“ชายขอบ” กับ KM ใน สสจ.พัทลุง #1: เริ่มต้นแบบ “งง-งง-งง”


รวม “งง” 3 ครั้งแล้ว คือ เริ่มใช้ GotoKnow.org ได้รางวัล “คุณอำนวย” จาก สคส. และคำแนะนำจาก Reviewer จาก สวรส.ภาคใต้ มอ. จึงเป็น “Triple Daze”

     “คุณอำนวย” เป็นคำแรก ๆ ที่รู้จัก (โดยไม่เข้าใจ) ต่อจากคำว่าการจัดการจัดการความรู้ หรือ Knowledge Management: KM และเป็นคำนี้คำเดียวที่ผมเริ่มถามตัวเองว่า KM คืออะไร อย่างไร และยังไงที่เป็น KM รวมถึงคำถามที่เกี่ยวข้องอีกมากมายได้พรั่งพรูออกมา แต่อยู่ภายใน แล้วก็พยายามที่จะสร้างความเข้าใจด้วยตนเอง (Knowledge Construction by Self-Learning) แต่ก็รู้สึกตัวว่า “ไม่สำเร็จ” เหมือนไม่ get เลย แต่ก็ไม่กังวลอะไรมาก เพียงแต่รู้สึกบ้างเมื่อได้อ่านบันทึกใน GotoKnow.org แล้วถามตัวเองว่าเราอยู่ตรงไหนของ KM ผมเข้าใจเองในตอนนี้ว่า “เพราะเราติดกรอบ” จึงไม่เข้าใจในตอนนั้น ติดกรอบแม้วิธีคิดเพื่อที่จะสร้างความเข้าใจให้แก่ตนเอง (ได้เรียนรู้ว่า...อันตราย) กว่า 3 เดือนที่เริ่มต้นแบบ “งง-งง-งง” อยู่

     “คุณอำนวย” เป็นรางวัลจาก สคส. หรือสถาบันจัดการความรู้แห่งชาติ ที่มอบให้ผมไว้ประจำเดือนกันยายน 2548 ผมเริ่มคิดในตอนนั้นว่า “ผู้ให้” เห็นอะไร และ “ผู้รับ” เป็น “คุณอำนวย” ตรงไหน ผมเห็นประกาศแบบ “ยิ้มเจื่อน ๆ” เพราะยัง “งง-งง-งง” อยู่นั่นเอง ตามประกาศผมได้รับจากการบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ใน Blog “ระบบหลักประกันสุขภาพ” ซึ่งในขณะนั้นผมทำหน้าที่เป็นนายทะเบียนจังหวัดพัทลุงในงานสร้างหลักประกันสุขภาพแก่ประชาชน ภาระหน้าที่และความรับผิดชอบของผมหลัก ๆ ในฐานะผู้ซื้อบริการสุขภาพ ก็คือการส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพ ด้วยความเข้าใจอย่างแท้จริง ในฐานะที่เขาเป็นผู้ใช้บริการ และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ผู้ให้บริการ ซึ่งก็คือเครือข่ายหน่วยบริการสาธารณสุขต่าง ๆ ในจังหวัดพัทลุง โดยการเดินสายไปตามคำเชิญบ้าง จัดขึ้นเองบ้าง หรือไปสมทบกับเขาบ้าง โดยรูปแบบเวทีนั้นได้พยายามที่จะปรับให้เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หมายถึง กลุ่มเป้าหมายได้พูดมากกว่าที่เราพูดเอง เป็นสำคัญ เป็นหัวใจของการจัดเวที ในขณะเดียวกันผมก็จะได้ประเด็นต่าง ๆ ที่ได้เรียนรู้มาจากเวที เชื่อมต่อเข้ากับผู้บริหาร โดยอาศัยการบันทึกเสนอ การนำเสนอในคราวประชุมไม่ว่าจะในฐานะฝ่ายเลขานุการฯ หรือเป็นคณะกรรมการในคณะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ คณะทำงานกำหนดเขตพื้นที่รอยต่อฯ คณะทำงานพิจารณาช่วยเหลือหน่วยบริการที่ขาดสภาพคล่อง คณะอนุกรรมการบริหารงานหลักประกันสุขภาพฯ หรือแม้แต่คณะกรรมการจัดการความรู้ (KM) ของ สสจ.พัทลุง หรืออื่น ๆ รวมถึงการเขียนเป็นรายงาน เป็นบทความเพื่อเผยแพร่ในองค์กรอยู่เสมอ จนมาถึงในปัจจุบันคือการเขียนบันทึกไว้ใน GotoKnow.org

     ผมคงโชคดีที่ นพ.ยอร์น จิระนคร (นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพัทลุง) หรือ นพ.บรรเจิด สุขพิพัฒปานนท์ (ผู้เขี่ยวชาญด้านเวชกรรมป้องกัน) และคุณพี่สวาท กรศิริลักษณ์ (หัวหน้ากลุ่มงานประกันสุขภาพ) เพื่อนร่วมงานในงานทะเบียนที่ผมเป็นหัวหน้างานเอง หรืองานอื่น ๆ ในกลุ่มงานเดียวกัน ได้ให้การยอมรับ และพร้อมเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหารจัดการ การทำงานแบบเดิม ๆ ที่เป็นการสั่งการ มาเป็นการนำเสนอจากผู้ปฏิบัติเพื่อการตัดสินใจ และใช้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยผู้ปฏิบัติได้รับโอกาสในการแสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที เป็นกันเอง แม้จะมีอยู่บ้างที่ยังเป็นอุปสรรคอยู่ แต่มองเห็นแนวโน้มที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะการกล้าเปิดใจพูด หากเล็กลงมาภายในกลุ่มงานเองในทุก ๆวัน เราจะมีการทักทายกันเล็ก ๆ (Small Talk) ในตอนเช้าทุก ๆ วัน และการสุนทรียสนทนาเกิดได้เสมอเมื่อเกิดประเด็นที่เป็นเป้าหมายร่วม คือ การทำงานเป็นทีมของกลุ่มงานฯ ทุกคนมีส่วนร่วมช่วยคิดได้ แม้จะไม่ใช่หน้าที่โดยตรง กลุ่มงานประกันสุขภาพเรามีความเชื่อร่วมกันเป็นค่านิยมร่วม (Core Value) ว่า “ทั้งผู้รับและผู้ให้บริการมีความสุข” ฉะนั้นจากตรงนี้ผมมองว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความง่าย ในการทำงานไปพัฒนาไป และได้รับความสุขเป็นกำไรจากการทำงานกันถ้วนหน้า

     “คุณอำนวย” อีกครั้งที่ได้ยินชื่อนี้ เป็นช่วงที่ผมและนพ.ยอร์น จิระนคร (นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพัทลุง) กำลังพัฒนาโครงการวิจัย แล้วได้ส่งโครงร่าง “ไตรภาคีร่วมพัฒนาสุขภาพชุมชน” ไปยังสถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพภาคใต้ มอ. (สวรส.ภาคใต้ มอ.) ซึ่งได้รับการตอบรับ และมีคำแนะนำจาก Reviewer ให้ผมทำหน้าที่ในฐานะ “คุณอำนวย” และ นพ.ยอร์น จิระนคร อยู่ในฐานะ “คุณเอื้อ” ครั้งที่ 2 ที่ “งง-งง-งง” แต่เป็นการ “งง” ที่นิ่งไม่ได้แล้ว เริ่มรู้สึกร้อน ๆ หนาว ๆ ว่าต้องรู้และเข้าใจให้จงได้ จึงลงมือ พยายามที่จะสร้างความเข้าใจด้วยตนเอง (Knowledge Construction by Self-Learning) อีกครั้ง แต่ก็รู้สึกตัวว่า “ไม่สำเร็จ” อีกจนได้ คือไม่สามารถ get ได้ แต่ยอมรับว่าครั้งนี้รวมกับที่สะสมมาแต่ต้น รวม “งง” 3 ครั้งแล้ว คือ เริ่มใช้ GotoKnow.org ได้รางวัล “คุณอำนวย” จาก สคส. และคำแนะนำจาก Reviewer จาก สวรส.ภาคใต้ มอ. จึงเป็น “Triple Daze”

     และแล้วทาง สคส.ก็ได้ให้โอกาสอันยิ่งใหญ่ (จากฐานคิดผมเอง) ด้วยการเชื้อเชิญให้ไปร่วมงาน “มหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งที่ 2” จากงานนี้นี่เองผมได้เห็นกับตา ได้ฟังกับหู ได้เปรียบเทียบ ได้เรียนรู้ด้วยใจ และได้สนทนากับนักจัดการความรู้ตัวจริง ที่แท้แล้ว “KM คือความเป็นธรรมชาติของวิถีชีวิต ที่ผ่านการพิสูจน์ด้วยการปฏิบัติจริงในตัวตนของคน บางส่วน (ส่วนน้อย) ถูกนำไปจัดการเป็นความรู้สำเร็จรูป หรือความรู้ชัดแจ้ง บางส่วน (ส่วนใหญ่) ยังฝังลึกอยู่ในตัวคน ทั้งรู้ตัวและไม่รู้ตัว แล้วนำทั้ง 2 ส่วนนี้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน จนเกิดขบวนการเคลื่อนย้ายองค์ความรู้ไปมาระหว่างกันแบบหมุนเกรียว ทั้งระหว่างตัวคน ระหว่างกลุ่ม ระหส่างชุมชน และระหว่างความรู้ชัดแจ้งและความรู้ฝังลึก ก็จะเกิดเป็นความรู้ใหม่ไม่รู้จบ ซึ่งสุดท้ายปลายทางก็คือ คนได้รับการพัฒนา องค์กรและชุมชนก็จะได้รับการพัฒนาเป็นผลพวง และสุดท้ายปลายทางจริง ๆ คาดหวังว่า คุณภาพชีวิตของคนได้รับการยกระดับจนถึงขั้น ความสุขในระดับปัญญาที่แท้จริง” ผมเข้าใจอย่างนี้ที่ว่า KM คืออะไร ไม่น่าจะผิดหรือถูก เพราะเข้าใจได้เท่านี้ จริง ๆ เท่าที่มีปัญญาจะเข้าใจได้

     “คุณอำนวย” ตามที่ผมเข้าใจต้องทำหน้าที่เอื้อ สนับสนุน สร้างโอกาส และรู้จักฉกฉวยโอกาส ที่ให้เกิดขบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน (ลปรร.) เพื่อให้เกิดขบวนการเคลื่อนย้ายองค์ความรู้ไปมาระหว่างกันแบบหมุนเกรียว อีกทั้งยังทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างผู้บริหาร หรือคุณเอื้อ กับผู้ปฏิบัติหรือคุณกิจ ในระดับต่าง ๆ ทั้งนี้ก็เพื่อหน้าที่ที่ระบุไว้ข้างต้นจะได้สมบูรณ์ ส่วนจะใช้เทคนิคอะไรบ้างก็ขึ้นอยู่กับบริบท หรือปัจจัยเอื้ออำนวยอื่น ๆ ที่เหมาะสม มองว่าต้องใช้ไหวพริบปฏิภานร่วมด้วย ทั้งนี้ก็ตรงที่จะทำให้รู้จักฉกฉวยโอกาสในการ ลปรร.กันให้ได้มากที่สุด

     “คุณอำนวย” เป็นชื่อเรียกผู้ที่ทำหน้าที่ดังกล่าวข้างต้น ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกองค์การ ทุกชุมชน หรือทุกหน่วย คุณอำนวยจึงไม่ใช่ตำแหน่งแบบที่เราคุ้นชินกัน แต่เป็นตัวแสดงบทบาทหนึ่งในการจัดการความรู้เท่านั้นครับ

     ในประเด็นที่ได้ทำและทำแล้วเกิดอะไรขึ้นบ้างใน สสจ.พัทลุง เทคนิคที่นำมาใช้ในแต่ละครั้ง แต่ละคราวมีอะไรเป็นอย่างไร ก็จะมาว่ากันในตอนต่อ ๆ ไป ครับ...ตอนนี้ของเอวัง...ด้วยประการฉะนี้

หมายเลขบันทึก: 18556เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2006 15:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

ผมอ่านแล้วรู้สึกเหมือนนั่งดูหนังเลยครับ  ตอนต่อไปคงทำให้ชวนติดตามเข้าไปอีกแน่ๆเลย

Small Talk  ทำอย่างไรบ้างครับ  พอขยายความนิดหน่อยได้มั๊ย    และผลที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไรบ้างครับ?

ขอบคุณครับ

เรียน..คุณ Thawat KMI...

วันนี้...ขออนุญาตแลกเปลี่ยนประเด็น.. Small  Talk..แทนคุณ"ชายขอบ"...เพราะเคยได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้..กันในประเด็นนี้มาบ้างแล้ว..รายละเอียดอย่างไร...ท่านเจ้าของบันทึกอาจเข้ามาขยายเรื่องราวเพิ่มเติมค่ะ...

 

ปล.วันนี้ได้มีโอกาสร่วมกับท่านเจ้าของบันทึก..ในเวที "ไตรภาคีฯ"..ที่ว่า "โครงการพัฒนาศักยภาพ(ภาคประชาชน).." ณ สถานีพัฒนาอาหารสัตว์ จังหวัดพัทลุง

     วันนี้ผมต้องทำหน้าที่วิทยากรกระบวนการ "โครงการพัฒนาศักยภาพทีมสุขภาพภาคประชาชน" ให้แก่ สอ.เขาปู่ อ.ศรีบรรพต จ.พัทลุง ณ ณ สถานีพัฒนาอาหารสัตว์ จังหวัดพัทลุง ตามที่ Dr.Ka-poom ได้แจ้งไว้ ทำให้ตอบประเด็นพี่ธวัช สคส.ช้าไปนิดนึง...ขอบคุณพี่มากที่อุตส่าห์อ่าน (เพราะยาวน่าดู) แถมไม่จบแบบม้วนเดียวอีกต่างหาก...(ฮา)

     ขอเติมเต็มประเด็นที่ว่า Small Talk สักนิดนึง จากที่เคยบันทึกไว้ที่...Small Talk: การทักทายเล็ก ๆ ที่มากกว่าคำว่า “สวัสดี” ว่าโดยสรุปคือการทักทายกันแบบหยอกเย้า แหย่เล็ก ๆ หลังจากที่ได้กล่าวคำว่าสวัสดีกันแล้ว เช่น ทบทวนเรื่องดี ๆ ปลื้ม ๆ ของเขาเมื่อวาน หรือ ถามถึงลูก, คนรัก, การเรียน, ฯลฯ ที่เป็นประเด็นเชิงบวกหน่อยครับ แล้วเป็นเรื่องที่คุยไม่ต้องยาว เพียงสั้น ๆ อาทิ...สงสัยวันนี้ต้องมีข่าวดีแน่ ๆ ดูสดใสจังเลย...เป็นต้น

ผมอ่านแล้วก็รู้สึกประทับใจในความเป็นตัวตนของคุณชายขอบนะครับ 

ทุกครั้งที่อ่านตัวหนังสือของคุณชายขอบแล้ว  เป็นต้องเห็นใบหน้าและท่าทางตัวตนที่เป็นอยู่ของคุณชายขอบครับ  อ่านแล้วให้ความรู้สึกเหมือนกำลังนั่งคุยกันบนโต๊ะกาแฟครับ 

โดยส่วนตัวแล้วผมชื่นชมในความมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของคุณชายขอบนะครับ  เพราะทุกครั้งที่ได้ฟัง  ได้อ่าน  ได้เห็น  คุณชายขอบผ่านทางโทรศัพท์  ทางหน้าจอคอมฯ  โดยการประชุมสัมมนา  หรือโดยการประชันหน้ากันตรงๆ แล้ว  เหมือนกันทุกครั้งครับ  ไม่เคยเสแสร้งหรือพูดไม่เหมือนความคิด  เป็นคนจริงที่น่านับถือครับ 

ขอคารวะ  อย่างงามๆๆ นะครับ

คราวนี้บทความก็เป็นการทำให้ผู้อ่านได้หาย งง..งง..งง  ไปได้พอสมควรนะครับ  ผมได้รู้ศัพท์ใหม่ๆ บ่อยนะครับ  จากชุมชนแห่งนี้  และมีหลายๆ คำศัพท์ที่อ่านแล้วพอจะเข้าใจได้แต่ไม่สามารถอธิบายคนอื่นต่อๆๆ ไปได้  เหมือนบางครั้งที่นั่งอ่านบทความภาษาอังกฤษ นะครับ  พอจะเข้าใจคร่าวๆ แต่ไม่ชัดเจนทั้งหมด  วันนี้ได้อ่านบทความของคุณชายขอบแล้ว  เริ่มจะ  get  มากขึ้น

ผมชอบคำว่า  "การสุนทรียสนทนา"  นะครับ มันดูเป็นการสนทนาที่ร่มรื่นและสบายใจ  ดีใจนะครับที่กลุ่มงานฯ  ของคุณชายขอบ  มีการ  small  talk    และการสุนทรียสนทนา  ในทุกๆ วัน  ยังไงฝากให้เพื่อนผมร่วมวงด้วยนะครับพี่ใหญ่   

     ขอบคุณ คุณ(น้อง)ศิลาฯ มากที่ได้เข้ามา ลปรร.
ในบันทึกนี้และหลาย ๆ บันทึกก่อนหน้า
รวมถึงขอบคุณที่มอบความรู้สึกดี ๆ ให้แก่กัน
สำหรับเพื่อนน้องที่เอ่ยถึงก็ถือว่าได้ ลปรร.กันอยู่นะครับ
แต่อาจจะน้อยไปบ้าง เพราะลักษณะงานต่างกันสักนิด
แต่ก็จะมีโอกาสที่ดีมอบให้แก่กันเสมอ ๆ ครับ

     คุณ(น้อง)ศิลาฯ เขียนความเห็นไว้
มี "เพื่อนที่รักคนดีคนหนึ่ง" ได้อ่านแล้ว
ฝากชมว่าเป็นการ "ถ่ายรูปด้วยคำบรรยาย"
ที่ชัดเจนมาก เลยนำมาบอกต่อ...

     เร็ว ๆ นี้คาดว่าจะได้อ่านเรื่องราวของหมออนามัย
ในภาพของอาจารย์ ม.ทักษิณ (ลุ้นอยู่ว่าจะเริ่มเขียนตอนไหน...ฮา)
และก็ขอแสดงความยินดีผ่านบันทึกนี้ไปให้นะครับ
กับอนาคตใหม่ ๆ ของหมออนามัยคนหนึ่ง...

     ขอบคุณ คุณ(น้อง)ศิลาฯ มากที่ได้เข้ามา ลปรร.
ในบันทึกนี้และหลาย ๆ บันทึกก่อนหน้า
รวมถึงขอบคุณที่มอบความรู้สึกดี ๆ ให้แก่กัน
สำหรับเพื่อนน้องที่เอ่ยถึงก็ถือว่าได้ ลปรร.กันอยู่นะครับ
แต่อาจจะน้อยไปบ้าง เพราะลักษณะงานต่างกันสักนิด
แต่ก็จะมีโอกาสที่ดีมอบให้แก่กันเสมอ ๆ ครับ

     คุณ(น้อง)ศิลาฯ เขียนความเห็นไว้
มี "เพื่อนที่รักคนดีคนหนึ่ง" ได้อ่านแล้ว
ฝากชมว่าเป็นการ "ถ่ายรูปด้วยคำบรรยาย"
ที่ชัดเจนมาก เลยนำมาบอกต่อ...

     เร็ว ๆ นี้คาดว่าจะได้อ่านเรื่องราวของหมออนามัย
ในภาพของอาจารย์ ม.ทักษิณ (ลุ้นอยู่ว่าจะเริ่มเขียนตอนไหน...ฮา)
และก็ขอแสดงความยินดีผ่านบันทึกนี้ไปให้นะครับ
กับอนาคตใหม่ ๆ ของหมออนามัยคนหนึ่ง...

ถึงคุณ (พี่) ชายขอบครับ

ผมคงจะเป็นเด็กซนรุ่นใหม่ที่ยังไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรนะครับ

ผมก็เลยอาศัยคำแนะนำของคุณชายขอบ  ที่แนะนำให้ไปอ่านบทความของคุณ mitochondia  บันทึกจากแดนซากุระ 7 :  ประสบการณ์  10  วันจากการเขียนบล็อก 

หลังจากผมอ่านแล้วก็รู้สึกว่ามือใหม่ทุกคนคงจะเหมือนกัน  คือ  ไม่รู้จะเขียนอะไร  เขียนแล้วไม่รู้ว่าคนอ่านจะรู้สึกอย่างไร  ก็คงต้องเริ่มต้นจากการอ่านของคนอื่นเยอะๆ และ แวะเข้าไปแซวนิดสะกิดหน่อยกับบางบทความที่สนใจ  เพื่อหาประสบการณ์  จนกว่าจะ  "ปีกกล้าขาแข็ง"  แล้วค่อยเขียนบทความของตนเอง 

แต่ตอนนี้ก็พยายามที่จะบันทึกประสบการณ์ใหม่ๆ ที่เจอทุกวันในที่ทำงานใหม่  ตำแหน่งใหม่  เพื่อนใหม่  สิ่งแวดล้อมใหม่  และความรู้สึกใหม่ๆ เอาไว้ในสมุดบันทึก  เผื่อว่าเมื่อถึงเวลา  อาจจะได้  ลปรร  กะคนอื่นๆ บ้าง 

ว่างๆ อาจจะได้เข้าไปนั่งคุยกับคุณชายขอบนะครับ  เพื่อว่าจะขอคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการใช้  บล็อก  นะครับ

หวังว่าคงจะได้รับความกรุณานะครับ   

คือ..ตัวตน

ค่ะ..เข้ามาอ่านหลายรอบ..แล้วนิ่ง
นิ่งอย่างที่เข้าใจ...เพราะ..
ดิฉันเอง..ถึงแม้อาจถูกมองเป็น "นักทฤษฎี" หรือ "Hard Theorist"ในทีม H2O ..แต่ก็หาใช่ว่า..จะจดและจำ..ทฤษฎีมา
แต่จะใช้การสร้างภาพความเข้าใจ (Mental Model)..
ในสิ่งนั้นๆ..มากกว่า..

ดิฉันเชื่อว่า...หากแม้ คุณ"ชายขอบ"..ได้อ่านหนังสือ
เป็นร้อยเป็นพันเล่ม..หากไม่ get..ก็คงจะไม่ get อยู่อย่างนั้นแหละคะ..แต่...การเกิด Mental Model ของคุณชายขอบ..นี่สิ..มากจากอะไรเป็นเรื่องที่น่าค้นหาและน่าสนใจมาก...เพราะอะไรถึงได้ Representation ออกมาได้..ยอดเยี่ยมมากในทุกๆเรื่อง...แต่สิ่งสำคัญ...หากมองอย่างธรรมดาใช้ภาษาง่ายๆ..นั่นคือ "การตกผลึกที่งดงามทางปัญญา"..มากเลยค่ะ

คุณอำนวย...

"คุณอำนวย"...เป็นหนึ่งในนามที่ใช้ในสังคม...KM
ที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้...
สังคมที่มีการถ่ายโอน...ความรู้...
ในอดีต...หามี..ระบุไว้ไม่
แต่หาก...มีการปฏิบัติ..กันมา..
บางครั้ง...หากหลงทางไป..
"คุณอำนวย"...ก็จะเป็น..เพียง "ตำแหน่ง"...
ที่แบ่งกั้น...ทางความรู้สึก...
แต่หาก...ยังคำนึง...ถึง
คุณอำนวยก็คือมิตรคนหนึ่ง...ในสังคม.."ความรู้"...

ถึง น้องศิลา วรบรรพต

     อยากจะบอกว่ายินดีที่จะได้ TTT: Tea Time Talk กัน และอยากยอน(ยุยง)ว่า "เอาในสมุดที่บันทึกไว้ ตีพิมพ์เลย ไม่ต้องเกรงใจ พี่บาวนิ"

     ขอบคุณคุณดอกหญ้าสำหรับแรงใจสำหรับคนทำงาน ขอมอบต่อไปยัง "คุณกิจ"ทุกท่าน ผมเองยังไม่ได้ลงมือทำเท่าที่เขาได้ทำเลย รับไว้และแบ่งเก็บไว้นะครับ และก็ขอส่งผ่านต่อไปด้วย แด่ทุกคน...คนทำทาง

ถึง Dr.Ka-poom

     "Mental Model ของคุณชายขอบ" เป็นอย่างไรเหรอครับ อธิบายจากที่ได้สัมผัส รับรู้ หรือเรียนรู้ อีกหน่อยได้ไหม (Tell me, Please) ยิ้ม...ยิ้ม

     อีกประเด็นเพื่อเน้นย้ำ เห็นด้วยอย่างยิ่งในเรื่องใน คห.คุณอำนวย... เห็นด้วยจริง ๆ

คุณอำนวย  ได้ยินและอ่านผ่านๆหลายครั้ง  ก้อสงสัยหลายครั้งวันนี้เลยลองตั้งใจอ่านดูซักที  ก้อไม่ผิดหวังเพราะได้ถึงบางอ้อ และเข้าใจศัพท์มากมาย(ศัพท์พื้นๆ ตรงไป ตรงมา แต่เข้าถึงใจคนอ่านไ้ด้อย่างโดน) เพราะเดิมแล้วเป็นคนไม่ค่อยเข้าใจภาษาเท่าไหร่ 

Dr.Ka-poom

     ขอบคุณครับที่วิสัชณา ขอบคุณยิ่ง อย่างจริงใจ

ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม เมื่อ พฤ. 30 มี.ค. 00:29:19 2006

     เป็นกำลังใจอย่างดียิ่งครับ คือ ตรงกับที่ได้พยายามบันทึกเพื่ออ่านและเข้าใจได้ง่าย ๆ แม้บางครั้งอาย ๆ ที่ใช้ภาษาเชย ๆ คห.นี้ทำให้มั่นใจมากยิ่งขึ้นครับว่า...ยังใช้ได้อยู่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท