AAR : Toyota Way (เพิ่มเติม - ทำไมต้อง Toyota Way)


     สำหรับการศึกษาดูงานบ.โตโยต้า ที่จัดขึ้นโดยเครือข่าย UKM ในวันที่ 10 มี.ค.49 นี้  ดิฉันรู้สึกตื่นเต้นและกระตือรือร้นเป็นพิเศษทำให้มีเตรียมร่างกายและเตรียมใจอย่างเต็มที่  สาเหตุเนื่องมาจาก
1.เป็นการศึกษาดูงานจริงๆ  เป็นครั้งแรกของชีวิตการทำงานตลอดระยะเวลา  6-7 ปีที่ผ่านมา  ซึ่งโดยปกติจะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับสถาบันอื่นๆ ที่มาศึกษาดูงาน NUQA และเครือข่าย UKM
2.มีการตั้งวัตถุประสงค์ไว้อย่างชัดเจนว่าจะนำความรู้  และสิ่งดีดีที่ได้มาเพื่อมาปรับใช้กับมหาวิทยาลัยของเรา  ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับการผลักดัน (กดดันเล็กๆ) จากท่านอาจารย์วิบูลย์

     ก่อนอื่นในฐานะผู้ประสานงานในส่วนของม.นเรศวร ต้องขออภัยคณาอาจารย์และบุคลากรทุกท่านที่ร่วมเดินทางไปด้วยกันทุกท่าน  ที่ดิฉันบกพร่องในการคาดการณ์เวลาและเส้นทางในการเดินทางทำให้การเข้าร่วมศึกษาดูงานครั้งนี้เกิดความล่าช้าไปบ้าง (ซึ่งหวังว่าคงจะได้รับการให้อภัยจากทุกท่านนะคะ) ขอขอบคุณพี่เมตตา (ผู้ประสานงานหลักจากมอ.) เป็นอย่างสูงสำหรับการประสานงานทีดีเยี่ยม  และที่ขาดไม่ได้คือพี่วิทยา พขร.ของเราที่สามารถทำเวลาและให้ความสะดวกสบายในการเดินทางให้กับเราเป็นอย่างดี

     สำหรับรายละเอียดของการบรรยายของคุณสุทิน  ท่านสามารถติดตามอ่านรายละเอียดได้จาก blog ของอาจารย์ beeman  นะคะ   โดยดิฉันขอเพิ่มเติมในส่วนของ  “ทำไมต้องมี Toyota Way 2001” สรุปได้ 3 ข้อ คือ
     1.  การเจริญเติบโตของบริษัท Challenge & Growth
     2.  ความแตกต่างของภาษา และวัฒนธรรมของบุคลากรในบริษัท  (บ.โตโยต้า ในประเทศออสเตรเลียมีบุคลากรใช้ภาษาแตกต่างกันถึง 20 ภาษา)
     3.  เป้าหมายที่จะเป็นที่ 1 ใน Market share ของทั่วโลก
    
    สิ่งหนึ่งที่ดิฉันคิดว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้โตโยต้าประสบความสำเร็จสิ่งหนึ่งน่าจะมาจากที่ โตโยต้าให้ความสำคัญและนับถือความคิดเห็นของคนในทุกระดับ  และสามารถปลูกฝังให้  “พนักงานทุกคนทำงานเหมือนเป็นเจ้าของบริษัท” ประกอบด้วย
     -  มีนโยบาย no layoff policy
     -  กระตุ้นให้พนักงานทุกคนทุกระดับกล้าคิดกล้าเปิดเผยปัญหาทุกปัญหา  (บริหารงานด้วยปัญหาที่ถูกเปิดเผยออกมาจากพนักงาน) และสิ่งที่ขาดไม่ได้คือ การถ่ายทอดวิธีการแก้ปัญหา (ความรู้) ที่ได้พัฒนาขึ้นมาให้กับผู้อื่นได้นำไปใช้ต่ออย่างไม่หวง 
         โดยเทคนิคในการแก้ปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ “go to see”  คือ เมื่อพนักงานมีปัญหาตรงจุดใดหัวหน้างานจะต้องพร้อมเข้าไปดูปัญหา ณ จุดนั้น หาต้นตอ/สาเหตุที่แท้จริงของปัญหา  และตัดสินใจแก้ไขอย่างถูกต้องโดยโดยไม่ให้เกิดข้อโต้แย้งในทันที
     -  มีค่าตอบแทนและสวัสดิการค่อนข้างสูง
    
     ในช่วงการเยี่ยมชมโรงงานได้พบกับบรรยากาศการทำงานของคนทำงานที่คล้ายได้รับการลงโปรแกรมให้ทำงานในส่วนที่ตนเองรับผิดชอบอย่างมีสมาธิในทุกวินาที  (การทำงานทุก 2 ชม. จะได้พัก 10 นาที) ซึ่งดิฉันเองคงไม่กล้าที่จะฟันธงถึงความสุขในการทำงานของคนในโรงงาน 
แต่สามารถฟันธงได้ว่าตัวเองมั่นใจในความรู้สึกที่มีความสุขในการทำงานในมน. มากขึ้นอีกโข  แต่ด้วยการทำงานในแบบโตโยต้าทำให้ผลลัพธ์ที่ได้มาคุ้มค่าอย่างที่เราเห็น

     มาถึงช่วง AAR ซึ่งท่านอาจารย์ประพนธ์  ได้บอกกับเราว่า ไม่เคยทำ AAR ในลักษณะนี้  คือ
     1.  ไม่เคยทำ AAR ในร้านอาหาร   ซึ่งบรรยากาศทำให้ชวนคาราโอเกะกันมากกว่า
     2.  ไม่เคยทำ AAR โดยมีคนร่วมมากขนาดนี้
     3.  ไม่เคยทำ AAR ก่อนเวลาทานอาหาร  เพราะความทรมานจากความหิวอาจทำให้เราวอกแวกไปบ้าง
   โดยท่านได้ทบทวนโจทย์ของการทำ AAR ให้เราอีกครั้งคือ
     1.  ความคาดหวัง / เป้าหมาย
     2.  ได้อะไรตรงตามวัตถุประสงค์บ้าง
     3.  อะไรที่ไม่ได้ตามความมุ่งหวัง
     4.  อยากจะนำเอาอะไรกลับไปทำที่มหาวิทยาลัย
   
     AAR
     ความคาดหวัง / เป้าหมาย
     1.  ในฐานะผู้ประสานงาน  คาดหวังว่าการเดินทางไปศึกษาดูงานครั้งนี้จะทำให้ผู้ร่วมเดินทางได้รับความสะดวกให้มากที่สุดตั้งแต่ก่อนเดินทาง  เริ่มออกเดินทาง  จนกลับถึงที่หมาย  (ซึ่งก็บกพร่องไปบ้างอย่างน่าให้อภัยนะคะ)
     2.  ในฐานะผู้เข้าร่วมศึกษาดูงาน  เนื่องจากดิฉันอยู่ระหว่างการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการวางระบบการจัดการความรู้ของมน.  จึงหวังว่าจะนำความรู้ที่ได้ทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติมาปรับเข้ากับบริบทของมหาวิทยาลัยในการจัดทำแผนดังกล่าว เพื่อให้บุคลากรในมน. เป็นบุคคลเรียนรู้  เพื่อให้ มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้ ตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้
     ได้อะไรตรงตามวัตถุประสงค์บ้าง
     1.  ได้เห็นภาพรวมของการจัดการความรู้ของโตโยต้า  โดยเฉพาะในเรื่องการให้ความสำคัญกับบุคลากร
     อะไรที่ไม่ได้ตามความมุ่งหวัง
     1.  ไม่ได้ทราบเทคนิคในการพัฒนาคนให้เป็นบุคคลเรียนรู้อย่างที่ได้บรรยายไว้
     2.  ไม่ได้เห็นคลังความรู้ที่โตโยต้าได้รวบรวมมาจากบุคลากร  (ซึ่งเป็นเรื่องที่เค้าให้ความสำคัญค่อนข้างมาก)
     อยากจะนำเอาอะไรกลับไปทำที่มหาวิทยาลัย
     1.  นำสิ่งที่ได้กลับไปเป็นส่วนหนึ่งของการวางระบบการจัดการความรู้ของมน.  เพื่อให้บุคลากรของมน. มี DNA .ในแบบของเรา
     2.  เป็นตัวคูณที่ดีที่จะนำความรู้กลับไปฝาก NUKM Staff ที่ไม่ได้มากับเราต่อไป
     สรุปได้ว่าช่วงเวลาที่เป็นประโยชน์สูงสุดอีกช่วงหนึ่ง คือ ช่วงของการทำ AAR ซึ่งดิฉันได้รับประโยชน์มากขึ้นตามจำนวนของคนที่มากไปด้วย  และสิ่งสำคัญอีกอย่าง คือ อุปสรรคต่างๆ ไม่สามารถจำกัดความคิดผู้เข้าร่วมทุกท่านได้   

 

หมายเลขบันทึก: 18557เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2006 16:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 12:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ยอดเยี่ยมเลยตูน สำหรับบันทึกนี้ กระทัดรัด ชัดเจน ได้ประเด็นสำคัญ อยากให้มีการบันทึกทำนองนี้ต่อไปเรื่อย ๆ

แต่ขอแนะนำนิกนึง คำว่าอย่างน่าให้อภัยแนะนำให้คนอื่นเขาพูดน่าจะดีกว่า ตัวตูนเองน่าจะพูดทำนองว่าข้าสมควรตาย

ก่อนอื่น ขอแสดงความยินดี ค่ะ กับรางวัล ที่เพิ่งได้หมาด ๆ งานนี้ มอ. สบายจัง อ่าน AAR ของ มน. แล้วเอามาสังเคราะห์  และสรุปรวมของคนอื่น ๆ เพิ่มเติมจากที่จดไว้ อีกไม่มากนัก เป็นการช่วยกัน สังเคราะห์ สิ่งที่ได้เรียนรู้ ดูมาจริง  ตลอดปีนี้ มอ.ฐานะฝ่ายเลขานุการเครือข่าย แอบอายนิด ๆ ที่  (ทำไงดีให้ เราใช้ blog ได้ แบบหลาน ๆ มน.) คงต้องเป็นโจทย์ให้คิดหลายตลบ ที่จริงก็คิดมาหลายตลบแล้วหล่ะ แต่หาเวลา จับเข่าคุยกับกรรมการฯ  อยู่  มีอะไรที่เป็น เคล็ดลับดี ๆ โปรดถ่ายทอด   

ก่อนอื่น ขอแสดงความยินดี ค่ะ กับรางวัล ที่เพิ่งได้หมาด ๆ งานนี้ มอ. สบายจัง อ่าน AAR ของ มน. แล้วเอามาสังเคราะห์  และสรุปรวมของคนอื่น ๆ เพิ่มเติมจากที่จดไว้ อีกไม่มากนัก เป็นการช่วยกัน สังเคราะห์ สิ่งที่ได้เรียนรู้ ดูมาจริง  ตลอดปีนี้ มอ.ฐานะฝ่ายเลขานุการเครือข่าย แอบอายนิด ๆ ที่  (ทำไงดีให้ เราใช้ blog ได้ แบบหลาน ๆ มน.) คงต้องเป็นโจทย์ให้คิดหลายตลบ ที่จริงก็คิดมาหลายตลบแล้วหล่ะ แต่หาเวลา จับเข่าคุยกับกรรมการฯ  อยู่  มีอะไรที่เป็น เคล็ดลับดี ๆ โปรดถ่ายทอด   

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท