประโยชน์มากนะ”)

         - นำเสนอชุดโครงการต่ออีก 4 ชุดโครงการสุดท้าย (รวมทั้งหมดมี 10 ชุดโครงการ) ทุกคนรู้สึกมีความสุขมากกับบรรยากาศ มีนักวิจัยท่านหนึ่งขออนุญาตนำเสนอเป็นภาษาอังกฤษ ทำให้คล้ายกับเป็น International conference ไปพักหนึ่ง ผมเองสามารถแยกแยะและเห็น selected fields ของ มน. ได้ชัดเจนขึ้น มีประโยชน์มาก

         - เสร็จประมาณ 17.30 น. นัดรับประทานอาหารเย็นกันเวลา 18.30 น. ก่อนรับประทานอาหารผมและดร.เสมอได้มีโอกาสเดินพูดคุยกับวิทยากรรอบ ๆ ทะเลสาบ ได้บรรยากาศและความรู้มากครับในช่วงนี้

         - 18.30 น. รับประทานอาหารเย็นร่วมกัน นักวิจัยเวียนกันมาปรึกษาวิทยากรเป็นระยะ ๆ คนที่ยังไม่มีโอกาสได้ปรึกษาก็ผลัดกันขึ้นไปร้องเพลง (karaoke) เป็นที่สนุกสนาน ตัวผมเองซึ่งปกติก็ไม่ถนัดร้องเพลง ก็ขึ้นไปร้องกับเขาด้วย เพื่อเป็นตัวอย่างกับคนที่ไม่ค่อยอยากจะขึ้นไปร้อง พอเริ่มจะคุ้นเคยกันสักพักแย่งกันร้องโดยไปยืนร้องกันที่เวทีจนคนฟังน้อยลงเรื่อย ๆ สุดท้ายมีแต่คนร้องเต็มเวที ไม่มีคนนั่งฟังที่โต๊ะเลยสักคนเดียว ในขณะที่บางส่วนขอตัวกลับไปพักผ่อนก่อน ทำให้สนุกและสนิทกันอย่างไม่น่าเชื่อ มีผลต่อกิจกรรมในวันต่อมามาก และอาจจะมีผลต่อไปอีกนาน จนกระทั่งเกือบ 23.00 น. จึงแยกย้ายกันไปเข้านอน

เสาร์ที่ 11 มี.ค. 49

เช้า    - วิทยากรนำเสนอภาพรวมผลการประเมินของแต่ละชุดโครงการ โดยแสดงเป็น Chart น่าสนใจมาก มีนักวิจัยหลายคนมาขอให้ผมช่วยจัดทำเอกสารประกอบตรงจุดนี้ให้หลายคน นักวิจัยซักถาม ปรึกษาเรื่องสำคัญ ๆ กับวิทยากรจำนวนมาก เรียกว่าแทบจะแย่งกันถาม หัวหน้างานวิจัย (คุณจรินทร) เลยให้นำ coffee break มาบริการในห้องขณะพูดคุยกัน

         - ประมาณ 11.00 น. ผมขอเล่าเกี่ยวกับการบริหารงานวิจัยของ มน. ในปัจจุบัน เพื่อให้นักวิจัยได้เห็นภาพรวม นักวิจัยและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะได้ช่วยกันให้ข้อเสนอแนะอย่างตรงเป้าตรงประเด็นต่อไปได้

         - เวลาประมาณ 11.30 น. ล้อมวงทำ AAR ผมชอบบรรยากาศช่วงนี้มากเป็นพิเศษ เสร็จเวลาประมาณ 13.00 น. แล้วมารับประทานอาหารกลางวันกัน ก่อนแยกย้ายกันกลับบ้านด้วยความสุข

บ่าย   - ดร.บุรินทร์ กำจัดภัย (นักวิจัยดีเด่น สกว. ภาควิชาฟิสิกส์ มน. Link ) อาสาขับรถพาวิทยากร ผมและอาจารย์เสมอกลับ มน. ระหว่างทางได้แวะนั่งหากาแฟเย็นทานและพูดคุยกันต่อที่ร้านอาหาร “Rain forest” บรรยากาศเป็นป่าเขา มีที่เล่นน้ำตกด้วย ผมชอบมาก บ่ายนี้เป็นเวลาของท่านอาจารย์บุรินทร์จริง ๆ เรา 3 คนนั่งฟังอย่างเดียวเลย อาจารย์บุรินทร์เล่าเรื่องการก่อตั้ง TPTP <http://www.sci.nu.ac.th/tptp/> น่าสนใจมากครับ เป็นตัวอย่างของ CoP วิจัย (จักรวาลวิทยา) ที่ประสบความสำเร็จมาก CoP หนึ่ง (ผมเรียกว่าเป็น CoP หนึ่งเองครับ และผมอยากจะเรียกว่าเป็น Excellence Center ด้านจักรวาลวิทยาก็น่าจะได้) มีหัวปลา ตัวปลา หางปลา ครบสมบูรณ์แบบ โดยที่อาจารย์บุรินทร์ไม่เคยรู้จัก KM มาก่อนเลย แม้ปัจจุบันผมก็ว่าคงเป็นเช่นนั้น ผมยังคิดอยากจะขยายผลสำเร็จนี้ไปยังภาควิชาหรือคณะอื่น ๆ ด้วย แต่คงไม่ง่ายนัก

         - ประมาณ 16.00 น. เราเดินทางต่อเพื่อไปดูสถานที่จริงที่อาจารย์บุรินทร์เล่าถึง (ภาควิชาฟิสิกส์ มน.) ระหว่างทางก็ยังคุยกันต่อเรื่องพลังงานมืด สสารมืด จนผมเกือบจะหน้ามืดเพราะเริ่มเมารถ

         - ประมาณ 18.30 น. เรา (4 คน) รับประทานอาหารเย็นกัน ก่อนที่จะพาวิทยากรไปส่งที่สนามบินพิษณุโลก ต้องขอขอบคุณอาจารย์บุรินทร์อีกครั้งหนึ่งที่สุดท้ายแล้วก็ยังต้องขับรถพาผมกับอาจารย์เสมอไปส่งที่หอพักอาจารย์อีกด้วย กว่าจะเสร็จธุระกันเกือบ 20.00 น. (อดดูแดจังกึมตอนจบ) แต่วิทยากรกว่าจะถึงบ้านที่กรุงเทพฯ คงใกล้ ๆ เที่ยงคืน ผมในนามของชาว มน. ขอขอบพระคุณวิทยากรอีกครั้งหนึ่งครับ

         นับเป็น 2 วันที่ผมอยากบันทึกไว้มากครับ

         วิบูลย์ วัฒนาธร

 

หมายเลขบันทึก: 18595เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2006 11:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อาจารย์ลืมแนะผลวิเคราะห์ที่อาจารย์พีรเดชท่านจัดทำขึ่นเพื่อช่วยในการตัดสินใจของท่านเอง  แต่หนูเห็นว่ามีประโยชน์มากเลยค่ะ  ในฐานะที่ทำงานส่วนกลางอยากเห็นผู้บริหารงานวิจัยสามารถใช้เครืองมืออย่างนี้เป็นตัวช่วยในการตัดสินใจให้ทุนสนับสนุน หรือแม้แต่ตัวเอง(ไม่ใช่ว่าที่มีอยู่จะไม่ดีนะคะ แต่กำลังเหร่อของใหม่อยู่ค่ะ) 

ผมไม่ลืมหรอกครับ ของดี ๆ อย่างนี้ต้องช่วยกันนำมาขยายผลอยู่แล้ว รอให้ถูกจังหวะเท่านั้น อย่างไรก็ดี ต้องขอขอบคุณมากที่ช่วยกันเตือน
เดี่ยวผมจะเขียนเล่า Key succes factors ของงานนี้ในมุมมองของผมให้ทุกคนได้ ลปรร. ครับ
น่าสนใจมากค่ะ... Aj.เสมอ จะรออ่านนะคะ  เสียใจอยู่ทุกวันนี้ที่พลาดการเข้าร่วมโครงการนี้  ว่าแต่...K.มีนาลืมสิ่งที่ Aj. มาดี ได้ขอไว้เมื่อครั้งได้พูดคุยกันทางโทรศัพท์หรือเปล่าคะ?
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท