ชวนฟังเพลง "แว่วเสียงซึง" แล้วทำตาซึ้ง ๆ ใส่กัน


ใครหนอดีดซึง ให้ข้าเจ้าซึ้งซ่าน ทรวงเอ๋ย ... ก่อนอ้ายพี่เคย ดีดซึงสอนข้า เจ้าฮัก ... ต่างฮู้ ใจกัน ทุกวันประจักษ์ ... พะเยาป่าสัก สลักเสียงซึงยังตรึงอุรา

เพลง "แว่วเสียงซึง" มีเสน่ห์อันลึกลับที่ชวนหลงใหล ... เหมือนเราฟังเพลง "มนต์เมืองเหนือ" หรือ "นิราศเวียงพิงค์" แล้วอยากมาเมืองเหนือ มาสัมผัสบรรยากาศประเพณีอันงดงาม ธรรมชาติอันรื่นรมย์

 

ฟังเพลง + อ่านเนื้อเพลง ก่อนนะครับ :)

 

ชื่อเพลง : แว่วเสียงซึง

ผู้ขับร้อง : อรวี สัจจานนท์

คลิกฟังเพลง : http://www.tlcthai.com/webboard/music_play.php?table_id=1&cate_id=135&post_id=20368 

เนื้อเพลง :

ใครหนอดีดซึง ให้ข้าเจ้าซึ้งซ่าน ทรวงเอ๋ย
ก่อนอ้ายพี่เคย ดีดซึงสอนข้า เจ้าฮัก
ต่างฮู้ ใจกัน ทุกวันประจักษ์
พะเยาป่าสัก สลักเสียงซึงยังตรึงอุรา

แว่วซึงคร่ำครวญ ให้ใจฮักป่วน จริงหนอ
ข้าเจ้าเฝ้ารอเฝ้าคอยฮักอ้ายกลับมา
บ่ฮู้ใจอ้าย ร้ายดังเขาว่า
เสียแรงคอยท่า ข้าเจ้าฮักจริงยิ่งกว่าสิ่งใด

อ้ายเอย บ่ห่อนเยือนฮักข้าเจ้า
อ้ายลืม พะเยาลำเนาพงไพร
ลืมซึง ยังหวานซ่านซึ้งทรวงใน
เสียงซึงแว่วมาครั้งใด ให้ข้าเจ้าหลั่งน้ำตา

อ้ายเอยบ่มีใจฮักข้าเจ้า แล้วหนอ
ลืมเหย้าลืมหอ เรือนฮักของอ้าย ห่อนมา
สิ้นฮักข้าเจ้า บ่เยือนเห็นหน้า
บ่ได้เห็นว่า อ้ายพี่นี้มาฮักร่วมดีดซึง

อ้ายเอย บ่ห่อนเยือนฮักข้าเจ้า
อ้ายลืม พะเยาลำเนาพงไพร
ลืมซึง ยังหวานซ่านซึ้งทรวงใน
เสียงซึงแว่วมาครั้งใด ให้ข้าเจ้าหลั่งน้ำตา

อ้ายเอยบ่มีใจฮักข้าเจ้า แล้วหนอ
ลืมเหย้าลืมหอ เรือนฮักของอ้าย ห่อนมา
สิ้นฮักข้าเจ้า บ่เยือนเห็นหน้า
บ่ได้เห็นว่า อ้ายพี่นี้มาฮักร่วมดีดซึง

 

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

 

ความรู้เรื่อง "ซึง"

 

(ภาพจาก http://art-culture.chiangmai.ac.th/academic/natha/2548/01/25/)

 

"ซึง" เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด มี 4 สาย แต่แบ่งออกเป็น 2 เส้น เส้นละ 2 สาย มีลักษณะคล้าย [กระจับปี่] แต่มีขนาดเล็กกว่า ความยาวทั้งคันทวนและกะโหลกรวมกันประมาณ 81 ซม กะโหลกมีรูปร่างกลมวัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ประมาณ 21 ซม ทั้งกะโหลกและคันทวน ใช้ไม้เนื้อแข็งชิ้นเดียวคว้านตอนที่เป็นกะโหลกให้เป็นโพรง ตัดแผ่นไม้ให้กลม แล้วเจาะรูตรงกลางทำเป็นฝาปิดด้านหน้า เพื่ออุ้มเสียงให้กังวาน คันทวนเป็นเหลี่ยมแบนตอนหน้า เพื่อติดตะพานหรือนมรับนิ้ว จำนวน 9 อัน ตอนปลายคันทวนทำเป็นรูปโค้ง และขุดให้เป็นร่อง เจาะรูสอดลูกบิดข้างละ 2 อัน รวมเป็น 4 อันสอดเข้าไปในร่อง สำหรับขึ้นสาย 4 สาย สายของซึงใช้สายลวดขนาดเล็ก 2 สาย และ สายใหญ่ 2 สาย ซึงเป็นเครื่องดีดที่ชาวไทยทางภาคเหนือนิยมนำมาเล่นร่วมกับปี่ซอ หรือ ปี่จุ่มและ สะล้อ

 

(ภาพจาก http://art-culture.chiangmai.ac.th/academic/natha/2548/01/25/)

 

แบ่งตามลักษณะได้ 3 ประเภท คือ ซึงเล็ก ซึ่งกลาง และซึงหลวง (ซึงที่มีขนาดใหญ่)

แบ่งตามประเภทได้ 2 ชนิด คือ ซึงลูก 3 และซึงลูก 4 (แตกต่างกันที่เสียง ลูก 3 เสียงซอลจะอยู่ด้านล่าง ส่วนซึงลูก4 เสียงซอลจะอยู่ด้านบน)

 

อธิบายคำว่า สะล้อ ซอ ซึง ที่มักจะพูดกันติดปากว่า เป็นเครื่องดนตรีของชาวล้านนา แต่ที่จริงแล้ว มีแค่ ซึง และ สะล้อ เท่านั้นที่เป็นเครื่องดนตรีของชาวล้านนา ส่วนคำว่า ซอ ในที่นี้ หมายถึง การขับซอ ซึ่งเป็นการร้อง,การบรรยาย พรรณณาเป็นเรื่องราว ประกอบกับวงปี่จุ่ม

 

(ภาพจาก http://art-culture.chiangmai.ac.th/academic/natha/2548/01/25/)

 

บทบาทและลีลาของซึง   ซึง ในฐานะเป็นเครื่องดนตรีสำหรับประเทืองอารมณ์ สามารถนำมาบรรเลงได้ทุกโอกาส ซึ่งอาจบรรเลงเดี่ยว ๆ หรือนำไปบรรเลงร่วมกับเครื่องดนตรีชนิดอื่น เฉพาะการบรรเลงเดี่ยวนั้นค่อนข้างจะมีอิสระ เพราะเสียงเพลงที่ออกมา จะเป็นไปตามความนึกคิดของผู้บรรเลงเอง แต่คราใดที่ต้องบรรเลงร่วม หรือผสมวงกับเครื่องดนตรีชนิดอื่น จำต้องกำหนดบทบาทและลีลา เพื่อมิให้ทางเพลงไปซ้อนทับกันมากจนเกินไป ดังนั้นคีตกรชั้นครูจึงพยายามแยกแยะ และกำหนดทางเพลงให้ ซึงแต่ละขนาดบรรเลงในลีลาที่แตกต่างกัน ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะวงดนตรีที่นิยมใช้ ซึงบรรเลงประกอบ ซึ่งได้แก่ วงสะล้อ – ซึง วงปี่ชุม (อ่าน – ปี่จุม) และวงซอน่าน ดังนี้ วงสะล้อ-ซึง- ซึงใหญ่ มีบทบาทคล้ายผู้สูงอายุ เสียงทุ้มต่ำ ลีลาในการบรรเลงจึงมักสอดรับกับซึงตัวอื่นๆ เสียส่วนใหญ่ หน้าที่ของซึงใหญ่จึงคล้ายกีตาร์เบสของดนตรีสากล

 

 

แหล่งอ้างอิง

 

 

อันลำนำเพลง "แว่วเสียงซึง" ฟังกี่ครั้ง ๆ ก็ไม่เบื่อ คนเหนือเค้าว่า ใครลอดอุโมงค์ขุนตาลมาแล้ว จะไม่ได้กลับบ้านอีก หมายถึง จะได้มาลงรากปักฐานที่เมืองเหนือ ... ผมล่ะ คนหนึ่งที่เป็นเช่นนั้น

 

ดังนั้น ใครฟังเพลง "แว่วเสียงซึง" แล้วอย่าลืม "ทำตาซึ้ง ๆ ใส่กัน" นะครับ ถ้ายังไม่มีคู่ ก็ทำตาซึ้งกับสัตว์เลี้ยงแสนรักก็ได้ครับ ... ความอบอุ่นจะเกิดขึ้นอย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัวทีเดียว

 

ขอบคุณที่ทุกท่านที่แวะมาฟังเพลงนี้ด้วยกัน

 

ป.ล. บันทึกนี้ไม่ได้นำเสียงเพลงขึ้นพร้อมกับบันทึก เพราะไม่อยากให้เพลงหน่วงพลังการทำงานของเครื่องแม่ข่าย และ ผู้ที่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตช้า ครับ :)

หมายเลขบันทึก: 185539เขียนเมื่อ 1 มิถุนายน 2008 10:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (36)

สวัสดีค่ะอาจารย์ Wasawat

อ่านเรื่อง ฟังเพลง และ ทำหน้าซึมแทนตาซึ้งได้มั้ยคะ

กำลัง เศร้า ค่ะ

สวัสดีครับ อ.Was

"ใครหนอดีดซึง ให้ข้าเจ้าซึ้งซ่าน ทรวงเอ๋ย
ก่อนอ้ายพี่เคย ดีดซึงสอนข้า เจ้าฮัก
ต่างฮู้ ใจกัน ทุกวันประจักษ์
พะเยาป่าสัก สลักเสียงซึงยังตรึงอุรา"

บันทึกนี้ ทำให้ผม "กึ้ดเติง" เมืองเหนือมากเลยครับ เสียงเพลงเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผมเลยทีเดียว เสียง สะล้อ ซอซึง และ กลองตึงโนง ก็เป็นส่วนหนึ่งของวิถีผม

เพลงนี้ คุณอรวี สัจจานนท์ ร้องได้เพราะมาก เป็นเพลงหนึ่งที่ผมฟังในยามที่พักผ่อนครับ...

ขอบคุณมากครับที่นำมาเขียน รวมถึง องค์ความรู้ดีๆเกี่ยวกับ สุนทรียศาสตร์ของคนล้านนา

ขอบคุณที่ทำให้ผมมีความสุขเล็กๆในวันนี้

----------

ทักทายจาก ห้องสัมมนาที่โคราชครับ :)

ขอโทษค่ะ พี่ไม่ได้มีเจตนามาทำให้บันทึกของอาจารย์เสียบรรยากาศนะคะ

พี่แจ๋ว ... jaewjingjing ครับ :)

บันทึกนี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ให้คนกำลังเศร้าเข้ามาไม่ได้นะครับ :)

เพลงนี้พอช่วยบรรเทาความรู้สึกได้บ้างหรือไม่ครับพี่

อยากพูดคุยอะไร เมล์หลังไมค์คุยกับผมได้ครับ

ขอบคุณพี่แจ๋ว ครับ

สวัสดีครับ คุณเอก จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร  :)

  • สัมมนาอยู่หรือครับ :)
  • เพลง ดนตรี คือส่วนหนึ่งของคนเมืองเหนือ จริง ๆ ด้วยครับ
  • เป็นความสุนทรียภาพทางอารมณ์ที่เราทุกคนสามารถเลือกให้กับตัวเองได้นะครับ
  • ยินดีที่คุณเอกได้ฟังเพลงนี้ครับ

ขอบคุณครับ

จาก เวียงพิงค์ เชียงใหม่ :)

  • เพลงนี้พ่อเปิดให้ฟังบ่อยครับ  เพราะดีครับ ขอบคุณสำหรับเพลงเพราะๆครับ

พี่แจ๋วครับ

สบายใจได้เลยครับ เพลงทำให้เรามีควมรู้สึกหลายๆอย่าง เป็นเรื่องปกติ

หากฟังเพลงแล้วเรามีจินตนาการ เรารู้สึกนั้นเป็นเรื่องที่ดีครับ

เศร้าก็บอกเศ้า

สุขก็บอกสุข

ชีวิตก็เท่านี้

ให้กำลังใจครับ

ยินดีครับ คุณ กวิน ... ว่าแต่ผมเปิดเพลงนี้ให้ฟังนี่ ผมคงไม่แก่ใช่ไหมครับ 555 :)

เห็นด้วยกะคุณเอก จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร  ครับพี่แจ๋ว jaewjingjing :)

อยากให้กำลังใจเช่นกันครับ :)

  • สวัสดีครับ
  • ที่อิสานบ้านผมมีเครื่องดนตรีคล้าย ๆ กับซึงของทางเหนือด้วยครับ
  • ที่นี่เค้าเรียกว่า "พิณ"  ครับ
  • ผมเล่นเป็นด้วย 
  • เมื่อก่อนเคยไปเหนือแล้วเห็นซึง ผมก็เลยขอหยิบมาเล่น วิธีการเล่นและ ขั้นบันไดเสียงเหมือนกันเด๊ะเลยครับ อิอิ เพียงแต่ท่วงทำนองที่ผมเล่นตอนนั้น จะไม่ค่อยเข้ากันเท่าไหร่ แต่ก็ไพเราะไปอีกแบบ เป็นการผสมผสานของสองวัฒนธรรม
  • เครื่องดนตรีเหนือ แต่ท่วงทำนองที่เล่นเป็นอิสาน
  • สนุก จับจิตจับใจเลยครับ 55555

ขอบคุณน้อง นายสายลม อักษรสุนทรีย์  ... แวะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ แหม ได้เขียนเรื่อง "พิณ" หรือยังครับ

ถ้ายัง แนะนำให้ลองเขียนเรื่อง "พิณ" นะครับ เพื่อบันทึกจะได้สอดประสานวัฒนธรรมกัน ครับ

เหมือนที่น้องบอกว่า "เครื่องดนตรีเหนือ แต่ท่วงทำนองที่เล่นเป็นอิสาน" ... 

ขอบคุณมากครับ :) 

ขอบคุณครับ คุณ ครูปู  "v v" ... เหอ เหอ

รับขนมจีบ ซาลาเปา เพิ่มไหมครับ :)

คุณเอก และ อาจารย์ Wasawat ขอบคุณค่ะ ^_^

ก่อนอาหารกลางวันค่ะ อาจารย์ J

 

แว่วเสียงซึง แล้ว คิดถึงเสียงดนตรีไทย

บรรเลง แว่วมา เวลาดึกๆ ตรงอาคารสมช.

 

... ดนตรีก็ซึ้ง เพลงก็ไพเราะ  ... 

 

ปูร่ายรำพัน ถึงความหลัง เจียงใหม่...

..ไม่แน่ใจอ. เคยได้ยินเพลงนี้ไหม ลองดูนะคะ

 

~ รฤกถึง เชียงใหม่ มนต์เสน่ห์แห่งล้านนาไทย ~

http://gotoknow.org/blog/lanandaman/105667

  ฟังเพลง แว่วเสียซึง แล้วหิวพอดีค่ะ

คิดถึง ดินเนอร์ขันโต๊ะ ... เขียนไม่ถูกแล้วค่ะ ขันโตะ

... ทานอาหารเที่ยง เคล้าเสียงซึง .. อิ่มอร่อยเหาะค่ะ อ.  

เรียนอาจารย์ค่ะ

- ฟังเพลงนี้ แล้วคิดถึง

* คุณย่ารหัส กับ ท่านอาจารย์ปู่ ค่ะ :)

เพลงโปรด ประจำท่านทั้งคู่นี้ค่ะ

 

สวัสดียามพระอาทิตย์เยื้อง ๆ ใกล้ตรงหัว ครับ คุณ poo  :)

  • ไม่แน่ใจว่าได้ฟังเพลง "เชียงใหม่" หรือยังนะครับ อาจได้ยินแล้ว แต่ไม่ทราบชื่อเพลงก็เป็นได้ครับ
  • "ขันโตก" .. ครับพี่น้อง poo  :)
  • ยังไม่ได้ทานข้าวกลางวันเลย อิ่มอยู่ครับ

ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์

  • มาฟังเพลง ชอบอรวี สัจจานนท์ เสียเย็นดีค่ะ แต่ส่วนมากฟังเพลงไทยลูกกรุง (เพลงเก่าๆ)
  • แว่วเสียงซึง กันแล้ว ลอง กลิ่นเอื้องเสียงซึง โดยศิลปิน ล้านนาการดนตรี อัลบั้ม ล้านนา2 กันค่ะ

(ร่วมด้วยช่วยอนุรักษ์เพลงพื้นบ้านล้านนาค่ะ)

ขอบคุณครับพี่หม่อม ดาวลูกไก่ ชื่นชมยินดี  :) ฟังตามอายุ ครับ 55

ฟังแล้วก้อยากนอนอิงหมอนสามเหลี่ยม แล้วหาพัด(วี)ซักอันมา พัดๆ

นอนฟังในสวนหลังบ้านตอนบ่ายๆ คงสบายยยย และสุข สุดด อิอิ

โครม!!

อ้าว นี่มันไม่ใช่ความจริงนี่นา 555

ขอบใจจ้า น้องอาจารย์ หัวใจติดปีก :) อุตส่าห์แวะมาฝันอ่ะ จ๊าก :)

สวัสดีครับ

คนเหนือ "ดีดซึง"

คนที่ราบสูงเรียก "ดีดพิณ"

แต่พี่น้องทางดงหลวงของผมเรียก "ตีซุง" ครับ

 

ฟังเพลงนี้แล้วคิดถึงคาราโอเกะค่ะ ที่บ้านชอบร้องของอรวี ^ ^

เพลงเก่าๆ เพราะจริงๆ ภาษาสวยๆ ซึงเพราะๆ

ขอบคุณค่ะ ^ ^

ขอบคุณท่าน paleeyon ที่มาให้ความรู้ "ตีซุง" ครับ :)

สวัสดีครับ อาจารย์ กมลวัลย์ :)

ภาพที่ขึ้นใหม่ ดูเด็กกว่าเดิมครับ อันนี้ไม่เกี่ยวกับ "ซึง" อิ อิ

ขอบคุณครับอาจารย์ ดีใจที่อาจารย์ชอบเพลงนี้ครับ

@  เสียงดนตรี  ไพเราะนะคะ  ฟังแล้ว  รู้สึกว่าคล้ายๆเป็นสัญลักษณ์ของภาคเหนือเลยค่ะ  ไพเราะจับใจ  ฟังคราใด ก้อจะคิดถึงเมืองเหนือทันที  คิดถึงวัฒนธรรมเมืองเหนือ  บรรยากาศท่ามกลางธรรมชาติที่สวยงาม  ห้อมล้อมไปด้วยขุนเขา(เคยไปตั้งนานแล้วค่ะ :-)  รู้สึกดีๆค่ะ @

          ขอบคุณนะคะ...ที่นำเสนอเรื่องราวดีๆ  มีคุณค่า

                        

 

 

ขอบคุณ คุณครู @..สายธาร..@ ด้วยครับที่แวะมาเติมกำลังใจให้ :)

มาฟังเพลงค่ะ

ฟังเพลงเมืองเหนือตั้งแต่ รุ่นลัดดาวัลย์ค่ะ

คนรุ่นเก่า อิอิ..

ขอบคุณ คุณครูจุฑารัตน์ NU 11  คนรุ่นเก่า ครับ อิ อิ :)

สวัสดีค่ะ

      ชอบฟังเพลงทางเหนือและชอบเพลงนี้เหมือนกันค่ะ  เคยฟังคุณอรวีร้อง เพราะจับใจ แต่ไม่รู้จะไปทำตาซึ้งกับใคร น้องเหมียวที่บ้านก็ไม่ยอมสบตาด้วยอ่ะค่ะ ^_^

      ขอบคุณค่ะ

ยินดีที่คุณ ครูตุ๊กแก แวะมาเยี่ยมเยือนครับ

ทำตาซึ้งกะกระจกเงาก็ได้ครับ ถ้าเรายิ้ม คนในกระจกก็จะยิ้มด้วยครับ ซึ้งกันไป ซึ้งกันมา โอ้ย ซึ้งกันทั้งวัน ครับ

ขอบคุณครับ :)

ฟังเมื่อใดก็เหมือนได้ไปเมืองเหนือมีความรู้สึกอ่อนหวานปนเศร้า

ขอบคุณ คุณ นุกูล มาก ๆ ครับที่แวะมาฟังเพลงซึ้ง เศร้า :)

เพลงเหนือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวมาก ฟังทีไรจับใจทุกที

ขอบคุณ คุณ rako ที่แวะมาเยี่ยมเยือนบันทึกนี้ครับ :)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท