ผีตาโขน


กำหนดงาน
        ประเพณีนี้จัดให้มีขึ้นในวันใดวันหนึ่งของเดือนมิถุนายนหรือเดือนกรกฎาคม ผู้กำหนดวัน คือ ผู้ทรงเจ้าพ่อกวน กำหนดงานมีประมาณ 3 วัน และกำหนดให้ตรงกับวันเสาร์อาทิตย์


กิจกรรม / พิธี
        การแสดงผีตาโขนมีทั้งผีตาโขนใหญ่และผีตาโขนเล็ก ส่วนวัดอื่นๆ ในท้องที่อำเภอด่านซ้ายหากมีจิตศรัทธาจะจัดทำบุญหลวง ก็ต้องทำภายหลัง “บุญหลวง” ที่วัดโพนชัย อำเภอด่านซ้าย เสร็จเรียบร้อยแล้ว และส่วนมากมี 2 วัน คือวันรวม (วันโฮม) มีการแสดงการละเล่น แห่พระเวสสันดรเข้าเมือง จุดบั้งไฟ และมักมีผีตาโขนเล็กแสดงบ้าง ส่วนผีตาโขนใหญ่ไม่มี วันที่ 2 ของงานมีการฟังเทศน์ เป็นอันเสร็จพิธี
“บุญหลวง”  ที่วัดโพนชัย อำเภอด่านซ้ายในเดือนแปดข้างขึ้น นิยมทำ 3 วัน ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว คือ ในวันแรกเป็นวันรมหรือวันโฮม เป็นวันที่ประชาชนตามตำบลและหมู่บ้านต่างๆ เดินทางมา ร่วมงานซึ่งปกติจะนำบั้งไฟมาด้วย โดยพิธีเริ่มตั้งแต่เช้ามืด คือตั้งแต่ เวลาประมาณ 04.00 – 05.00 น. ทำพิธีอัญเชิญพระอุปคุตข้างศาลาโรงธรรมที่วัดเตรียมไว้แล้ว เชื่อว่าจะสามารถป้องกันเหตุเภทภัยต่างๆ ทีเกิดในงานได้ เมื่อพิธีอัญเชิญพระอุปคุตเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะมีการละเล่นต่างๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน เช่น เล่นเซิ้งบั้งไฟ ฟ้อนรำการแสดงผีตาโขน การแสดงการละเล่นต่างๆ เป็นต้น
วันที่สองของงาน ตั้งแต่ตอนเช้าถึงบ่ายมีการละเล่นต่างๆ เช่นวันก่อน  ตอนบ่ายเวลาประมาณ 14.00 - 15.00 น.มีพิธีแห่พระเวสสันดรและนางมัทรีเข้าเมืองโดยสมมุติให้สถานที่นอกวัดในบริเวณหมู่บ้านเดิ่น ตำบลด่านซ้าย อำเภอด่านซ้าย เป็นที่พระเวสสันดรและนางมัทรี และอัญเชิญพระเวสสันดรและนางมัทรี เสร็จแล้วมีขบวนแห่คือ การแห่เข้าวัดซึ่งสมมุติว่าเป็นเมือง โดยอัญเชิญพระพุทธรูปนำหน้า ถัดไปมีพระสงฆ์ 4 รูป นั่งบนแคร่ตามหลัง ต่อจากนั้นจึงเป็นขบวนแห่บั้งไฟ โดยเอาบั้งไฟมามัดรวมกันบนแคร่และมี “เจ้ากวน”นั่งบนบั้งไฟ มีขบวนการแสดงผีตาโขน การละเล่นของประชาชนทั่วไป โดยแห่รอบวัดสามรอบน้ำพระพุทธรูปไปประดิษฐานไว้ที่เดิม นิมนต์พระสงฆ์ลงจากแคร่ และเชิญเจ้ากวนลงจากบั้งไฟ เป็นเสร็จ พิธีแห่พระเวสสันดรและนางมัทรีเข้าเมือง ตอนเย็นมีการจุดบั้งไฟ
        สำหรับการแห่พระเวสสันดรและนางมัทรีเข้าเมืองนี้ได้เค้าเรื่องมาจากเรื่อง พระเวสสันดร ชาดกเมื่อครั้งที่พระเวสสันดรและนางมัทรี พร้อมด้วยกัณหา ชาลี ไปอยู่ป่า ณ เขาวงกต เมื่อถึงเวลากลับคืนสู่พระนครพระเจ้ากรุงสัญชัยและพระนางผุสดี ผู้เป็นพระราชบิดาและพระราชมารดา จึงเสด็จไปรับพระเวสสันดรและนางมัทรีเข้าเมือง ขณะที่มีขบวนแห่อัญเชิญเข้าเมือง เมื่อถึงเมืองแล้วมีการละเล่นต่างๆ เฉลิมฉลองสมโภชอย่างมโหฬาร ในการแห่แหนและแสดงการละเล่นดังกล่าว อาจมีผู้แต่งตัวแปลกๆ แบบผีตาโขน อนึ่งในขณะที่พระเวสสันดรและนางมัทรีเป็นดาบสอยู่ในป่า ณ เขาวงกต บริเวณนั้นมีประชาชนอาศัยอยู่ด้วย คนพวกนั้นเป็นชาวป่าที่เคยปรนนิบัติ และเคารพพระเวสสันดรและพระนางมัทรีเป็นอันมาก เมื่อพระเวสสันดรและนางมัทรีเสด็จกลับเข้าเมือง คนพวกนี้จึงตามมาส่ง และอาจแต่งกายแบบชาวป่ามาส่ง การแต่งกายแบบผีตาโขน จึงอาจแต่งกายเลียนแบบชาวป่าพวกนี้ก็ได้ และขณะที่ชาวป่ามาส่งพระเวสสันดรกับนางมัทรี อาจจะมีการละเล่นต่างๆ เพื่อความสนุกสนาน และต่อมาเมื่อถึงงาน “บุญหลวง” ซึ่งมีบุญพระเวสสันดรอยู่ด้วย จึงมีการแต่งกายและการละเล่นเช่นนี้ในงานบุญดังกล่าว
การเล่นผีตาโขน นอกจากเพื่อความสนุกสนานแล้ว ชาวบ้านยังเชื่อว่าเป็นพิธีขอฝนอย่างหนึ่งคล้ายกับพิธีการเล่นอย่างอื่น เช่น การแห่นางแมว การเล่นแม่นางด้ง เป็นต้น
วิธีการทำผีตาโขนใหญ่  การทำผีตาโขนใหญ่จะทำเป็นรูปผู้ชายตนหนึ่ง ผู้หญิงตนหนึ่ง ผู้จัดทำมีชาวบ้านในตระกูลหนึ่ง ซึ่งอยู่ในหมู่บ้านด่านซ้าย เป็นผู้ที่มีหน้าจัดทำต่อเนื่องกันมาหลายชั่วอายุคน ช่างตระกูลนี้ถือเป็นหน้าที่ของตนที่จะต้องกระทำ เพราะถ้าปีใดไม่ทำอาจจะทำให้คนในตระกูลนั้นเกิดภัยพิบัติต่างๆ เช่น เจ็บป่วยไข้ เกิดเภทภัยบางอย่าง เป็นต้น
การทำรูปผีตาโขนเชื่อกันว่า จำลองมาจากร่างของคน 8 ศอกในสมัยโบราณ ซึ่งเล่ากันต่อๆ มาว่า รูปร่างใหญ่โตมาก คือ มีขนาดความสูงถึงแปดศอก ก่อนทำโครงร่างของผีตาโขนใหญ่ ผู้ทำจะต้องทำพิธีแต่งขันดอกไม้ และเทียนอย่างละ 5 คู่ และ 8 คู่ ใส่พานหรือขัน กล่าวคำขอขมาและขออนุญาตต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก่อนจึงลงมือทำ
การทำร่างของผีตาโขน สานด้วยตอกไม้ไผ่ผืนใหญ่ ทำส่วนศีรษะก่อน โดยสานเป็นทรงกลมหาผ้าผืนใหญ่มาหุ้ม และหาวัตถุที่เป็นเส้นๆ เช่น เส้นใยของทางมะพร้าวที่ทุบเอาเนื้อออกแล้ว หรือเศษผ้าที่ตัดเป็นริ้วยาวๆ เป็นต้น มาติดบนศีรษะ สมมุติให้เป็นผม โดยให้ผมผู้หญิงยาวกว่าผู้ชาย ใบหน้าสานด้วยตอกไม้ไผ่เป็นวงกลมคล้ายกระด้งฝัดข้าวนำมาผูกติดกับส่วนศีรษะ แล้วหาวัตถุบางอย่างมาทำเป็นรูปริมฝีปาก จมูก ตา คิ้ว หู และแต้มสีให้ดูน่าเกลียดน่ากลัว

http://www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G5540673/G5540673.html

คำสำคัญ (Tags): #ผีตาโขน
หมายเลขบันทึก: 185384เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2008 06:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (40)

กำหนดงาน

ประเพณีนี้จัดให้มีขึ้นในวันใดวันหนึ่งของเดือนมิถุนายนหรือเดือนกรกฎาคม ผู้กำหนดวัน คือ ผู้ทรงเจ้าพ่อกวน กำหนดงานมีประมาณ 3 วัน และกำหนดให้ตรงกับวันเสาร์อาทิตย์

กิจกรรม / พิธี

การแสดงผีตาโขนมีทั้งผีตาโขนใหญ่และผีตาโขนเล็ก ส่วนวัดอื่นๆ ในท้องที่อำเภอด่านซ้ายหากมีจิตศรัทธาจะจัดทำบุญหลวง ก็ต้องทำภายหลัง “บุญหลวง” ที่วัดโพนชัย อำเภอด่านซ้าย เสร็จเรียบร้อยแล้ว และส่วนมากมี 2 วัน คือวันรวม (วันโฮม) มีการแสดงการละเล่น แห่พระเวสสันดรเข้าเมือง จุดบั้งไฟ และมักมีผีตาโขนเล็กแสดงบ้าง ส่วนผีตาโขนใหญ่ไม่มี วันที่ 2 ของงานมีการฟังเทศน์ เป็นอันเสร็จพิธี

“บุญหลวง” ที่วัดโพนชัย อำเภอด่านซ้ายในเดือนแปดข้างขึ้น นิยมทำ 3 วัน ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว คือ ในวันแรกเป็นวันรมหรือวันโฮม เป็นวันที่ประชาชนตามตำบลและหมู่บ้านต่างๆ เดินทางมา ร่วมงานซึ่งปกติจะนำบั้งไฟมาด้วย โดยพิธีเริ่มตั้งแต่เช้ามืด คือตั้งแต่ เวลาประมาณ 04.00 – 05.00 น. ทำพิธีอัญเชิญพระอุปคุตข้างศาลาโรงธรรมที่วัดเตรียมไว้แล้ว เชื่อว่าจะสามารถป้องกันเหตุเภทภัยต่างๆ ทีเกิดในงานได้ เมื่อพิธีอัญเชิญพระอุปคุตเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะมีการละเล่นต่างๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน เช่น เล่นเซิ้งบั้งไฟ ฟ้อนรำการแสดงผีตาโขน การแสดงการละเล่นต่างๆ เป็นต้น

วันที่สองของงาน ตั้งแต่ตอนเช้าถึงบ่ายมีการละเล่นต่างๆ เช่นวันก่อน ตอนบ่ายเวลาประมาณ 14.00 - 15.00 น.มีพิธีแห่พระเวสสันดรและนางมัทรีเข้าเมืองโดยสมมุติให้สถานที่นอกวัดในบริเวณหมู่บ้านเดิ่น ตำบลด่านซ้าย อำเภอด่านซ้าย เป็นที่พระเวสสันดรและนางมัทรี และอัญเชิญพระเวสสันดรและนางมัทรี เสร็จแล้วมีขบวนแห่คือ การแห่เข้าวัดซึ่งสมมุติว่าเป็นเมือง โดยอัญเชิญพระพุทธรูปนำหน้า ถัดไปมีพระสงฆ์ 4 รูป นั่งบนแคร่ตามหลัง ต่อจากนั้นจึงเป็นขบวนแห่บั้งไฟ โดยเอาบั้งไฟมามัดรวมกันบนแคร่และมี “เจ้ากวน”นั่งบนบั้งไฟ มีขบวนการแสดงผีตาโขน การละเล่นของประชาชนทั่วไป โดยแห่รอบวัดสามรอบน้ำพระพุทธรูปไปประดิษฐานไว้ที่เดิม นิมนต์พระสงฆ์ลงจากแคร่ และเชิญเจ้ากวนลงจากบั้งไฟ เป็นเสร็จ พิธีแห่พระเวสสันดรและนางมัทรีเข้าเมือง ตอนเย็นมีการจุดบั้งไฟ

สำหรับการแห่พระเวสสันดรและนางมัทรีเข้าเมืองนี้ได้เค้าเรื่องมาจากเรื่อง พระเวสสันดร ชาดกเมื่อครั้งที่พระเวสสันดรและนางมัทรี พร้อมด้วยกัณหา ชาลี ไปอยู่ป่า ณ เขาวงกต เมื่อถึงเวลากลับคืนสู่พระนครพระเจ้ากรุงสัญชัยและพระนางผุสดี ผู้เป็นพระราชบิดาและพระราชมารดา จึงเสด็จไปรับพระเวสสันดรและนางมัทรีเข้าเมือง ขณะที่มีขบวนแห่อัญเชิญเข้าเมือง เมื่อถึงเมืองแล้วมีการละเล่นต่างๆ เฉลิมฉลองสมโภชอย่างมโหฬาร ในการแห่แหนและแสดงการละเล่นดังกล่าว อาจมีผู้แต่งตัวแปลกๆ แบบผีตาโขน อนึ่งในขณะที่พระเวสสันดรและนางมัทรีเป็นดาบสอยู่ในป่า ณ เขาวงกต บริเวณนั้นมีประชาชนอาศัยอยู่ด้วย คนพวกนั้นเป็นชาวป่าที่เคยปรนนิบัติ และเคารพพระเวสสันดรและพระนางมัทรีเป็นอันมาก เมื่อพระเวสสันดรและนางมัทรีเสด็จกลับเข้าเมือง คนพวกนี้จึงตามมาส่ง และอาจแต่งกายแบบชาวป่ามาส่ง การแต่งกายแบบผีตาโขน จึงอาจแต่งกายเลียนแบบชาวป่าพวกนี้ก็ได้ และขณะที่ชาวป่ามาส่งพระเวสสันดรกับนางมัทรี อาจจะมีการละเล่นต่างๆ เพื่อความสนุกสนาน และต่อมาเมื่อถึงงาน “บุญหลวง” ซึ่งมีบุญพระเวสสันดรอยู่ด้วย จึงมีการแต่งกายและการละเล่นเช่นนี้ในงานบุญดังกล่าว

การเล่นผีตาโขน นอกจากเพื่อความสนุกสนานแล้ว ชาวบ้านยังเชื่อว่าเป็นพิธีขอฝนอย่างหนึ่งคล้ายกับพิธีการเล่นอย่างอื่น เช่น การแห่นางแมว การเล่นแม่นางด้ง เป็นต้น

วิธีการทำผีตาโขนใหญ่ การทำผีตาโขนใหญ่จะทำเป็นรูปผู้ชายตนหนึ่ง ผู้หญิงตนหนึ่ง ผู้จัดทำมีชาวบ้านในตระกูลหนึ่ง ซึ่งอยู่ในหมู่บ้านด่านซ้าย เป็นผู้ที่มีหน้าจัดทำต่อเนื่องกันมาหลายชั่วอายุคน ช่างตระกูลนี้ถือเป็นหน้าที่ของตนที่จะต้องกระทำ เพราะถ้าปีใดไม่ทำอาจจะทำให้คนในตระกูลนั้นเกิดภัยพิบัติต่างๆ เช่น เจ็บป่วยไข้ เกิดเภทภัยบางอย่าง เป็นต้น

การทำรูปผีตาโขนเชื่อกันว่า จำลองมาจากร่างของคน 8 ศอกในสมัยโบราณ ซึ่งเล่ากันต่อๆ มาว่า รูปร่างใหญ่โตมาก คือ มีขนาดความสูงถึงแปดศอก ก่อนทำโครงร่างของผีตาโขนใหญ่ ผู้ทำจะต้องทำพิธีแต่งขันดอกไม้ และเทียนอย่างละ 5 คู่ และ 8 คู่ ใส่พานหรือขัน กล่าวคำขอขมาและขออนุญาตต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก่อนจึงลงมือทำ

การทำร่างของผีตาโขน สานด้วยตอกไม้ไผ่ผืนใหญ่ ทำส่วนศีรษะก่อน โดยสานเป็นทรงกลมหาผ้าผืนใหญ่มาหุ้ม และหาวัตถุที่เป็นเส้นๆ เช่น เส้นใยของทางมะพร้าวที่ทุบเอาเนื้อออกแล้ว หรือเศษผ้าที่ตัดเป็นริ้วยาวๆ เป็นต้น มาติดบนศีรษะ สมมุติให้เป็นผม โดยให้ผมผู้หญิงยาวกว่าผู้ชาย ใบหน้าสานด้วยตอกไม้ไผ่เป็นวงกลมคล้ายกระด้งฝัดข้าวนำมาผูกติดกับส่วนศีรษะ แล้วหาวัตถุบางอย่างมาทำเป็นรูปริมฝีปาก จมูก ตา คิ้ว หู และแต้มสีให้ดูน่าเกลียดน่ากลัว

http://www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G5540673/G5540673.html

ใบหน้าของผีตาโขนผู้ชาย ต้องหาอะไรมาทำหนวดเคราด้วย เมื่อมองดูจะได้รู้ว่าตนไหนเป็นชาย ตนไหนเป็นหญิง ส่วนลำตัวและแขนสานด้วยตอกไม้ไผ่ หุ้มด้วยผ้าผืนใหญ่ เช่นผ้ามุ้ง ผ้าห่ม ฯลฯ ที่ไม่ใช้แล้ว เย็บหุ้มทั้งตัว หรือ เฉพาะด้านหน้าใต้สะดือคลุมให้มิดชิด

สำหรับผีตาโขนผู้ชายมักนิยมทำอวัยวะเพศชายใส่ อาจทำด้วยไม้หรือวัสดุอื่นก็ได้ โดยผูกติดกับลำตัวตอนหน้าใต้บั้นเอวลงมา ส่วนผีตาโขนเพศหญิงทำอวัยวะเพศของผู้หญิงมาใส่ขนาดให้สมส่วนกับลำตัว อาจทำด้วยโคนกล้วยหรือวัตถุอื่นก็ได้ แล้วเย็บไว้ตรงใต้สะดือเช่นกัน และตรงหน้าอกทั้งสองข้างของผีตาโขนผู้หญิง นำวัตถุมาทำเป็นรูปนมติดไว้ จะทำด้วยกะลามะพร้าว ลูกบอลผ่าซีก หรือวัตถุอื่นก็ได้ ภายในลำตัวของผีตาโขนเอาไม้ไผ่เป็นลำมามัดไขว้ผูกติดไว้ สำหรับให้คนยืนข้างในจับยกร่างผีตาโขนขึ้นไปได้ และด้านหน้าตอนลำตัว เจาะรู 2 รู ให้คนถือผีตาโขนมองเห็นได้ และใต้ช่องที่ตามองลอดให้เจาะรูขนาดแขนสอดเข้าออกได้ 1 รู สำหรับสอดขวดเหล้าหรือสิ่งของเข้าไป เมื่อคนให้เหล้าหรือสิ่งของแก่ผีตาโขนใหญ่ (โดยคนถือหรือแบกผีตาโขนเป็นผู้รับ) หรือใช้สำหรับมือยื่นลอดออกมา เมื่อมีคนยื่นเหล้าหรือสิ่งของให้คนถือผีตาโขนซึ่งอย่างข้างใน

การทำผีตาโขนเล็ก หรือผีตาโขนทั่วไป ชาวบ้านในละแวกบ้านที่จัดงานบุญหรือหมู่บ้านใกล้เคียง ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก ร่วมกันจัดมาสมทบ คือ นำมารวมกัน ณ ที่ผีตาโขนใหญ่ตั้งอยู่ในวันงาน การทำผีตาโขนเล็ก สมัยก่อนนิยมทำด้วยโคนของทางมะพร้าวที่แห้งแล้ว โดยตัดเอาเฉพาะส่วนก้าน และจัดแต่งเจาะเป็นช่องตา จมูก ปาก และใบหู แล้วนำหวดนึ่งข้าว ซึ่งใช้ไม่ได้แล้ว มาเย็บติดหน้ากากดังกล่าว โดยหงายปากหวดขึ้นข้างบน ให้หูของหวดอยู่ทางซ้ายขวาของศรีษะ ตรงกันหวดกดให้เป็นรอยบุ๋มกลมๆ ขึ้นไป ให้มีขนาดพอที่จะสวมลงบนศีรษะของคนได้ แล้วนำเอาผ้าทั้งผืนซึ่งส่วนมากเป็นผ้าเก่าๆ ที่ไม่ใช้แล้วมาเย็บต่อจากหน้ากากและหวดลงมา ให้ผ้าคลุมรอบตัวอย่างมิดชิด ส่วนแขนทำเป็นรูปแขนเสื้อยาวออกมาหรือเจาะให้เป็นช่องพอแขนสอดออกมาได้ เมื่อนำไปเล่นหรือแสดง ก็เอาผีตาโขนดังกล่าวสวมคลุม เข้ากับลำตัวและสวมศีรษะด้วยส่วนที่ทำด้วยหวด แต่ผีตาโขนเล็กในสมัยปัจจุบัน หน้ากากมักนิยมใช้กระดาษแข็งจัดทำแทนวัสดุดังกล่าวข้างต้นเนื่องจากเป็นวัสดุที่หาง่าย และตัดแต่งได้สะดวกตามใจชอบ เมื่อทำหน้ากากผีตาโขนแล้ว ก็แต้มสีให้ดูน่าเกลียดน่ากลัวด้วย

สิ่งประกอบในการแสดงผีตาโขนเล็ก คือ นำไม้เป็นลำขนาดโตประมาณหัวแม่เท้า หรือ โตกว่าเล็กน้อยก็ได้ ปกติใช้ไม้สบู่ เพราะเป็นไม้หาง่าย และทำเป็นรูปอะไรได้ง่าย เนื่องจากเป็นไม้เนื้ออ่อน นำไม้นั้นมาถากเปลือกออก แล้วนำแก่นมาทำเป็นดาบหรือง้าวขนาดยาว ตรงโคนไม้มีด้ามสำหรับจับยาวพอสมควร ตรงโคนด้ามดาบหรือง้าวเป็นรูปอวัยวะเพศชาย ทั้งด้ามและตัวดาบหรือง้าวทาด้วยสีต่างๆ ส่วนโคนด้ามตรงปลายอวัยวะเพศชายนิยมแต้มด้วยสีแดง เพื่อให้มองเห็นได้ง่าย การมีดาบหรือง้าวเป็นอาวุธคนเพื่อให้สง่างามน่าดูและเป็นที่เกรงขามแก่ผู้พบเห็น ส่วนโคนด้ามอาวุธส่วนมากมักใช้แหย่หยอกล้อผู้หญิงและเด็กๆ เพื่อให้ขบขันและสนุกสนาน เป็นการช่วยให้งานสนุกครึกครื้นขึ้น

และยังมีการนำส่วนประกอบที่เรียกว่า “กระแหล่ง” ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า หมากกระแหล่ง (กระแหล่ง เป็นวัตถุคล้ายกระดิ่ง แต่เป็นรูปสี่เหลี่ยมแบนทำด้วยเหล็ก สมัยก่อนชาวบ้านใช้แขวนคอวัวควาย) ผู้เล่นผีตาโขนเล็กใช้ผูกบั้นเอว เวลาเดินจะมีเสียงดัง บางทีใช้เขย่าเวลาแสดงการละเล่นเพื่อประกอบท่าทางของผู้แสดง บางครั้งคนหนุ่มหรือผู้ชายวัยรุ่นจะแต่งตัวแบบชาวป่า นุ่งล่อนจ้อนเปลือยกายท่อนบน ทาส่วนต่างๆ ของร่างกายด้วยดินหม้อหรือสีดำ และนำกระบอกไม้ไผ่ชนิดยาวๆ ชาวบ้านเรียกว่า “ไม้เอี้ย” มาถือกระแทกกับพื้นเป็นจังหวะ ขณะเดินเป็นขบวนไปตามถนนหนทางก็มี การเล่นชนิดนี้ชาวบ้านเรียกว่า “ทั่งบั้ง” (ทั่ง คือ กระแทก, บั้ง คือ กระบอก) และอุปกรณ์อื่นๆ ทำนองเป็นเครื่องประดับร่างกาย เช่น ร้อยสร้อยประคำสำหรับผูกคอ เป็นต้น สมัยก่อนมักทำเป็นท่อนขนาดเล็ก โตราวหัวแม่มือหรือนิ้วมือ ยางประมาณ 1 คืบ เอามาทำเป็นรูปอวัยวะเพศชายแล้วร้อยเป็นพวงยาว ผูกรอบบั้นเอว และบางคนอาจทำอวัยวะเพศหญิงจำลอง นำมาประกอบการละเล่นด้วย การทำเช่นนี้ คงมุ่งให้เป็นการสนุกสนานและขบขันเท่านั้น มิได้ถือเป็นเรื่องหยาบคายแต่ประการใด

http://www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G5540673/G5540673.html

งานประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน ปี 2551

ระหว่างวันที่ 4 - 6 กรกฎาคม 2551

ณ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย

จังหวัดเลยร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ( ททท. ) กำหนดจัดงานประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน ประจำปี 2551 ระหว่างวันที่ 4 - 6 กรกฎาคม 2551 ณ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย โดย ททท. ร่วมส่งเสริมงานให้ยิ่งใหญ่ระดับนานาชาติ จัดกิจกรรมต่างๆ มากมาย พร้อมออกวาดลวดลายสู่สายตานักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ

นายสุรินทร์ ติเพียร ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงาน ททท. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 5 หัวหน้าศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยวจังหวัดเลย เปิดเผยว่า งานบุญหลวงถือเป็นงานบุญใหญ่ประจำปีประจำท้องถิ่น โดยรวมเอา“ งานบุญพระเวส ” ( ฮีตเดือนสี่ ) และ งาน “ บุญบั้งไฟ ” ( ฮีตเดือนหก ) เข้าไว้เป็นงานบุญเดียวกัน งานบุญพระเวสนั้นเป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อฟังเทศน์มหาชาติทั้ง 13 กัณฑ์ ซึ่งเชื่อว่าจะได้อานิสงค์แรงกล้า บันดาลให้พบพระ

ศรีอริยเมตไตรย์ ในชาติหน้า ส่วนงานบุญบั้งไฟเป็นงานบุญที่จัดขึ้นเพื่อบูชาอารักษ์หลักเมืองและถือเป็นประเพณีการแห่ขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล ซึ่งในงานบุญหลวงนี้จะมี “ การละเล่นผีตาโขน ” ช่วยสร้างความสนุกสนานครื้นเครงในขบวบแห่ด้วย การละเล่นผีตาโขนถือเป็นการแสดงออกถึงศิลปวัฒนธรรมอันดีงามน่าภาคภูมิใจอย่างหนึ่งของชาวอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย โดยได้ยึดถือปฎิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งบรรพกาล โดยปีนี้กำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 4 – 6 กรกฎาคม 2551 ณ วัดโพนชัย และบริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอด่านซ้าย ภายในงานมีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย อาทิ พิธีเบิกพระอุปคุต พิธีบายศรีสู่ขวัญเจ้าพ่อกวนและเจ้าแม่นางเทียม พิธีแห่พระเวสสันดรเข้าเมือง การจุดบั้งไฟ ขบวนแห่ผีตาโขน การประกวดเต้นผีตาโขน การสาธิตการทำหน้ากากผีตาโขน การแสดงดนตรีและวัฒนธรรม การจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น และศูนย์อาหารของกลุ่มแม่บ้าน ทั้งนี้ผีตาโขนจะออกวาดลวดลายกันตั้งแต่เช้าจนดึก เพียง 2 วัน ในวันที่ 5 – 6 กรกฎาคม 2551 เท่านั้น

งานประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน นับเป็นงานบุญแสนสนุกของชาวจังหวัดเลยที่มีมนต์ขลังของพิธีกรรมต่างๆ พร้อมมีการละเล่นที่สนุกของชาวบ้านที่ไปด้วยกันได้อย่างลงตัว ถือว่าเป็นมุมมองใหม่ที่น่าตื่นตาตื่นใจ และขณะนี้ทางจังหวัดเลยได้เตรียมความพร้อมในเรื่องที่พัก ร้านอาหาร ห้องน้ำ และที่จอดรถ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่จะหลั่งไหลสู่อำเภอด่านซ้ายไว้เรียบร้อยแล้ว

สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

ศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยวจังหวัดเลย โทรศัพท์ 042- 812812 ,042-811405

โทรสาร 042-811480 Website: www.tat.or.th/loeicenter E- mail : [email protected]

เทศบาลตำบลด่านซ้าย โทรศัพท์. 042-891231

กำหนดการ งานประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน ประจำปี 2551

ระหว่างวันที่ 4 - 6 กรกฎาคม 2551 ณ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย

วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

03.00 น. -พิธีเบิกพระอุปคุต ( บริเวณริมสะพานลำน้ำหมัน )

06.00 น. -ร่วมทำบุญตักบาตร บริเวณถนนพระแก้วอาสา และถวายภัตตาหารเช้าที่วัดโพนชัย

08.30 น. -พิธีบายศรีสู่ขวัญ ( บ้านเจ้าพ่อกวน )

09.00 น. -ตั้งขบวนแห่เจ้าพ่อกวนและแม่นางเทียมไปวัดโพนชัย เป็นพิธีที่สืบทอดกันมานาน

10.00 น. -พิธีเปิดงานบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน ( หน้าที่ว่าทำการอำเภอ )

- ร่วมเดินขบวน ซึ่งประกอบด้วยด้วย คณะเจ้าพ่อกวน เจ้าแม่เทียน ของดีเมืองด่านซ้ายกัณฑ์เทศน์ ขบวนวิถีท้องถิ่น เช่น ทอดแห หาปลา

ขายา ความตู้ คนป่า

ขบวนผีตาโขนใหญ่ และผีตาโขนกว่า 2 พันตัว ไปวัดโพนชัย

-เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ ท้องถิ่นผีตาโขน ที่วัดโพนชัย

-ชมสินค้าชุมชน และศูนย์อาหารพื้นบ้าน

14.30 น. -ประกวดการแสดงผีตาโขน รอบคัดเลือกที่วัดโพนชัย

17.30 น. -มหกรรมอาหารสะอาดรสชาติอร่อยที่ตลาดเย็น

20.30 น. -เชิญชมการแสดงดนตรี ( หมอลำ ) ที่โรงเรียนชุมชนบ้านด่านซ้าย

วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ.2551

09.00 น. -การสาธิตการทำหน้ากากผีตาโขน ที่พิพิธภัณฑ์ผีตาโขน

09.30 น. -การประกวดการเต้นผีตาโขน ที่วัดโพนชัย

13.00 น. -ขบวนการผีตาโขนที่เป็นเอกลักษณ์สวยงามมากจากคุ้มต่างๆที่ทำกันเป็นประเพณี

ออกวาดลวดลายตามถนนพระแก้วอาสาและไปรวมที่วัดโพนชัย

15.00 น. -พิธีแห่พระเวสสันดรเข้าเมืองและแห่พระจากสี่แยกบ้านเดิ่นไปวัดโพนชัย

-จุดบั้งไฟขอฝน วัดโพนชัย

19.00 น. -เทศน์พระมาลัยหมื่น พระมาลัยแสน วัดโพนชัย

วันอาทิตย์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ.2551

04.00 น. -เทศน์มหาชาติ 13 กัณฑ์ วัดโพนชัย

07.00 น. -พิธีทำบุญตักบาตร

08.00 น. -พิธีสะเดาะเคราะห์บ้านเมือง

10.00 น. -ขบวนการแห่กัณฑ์หลอน เพื่อถวายพระ จะต้องถวายก่อนพระรูปสุดท้ายเทศน์จบ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยวจังหวัดเลย โทร.0 4281 2812 ,0 4281 1405

โทรสาร 042-811480 Website: www.tat.or.th/loeicenter E- mail : [email protected]

เทศบาลตำบลด่านซ้าย โทร. 0 4289 1231

กำหนดจัดงาน “บุญหลวง”

และประเพณีการละเล่นผีตาโขน

อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย

ประจำปี 2551

*******************

วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม 2551 (ตรงกับวันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 8 )

เวลา 03.00 น. - พิธีบวชพราหมณ์ ณ อุโบสถวัดโพนชัย

เวลา 04.00 น. - พิธีเบิกพระอุปคุต ( บริเวณระหว่างลำน้ำหมัน- ลำน้ำศอก)

เวลา 05.00 น. - พิธีตักบาตรแด่พระสงฆ์ (ตั้งแต่หน้าวัดโพนชัย ตามถนน

แก้วอาสาไปถึงทางแยกขึ้น อ. นาแห้ว แล้ววนกลับไปยัง

วัดโพนชัย)

เวลา 07.30 น. - พระสงฆ์ทุกรูปที่รับบาตรร่วมฉันท์เช้า ที่วัดโพนชัย

เวลา 08.30 น. - พิธีบายศรีสู่ขวัญเจ้าพ่อกวน- เจ้าแม่นางเทียม ณ บ้านเจ้าพ่อ

กวน

เวลา 09.00 น. - ขบวนของเจ้าพ่อกวน จะแห่จากบ้านไปยังวัดโพนชัย

เวลา 10.00 น. - พิธีเปิดงาน“บุญหลวง”ประเพณีการละเล่นผีตาโขน

ประจำปี (ณ บริเวณหน้าวัดโพนชัย)

- ขบวนที่ร่วมในพิธีเปิดงานมีดังนี้

* ขบวนของเจ้าพ่อกวน – เจ้าแม่นางเทียม

* ขบวนของปกครองอำเภอด่านซ้าย

* ขบวนของเทศบาลตำบลด่านซ้าย

* ขบวนของกลุ่มนักเรียนและเยาวชน ทั่วไป

เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป

· ชมกิจกรรมการแสดงบนเวที ณ เวทีหน้าที่ว่าการอำเภอด่านซ้าย

· มหกรรมศูนย์อาหาร ณ บริเวณตลาดเย็น เทศบาลตำบลด่านซ้าย ตั้งแต่ 3 – 5 ก.ค. 51

วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม 2551 (ตรงกับวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 8 )

เวลา 09.30 น. - การประกวดการเต้นผีตาโขนน้อย (ณ วัดโพนชัย)

เวลา 10.00 น. - ชมขบวนแห่ ตั้งแต่หน้าที่ว่าการอำเภอด่านซ้าย ไป

ตามถนนแก้วอาสาถึง วัดโพนชัย เป็นขบวนแห่

ของ* เทศบาลด่านซ้าย * กลุ่มผีตาโขนทั่วไป

อบต.อิปุ่ม อบต.กกสะทอน

เวลา 11.00 น. - ชมขบวนแห่ของ อบต.โคกงาม อบต. นาหอ

เวลา 12.00 น. - ชมขบวนแห่ของ อบต.ด่านซ้าย อบต.โป่ง

เวลา 13.00 น. - ชมขบวนแห่ของ อบต. โพนสูง อบต. วังยาว

เวลา 14.00 น. - ชมขบวนแห่ของ อบต.นาดี อบต.ปากหมัน

เวลา 15.30 น. - พิธีอัญเชิญพระเวสสันดรเข้าเมือง ไปยังวัดโพนชัย

* แห่รอบโบสถ์ 3 รอบ

* พิธีอัญเชิญพระพุทธรูป (องค์แทนพระเวส)เข้า

โบสถ์

* พิธีจุดบั้งไฟขอฝน (หลังวัดโพนชัย)

* พิธีทิ้งหน้ากากผีตาโขน (ท่าวังเวิน) วัดโพนชัย

เวลา 19.00 น. - พิธีเจริญพระพุทธมนต์ ณ วัดโพนชัย

* เทศพระมาลัยหมื่น พระมาลัยแสน

วันอาทิตย์ที่ 6 กรกฎาคม 2551 (ตรงกับวันขึ้น 4 ค่ำ เดือน 8 )

เวลา 04.00 น. – พิธีเทศน์มหาชาติ 13 กัณฑ์ ณ วัดโพนชัย

PHI TA KHON FESTIVAL

Dansai District , Loei Province

4 – 6 July 2008

Friday 4 July 2008 ( Phra Uppakut invocation and Opening Ceremony )

04.00 a.m. - Invocation of Phra Uppakut ( Between Man river and sok river )

06.00 a.m. - Food offering to monks

08.30 a.m. - Bai Si ( Summoning of spirits ) ceremony at Jao Por kuan’ s

house

09.00 a.m. - Procession of Jao Por Kuan proceed to Phon Chai temple

10.00 a.m. - Opening Ceremony of Phi Ta Khon Festival 2008 at Phon Chai

temple

- Varieties of Phi Ta Khon Procession from villagers of District -

Dansai

Saturday 5 July 2008 (Special Events and the Joyful of Phi Ta Khon Processions )

09.30 a.m. - Phi Ta Khon dance competition at Phon Chai temple

10.00 a.m. – 03.30 p.m.

- Processions of Phi Ta Khon from villagers of District Dansai

- The Ceremony of proceeding Phra Wet San Don to Phon Chai

Temple

- The Ceremony of trowing PhiTa Khon Masks ( evil spirits ) into

the river at Phon Chai Temple

07.00 p.m. - Buddhist Sermons at Phon Chai Temple

Sunday 6 July 2008 ( Special Buddhist Sermons : Thet Mahachat )

04.00 a.m. - 13 consecutive Buddhist sermons at Phon Chai Temple.

สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเลย โทรศัพท์ 042- 812812 ,042-811405

โทรสาร 042-811480 Website: www.tat.or.th/loeicenter E- mail : [email protected]

เทศบาลตำบลด่านซ้าย โทรศัพท์. 042-891231

ที่ว่าการอำเภอด่านซ้าย โทรศัพท์ 042 – 891266

http://www.tat.or.th/loeicenter/hotnewsdet.asp?id=748&dept_id=34

ข้อมูลดีๆม๊ากมากคะ

วันนี้เด็กๆมาหาข้อมูล "ผีตาโขน" ที่ห้องสมุด เลยได้ภาพที่ดีหลายภาพ

ขอบคุณสิ่งดีดีคะ

แวะมาทักทายค่ะ

อยากไปดูจัง

งานประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน ปี 2551

ระหว่างวันที่ 4 - 6 กรกฎาคม 2551

ณ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย

จังหวัดเลยร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ( ททท. ) กำหนดจัดงานประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน ประจำปี 2551 ระหว่างวันที่ 4 - 6 กรกฎาคม 2551 ณ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย โดย ททท. ร่วมส่งเสริมงานให้ยิ่งใหญ่ระดับนานาชาติ จัดกิจกรรมต่างๆ มากมาย พร้อมออกวาดลวดลายสู่สายตานักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ

นายสุรินทร์ ติเพียร ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงาน ททท. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 5 หัวหน้าศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยวจังหวัดเลย เปิดเผยว่า งานบุญหลวงถือเป็นงานบุญใหญ่ประจำปีประจำท้องถิ่น โดยรวมเอา“ งานบุญพระเวส ” ( ฮีตเดือนสี่ ) และ งาน “ บุญบั้งไฟ ” ( ฮีตเดือนหก ) เข้าไว้เป็นงานบุญเดียวกัน งานบุญพระเวสนั้นเป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อฟังเทศน์มหาชาติทั้ง 13 กัณฑ์ ซึ่งเชื่อว่าจะได้อานิสงค์แรงกล้า บันดาลให้พบพระ

ศรีอริยเมตไตรย์ ในชาติหน้า ส่วนงานบุญบั้งไฟเป็นงานบุญที่จัดขึ้นเพื่อบูชาอารักษ์หลักเมืองและถือเป็นประเพณีการแห่ขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล ซึ่งในงานบุญหลวงนี้จะมี “ การละเล่นผีตาโขน ” ช่วยสร้างความสนุกสนานครื้นเครงในขบวบแห่ด้วย การละเล่นผีตาโขนถือเป็นการแสดงออกถึงศิลปวัฒนธรรมอันดีงามน่าภาคภูมิใจอย่างหนึ่งของชาวอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย โดยได้ยึดถือปฎิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งบรรพกาล โดยปีนี้กำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 4 – 6 กรกฎาคม 2551 ณ วัดโพนชัย และบริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอด่านซ้าย ภายในงานมีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย อาทิ พิธีเบิกพระอุปคุต พิธีบายศรีสู่ขวัญเจ้าพ่อกวนและเจ้าแม่นางเทียม พิธีแห่พระเวสสันดรเข้าเมือง การจุดบั้งไฟ ขบวนแห่ผีตาโขน การประกวดเต้นผีตาโขน การสาธิตการทำหน้ากากผีตาโขน การแสดงดนตรีและวัฒนธรรม การจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น และศูนย์อาหารของกลุ่มแม่บ้าน ทั้งนี้ผีตาโขนจะออกวาดลวดลายกันตั้งแต่เช้าจนดึก เพียง 2 วัน ในวันที่ 5 – 6 กรกฎาคม 2551 เท่านั้น

งานประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน นับเป็นงานบุญแสนสนุกของชาวจังหวัดเลยที่มีมนต์ขลังของพิธีกรรมต่างๆ พร้อมมีการละเล่นที่สนุกของชาวบ้านที่ไปด้วยกันได้อย่างลงตัว ถือว่าเป็นมุมมองใหม่ที่น่าตื่นตาตื่นใจ และขณะนี้ทางจังหวัดเลยได้เตรียมความพร้อมในเรื่องที่พัก ร้านอาหาร ห้องน้ำ และที่จอดรถ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่จะหลั่งไหลสู่อำเภอด่านซ้ายไว้เรียบร้อยแล้ว

สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

ศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยวจังหวัดเลย โทรศัพท์ 042- 812812 ,042-811405

โทรสาร 042-811480 Website: www.tat.or.th/loeicenter E- mail : [email protected]

เทศบาลตำบลด่านซ้าย โทรศัพท์. 042-891231

กำหนดการ งานประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน ประจำปี 2551

ระหว่างวันที่ 4 - 6 กรกฎาคม 2551 ณ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย

วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

03.00 น. -พิธีเบิกพระอุปคุต ( บริเวณริมสะพานลำน้ำหมัน )

06.00 น. -ร่วมทำบุญตักบาตร บริเวณถนนพระแก้วอาสา และถวายภัตตาหารเช้าที่วัดโพนชัย

08.30 น. -พิธีบายศรีสู่ขวัญ ( บ้านเจ้าพ่อกวน )

09.00 น. -ตั้งขบวนแห่เจ้าพ่อกวนและแม่นางเทียมไปวัดโพนชัย เป็นพิธีที่สืบทอดกันมานาน

10.00 น. -พิธีเปิดงานบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน ( หน้าที่ว่าทำการอำเภอ )

- ร่วมเดินขบวน ซึ่งประกอบด้วยด้วย คณะเจ้าพ่อกวน เจ้าแม่เทียน ของดีเมืองด่านซ้ายกัณฑ์เทศน์ ขบวนวิถีท้องถิ่น เช่น ทอดแห หาปลา

ขายา ความตู้ คนป่า

ขบวนผีตาโขนใหญ่ และผีตาโขนกว่า 2 พันตัว ไปวัดโพนชัย

-เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ ท้องถิ่นผีตาโขน ที่วัดโพนชัย

-ชมสินค้าชุมชน และศูนย์อาหารพื้นบ้าน

14.30 น. -ประกวดการแสดงผีตาโขน รอบคัดเลือกที่วัดโพนชัย

17.30 น. -มหกรรมอาหารสะอาดรสชาติอร่อยที่ตลาดเย็น

20.30 น. -เชิญชมการแสดงดนตรี ( หมอลำ ) ที่โรงเรียนชุมชนบ้านด่านซ้าย

วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ.2551

09.00 น. -การสาธิตการทำหน้ากากผีตาโขน ที่พิพิธภัณฑ์ผีตาโขน

09.30 น. -การประกวดการเต้นผีตาโขน ที่วัดโพนชัย

13.00 น. -ขบวนการผีตาโขนที่เป็นเอกลักษณ์สวยงามมากจากคุ้มต่างๆที่ทำกันเป็นประเพณี

ออกวาดลวดลายตามถนนพระแก้วอาสาและไปรวมที่วัดโพนชัย

15.00 น. -พิธีแห่พระเวสสันดรเข้าเมืองและแห่พระจากสี่แยกบ้านเดิ่นไปวัดโพนชัย

-จุดบั้งไฟขอฝน วัดโพนชัย

19.00 น. -เทศน์พระมาลัยหมื่น พระมาลัยแสน วัดโพนชัย

วันอาทิตย์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ.2551

04.00 น. -เทศน์มหาชาติ 13 กัณฑ์ วัดโพนชัย

07.00 น. -พิธีทำบุญตักบาตร

08.00 น. -พิธีสะเดาะเคราะห์บ้านเมือง

10.00 น. -ขบวนการแห่กัณฑ์หลอน เพื่อถวายพระ จะต้องถวายก่อนพระรูปสุดท้ายเทศน์จบ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยวจังหวัดเลย โทร.0 4281 2812 ,0 4281 1405

โทรสาร 042-811480 Website: www.tat.or.th/loeicenter E- mail : [email protected]

เทศบาลตำบลด่านซ้าย โทร. 0 4289 1231

หนูอยากกลับบ้าน

 
งานประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน ปี 2551

ระหว่างวันที่ 4 - 6 กรกฎาคม 2551 
ณ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย
 


     













      จังหวัดเลยร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ( ททท. ) กำหนดจัดงานประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน ประจำปี 2551 ระหว่างวันที่ 4 - 6 กรกฎาคม 2551  ณ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย โดย ททท. ร่วมส่งเสริมงานให้ยิ่งใหญ่ระดับนานาชาติ จัดกิจกรรมต่างๆ มากมาย พร้อมออกวาดลวดลายสู่สายตานักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ
      นายสุรินทร์ ติเพียร ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงาน ททท. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 5  หัวหน้าศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยวจังหวัดเลย เปิดเผยว่า งานบุญหลวงถือเป็นงานบุญใหญ่ประจำปีประจำท้องถิ่น โดยรวมเอา“ งานบุญพระเวส ” ( ฮีตเดือนสี่ ) และ งาน “ บุญบั้งไฟ ” ( ฮีตเดือนหก ) เข้าไว้เป็นงานบุญเดียวกัน งานบุญพระเวสนั้นเป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อฟังเทศน์มหาชาติทั้ง 13 กัณฑ์ ซึ่งเชื่อว่าจะได้อานิสงค์แรงกล้า บันดาลให้พบพระ
ศรีอริยเมตไตรย์ ในชาติหน้า ส่วนงานบุญบั้งไฟเป็นงานบุญที่จัดขึ้นเพื่อบูชาอารักษ์หลักเมืองและถือเป็นประเพณีการแห่ขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล ซึ่งในงานบุญหลวงนี้จะมี “ การละเล่นผีตาโขน ” ช่วยสร้างความสนุกสนานครื้นเครงในขบวบแห่ด้วย การละเล่นผีตาโขนถือเป็นการแสดงออกถึงศิลปวัฒนธรรมอันดีงามน่าภาคภูมิใจอย่างหนึ่งของชาวอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย โดยได้ยึดถือปฎิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งบรรพกาล โดยปีนี้กำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 4 – 6 กรกฎาคม 2551 ณ วัดโพนชัย และบริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอด่านซ้าย ภายในงานมีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย อาทิ พิธีเบิกพระอุปคุต พิธีบายศรีสู่ขวัญเจ้าพ่อกวนและเจ้าแม่นางเทียม พิธีแห่พระเวสสันดรเข้าเมือง การจุดบั้งไฟ ขบวนแห่ผีตาโขน การประกวดเต้นผีตาโขน การสาธิตการทำหน้ากากผีตาโขน การแสดงดนตรีและวัฒนธรรม การจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น และศูนย์อาหารของกลุ่มแม่บ้าน ทั้งนี้ผีตาโขนจะออกวาดลวดลายกันตั้งแต่เช้าจนดึก เพียง 2 วัน ในวันที่ 5 – 6 กรกฎาคม 2551 เท่านั้น
      งานประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน นับเป็นงานบุญแสนสนุกของชาวจังหวัดเลยที่มีมนต์ขลังของพิธีกรรมต่างๆ พร้อมมีการละเล่นที่สนุกของชาวบ้านที่ไปด้วยกันได้อย่างลงตัว ถือว่าเป็นมุมมองใหม่ที่น่าตื่นตาตื่นใจ และขณะนี้ทางจังหวัดเลยได้เตรียมความพร้อมในเรื่องที่พัก ร้านอาหาร ห้องน้ำ และที่จอดรถ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่จะหลั่งไหลสู่อำเภอด่านซ้ายไว้เรียบร้อยแล้ว

สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยวจังหวัดเลย   โทรศัพท์ 042- 812812 ,042-811405
โทรสาร 042-811480  Website: www.tat.or.th/loeicenter  E- mail : [email protected]
เทศบาลตำบลด่านซ้าย  โทรศัพท์. 042-891231



กำหนดการ งานประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน ประจำปี 2551
ระหว่างวันที่ 4 - 6 กรกฎาคม 2551  ณ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย

วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

03.00 น.  -พิธีเบิกพระอุปคุต ( บริเวณริมสะพานลำน้ำหมัน )
06.00 น. -ร่วมทำบุญตักบาตร บริเวณถนนพระแก้วอาสา และถวายภัตตาหารเช้าที่วัดโพนชัย
08.30 น. -พิธีบายศรีสู่ขวัญ ( บ้านเจ้าพ่อกวน )
09.00 น. -ตั้งขบวนแห่เจ้าพ่อกวนและแม่นางเทียมไปวัดโพนชัย เป็นพิธีที่สืบทอดกันมานาน
10.00 น. -พิธีเปิดงานบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน ( หน้าที่ว่าทำการอำเภอ )
             - ร่วมเดินขบวน ซึ่งประกอบด้วยด้วย คณะเจ้าพ่อกวน เจ้าแม่เทียน ของดีเมืองด่านซ้ายกัณฑ์เทศน์ ขบวนวิถีท้องถิ่น เช่น ทอดแห หาปลา
               ขายา ความตู้ คนป่า
               ขบวนผีตาโขนใหญ่  และผีตาโขนกว่า 2 พันตัว ไปวัดโพนชัย
             -เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ ท้องถิ่นผีตาโขน ที่วัดโพนชัย
             -ชมสินค้าชุมชน และศูนย์อาหารพื้นบ้าน
14.30 น. -ประกวดการแสดงผีตาโขน รอบคัดเลือกที่วัดโพนชัย
17.30 น. -มหกรรมอาหารสะอาดรสชาติอร่อยที่ตลาดเย็น
20.30 น. -เชิญชมการแสดงดนตรี ( หมอลำ ) ที่โรงเรียนชุมชนบ้านด่านซ้าย

วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ.2551
09.00 น. -การสาธิตการทำหน้ากากผีตาโขน ที่พิพิธภัณฑ์ผีตาโขน
09.30 น.  -การประกวดการเต้นผีตาโขน ที่วัดโพนชัย
13.00 น. -ขบวนการผีตาโขนที่เป็นเอกลักษณ์สวยงามมากจากคุ้มต่างๆที่ทำกันเป็นประเพณี
              ออกวาดลวดลายตามถนนพระแก้วอาสาและไปรวมที่วัดโพนชัย
15.00 น.  -พิธีแห่พระเวสสันดรเข้าเมืองและแห่พระจากสี่แยกบ้านเดิ่นไปวัดโพนชัย
             -จุดบั้งไฟขอฝน วัดโพนชัย
19.00 น. -เทศน์พระมาลัยหมื่น  พระมาลัยแสน วัดโพนชัย

วันอาทิตย์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ.2551
04.00 น. -เทศน์มหาชาติ 13 กัณฑ์ วัดโพนชัย
07.00 น. -พิธีทำบุญตักบาตร
08.00 น. -พิธีสะเดาะเคราะห์บ้านเมือง
10.00 น. -ขบวนการแห่กัณฑ์หลอน เพื่อถวายพระ จะต้องถวายก่อนพระรูปสุดท้ายเทศน์จบ


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยวจังหวัดเลย   โทร.0 4281 2812 ,0 4281 1405
โทรสาร 042-811480  Website: www.tat.or.th/loeicenter  E- mail : [email protected]
เทศบาลตำบลด่านซ้าย  โทร. 0 4289 1231

ประวัติ / ความเป็นมา
           ผีตาโขน เป็นการละเล่นชนิดหนึ่ง โดยผู้เล่นทำรูปหน้ากากมีลักษณะหน้าเกลียดน่ากลัวมาสวมใส่ และแต่งตัวมิดชิด แล้วเข้าขบวนแห่แสดงท่าทางต่างๆ ในงานบุญตามประเพณีประจำปีของท้องถิ่นพื้นบ้าน การเล่นผีตาโขนมีปรากฏในพื้นถิ่นต่างๆ โดยเฉพาะที่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ได้ทำเป็นพิธีกรรมใหญ่โตมาก
คำว่า “ผีตาโขน” ความเดิมไม่ทราบแน่ชัดว่า มีความหมายอย่างไร เพียงแต่ทราบว่าเป็นผีที่มีรูปร่างน่าเกลียดน่ากลัวเท่านั้น ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานมีคำว่า โขน คำเดียว ซึ่งให้ความหมายว่า “การละเล่นอย่างหนึ่งคล้ายละคร” แต่สวมหัวจำลอง ที่เรียกว่า หัวโขน สำหรับ “ผีตาโขน”นั้น คงจะหมายถึง ผีที่รูปร่างหน้าตาคล้ายหัวโขนที่ปั้นหรือทำขึ้นให้น่าเกลียดน่ากลัว เมื่อคนจะเล่นผีตาโขนจึง ต้องนำหัวโขนที่น่าเกลียดน่ากลัวมาสวมใส่ด้วย และที่น่าแปลก คือ การเล่นผีตาโขน เป็นการเล่นที่สวมหัวจำลองคล้ายๆ กับการเล่นโขนทางภาคกลาง นอกจากการเล่นสวมหน้ากากหรือหัวโขนแล้ว บางที่ผู้เล่นอาจทำรูปม้าจำลองขี่ไปในขบวนผีตาโขนด้วย ผู้ที่เล่นโดยขี่ม้าจำลองนี้เรียกว่า “ม้าตาโขน” นอกจากนี้อาจทำรูปจำลองของสัตว์ เช่น ควาย ช้าง เป็นต้น นำมาขี่หรือถือแห่ร่วมขบวนไปด้วย
คำว่า ผีตาโขน บางทีชาวบ้านกล่าวออกเสียงเป็น ผีตาขนก็มี ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ว่า ตาหรือ ขอบตาของผีมีขนขึ้นอยู่มากมาย
การจัดงานบุญหลวง เป็นบุญที่รวมเอาประเพณีประจำเดือนต่างๆ ใน “ฮีตสิบสอง” ของภาคอีสาน (คำว่า ฮีตสิบสอง คือ งานบุญประเพณี ประจำเดือนทั้งสิบสองเดือนของแต่ละปี) โดยรวมเอาบุญพระเวส หรือ บุญพระเวสสันดร ที่นิยมทำในเดือนสี่ และบุญบั้งไฟ ซึ่งนิยมทำในเดือนหกรวมเข้าด้วยกันแต่เลื่อนมาทำเดือนแปด บุญพระเวสสันดรเป็นงานบุญที่จัดขึ้นเพื่อ ฟังเทศน์เรื่องพระมาลัยหมื่น พระมาลัยแสน เทศน์สังกาส และพระเวสสันดร ตามลำดับ โดยชาวบ้านเชื่อว่าใครได้ฟังเทศน์ดังกล่าวจนจบในวันเดียวจะได้กุศลแรง อาจดลบันดาลให้ได้พบพระศรีอาริยเมตไตรยในชาติหน้า ส่วนบุญบั้งไฟเป็นงานบุญที่จัดทำขึ้นเพื่อบูชาอารักษ์หลักเมือง เป็นประเพณีขอฝน เมื่อทำบุญนี้แล้วเชื่อว่าจะช่วยดลบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล
           การทำบุญหลวง จัดทำที่วัดโพนชัย อำเภอด่านซ้าย เป็นประจำทุกปี ปกตินิยมทำในเดือนแปดข้างขึ้น ภายหลังที่มีพิธีบวงสรวงอารักษ์หลักเมือง ประจำอำเภอด่านซ้าย ซึ่งเรียกว่า หอหลวงและหอน้อย ประจำปีเสร็จแล้ว ซึ่งจัดทำในเดือน 7 ข้างขึ้น โดยคณะที่ทำพิธีบวงสรวง ดวงวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าในอดีต ชาวบ้าน เรียกว่า เจ้านาย จะเข้าทรงเจ้ากวน ซึ่งมีประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับเจ้ากวนว่า  .. มีคู่รักคู่หนึ่งที่รักกันมาก แต่ถูกผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายกีดกัน จึงพากันหนีเข้าไปในอุโมงค์ ซึ่งเจ้าหน้าที่ก่อพระธาตุศรีสองรักขุดไว้เพื่อเก็บทรัพย์สินที่ชาวเมืองนำมาบริจาค เมื่อทำการปิดอุโมงค์โดยไม่รู้ว่ามีคนอยู่ข้างใน ทั้งคู่จึงตายไปด้วยกัน จึงกลายเป็นเจ้าพ่อกวน ส่วนฝ่ายหญิงกลายเป็นเจ้าแม่นางเทียม ซึ่งชาวบ้านเชื่อว่าทั้งสองวิญญาณได้เฝ้าดูแลพระธาตุ
และชาวจังหวัดเลยยังมีความเชื่อว่า เจ้าพ่อกวนนั้นเป็นดวงวิญญาณพระเสื้อเมือง จึงมีการทรงร่างเจ้าพ่อกวน และเจ้าพ่อกวนจะมีรับสั่งอนุญาตให้จัดทำบุญหลวง เป็นบุญประเพณีของวัดดังกล่าวจะเว้นไม่ทำไม่ได้ เพราะถ้าไม่ทำเชื่อว่าจะเกิดเหตุเภทภัยต่างๆ เช่น ทำให้คนเจ็บป่วย บ้านเมืองเกิดมีโจรผู้ร้าย ฝนฟ้าจะแล้ว ไม่ตกต้องตามฤดูกาล เป็นต้น ในขณะที่เจ้าพ่อกวนเข้าทรงที่หอน้อย จะมีการปรึกษากำหนดวันจัดงาน “บุญหลวง”ด้วย โดยมีกำหนดจัดงาน 3 วัน

กำหนดงาน
           ประเพณีนี้จัดให้มีขึ้นในวันใดวันหนึ่งของเดือนมิถุนายนหรือเดือนกรกฎาคม ผู้กำหนดวัน คือ ผู้ทรงเจ้าพ่อกวน กำหนดงานมีประมาณ 3 วัน และกำหนดให้ตรงกับวันเสาร์อาทิตย์


กิจกรรม / พิธี
           การแสดงผีตาโขนมีทั้งผีตาโขนใหญ่และผีตาโขนเล็ก ส่วนวัดอื่นๆ ในท้องที่อำเภอด่านซ้ายหากมีจิตศรัทธาจะจัดทำบุญหลวง ก็ต้องทำภายหลัง “บุญหลวง” ที่วัดโพนชัย อำเภอด่านซ้าย เสร็จเรียบร้อยแล้ว และส่วนมากมี 2 วัน คือวันรวม (วันโฮม) มีการแสดงการละเล่น แห่พระเวสสันดรเข้าเมือง จุดบั้งไฟ และมักมีผีตาโขนเล็กแสดงบ้าง ส่วนผีตาโขนใหญ่ไม่มี วันที่ 2 ของงานมีการฟังเทศน์ เป็นอันเสร็จพิธี
“บุญหลวง”  ที่วัดโพนชัย อำเภอด่านซ้ายในเดือนแปดข้างขึ้น นิยมทำ 3 วัน ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว คือ ในวันแรกเป็นวันรมหรือวันโฮม เป็นวันที่ประชาชนตามตำบลและหมู่บ้านต่างๆ เดินทางมา ร่วมงานซึ่งปกติจะนำบั้งไฟมาด้วย โดยพิธีเริ่มตั้งแต่เช้ามืด คือตั้งแต่ เวลาประมาณ 04.00 – 05.00 น. ทำพิธีอัญเชิญพระอุปคุตข้างศาลาโรงธรรมที่วัดเตรียมไว้แล้ว เชื่อว่าจะสามารถป้องกันเหตุเภทภัยต่างๆ ทีเกิดในงานได้ เมื่อพิธีอัญเชิญพระอุปคุตเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะมีการละเล่นต่างๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน เช่น เล่นเซิ้งบั้งไฟ ฟ้อนรำการแสดงผีตาโขน การแสดงการละเล่นต่างๆ เป็นต้น
วันที่สองของงาน ตั้งแต่ตอนเช้าถึงบ่ายมีการละเล่นต่างๆ เช่นวันก่อน  ตอนบ่ายเวลาประมาณ 14.00 - 15.00 น.มีพิธีแห่พระเวสสันดรและนางมัทรีเข้าเมืองโดยสมมุติให้สถานที่นอกวัดในบริเวณหมู่บ้านเดิ่น ตำบลด่านซ้าย อำเภอด่านซ้าย เป็นที่พระเวสสันดรและนางมัทรี และอัญเชิญพระเวสสันดรและนางมัทรี เสร็จแล้วมีขบวนแห่คือ การแห่เข้าวัดซึ่งสมมุติว่าเป็นเมือง โดยอัญเชิญพระพุทธรูปนำหน้า ถัดไปมีพระสงฆ์ 4 รูป นั่งบนแคร่ตามหลัง ต่อจากนั้นจึงเป็นขบวนแห่บั้งไฟ โดยเอาบั้งไฟมามัดรวมกันบนแคร่และมี “เจ้ากวน”นั่งบนบั้งไฟ มีขบวนการแสดงผีตาโขน การละเล่นของประชาชนทั่วไป โดยแห่รอบวัดสามรอบน้ำพระพุทธรูปไปประดิษฐานไว้ที่เดิม นิมนต์พระสงฆ์ลงจากแคร่ และเชิญเจ้ากวนลงจากบั้งไฟ เป็นเสร็จ พิธีแห่พระเวสสันดรและนางมัทรีเข้าเมือง ตอนเย็นมีการจุดบั้งไฟ
           สำหรับการแห่พระเวสสันดรและนางมัทรีเข้าเมืองนี้ได้เค้าเรื่องมาจากเรื่อง พระเวสสันดร ชาดกเมื่อครั้งที่พระเวสสันดรและนางมัทรี พร้อมด้วยกัณหา ชาลี ไปอยู่ป่า ณ เขาวงกต เมื่อถึงเวลากลับคืนสู่พระนครพระเจ้ากรุงสัญชัยและพระนางผุสดี ผู้เป็นพระราชบิดาและพระราชมารดา จึงเสด็จไปรับพระเวสสันดรและนางมัทรีเข้าเมือง ขณะที่มีขบวนแห่อัญเชิญเข้าเมือง เมื่อถึงเมืองแล้วมีการละเล่นต่างๆ เฉลิมฉลองสมโภชอย่างมโหฬาร ในการแห่แหนและแสดงการละเล่นดังกล่าว อาจมีผู้แต่งตัวแปลกๆ แบบผีตาโขน อนึ่งในขณะที่พระเวสสันดรและนางมัทรีเป็นดาบสอยู่ในป่า ณ เขาวงกต บริเวณนั้นมีประชาชนอาศัยอยู่ด้วย คนพวกนั้นเป็นชาวป่าที่เคยปรนนิบัติ และเคารพพระเวสสันดรและพระนางมัทรีเป็นอันมาก เมื่อพระเวสสันดรและนางมัทรีเสด็จกลับเข้าเมือง คนพวกนี้จึงตามมาส่ง และอาจแต่งกายแบบชาวป่ามาส่ง การแต่งกายแบบผีตาโขน จึงอาจแต่งกายเลียนแบบชาวป่าพวกนี้ก็ได้ และขณะที่ชาวป่ามาส่งพระเวสสันดรกับนางมัทรี อาจจะมีการละเล่นต่างๆ เพื่อความสนุกสนาน และต่อมาเมื่อถึงงาน “บุญหลวง” ซึ่งมีบุญพระเวสสันดรอยู่ด้วย จึงมีการแต่งกายและการละเล่นเช่นนี้ในงานบุญดังกล่าว
การเล่นผีตาโขน นอกจากเพื่อความสนุกสนานแล้ว ชาวบ้านยังเชื่อว่าเป็นพิธีขอฝนอย่างหนึ่งคล้ายกับพิธีการเล่นอย่างอื่น เช่น การแห่นางแมว การเล่นแม่นางด้ง เป็นต้น
วิธีการทำผีตาโขนใหญ่  การทำผีตาโขนใหญ่จะทำเป็นรูปผู้ชายตนหนึ่ง ผู้หญิงตนหนึ่ง ผู้จัดทำมีชาวบ้านในตระกูลหนึ่ง ซึ่งอยู่ในหมู่บ้านด่านซ้าย เป็นผู้ที่มีหน้าจัดทำต่อเนื่องกันมาหลายชั่วอายุคน ช่างตระกูลนี้ถือเป็นหน้าที่ของตนที่จะต้องกระทำ เพราะถ้าปีใดไม่ทำอาจจะทำให้คนในตระกูลนั้นเกิดภัยพิบัติต่างๆ เช่น เจ็บป่วยไข้ เกิดเภทภัยบางอย่าง เป็นต้น
การทำรูปผีตาโขนเชื่อกันว่า จำลองมาจากร่างของคน 8 ศอกในสมัยโบราณ ซึ่งเล่ากันต่อๆ มาว่า รูปร่างใหญ่โตมาก คือ มีขนาดความสูงถึงแปดศอก ก่อนทำโครงร่างของผีตาโขนใหญ่ ผู้ทำจะต้องทำพิธีแต่งขันดอกไม้ และเทียนอย่างละ 5 คู่ และ 8 คู่ ใส่พานหรือขัน กล่าวคำขอขมาและขออนุญาตต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก่อนจึงลงมือทำ
การทำร่างของผีตาโขน สานด้วยตอกไม้ไผ่ผืนใหญ่ ทำส่วนศีรษะก่อน โดยสานเป็นทรงกลมหาผ้าผืนใหญ่มาหุ้ม และหาวัตถุที่เป็นเส้นๆ เช่น เส้นใยของทางมะพร้าวที่ทุบเอาเนื้อออกแล้ว หรือเศษผ้าที่ตัดเป็นริ้วยาวๆ เป็นต้น มาติดบนศีรษะ สมมุติให้เป็นผม โดยให้ผมผู้หญิงยาวกว่าผู้ชาย ใบหน้าสานด้วยตอกไม้ไผ่เป็นวงกลมคล้ายกระด้งฝัดข้าวนำมาผูกติดกับส่วนศีรษะ แล้วหาวัตถุบางอย่างมาทำเป็นรูปริมฝีปาก จมูก ตา คิ้ว หู และแต้มสีให้ดูน่าเกลียดน่ากลัว
           ใบหน้าของผีตาโขนผู้ชาย ต้องหาอะไรมาทำหนวดเคราด้วย เมื่อมองดูจะได้รู้ว่าตนไหนเป็นชาย ตนไหนเป็นหญิง ส่วนลำตัวและแขนสานด้วยตอกไม้ไผ่ หุ้มด้วยผ้าผืนใหญ่ เช่นผ้ามุ้ง ผ้าห่ม ฯลฯ  ที่ไม่ใช้แล้ว เย็บหุ้มทั้งตัว หรือ เฉพาะด้านหน้าใต้สะดือคลุมให้มิดชิด
สำหรับผีตาโขนผู้ชายมักนิยมทำอวัยวะเพศชายใส่ อาจทำด้วยไม้หรือวัสดุอื่นก็ได้ โดยผูกติดกับลำตัวตอนหน้าใต้บั้นเอวลงมา ส่วนผีตาโขนเพศหญิงทำอวัยวะเพศของผู้หญิงมาใส่ขนาดให้สมส่วนกับลำตัว อาจทำด้วยโคนกล้วยหรือวัตถุอื่นก็ได้ แล้วเย็บไว้ตรงใต้สะดือเช่นกัน และตรงหน้าอกทั้งสองข้างของผีตาโขนผู้หญิง นำวัตถุมาทำเป็นรูปนมติดไว้ จะทำด้วยกะลามะพร้าว ลูกบอลผ่าซีก หรือวัตถุอื่นก็ได้ ภายในลำตัวของผีตาโขนเอาไม้ไผ่เป็นลำมามัดไขว้ผูกติดไว้ สำหรับให้คนยืนข้างในจับยกร่างผีตาโขนขึ้นไปได้ และด้านหน้าตอนลำตัว เจาะรู 2 รู ให้คนถือผีตาโขนมองเห็นได้ และใต้ช่องที่ตามองลอดให้เจาะรูขนาดแขนสอดเข้าออกได้ 1 รู สำหรับสอดขวดเหล้าหรือสิ่งของเข้าไป เมื่อคนให้เหล้าหรือสิ่งของแก่ผีตาโขนใหญ่ (โดยคนถือหรือแบกผีตาโขนเป็นผู้รับ) หรือใช้สำหรับมือยื่นลอดออกมา เมื่อมีคนยื่นเหล้าหรือสิ่งของให้คนถือผีตาโขนซึ่งอย่างข้างใน
การทำผีตาโขนเล็ก หรือผีตาโขนทั่วไป  ชาวบ้านในละแวกบ้านที่จัดงานบุญหรือหมู่บ้านใกล้เคียง ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก ร่วมกันจัดมาสมทบ คือ นำมารวมกัน ณ ที่ผีตาโขนใหญ่ตั้งอยู่ในวันงาน การทำผีตาโขนเล็ก สมัยก่อนนิยมทำด้วยโคนของทางมะพร้าวที่แห้งแล้ว โดยตัดเอาเฉพาะส่วนก้าน และจัดแต่งเจาะเป็นช่องตา จมูก ปาก และใบหู แล้วนำหวดนึ่งข้าว ซึ่งใช้ไม่ได้แล้ว มาเย็บติดหน้ากากดังกล่าว โดยหงายปากหวดขึ้นข้างบน ให้หูของหวดอยู่ทางซ้ายขวาของศรีษะ ตรงกันหวดกดให้เป็นรอยบุ๋มกลมๆ ขึ้นไป ให้มีขนาดพอที่จะสวมลงบนศีรษะของคนได้ แล้วนำเอาผ้าทั้งผืนซึ่งส่วนมากเป็นผ้าเก่าๆ ที่ไม่ใช้แล้วมาเย็บต่อจากหน้ากากและหวดลงมา ให้ผ้าคลุมรอบตัวอย่างมิดชิด ส่วนแขนทำเป็นรูปแขนเสื้อยาวออกมาหรือเจาะให้เป็นช่องพอแขนสอดออกมาได้ เมื่อนำไปเล่นหรือแสดง ก็เอาผีตาโขนดังกล่าวสวมคลุม เข้ากับลำตัวและสวมศีรษะด้วยส่วนที่ทำด้วยหวด แต่ผีตาโขนเล็กในสมัยปัจจุบัน หน้ากากมักนิยมใช้กระดาษแข็งจัดทำแทนวัสดุดังกล่าวข้างต้นเนื่องจากเป็นวัสดุที่หาง่าย และตัดแต่งได้สะดวกตามใจชอบ เมื่อทำหน้ากากผีตาโขนแล้ว ก็แต้มสีให้ดูน่าเกลียดน่ากลัวด้วย
สิ่งประกอบในการแสดงผีตาโขนเล็ก คือ นำไม้เป็นลำขนาดโตประมาณหัวแม่เท้า หรือ โตกว่าเล็กน้อยก็ได้ ปกติใช้ไม้สบู่ เพราะเป็นไม้หาง่าย และทำเป็นรูปอะไรได้ง่าย เนื่องจากเป็นไม้เนื้ออ่อน นำไม้นั้นมาถากเปลือกออก แล้วนำแก่นมาทำเป็นดาบหรือง้าวขนาดยาว ตรงโคนไม้มีด้ามสำหรับจับยาวพอสมควร ตรงโคนด้ามดาบหรือง้าวเป็นรูปอวัยวะเพศชาย ทั้งด้ามและตัวดาบหรือง้าวทาด้วยสีต่างๆ ส่วนโคนด้ามตรงปลายอวัยวะเพศชายนิยมแต้มด้วยสีแดง เพื่อให้มองเห็นได้ง่าย การมีดาบหรือง้าวเป็นอาวุธคนเพื่อให้สง่างามน่าดูและเป็นที่เกรงขามแก่ผู้พบเห็น ส่วนโคนด้ามอาวุธส่วนมากมักใช้แหย่หยอกล้อผู้หญิงและเด็กๆ เพื่อให้ขบขันและสนุกสนาน เป็นการช่วยให้งานสนุกครึกครื้นขึ้น
           และยังมีการนำส่วนประกอบที่เรียกว่า “กระแหล่ง” ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า หมากกระแหล่ง (กระแหล่ง เป็นวัตถุคล้ายกระดิ่ง แต่เป็นรูปสี่เหลี่ยมแบนทำด้วยเหล็ก สมัยก่อนชาวบ้านใช้แขวนคอวัวควาย) ผู้เล่นผีตาโขนเล็กใช้ผูกบั้นเอว เวลาเดินจะมีเสียงดัง บางทีใช้เขย่าเวลาแสดงการละเล่นเพื่อประกอบท่าทางของผู้แสดง บางครั้งคนหนุ่มหรือผู้ชายวัยรุ่นจะแต่งตัวแบบชาวป่า นุ่งล่อนจ้อนเปลือยกายท่อนบน ทาส่วนต่างๆ ของร่างกายด้วยดินหม้อหรือสีดำ และนำกระบอกไม้ไผ่ชนิดยาวๆ ชาวบ้านเรียกว่า “ไม้เอี้ย” มาถือกระแทกกับพื้นเป็นจังหวะ ขณะเดินเป็นขบวนไปตามถนนหนทางก็มี การเล่นชนิดนี้ชาวบ้านเรียกว่า “ทั่งบั้ง”  (ทั่ง คือ กระแทก, บั้ง คือ กระบอก) และอุปกรณ์อื่นๆ ทำนองเป็นเครื่องประดับร่างกาย เช่น ร้อยสร้อยประคำสำหรับผูกคอ เป็นต้น สมัยก่อนมักทำเป็นท่อนขนาดเล็ก โตราวหัวแม่มือหรือนิ้วมือ ยางประมาณ 1 คืบ เอามาทำเป็นรูปอวัยวะเพศชายแล้วร้อยเป็นพวงยาว ผูกรอบบั้นเอว และบางคนอาจทำอวัยวะเพศหญิงจำลอง นำมาประกอบการละเล่นด้วย การทำเช่นนี้ คงมุ่งให้เป็นการสนุกสนานและขบขันเท่านั้น มิได้ถือเป็นเรื่องหยาบคายแต่ประการใด
นอกจากนี้ บางคนนำตอกไม้ไผ่มาสานเป็นรูปม้า หุ้มด้วยผ้าเก่าๆ ที่ไม่ใช้แล้ว โดยสานเว้นช่องตรงกลางลำตัวม้าไว้ สำหรับให้คนเอาลำตัวสอดเข้าไปถือม้า เมื่อนำม้าเข้าขบวนแห่หรือขณะนำม้าไปแสดงการละเล่นพร้อมกับมีดดาบหรือง้าวดังกล่าวเป็นอาวุธ คนขี่ม้าจำลองนี้ชาวบ้านรียกว่า “ม้าตาโขน”สำหรับวิ่งไล่หยอกล้อผู้หญิงและเด็ก คนขี่ม้าปกติไม่สวมหัวผีตาโขน แต่ทาหน้าและลำตัวด้วยสีต่างๆ ให้น่าเกลียดน่ากลัว มีสัตว์อีกสองอย่างที่นิยมนำตอกไม้ไผ่มาสาน และหุ้มด้วยผ้าเก่า คือ รูปควายและช้าง เฉพาะควายทำรูปศีรษะควายทุย มีผ้าเย็บต่อออกมาเวลาเล่นก็สอดศีรษะเข้าไปข้างในศีรษะของควายสำหรับวิ่งไล่หยอกล้อผู้หญิงและเด็กเช่นกัน ส่วนรูปช้างไม่นิยมนำไปแสดงการละเล่น คงใช้ถือเข้าขบวนแห่พระเวสสันดรและพระนางมัทรีเข้าเมืองเท่านั้น
           เกี่ยวกับในงานบุญหลวง ที่มีการประดิษฐ์อวัยวะเพศชายหญิงมาใช้ประกอบการละเล่นผีตาโขนด้วยนั้น ท่านผู้หนึ่งได้ให้ความเห็นว่า เนื่องจากการจัดทำบุญต่างๆ อย่างใหญ่โตนั้น มักจะมีมารผจญ มารเหล่านี้จะทำให้เสียพิธีทำบุญนอกจากนิมนต์พระอุปคุตมาเป็นประธาน เพื่อป้องกันเหตุเภทภัยหรือภยันตรายต่างๆ แล้วยังมีผู้คิดอุบายให้สร้างอวัยวะเพศขึ้น และนำอวัยวะเพศมาประกอบการเล่น ทั้งนี้เพื่อให้พวกมารหลงระเริงกับอวัยวะเพศ และหลงชมการเล่นแปลกๆ เหล่านั้น จนลืมการเกะกะอาละวาดหรือขัดขวางในการจัดงานบุญ เป็นการช่วยให้การจัดงานบุญดำเนินไปด้วยความราบรื่นด้วยดี คำว่า “มาร” คงหมายถึง ผู้มีใจบาปหยาบช้า คอยกีดกันไม่ให้ทำบุญ ยักษ์ หรือผู้กีดกันบุญกุศล สำหรับมารในเมืองมนุษย์คงหมายถึง พวกอันธพาล ผู้มีใจโหดร้าย ชอบเกะกะอาละวาดนั่นเอง ดังนั้น เมื่อมีการเล่นสนุกสนานดังกล่าวแล้ว ผู้มีใจบาปทั้งหลายที่จะมากีดขวางการทำบุญ ก็คงมัวหลงชมการเล่น และร่วมในการเล่นสนุกสนาน โอกาสที่คนพวกนี้จะมาเอะอะอาละวาดหรือขัดขวางในงานบุญคงจะไม่มีหรือมีน้อยที่สุด  เหตุผลนี้ถ้าคิดให้ลึกซึ้งแล้วนับเป็นเรื่องน่าฟังไม่น้อย
การเล่นผีตาโขน เมื่อเตรียมอุปกรณ์เกี่ยวกับผีตาโขนไว้พร้อมล่วงหน้าแล้ว ในวันแรกของงานซึ่งเป็นวันรวม (วันโฮม) ก่อนสว่างผีตาโขนเล็กทั้งหลายจะไปรวมกัน ณ บ้านช่างที่ทำผีตาโนใหญ่ และเมื่อทางวัดจัดทำพิธีแห่พระอุปคุตจากท่าน้ำมาประดิษฐานไว้ที่วัดแล้ว ก็จัดขบวนแห่โดยมีผีตาโขนใหญ่นำหน้าขบวน เมื่อพร้อมแล้วก็แห่ไปยังบ้าน “เจ้ากวน” โดยตีกลอง ฆ้อง ฉิ่ง ฉาบ เข้าขบวนแห่ไปด้วย เมื่อขบวนผีตาโขนไปถึงบ้านเจ้ากวน ก็แสดงการเล่นท่าทางต่างๆ ตอนนี้เจ้ากวนจะออกมาต้อนรับขบวนผีตาโขนเลี้ยงเหล้ายาอาหารต่างๆ แก่ผู้ไปเยี่ยมในขณะที่ขบวนผีตาโขนไปเยี่ยมที่บ้าน เจ้ากวนนั้น จะมีนางเทียม หรือ เจ้าแม่นางเทียม (นางเทียมคือ ผู้หญิงที่ทำหน้าที่ให้วิญญาณเจ้าแม่ในอดีต ซึ่งประทับอยู่ ณ ศาลอารักษ์หลักเมือง อำเภอด่านซ้าย ที่เรียกว่า “หอหลวง” หอน้อย เข้าทรง) ไปร่วมการต้อนรับ พวกผีตาโขนด้วย เมื่อพวกผีตาโขนได้แสดงการเล่นรับประทานอาหารและเหล้าได้เวลาอันควรแล้วจึงลา เจ้ากวนและนางเทียมแห่ไปยังวัด เมื่อทำการแห่รอบวัดและแสดงการเล่นประมาณ 3 รอบ หรือตาม อัธยาศัยแล้ว ต่อจากนั้นขบวนผีตาโขนจะพากันแห่ไปตามละแวกบ้าน เพื่อแสดงการเล่นให้ชาวบ้านชมและขอเหล้าข้าวปลาอาหารจากชาวบ้านกิน ได้เวลาสมควรจะกลับมาที่วัด เพื่อแสดงการเล่น หยอกล้อผู้ที่เดินทางมาร่วมงานจากหมู่บ้านต่างๆ
เมื่อชาวบ้านมาจากหมู่บ้านต่างๆ เดินทางมาร่วมงานจวนจะถึงบริเวณวัดพวกผีตาโขนเล็กจะคอยหยอกล้อ โดยเอาด้ามดาบหรือง้าวแหย่พวกผู้หญิงหรือเด็ก เมื่อเล่นเสร็จก็พากันไปพักผ่อน พอหายเหนื่อยแล้วก็กลับมาเล่นอีก จนกระทั่งถึงเย็นหรือค่ำ หรืออาจจะเล่นจนดึก หรือตลอดคืนก็ได้
วันที่สองของงาน พวกผีตาโขนจะเริ่มเล่นกันที่วัด และไปตามละแวกบ้านตั้งแต่เช้ามืด เมื่อถึงเวลาประมาณบ่าย 2 โมง บรรดาผีตาโขนทุกประเภทตลอดจนผู้มาร่วมงานจะไปรวมกัน ณ จุดที่จะอัญเชิญพระเวสสันดรและพระนางมัทรีเข้าเมือง คือ บริเวณหมู่บ้านเดิ่น ตำบลด่านซ้าย อำเภอด่านซ้าย เมื่อทำพิธีอัญเชิญและบายศรีสู่ขวัญพระเวสสันดรและพระนางมัทรีเสร็จ ก็ร่วมกันแห่พระเวสสันดรและพระนางมัทรีเข้าเมือง โดยแห่ไปยังวัดที่จัดงาน เมื่อแห่ไปรอบบริเวณวัด 3 รอบ ก็เป็นอันเสร็จพิธีแห่พระเวสสันดรและพระนางมัทรีเข้าเมือง การแห่พระเวสสันดร และพระนางมัทรีเข้าเมืองนี้ นับเป็นการจัดขบวนแห่ที่ยิ่งใหญ่เพราะมีคนไปร่วมขบวนแห่มากมาย และมีการแสดงการละเล่นอย่างครึกครื้น เป็นจุดสนุกสนานที่สุดของงาน รวมทั้งผีตาโขนก็ร่วมแสดงด้วย
ภายหลังการร่วมขบวนแห่ดังกล่าวแล้ว บรรดาผู้เล่นผีตาโขนจะนำเครื่องเล่นผีตาโขนและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ประกอบการเล่นไปทิ้งที่ลำน้ำใกล้วัด หรือถอดกองรวมกันไว้ที่นอกวัดแห่งใดแห่งหนึ่ง เพื่อให้หายเสนียดจัญไร  ในตอนเย็นอาจมีการจุดบั้งไฟ
           ในคืนที่สองนี้ ตอนหัวค่ำมีการฟังพระสวดพระพุทธมนต์และฟังเทศน์ เรื่องพระมาลัยหมื่น พระมาลัยแสน พอย่างเข้าวันที่สามของงาน ราว 3 หรือ 4 นาฬิกา พระเทศน์สังกาส และเรื่องพระเวสสันดรตลอดวันจะเทศน์จบทุกกัณฑ์ กว่าจะเสร็จพิธีก็ตกบ่ายหรือเย็นของวันทีสามของงานเป็นเสร็จพิธีงาน “บุญหลวง”

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท