เส้นทางการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน


เส้นทางการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน

           แนวทางสำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 มีแนวโน้มว่าจะนำไปใช้ต่อในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 มีประเด็นสำคัญ 3 เรื่องคือ 1) เศรษฐกิจพอเพียง 2) ชุมชนเข้มแข็ง และ 3) เกษตรปลอดสารพิษ ซึ่งเส้นทางการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน จะต้องนำประเด็นสำคัญทั้ง 3 นี้มาประยุกต์ใช้กับชุมชนเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 อีกทั้งยังจะช่วยให้ประชาชนในชุมชนสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ลดปัญหาทางสังคมเช่น ปัญหาการลักขโมยของผู้อื่น ฉกชิงวิ่งราว ปัญหาด้านอาชญากรรม เป็นต้น แนวคิดที่สามารถนำไปปฏิบัติจริงในชุมชนได้โดยอาศัยประเด็นสำคัญทั้ง 3 ประเด็นมีดังนี้
         1) เศรษฐกิจพอเพียง
             เศรษฐกิจพอเพียงมีเป้าหมายชัดเจนคือ การพึ่งตนเองได้ ในระดับที่สามารถตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน (Basic minimum need) เป็นอย่างน้อย ส่วนวิธีการก็คือการใช้หลักทางสายกลางในแง่ความสัมพันธ์กับมนุษย์โดยจะต้องไม่ ละโมบ   เอาเปรียบผู้อื่น และในแง่ความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ก็จะต้องดูแลรักษาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่ไม่ก่อให้เกิดความสิ้นเปลือง เสื่อมโทรม เสียหายและเกิดมลพิษ
แต่ในความเป็นจริงแล้วเศรษฐกิจพอเพียงไม่สามารถรับใช้และตอบสนองระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสรียุคโลกาภิวัตน์ ในปัจจุบันได้ เนื่องจากปัจจุบันมีการแข่งขันด้านวัตถุและการบริโภคอย่างไม่รู้จักพอ

         2) ชุมชนเข้มแข็ง 
             การจะเกิดชุมชนเข้มแข็งได้ ต้องมีกระบวนการประชาคมที่อยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมชุมชน นั้นๆ มิใช่เป็นการผลักดันจากฝ่ายราชการ หรือนักวิชาการ การพยายามจัดเวทีประชาคมเพียงชั่วครั้งชั่วคราวไม่อาจเกิดกระบวนการประชาคมที่ต่อเนื่องจริงจัง เพราะเป็นเพียงพิธีกรรมไม่ต่างกับการทอดกฐิน ผ้าป่า เมื่อเสร็จพิธีแล้วต่างคนต่างแยกย้ายกันกลับไปอยู่บ้านตัวเองแบบ “ตัวใครตัวมัน” ที่สำคัญกระบวนการประชาคมจะต้องมีสมาชิกของชุมชนที่มีลักษณะเป็น “พลเมือง” (Civility) กล่าวคือ 1) มีความเป็นคนดีมีศีลธรรม (ศีลเด่น) 2) มีความสามารถพึ่งตนเองได้ (เป็นงาน) และ 3) มีสติปัญญารู้จักแก้ไขปัญหาเมื่อต้องเผชิญและคิดอ่านปรับปรุงให้ดีกว่าเดิมไม่หยุดความรู้กับที่ (ชาญวิชา)
           แต่ปัญหาของสังคมไทย คือ สมาชิกของชุมชนส่วนใหญ่มีคุณสมบัติเป็นเพียง“ราษฎร” (Population) กล่าวคือ ยังขาดคุณสมบัติ 3 อย่างข้างต้น ดังจะเห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่ ขาดศีลธรรม ไม่มีแม้แต่ศีลห้า มุ่งแต่รอรัฐบาลและราชการช่วยเหลือขาด ความคิดพึ่งตนเอง ตลอดจนไม่ศึกษาหาความรู้ ความเข้าใจไม่คิดแก้ไขปัญหา อยู่ไปวัน ๆ ไม่ฝึกฝนตนเอง คุณสมบัติดังกล่าวจึงไม่สามารถเรียกว่า เป็นประชาคมได้ เป็นได้เพียง “หมู่บ้านของราษฎร” เช่นเดียวกับที่เป็นมาเมื่อ 700 กว่าปีที่แล้วเท่านั้น แตกต่างกันที่มีความเจริญทางวัตถุมากกว่า
          3) เกษตรปลอดสารพิษ
              เกษตรปลอดสารพิษ คือการเน้นกิจกรรมการเกษตรที่ไม่ใช้สารพิษเลย แต่ใช้เทคนิคทางชีวภาพในการควบคุมศัตรูพืช เช่น การปลูกพืชหลายชนิด การใช้สารสะกัดจากธรรมชาติปราบศัตรูเช่น สะเดา ตระไคร้หอม โสน กระเทียม ฯลฯ ซึ่งการไม่ใช้สารพิษเลยจะยุ่งยากและได้ผลผลิตน้อยกว่าใช้สารพิษ

              เกษตรปลอดสารพิษ ในปัจจุบันได้รับการพัฒนาอย่างหลากหลาย เช่น “เกษตรกรรมธรรมชาติ” ที่เน้นหลักการไม่ใส่ปุ๋ยเคมี ไม่ไถพรวน ไม่ใช้สารเคมีและไม่กำจัดวัชพืช “เกษตรทฤษฎีใหม่” ที่เน้นหลักการพึ่งพาตนเอง การจัดการน้ำในไร่นาอย่างเหมาะสม และปลูกพืชผักเพื่อการบริโภคให้พอเพียงและอื่น ๆ  
        ดังนั้นหากแต่ละชุมชนมีคนในชุมชนที่เข้มแข็งมีการทำอาชีพเกษตรกรรมโดยยึดหลักการทำการเกษตรแบบปลอดสารพิษ ก็สามารถทำให้ชุมชนนั้นสามารถที่จะดำรงอยู่ได้ตามแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 18517เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2006 17:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณค๊า บ.

พอดีเรียนเรื่องนี้พอดีเลยงะครับ บ.

ขอบคุณมาก ขอบคุณจริงๆค๊าบ บ.

^__________^"

ขอบคุนจ้า

อาจารย์ให้ทำรายงานเรื่องนี้อ่ะ

หาเจอแล้วโชคดีไป

ผมอ่านแล้วชอบมากเลย ผมทำงานอยู่สายพัฒนาองค์กรชุมชน ผมอยากให้ช่วยวิเคราะห์ เรื่อง การจัดสวัสดิการชุมชนจะเข้มแข็งได้ในความคิดของท่าน เป็นอย่างไร ถ้าไม่ลำบาก e-mail ก็ได้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์กันครับ (sunan9945@hotmail,com)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท