beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

The Toyota Way in Practice (BM 5)


ถามว่า ทำไม 5 ครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าคำตอบของปัญหานั้นถูกต้อง

   บรรยายเรื่องสุดท้ายคือเรื่อง Toyota Business Practices ซึ่งก็คือ 8 ขั้นตอนในการแก้ปัญหา หรือ How to (ทำอย่างไร) โปรดดูใจความสำคัญดังข้อความข้างล่างนี้

   

 Toyota Business Practices

   

 (8 steps ในการแก้ปัญหา How to)

    1. Clerity the Problem 
    2. Breakdown in Problem
 P   3. Target seting
    4. Root Cause Analysis
    5. Develop Countermeasure
 D   6. See Countermeasure though 
 C   7. Monitor Both Result & Process
 A   8. Standadize Successful Process
     

   หากดูให้ดีแล้ว ก็คือวงจร PDCA ที่หลายท่านคงรู้จักกันดี ซึ่งย่อมาจากคำว่า Plan-Do-Check-Action ดังภาพที่ผมนำมาให้ดูข้างล่างนี้

     
   
     

   ที่โตโยต้า เขาเล่าว่า โครงการต่างๆ จะทำงานแค่ A3 (น่าจะเป็นกระดาษขนาด A3) 1 แผ่น ก็สมบูรณ์แล้ว เขาบริหารงานด้วยการเอาปัญหาขึ้นมาเป็นตัวตั้ง และการหาคำตอบต้องใช้ 5 Why คือถามว่า ทำไม 5 ครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าคำตอบของปัญหานั้นถูกต้อง (ผมคิดว่านี่คือการประยุกต์ใช้ "อิทัปปัจจยตา" นั่นเอง)

    ช่วงนี้ Lecture เร็ว เก็บรายละเอียดไม่ค่อยได้

    สุดท้ายเขา Summary ว่า Toyota way = Universally National หรือ Universally Appicable

   *********************

เกร็ดเล็ก เกร็ดน้อยของโตโยต้า ที่เก็บมาฝาก

  1. ที่โตโยต้า เงินเดือนไม่สูงแต่ก็สู้คนอื่นได้ โดยเฉพาะสวัสดิการและอื่นๆ ปีที่ผ่านมาพนักงานได้ Bonus 6.5 เท่าของเงินเดือน
  2. Toyota มีพนักงานทั้งหมด ประมาณ 30,000 คน
  3. ปีนี้โตโยต้ามีกำลังผลิต 500,000 คันต่อปี อีก 2-3 ปีจะเพิ่มเป็น 6-7 แสนคันต่อปี ...เพื่อการส่งออก
  4. สถาบัน Toyota สอน Toyota way ให้กับ Dealer ทั่วประเทศ
  5. หาก Dealer ทำตามนโยบายของบริษัทไม่ได้ ก็จะ Panaly เช่นตัดสิทธิ์บางประการหรือลดโควต้า เป็นต้น
  6. โตโยต้า เติบโตเร็ว ต้องการผู้ร่วมงานมาก Basic Requirement คือ ภาษาอังกฤษ (ไม่ยักมีภาษาญี่ปุ่น) และ คอมพิวเตอร์
  7. หาก Dealer ทำดี ก็จะเสนอให้ Benefit หรือ Incentive เช่น เพิ่มโควต้า ให้รางวัล เป็นต้น
  8. พนักงานใหม่ (new comer) ต้องไปเรียนรู้เรื่อง Toyota way ที่สถาบันโตโยต้า 1 สัปดาห์ ต่อด้วย Team work 2 วัน 1 คืน และไป Genchi (เกนจิ) คือไปดูงานที่เขาปฏิบัติกันจริงๆ (go to see) และอื่นๆ อีก จึงจะผ่านขั้นตอนของการทดลองงาน (เขาใส่ใจให้การศึกษา โดยใช้เวลาของการทำงานที่ยังให้เงินเดือน)
  9. OJT = on the job Training = yokoten
  10. ระบบการทำงานหรือบริหารแบบ Toyota way ไม่ได้มาจากบนลงล่าง, ล่างขึ้นบน หรือแบบแนวราบ แต่เป็นระบบ "โยนลูกบอล" คือ ต้นปีจะมีนโยบาย ที่จะโยนมา (เหมือนลูกฟุตบอล) ให้พนักงานช่วยกันคิด ในแต่ละระดับ และโยนกลับไปให้ผู้บริหาร..

###############

หมายเหตุ คำคม ที่ได้จากผู้คน 60 ชีวิต

  1. ทำ Kaizen = ทำ KM = ประสบการณ์ที่น่าทึ่ง
  2. พนักงานทุกระดับทำงานเหมือนเป็นเจ้าของบริษัทจริงๆ มี Toyota way ที่เข้มแข็งมาก ดังนั้น Toyota way ก็คือ "วัฒนธรรมขององค์กร"
  3. หากเกิดปัญหา ผู้บริหารต้องไปดูที่หน้างาน
  4. วางระบบดีๆ ก็ทำงานได้ดี
  5. ทำงานแบบญี่ปุ่น เป็นการทำงานแบบง่ายๆ หรือ simplicity
  6. บริหารด้วยปัญหา ยกระดับคุณภาพขององค์กร
  7. กระตุ้นให้อยาก แล้วจากไป (CKO ปัจจุบัน)
  8. ผลิต 1 นาที ผ่อน 4-5 ปี
  9. คิดช้า ทำเร็ว
  10. Toyota way = 2 เสาหลัก 5 หลักการ 8 ขั้นตอนปฏิบัติ (2 Pillars 5 principle 8 step Business practices)

************************

หมายเลขบันทึก: 18536เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2006 23:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:17 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
Beeman ครับ ขอบคุณมากที่เอารูปนี้มาลง ผมอยากจะชี้ให้เห็นจากรูปนี้กันชัด ๆ อีกครั้งครับ ว่าจุดที่เราต่างจาก Toyota ก็คือ Toyota ใช้เวลาในการคิดวางแผนนานแล้วลงมือทำเร็ว ส่วนของเราทำเร็วแต่อาจจะคิดก่อนทำกันน้อยกว่าเขา ผมไม่แน่ใจว่า ในช่วงเริ่มต้นก่อตั้ง Toyota เป็นอย่างไร อาจจะใช้กลยุทธ์อย่างที่เรากำลังทำกันอยู่นี่ก็เป็นได้ หรือเขาอาจจะเป็นอย่างนี้ (คิดนาน ทำเร็ว) กันมาแต่เกิดเลยก็เป็นได้เช่นกัน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท