รองศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ ทยศยิ่งยง
รองศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ ทยศยิ่งยง Assoc. Dr.Yongyootdha Tayossyingyong

รายวิชาการบริหารสถานศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ ภาค1/2551


การบริหารสถานศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ

 

 

 

ขอต้อนรับนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย ภาคการศึกษาที่ 1 ประจำปี 2551 จำนวนทั้งสิ้น 7 คน ได้แก่

1. แม่ชีฉวีวรรณ       อ่อนน้อม

2. นายบุญเลิศ        ระงับทุกข์

3. นายวัฒนพงษ์     ขันทองดี

4. นางสาว ศศิธร     กันเรือง

5. นางสาวสกุลรัตน์  โรจนพรพิรักษ์    

6. นางสาวสุมณฑา   โชติกรณ์

8. นางสาววรรณา     อินทรเกษม

 

เอกสาร PowerPoint ประกอบการบรรยาย

  ครั้งที่ 1 : 

แนะนำการเรียนการสอน และภาพรวมของวิชาการบริหารสถาบันการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ

 

  ครั้งที่ 2 :

แนวคิดการจัดการศึกษาและองค์การ

 

 

ครั้งที่ 3 :

แนวคิดพื้นฐานการบริหารสถานศึกษา

 

 

ครั้งที่ 4 :

 แนวคิดพื้นฐานการบริหารสถานศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ

 

 

ครั้งที่ 5 :

แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับผู้บริหารสถานศึกษาระดับโลก

 

 

ครั้งที่ 6 :

เครื่องมือทางการบริหาร

 

 

ครั้งที่ 7 :

เทคนิคทางการบริหาร : การบริหารแบบเบ็ดเสร็จ

 

 

ครั้งที่ 8 :

เทคนิคทางการบริหาร : ระบบคุณภาพ

 

 

ครั้งที่ 9 :

เทคนิคทางการบริหาร : แนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ

 

 

ครั้งที่ 10 :

เทคนิคทางการบริหาร : การสร้างสมรรถนะเชิงการแข่งขัน

 

 

ครั้งที่ 11 :

แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมเชิงกลยุทธ์ การวางแผน และการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์องค์กร

 

 

ครั้งที่ 12 :

แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสถาบันการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ

 

 

ครั้งที่ 13 -14 :

การศึกษาดูงาน

 

 

ครั้งที่ 15 :

นำเสนอข้อค้นพบ และข้อเสนอแนะสถาบันการศึกษา (กรณีศึกษา) เพื่อความเป็นเลิศ

 

 

ครั้งที่ 16 :

สอบปลายภาค/นำเสนอข้อค้นพบ และข้อเสนอแนสถาบันการศึกษา (กรณีศึกษาที่นักศึกษาทำงาน) เพื่อความเป็นเลิศ

 

 

หมายเลขบันทึก: 184888เขียนเมื่อ 28 พฤษภาคม 2008 08:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 12:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (56)
แม่ชีฉวีวรรณ อ่อนน้อม

แสดงความคิดเห้น วันเสาร์ ที่ 7 มิถุนายน 2551

          วิชาการบริหารสถาบันการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ นับว่าโชคดีมากที่ได้เรียนวิชานี้ คิดว่าน่าจะมีประโยชน์ในการที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงานในสถานศึกษาที่เราสอนอยู่

           โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  ในฐานะที่เราเป็นผู้สอนด้วย  เราสามารถความรู้ความเข้าใจในการเรียนวิชานี้ไปประยุกต์และพัฒนาความสามารถในการสอน  เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพทางการศึกษา

         *ปัญหา* ทำไมระบบการศึกษาของโรงเรียนในเมืองดีกว่าโรงเรียนในชนบท  ทั้งที่บุคลากรของโรงเรียนเป็ยบุคคลที่มีความสามารถและจบปริญญาตรีและปริญญาโทเหมือนกัน ?

         *** ด้วยเพราะข้าพเจ้าเป็นเด็กต่างจังหวัดที่ได้รับการศึกษามาจากโรงเรียนในชนบท  มีความคิดว่าการศึกษาของโรงเรียนในชนบทนั่นมีประสิทธิภาพทางการศึกษาค่อนข้างน้อยมาก   ซึ่งปัจจัยที่สำคัญ เช่น

           1. ครู  เช่น การนำความรู้ความสามารถของครูมาถ่ายทอดให้นักเรียน

           2. นักเรียน  เช่น  ระดับสติปัญญาของเด็ก

           3. สื่อและอุปกรณ์ทางการศึกษา  เช่น หนังสือ  สมุด  เครื่องมือเทคโนโลยี เป็นต้น

           4. ฐานะทางครอบครัว  เช่น  ปัญหาความยากจน เป็นต้น

         เหล่านี้...ถือว่าเป็นปัญหาที่โรงเรียนในชนบทนั้นประสบอยู่  ซึ่งต่างจากโรงเรียนในเมืองนั้น  มีเพียบพร้อมทุกอย่าง

...................................................................................

ปล. ท่านใดมีความเห็นอย่างไร...โปรดชี้แนะ..เพื่อการพัฒนาการศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนในชนบท...สาธุ

 

นายวัฒนพงค์ ขันทองดี

การบริหารสถานศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ นายวัฒนพงค์ ขันทองดี

การบริหารเป็นสาขาวิชาที่มีการจัดการระเบียบอย่างเป็นระบบ คือ มีเกณฑ์และทฤษฎีที่พึงเชื่อถือได้ อันเกิดจาการค้นคว้าเชิงวิทยาศาสตร์ เพื่อประโยชน์ในการบริหาร โดยลักษณะนี้ การบริหารจึงเป็นศาสตร์ (Science) เป็นศาสตร์สังคม ซึ่งอยู่ในกลลุ่มเดียวกับวิชาจิตวิทยา สังคมวิทยา และรัฐศาสตร์

แต่ถ้าพิจารณาการบริหารในลักษณะของการปฏิบัติที่ต้องอาศัยความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์และทักษะของผู้บริหารแต่ละคน ที่จะทำงานให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งเป็นการประยุกต์เอาความรู้ หลักการและทฤษฎีไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และสิ่งแวดล้อมการบริหารก็จะมีลักษณะเป็นศิลป์ (Arts)

ลักษณะเด่นของการบริหาร คือ

1. การบริหารต้องมีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย

2. ต้องอาศัยปัจจัยบุคคลเป็นองค์ประกอบสำคัญ

3. ต้องใช้ทรัพยากรบริหารเป็นองค์ประกอบพื้นฐาน

4. ต้องมีลักษณะการดำเนินการเป็นกระบวนการทางสังคม

5. ต้องเป็นการดำเนินการร่วมกันระหว่างกลุ่มบุคคล 2 คนขึ้นไป

6. ต้องอาศัยร่วมมือร่วมใจเพื่อภารกิจบรรลุวัตถุประสงค์

7. เป็นการร่วมมือดำเนินการอย่างมีเหตุผล

8. มีลักษณะเป็นการตรวจสอบผลการปฏิบัติงานกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

9. การบริหารไม่มีตัวตน แต่มีอิทธิพลต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์

ความคิดเห็นส่วนตัวในหลักการบริหารจริงๆแล้วเป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อนซึ่งผู้บริหารต้องใช้จิตวิทยา ทฤษฎี ประสบการณ์ และบ่อยครั้งที่ผู้บริหารมักนั่งกุมขมับ เพราะการบริหารงานไม่เดิน หรือไม่ประสบผลสำเร็จตามที่คาดหวัง เนื่องจากความแตกต่างและ

รายละเอียดปลีกย่อย บางครั้งผู้บริหารมักจะมองข้ามบางจุดไป หรือมั่นใจในตนเอง เกินไปหรือเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์

กระผมมีความมั่นใจว่าเมื่อเรียนรายวิชานี้แล้วสามารถนำไปประยุกต์ ในการทำงานให้มีประสิทธิภาพ และพัฒนาในสายงานต่อไปในอนาคต

ประเด็นคำถาม

1. การบริหารมีความสำคัญต่อองค์กรหรือไม่ อย่างไร?

2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารให้ประสบผลสำเร็จ ควรยึดหลักการใดบ้าง

3. ทฤษฎีการบริหารมีความสัมพันธ์ต่อการนำไปปฏิบัติ คือ ?

นางสาวศศิธร กันเรือง

ครั้งที่ ๑

ความรู้สึกของข้าพเจ้าที่มีต่อวิชาการบริหารสถาบันการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ คือ การเรียนวิชานี้ เป็นรายวิชาที่มหาวิทยาลัยมกุฎราชวิทยาลัยได้กำหนดเป็นหลักสูตรให้นักศึกษาปริญญาโท สาขา การจัดการศึกษา ได้ศึกษาเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาสถาบันของตนเองให้เจริญก้าวหน้า ทัดเทียมกับสถาบันอื่น ๆ ซึ่งข้าพเจ้ามีความเห็นว่า ผู้ที่จะได้ประโยชน์จากวิชานี้คือ

๑. ผู้บริหารสถาบันการศึกษา

๒. บุคลากร

บุคคลทั้งสองกลุ่มนี้ สามารถนำความรู้ที่ได้ศึกษาไปพัฒนาสถาบันของตนให้เจริญก้าวหน้าและเพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเองในอนาคตต่อไป

คำถาม

ในสังคมยุคโลกาภิวัฒน์ในยุคปัจจุบัน การประกันคุณภาพ ถือเป็นหลักการหนึ่งที่เป็นที่กล่าวถึงอย่างแพร่หลาย จึงเป็นที่มาของการประกันคุณภาพของการศึกษา จงอธิบายว่าเหตุใดจึงต้องมีการประกันคุณภาพของการศึกษาดังกล่าว

นายบุญเลิศ ระงับทุกข์

ความรู้สึกที่มีต่อการเรียน

  ความรู้สึกแรก คือ ความรู้สึกต่ออาจารย์ผู้สอน คือ ดร.กีรติ ยศยิ่งยง เป็นอาจารย์ที่บอกได้เลยว่า สุดยอด สามารถสอนนักศึกษาในรายวิชาที่เกี่ยวกับการศึกษาได้อย่างแม่นยำชัดเจน สามารถตอบคำตอบได้ทุกคำถาม ถือได้ว่าเป็นผู้ทรงคุณวุฒิของวงการศึกษาไทยท่านหนึ่งโดยแท้จริง

  ความรู้สึกที่สอง คือ ความรู้สึกที่มีต่อรายวิชาการบริหารสถาบันการคึกษาเพื่อความเป็นเลิศ ถือได้ว่าเป็นรายวิชาเอกของอนาคตผู้บริหารทางการศึกษาที่ต้องเรียนรู้เป็นอย่างมาก เพราะสามารถที่จะนำไปบริหารสถานศึกษาของตัวเองเพื่อความเป็นเลิศในอนาคต และคาดไม่ถึงว่าอาจารย์ลงมือสอนเพียงแค่ครั้งสองครั้ง หรือเพียงแค่ดูเนื้อหาวิชาที่อาจารย์จะสอน  ก็ทำให้เราสามารถคาดการถึงอนาคตของผู้บริหารยุคใหม่หลายคนที่จะเข้ามาบริหารสถานศึกษาเพื่อนำพาวงการศึกษาไทยให้พัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน

  ต้องขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ ดร.กีรติ ยศยิ่งยง ที่ยอมสละเวลาอันมีค่าของท่านเข้ามาสั่งสอนศิษย์หลายๆคนของสาขาการจัดการศึกษา  เพียงเพื่อต้องการให้นักศึกษาจบออกไปเป็นมหาบัณฑิตที่มีคุณภาพทัดเทียมกับสถาบันการศึกษาอื่น

   หวังเป็นอย่างยิ่งว่า....ว่าที่มหาบัณฑิตทุกท่านคงจะนำความรู้ต่างๆที่ท่านอาจารย์สั่งสอนไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อวงการศึกษาไทยกันอย่างเต็มที่รวมถึงตัวของผมด้วย

  ประเด็นคำถาม

      เราจะทำอย่างไรในการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในการบริหารสถานศึกษาให้ประสบผลสำเร็จ...ขอท่านผู้รอบรู้โปรดตอบด้วยนะครับ 

นางสาวสกุลรัตน์ โรจนพรพิรักษ์

ความรู้สึกต่อวิชาการบริหารสถาบันเพื่อความเป็นเลิศ

ข้าพเจ้ามึทัศนะว่า วิชาการบริหารสถาบันเพื่อความเป็นเลิศ นั้นเป็นการเรียนรู้ทักษะในการบริการว่า ในการบริหารนั้นมีรูปแบบอย่างไรบ้าง และเมื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารสถาบัน ว่าต้องมีข้อควรพิจารณาอะไรบ้าง หากว่าเราพิจารณาอาจแบ่งได้เป็น

1.ปัจจัยภายใน

ลักษณะพจุดเด่นขององค์กร ร ลักษณะด้อยของสถาบัน

2.ปัจจัยภายนอก

ปัจจัยสภาพแวดล้อม และข้อจำกัด ต่าง

เมื่อผู้บริหารได้พิจารณา ปัจจัยต่าง ๆ อย่างรอบคอบดีแล้ว ทำค้นหารูปแบบในการบริหารในสถาบัน ที่เหมาะสมกับเฉพาะสถาบันนั้นๆ

นางสาวสุมณฑา โชติกรณ์

การเกิดมาเป็นคน การศึกษาเป็นส่วนที่สำคัญของชีวิต ผู้ปกครองหลายคนได้ทุ่มเทกำลังกาย ใจ ทรัพย์สมบัติ เพื่อให้บุตรหลานเข้าสู่ระบบหวังผลในอนาคตคือการเป็นคนดี มีคุณภาพ สามารถช่วยเหลือตนเองได้เป็นที่พึ่งพาของคนอื่นได้ มีจิตสาธารณะ รับผิดชอบต่อชะตากรรมของประเทศชาติบ้านเมือง มหาวิทยาลัย คือมหาวิทยาลัยที่มีจำนวนคนผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเข้าไปเพื่อ ยกระดับคุณภาพชีวิตนักศึกษาที่ได้เข้าสู่ระบบการเรียนมาหลายปี บางคนใช้เวลาสั้นบ้างยาวบ้างก็ตามศักยภาพของแต่ละคนที่ต้องพยายามให้จบการศึกษาอันเป็นเป้าหมายสูงสุดของการเรียน

บุคลากรในโรงเรียนซึ่งถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุด ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า “บุคลากรในโรงเรียนมีความสำคัญต่อการบริหารฯ” เพราะบุคลากรฯเป็นผู้รับผิดชอบฯและดำเนินการเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆ ทั้ง วัสดุ อุปกรณ์ และการจัดการต่างๆ เพื่อการบริหารจัดการศึกษาในโรงเรียนให้ประสบกับความสำเร็จได้นั้นผู้บริหารฯต้องสร้างภาวะผู้นำและควรยึดหลักวิชาที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมาบูรณาการไปสู่การปฏิบัติที่เน้นการมีส่วนร่วมอย่างมุ่งมั่นและจริงจัง ดังนี้

1. มีความซื่อสัตย์สุจริต ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดของการบริหาร เพราะจะต้องทำเป็นแบบอย่างที่ดี เพื่อให้เกิดความศรัทธาและเป็นตัวอย่างที่ดีแก่บุคลากร ผู้ใต้บังคับบัญชา ดังคำกล่าวที่ว่า “แบบอย่างที่ดีย่อมอยู่เหนือคำสอนอื่นใด”

2. มีความยุติธรรม การบริหารงานด้วยความเสมอภาค เป็นกลาง และยุติธรรมกับทุกคน ซึ่งทำให้ลดความขัดแย้งภายในโรงเรียนได้

3. มีความมุ่งมั่น ขยัน อดทน และเป็นคนสู้งาน บุคลากรฯ จะเห็นการทำงานและจะนำไปเป็นแบบอย่าง โดยยึดหลักว่า “สอนให้รู้ ทำให้ดู อยู่ให้เห็น”

4. มีความรับผิดชอบสูง “ ความรับผิดชอบ” เป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งอีกประการหนึ่ง เพราะ ความรับผิดชอบทำให้งานประสบความสำเร็จ แม้ในบางครั้งงานที่สำคัญของโรงเรียนเกิดความผิดพลาด ในฐานะผู้บริหารฯ จำเป็นต้องยอมรับและรับผิดชอบโดยไม่โยนความผิดไปให้ผู้อื่น

5. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ นำแนวคิดและวิธีการใหม่ๆมาปฏิบัติในโรงเรียนบ้างเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงสร้างสรรค์ แสดงให้เห็นถึงการเป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง

6. มีภาวะผู้นำสูง ผู้บริหารต้องเป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงในโรงเรียนเชิงการพัฒนาที่ดีขึ้นใน 4 ด้าน กล่าวคือ ด้านบริหารงานบุคคล ด้านวิชาการ

ด้านงบประมาณ และด้านการบริหารงานทั่วไป

7. กล้าที่จะคิด กล้าที่จะพูด กล้าที่จะนำ กล้าที่จะทำ กล้าที่จะตัดสินใจ และ

กล้าที่จะรับผิดชอบ ในฐานะผู้บริหารฯ

8. มีคุณธรรม และจริยธรรม ยึด พรหมวิหาร 4 เป็นธรรมะในการบริหารบุคลากร ได้แก่

- เมตตา ให้ความรัก ความปรารถนาดีแก่ทุกคนด้วยความเสมอภาค ไม่ลำเอียง

- กรุณา ให้ความช่วยเหลือแก่บุคลากรฯ ที่มีทุกข์ตามโอกาสและความ

เหมาะสมอย่างเท่าเทียมกันหรือกรณีมีปัญหาในหน้าที่การงานและปัญหาส่วนตัว

- มุฑิตา ยินดีให้กำลังใจแก่บุคลากรทุกคนเมื่อประสบความสำเร็จใน

ชีวิต หรือในหน้าที่ การงานตามความเหมาะสม พิจารณาความดีความชอบที่ใช้หลักความดี/ เก่ง ส่งเสริม และ สนับสนุนให้ทำผลงานเพื่อการพัฒนาวิชาชีพที่สูงขึ้น การจัดทำการ์ดอวยพรและของที่ระลึกมอบให้ ในวันคล้ายวันเกิด ฯลฯ

- อุเบกขา ทำงานโดยปราศจากอคติ วางตัวเป็นกลาง ให้ความยุติธรรมแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่ลำเอียง ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ไม่แสดงความดีใจจนเกินควร หรือทับถมผู้อื่นเมื่อประสบเคราะห์กรรม

9. มีวุฒิภาวะทางอารมณ์สูง สามารถเก็บความรู้สึกต่างๆ ได้ สุขุม รอบคอบ

นุ่มนวล มีความอดทนต่อความรู้สึกที่ไม่ถูกต้อง หรือการปฎิบัติที่ขัดต่อกฎระเบียบ และวัฒนธรรม

10. เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่บุคลากรในโรงเรียนและ ครอบครัว มีนิสัยรักการอ่าน การใช้เวลาว่างในวันหยุด โดยการวางแผนและบริหารเวลาให้คุ้มค่าที่สุดสำหรับการปฏิบัติงาน และการศึกษาเพื่อการพัฒนา

ตนเองเสมอ

11. มีความจริงใจ ยึดอุดมการณ์ในการทำงานให้ความเป็นกันเองแก่ผู้ร่วมงาน ทุกคนด้วยความเสมอภาค ด้านการบริหารงาน การบริหารงานในด้านต่างๆ ของโรงเรียน ได้แก่ ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ และด้านบริหารงานทั่วไป ควรใช้วิธีการบริหารรูปแบบใหม่ “รูปแบบที่ทุกคนมีส่วนร่วม” ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมทำ และร่วมรับผิดชอบโดยพิจารณาจัดทำภารกิจให้ชัดเจน ครอบคลุมงานทั้งหมดและมีการกำหนดกลุ่มงานที่มีความสอดคล้องกัน จัดโครงสร้างบริหารที่เป็นนิติบุคคล มีการบริหารเป็นระบบ มีสายบังคับบัญชา และการประสานคน /งาน เพื่อให้เกิดความคล่องตัว มีการกำหนดขอบเขต อำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบ ในทุกระดับของตำแหน่ง ตามความรู้ความสามารถและประสบการณ์ ทุกขั้นตอน ไว้อย่างชัดเจนและโปร่งใส ตรวจสอบได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องฝึกการสร้างจิตสำนึกในเรื่องของความรักและภักดี ความหวงแหน และความเป็นเจ้าของร่วมกัน

ดั่งที่กระแสพระราชดำรัสที่พระราชทานแก่ ข้าราชการทุกหมู่เหล่าได้นำมาเป็นข้อคิด “สำหรับ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา” นำหลักธรรมะมาใช้เป็นแนวทางปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพได้แก่ ฉันทะ ความพึงพอใจ โดยให้บุคลากรทุกคนได้ทำงานอย่างที่ตนเองชอบ ปฏิบัติงานด้วยความวิริยะอุตสาหะมีความเพียรพยายามในการทำงาน ทำงานด้วยความคิดก่อนทำ การทำงานด้วยความไตร่ตรอง มีความรอบคอบ ถูกต้อง รวดเร็ว

การบริหารโรงเรียนที่มีประสิทธิภาพนั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายประการทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร ดังนั้นผู้บริหารโรงเรียนเป็นบุคคลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งของโรงเรียนในการเป็นแบบอย่างที่ดีที่จะนำโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพสู่ความสำเร็จ ต้องมีคุณลักษณะของผู้นำ คือ การบริหารเชิงคุณภาพ กับการประกันคุณภาพการศึกษาคุณภาพผู้เรียนมุ่งเน้นสู่ความเป็นสากล โดยใช้การบริหารที่เน้นแบบการมีส่วนร่วมการบริหารโดยยึดประชาธิปไตย การสร้างทีมงาน หลัก 5 ส. เทคนิคการวิเคราะห์แบบ SWOT. การบริหารแบบ TQM. การบริหารระบบคุณภาพ ISO 9002 จนสามารถบริหารโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในฐานะที่ท่านเป็นผู้บริหารการศึกษาท่านคิดกับเรื่องนี้อย่างไร

ท่านมีแนวทางการบริหารอย่างไรที่จะทำให้การนำโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพสู่ความสำเร็จ

บทบาทของบุคลากรในการบริหารสถานศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จากการที่ในศึกษาวิชา การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ผู้บริหารที่ชาญฉลาดและมีจิตใจเป็นประชาธิปไตยจึงจะได้ประโยชน์ ในฐานะของแหล่งข้อมูลที่เป็นกลาง เป็นอิสระ ปลอดจากผลประโยชน์ แสดงออกถึงทัศนคติของบุคลากรที่มีต่อนโยบายหรือแผนการดำเนินการต่าง ๆ เพราะถึงแม้ผ้บริหารจะสามารถเข้าถึงผู้ใต้บังคับบัญชาของตนได้ตามปกติตามลำดังชั้นการบังคับบัญชา แต่กลไกอำนาจในการพิจารณาความดีความชอบและการให้คุณให้โทษก็มักปิดโอกาสที่ผู้บริหารจะได้รับฟังข้อมูลข่าวงสารย้อนกลับมี่แท้จริงจากภาคส่วนต่าง ๆ ผุบังคับบัญชาของตน เนื่องจาก ผู้บังคับบัญชาระดับกลางและระดับล่างๆ ที่รับคำสั่งหรือนโยบายไปปฏิบัติมักเลี่ยงที่จะโต้แย้ง คำสั่งหรือนโยบายที่เบื้องบนกำหนดลงมาแม้จะเห็นถึงความไม่ถูกต้อง การให้คำปรึกษาแก่ผู้บริหารนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ตามความเป็นจริง หากผู้บริหารไม่สนใจรับฟังความคิดเห็น การมีส่วนร่วมของบุคลากรก็อาจจะไม่สนใจรับฟัง การสรรหาผู้บริหารจะต้องให้บุคลากรในมหาวิทยาลัยมีตัวแทนของสายสนับสนุนทุกสาขาเข้าไปมีส่วนร่วมในการสรรหาผู้บริหารด้วยเสมอ มีส่วนร่วมรับผิดชอบในการได้มาซึ่งผู้บริหารที่สมควรทำหน้าที่บริหารมหาวิทยาลัย (มจพ.) ในฐานะที่ท่านเป็นผู้บริหารการศึกษาท่านคิดกับเรื่องนี้อย่างไร แนวทางการบริหารอย่างไรที่จะทำให้การนำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือมีความเป็นเลิศทางเทคโนโลยีในฐานะผู้ผลิต

เรียน ดร.กีรติ ยกเลิกข้อความ ที่7และ8 ใช้งานที่ ๙ ส่งค่ะ

9. wanna indrakasem

เมื่อ พฤ. 12 มิ.ย. 2551 @ 14:40

698184 [ลบ]

<p>ผู้บริหารจะต้องทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดีและสร้างศรัทธา ทั้งในตัวผู้บังคับบัญชา ศรัทธาในงานที่ทำ และศรัทธาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในการทำงาน และศรัทธาที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยจะต้องยึดคุณธรรมประจำใจ อันได้แก่ พรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา สังคหวัตถุ ๔ คือ ทาน ปิยวาจา อัตถจิรยา สมานัตตา และอิทธิบาท ๔ คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา เพราะผู้บริหารพร่ำบอกให้ผู้อื่นทำความดี แต่ตนเองไร้คุณธรรม จัดสรรผลประโยชน์ทั้งที่ได้มาอย่างถูกต้องและด้วยการฉ้อฉลให้กับพรรคพวก ฐานคะแนน ก็ย่อมจะส่งผลให้เสื่อมศรัทธา จนในที่สุดก็จะนำไปสู่ความเลื่อมโทรมของทั้งองค์กร เพราะผู้ใต้บังคับบัญชาขาดแรงจูงมใจในการกระทำความดี ผู้บริหารจึงควรดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของการบริหารสถานศึกษา ดังต่อไปนี้

๑. ทำตนให้เป็นแบบอย่างที่ดี ในเรื่องซื่อสัตย์ มีคุณธรรม ขยันหมั่นเพียร และมีความอดกลั้น กลังเกรงต่อการกระทำผิด ยุติธรรม รู้จักเลือกใช้คนให้เหมาะกับงาน ตลอดจนติดตามประเมินผลงานผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นระยะ ๆ ทั้งเพื่อพิจารณาความดีความชอบและเพื่อหาทางพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์

๒. ต้องมีวิสัยทัศน์มองการณ์ล่วงหน้า เพื่อกำหนดชี้นำทิศทางการพัฒนาสถานศึกษาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และทันสมัย มีความสามารถในด้านการบริหาร เข้าใจจิตวิทยาสังคม และจิตวิทยามวลชน

๓. เป็นกัลยาณมิตร ให้ความคุ้นเคยเป็นกันเอง ด้วยการหมั่นไปร่วมงานหรือกิจกรรมของผู้ใต้บังคับบัซชา และสนใจในทุกข์สุขของผู้ใต้บังคับบัญชา ด้วยการหมั่นเยี่ยมเยียนสอบถามทุกข์สุข ตลอดจนจัดหาความช่วยเหลือให้ตามสมควรแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาที่เจ็บป่วย หรือประสบภัย พร้อมให้คำปรึกษา และช่วยแก้ปัญหาส่วนตัวของผู้ใต้บังคับบัญชา

๔. ให้ความเสมอภาคและยุติธรรม แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาโดบเสมอหน้า ไม่มีการเลือกปฏิบัติ รู้จักชมเชยและสนับสนุนผู้ใต้บังคับบัญชาที่ทำงานดี และประพฤติดีทั้งต่อหน้าและลับหลัง ตลอดจนต้องรักษาคำมั่นสัญญาและดำเนินการตามคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้ต่อผู้ใต้บังคับบัญชา และต้องไม่ให้สัญญาในสิ่งที่ท่านทำไม่ได้

๕. มีการจัดสรรผลประโยชน์ให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างทั่วถึง ยุติธรรม และเหมาะสม

๖. เข้าใจในบทบาทของตัวเองในฐานะของตัวแทนที่ต้องต่อสู้ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาในเรื่องงาน ผลประโยชน์ และความเป็นธรรม ในทางที่ถูกที่ควรเท่านั้น

๗. ด้วยพรหมวิหาร ๔ คือ มีความเมตตา และกรุณาต่อผู้น้อย ต้องส่งเสริมให้ผู้ใต้บังคับบัญชาที่เก่งได้มีโอกาสเลื่อนตำแหน่ง หรือสับเปลี่ยนหน้าที่เพื่อความก้าวหน้า ยินดีเมื่อผู้น้อยได้ดี ตามหลักมุทิตา และที่สำคัญต้องรู้จักวางเฉย (อุเบกขา) หากลูกน้องที่กระทำผิดได้รับการลงโทษตามฐานนุโทษ

๘. มีขันติ และโสรัจจะ รู้จักควบคุมอารมณ์ให้หนักแน่น มั่นคง และคิดรอบคอบก่อนพูดหรือทำเสมอ

๙. มีอปิรหารนิยมธรรม คือ ส่งเสริมให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม มีการประสานสามัคคี ด้วยการหมั่นประชุมตามกาล มีการรับฟังความคิดเห็น คำวิจารณ์ และข้อเสนอแนะของผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อการปรับปรุงตน ปรับปรุงงานอยู่ตลอดเวลชา ทั้งจะต้องเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร เพื่อการรับรู้รับทราบร่วมกัน

๑๐. ไม่ประมาท กำหนดมาตรการป้องกันผู้ใต้บังคับบัญชามิให้กระทำผิดวินัยไว้ล่วงหน้า ด้วยการ ให้ความรู้ในเรื่องระเบียบวินัยแต่แรกรับเช้าทำงาน / ไม่เปิดโอกาสล่อใจ มีการแบ่งความรับผิดชอบ มีกลไกตรวจสอบ มีระเบียบการใช้จ่ายเงินที่ชัดเจน /สร้างขวัญกำลังใจ ด้วยการให้ความไว้วางใจ มีการจัดคนลงงานอย่างเหมาะสม ให้ผลประโยชน์อันควร ให้สวัสดิการ ให้ความยุติธรรม ให้โอกาสในการก้าวหน้า ฯลฯ /ให้ความพอเพียงในการครองตน ครองชีพ ได้อย่างมีศักดิ์ศรี /สอดส่องเป็นพิเศษในเรื่องอบายมุข ที่สำคัญผู้บริหารจะต้องไม่เป็นฝ่ายชักชวนผู้ใต้บังคับัญชาเข้าหาอยายมุขเสียเอง เพียงเพราะอยากได้คะแนนเสียง หรือความนิยม

เรียน ดร.กีรติ ยกเลิกข้อความที่ ๗,๘,๙,๑๐ ใช้ ๑๑ แสดงตนค่ะ

9. wanna indrakasem

เมื่อ พฤ. 12 มิ.ย. 2551 @ 14:40

698184 [ลบ]

<p>ผู้บริหารจะต้องทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดีและสร้างศรัทธา ทั้งในตัวผู้บังคับบัญชา ศรัทธาในงานที่ทำ และศรัทธาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในการทำงาน และศรัทธาที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยจะต้องยึดคุณธรรมประจำใจ อันได้แก่ พรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา สังคหวัตถุ ๔ คือ ทาน ปิยวาจา อัตถจิรยา สมานัตตา และอิทธิบาท ๔ คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา เพราะผู้บริหารพร่ำบอกให้ผู้อื่นทำความดี แต่ตนเองไร้คุณธรรม จัดสรรผลประโยชน์ทั้งที่ได้มาอย่างถูกต้องและด้วยการฉ้อฉลให้กับพรรคพวก ฐานคะแนน ก็ย่อมจะส่งผลให้เสื่อมศรัทธา จนในที่สุดก็จะนำไปสู่ความเลื่อมโทรมของทั้งองค์กร เพราะผู้ใต้บังคับบัญชาขาดแรงจูงมใจในการกระทำความดี ผู้บริหารจึงควรดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของการบริหารสถานศึกษา ดังต่อไปนี้

๑. ทำตนให้เป็นแบบอย่างที่ดี ในเรื่องซื่อสัตย์ มีคุณธรรม ขยันหมั่นเพียร และมีความอดกลั้น กลังเกรงต่อการกระทำผิด ยุติธรรม รู้จักเลือกใช้คนให้เหมาะกับงาน ตลอดจนติดตามประเมินผลงานผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นระยะ ๆ ทั้งเพื่อพิจารณาความดีความชอบและเพื่อหาทางพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์

๒. ต้องมีวิสัยทัศน์มองการณ์ล่วงหน้า เพื่อกำหนดชี้นำทิศทางการพัฒนาสถานศึกษาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และทันสมัย มีความสามารถในด้านการบริหาร เข้าใจจิตวิทยาสังคม และจิตวิทยามวลชน

๓. เป็นกัลยาณมิตร ให้ความคุ้นเคยเป็นกันเอง ด้วยการหมั่นไปร่วมงานหรือกิจกรรมของผู้ใต้บังคับบัซชา และสนใจในทุกข์สุขของผู้ใต้บังคับบัญชา ด้วยการหมั่นเยี่ยมเยียนสอบถามทุกข์สุข ตลอดจนจัดหาความช่วยเหลือให้ตามสมควรแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาที่เจ็บป่วย หรือประสบภัย พร้อมให้คำปรึกษา และช่วยแก้ปัญหาส่วนตัวของผู้ใต้บังคับบัญชา

๔. ให้ความเสมอภาคและยุติธรรม แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาโดบเสมอหน้า ไม่มีการเลือกปฏิบัติ รู้จักชมเชยและสนับสนุนผู้ใต้บังคับบัญชาที่ทำงานดี และประพฤติดีทั้งต่อหน้าและลับหลัง ตลอดจนต้องรักษาคำมั่นสัญญาและดำเนินการตามคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้ต่อผู้ใต้บังคับบัญชา และต้องไม่ให้สัญญาในสิ่งที่ท่านทำไม่ได้

๕. มีการจัดสรรผลประโยชน์ให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างทั่วถึง ยุติธรรม และเหมาะสม

๖. เข้าใจในบทบาทของตัวเองในฐานะของตัวแทนที่ต้องต่อสู้ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาในเรื่องงาน ผลประโยชน์ และความเป็นธรรม ในทางที่ถูกที่ควรเท่านั้น

๗. ด้วยพรหมวิหาร ๔ คือ มีความเมตตา และกรุณาต่อผู้น้อย ต้องส่งเสริมให้ผู้ใต้บังคับบัญชาที่เก่งได้มีโอกาสเลื่อนตำแหน่ง หรือสับเปลี่ยนหน้าที่เพื่อความก้าวหน้า ยินดีเมื่อผู้น้อยได้ดี ตามหลักมุทิตา และที่สำคัญต้องรู้จักวางเฉย (อุเบกขา) หากลูกน้องที่กระทำผิดได้รับการลงโทษตามฐานนุโทษ

๘. มีขันติ และโสรัจจะ รู้จักควบคุมอารมณ์ให้หนักแน่น มั่นคง และคิดรอบคอบก่อนพูดหรือทำเสมอ

๙. มีอปิรหารนิยมธรรม คือ ส่งเสริมให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม มีการประสานสามัคคี ด้วยการหมั่นประชุมตามกาล มีการรับฟังความคิดเห็น คำวิจารณ์ และข้อเสนอแนะของผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อการปรับปรุงตน ปรับปรุงงานอยู่ตลอดเวลชา ทั้งจะต้องเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร เพื่อการรับรู้รับทราบร่วมกัน

๑๐. ไม่ประมาท กำหนดมาตรการป้องกันผู้ใต้บังคับบัญชามิให้กระทำผิดวินัยไว้ล่วงหน้า ด้วยการ ให้ความรู้ในเรื่องระเบียบวินัยแต่แรกรับเช้าทำงาน / ไม่เปิดโอกาสล่อใจ มีการแบ่งความรับผิดชอบ มีกลไกตรวจสอบ มีระเบียบการใช้จ่ายเงินที่ชัดเจน /สร้างขวัญกำลังใจ ด้วยการให้ความไว้วางใจ มีการจัดคนลงงานอย่างเหมาะสม ให้ผลประโยชน์อันควร ให้สวัสดิการ ให้ความยุติธรรม ให้โอกาสในการก้าวหน้า ฯลฯ /ให้ความพอเพียงในการครองตน ครองชีพ ได้อย่างมีศักดิ์ศรี /สอดส่องเป็นพิเศษในเรื่องอบายมุข ที่สำคัญผู้บริหารจะต้องไม่เป็นฝ่ายชักชวนผู้ใต้บังคับัญชาเข้าหาอยายมุขเสียเอง เพียงเพราะอยากได้คะแนนเสียง หรือความนิยม

นายบุญเลิศ ระงับทุกข์

มีใครเคยฝันและต้องการเป็นผู้บริหารที่ดีบ้าง การที่จะเป็นผู้บริหารที่ดีมีคุณภาพนั้นเราต้องมีองค์ประกอบอะไรกันบ้าง หลายคนคงพอจะเข้าใจกันมาบ้างแล้วใช่ไหม่ครับ แต่ในวันนี้จะขอแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผู้บริหารที่อยากจะได้มาเป็นเจ้านายของเราดูกันบ้างว่าเราต้องการมีผู้บริหารแบบไหนกัน อันดับแรกเราคงต้องมาทบทวนกันก่อนว่าการบริหารคืออะไร การบริหารเป็นวิชาที่มีการจัดระบบระเบียบ คือ มีหลักเกณฑ์ที่พึงเชื่อถือได้ อันเกิดจาการค้นคว้าเพื่อประโยชน์ในการบริหารในลักษณะนี้ถือได้ว่าการบริหารเป็นศาสตร์ เป็นศาสตร์สังคมที่อย่ในกลุ่มเดียวกับวิชา จิตวิทยา สังคมวิทยา และรัฐศาสตร์ แต่หากพอเรามองอีกด้านหนึ่งการบริหารต้องอาศัยประสบการณ์ ความรู้ความสามารถ และทักษะของแต่ละคนที่จะทำอย่างไรให้งานของเราบรรลุเป้าหมาย การบริหารแบบนี้เราเรียนว่าเป็นศิลป์ ลักษณะต่างๆดังกล่าวมีกับผู้บริหารที่ท่านต้องการหรือยัง

การที่จะเป็นผู้บริหารที่ดีได้ในปัจจุบันนี้จะต้องประสบปัญหาต่างๆมากมาย การเลือกทางออกที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาทางการบริหารคงถือได้ว่าไม่มีทางใดถูกที่สุด หากเป็นไปตามสถานการณ์ต่างหากที่จะเป็นตัวกำหนดว่าควรจะใช้ การบริหารในยุคปัจจุบันต้องมุ่งเน้นความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับสภาพแวดล้อมขององค์กร กล่าวง่ายๆก็คือ ทุกส่วนจะต้องมีความสัมพันธ์กัน สถานการณ์บางครั้งจะต้องใช้การตัดสินใจที่เฉียบขาด หสถานการณ์บางครั้งจะต้องอาศัยการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ในการบริหารบางครั้งต้องคำนึงถึงหลักมนุษยธรรมและแรงจูงใจ หรือบางครั้งก็ต้องคำนึงถึงเป้าหมายหรือผลเป็นหลัก ดังที่กล่าวการบริหารจึงต้องอาศัยสถานการณ์เป็นตัวกำหนดในการตัดสินใจ

ดังที่กล่าวมานี้เป็นเพียวความคิดเห็นส่วนตัวเท่านั้น

ป.ล.แล้วท่านผู้อ่านหละครับต้องการผู้บริหารในฝันของท่านอย่างไร?..

ผู้บริหารสถานศึกษา ควรมีความรู้ความสามารถทางด้านการจัดการ คือ ๑) ด้านความคิด เป็นความสามารถในการมองภาพรวมทั่วทั้งองค์กร ความสามารถที่รวบรวมเอากิจกรรมและเหตุการณ์ต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบในสถานศึกษา ๒) ความสามารถด้านคน โดยสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น ทำงานเป็นทีม การสร้างบรรยากาศของการทำงานร่วมกัน ตลอดจนการรับฟังความคิดเห็นของผู่ร่วมงาน ตลอดจนฟังความคิดเห็นของนักเรียน นักศึกษา ด้วย เพราะนักเรียน นักศึกษาคือกำลังสำคัญ เป็นอนาคตของประเทศชาติ ทำอย่างไรจะผลิตบัณฑิตตรงตามความต้องการของสังคมได้ ๓) ความาสามารถด้านงาน : สิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญเป็นเกี่ยวข้องการด้านเทคนิค ทำอย่าไงรจะเข้าใจในงาน มีความรู้ ความชำนาญ กระบวนการ วิธีการต่างๆ ในการทำงานได้ สามารถประยุกต์ให้งานประสบความสำเร็จได้รวดเร็ว ถูกต้อง

ผู้บริหารสถานศึกษาควรจะต้องกระจายการเรียนการสอน ออกไปสู่สังคมที่ต้องการเรียนรู้ สังคมของการวิจัย ค้นคว้า ต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสได้ศึกษาค้นคว้าอย่างกว้างขวาง หรือบุคลการทางการศึกษาก็ต้องให้โอกาสได้ก้าวหน้าในหน้าที่การงาน หรือด้านการบริหารด้วย

คำถาม เมื่อท่านเป็นผู้บริหารสถานศึกษาควรทำอย่างไรให้สถานศึกษาของท่านมีความเป็นเลิศ ซึ่งมีการแข่งขันกันสูงมากในปัจจุบัน

นายวัฒนพงค์ ขันทองดี

การบริหารการจัดการศึกษาของไทยนั้นไม่มีเอกภาพในด้านการนำมาปฏิบัติโดยเฉพาะด้านโครงสร้างด้านการบริหาร การจัดระบบ นั้นมีความไม่ชัดเจนซ้ำซ้อนล่าช้า ตำแหน่งหน้าที่มีมากเกินความจำเป็น บางหน่วยงานมีไว้เป็นไม้ประดับมิได้มีบทบาทหรือการปฏิบัติงานที่เด่นชัด การจัดโครงสร้างด้านหลักสูตรก็เน้นเอาหลักสูตรตามแนวคิดทฤษฎีชาวตะวันตกมาโดยนำมาทั้งดุ้นไม่มีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสภาพและพื้นฐานของสังคมไทย หลักสูตรที่นำมาก็ดูดีเลิศหรูทันสมัยปรับใหม่ตลอดเวลา ขยายโอกาสทางการศึกษาเพิ่มมากขึ้นเน้นทุกวิถีทางก็มองดูเป็นผลพ่วงตามมาที่ดีหรอก เพิ่มงบประมาณ เพิ่มเทคโนโลยีเพิ่มสื่อ เด็กก็ต้องเรียนวิชาการเพิ่มขึ้น แต่เหตุไฉน การศึกษาไทยคุณภาพกลับย่ำแย่กว่าที่เป็นอยู่เดิม

นักวิชาการหลายๆท่านก็พยายามปรับเปลี่ยนหลักสูตรเพื่อให้เกิดการพัฒนาและต่อยอด

แม้เราจะรู้ข้อบกพร่องก็ดี หาวิธีแก้แล้วก็ดี แต่ยิ่งแก้ก็ยิ่งยุ่ง หลายท่านให้ความเห็นว่ายุคสมัยมันเปลี่ยนไป เทคโนโลยีมันไม่หยุดนิ่งไหลตามกระแสโลกาภิวัตต์ แล้วเราและท่านทั้งหลายจะช่วยกันอย่างไร ที่จะช่วยให้การศึกษาของไทยเป็นที่ยอมรับในระบบสากลบนวิถีทางของความเป็นไทย

ประเด็นคำถาม

1. ท่านเห็นว่าการศึกษาของไทยเป็นที่น่าพอใจของสังคมหรือยัง?

2. ประชาชนคนไทยจะใช้หลักการใดในการพัฒนาระบบและจะพัฒนาในทิศทางใดบ้าง?

3. สังคมปัจจุบันมีการแก่งแย่งชิงดีและนับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นน่าจะมาจากสาเหตุใด?

นายวัฒนพงค์ ขันทองดี

แม่ชีฉวีวรรณ อ่อนน้อม

วิชาการบริหารสถาบันการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ (ความต่อเนื่อง จากแสดงความคิดเห้น วันเสาร์ ที่ 7 มิถุนายน 2551 )

***ปัญหาเกี่ยวกับการศึกษาของไทย (ในชนบท (บ้านนอก))

การศึกษาของประเทศไทยในปัจจุบันยังไม่เหมาะกับสภาพความต้องการทางเศรษฐกิจและสังคม การศึกษาในแต่ละขั้นตอนไม่เบ็ดเสร็จในตัว ทำให้นักเรียนมุ่งศึกษาต่อสูงขึ้นไปเรื่อยๆ การที่จะจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการทางเศรษฐกิจ พร้อมทั้งเสริมสร้างและพัฒนาสังคมให้สอดคล้องกับภาวะการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมือง

ปัจจุบันนี้สังคมไทยมีความเจริญก้าวหน้ากว่าสมัยก่อน เนืองจากความเจริญทางด้านเทคโนโลยีและประชาชนได้รับการศึกษาที่สูงขึ้นเช่น สังคมเมืองที่มีการพัฒนาประชาชนจะได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง ซึ่งแตกต่างกับสังคมชนบทที่ยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร ประชาชนก็ย่อมไม่ได้รัการศึกษาอย่างทั่งถึง

ดังนั้น ประเด็นปัญหา คือ

1. วงการศึกษาไทยจะทำอย่างไร จึงจะทำให้การศึกษาในทุกภาคส่วนมีคุณภาพที่เท่ากันทั่วประเทศ

2. ท่านคิดว่าเราควรจะมีแนวทางใดบ้างที่จะส่งเสริมให้ประชาชนในชนบท ได้รับโอกาสทางการศึกษามากยิ่งขึ้น

3. ภาครัฐหรือส่วนที่เกี่ยวข้องควรพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาของครูในชนบทอย่างไร การศึกษาในชนบทมีประสิทธิภาพมากที่สุด

ตามทัศนคติของข้าพเจ้า...ภาครัฐหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาไม่ได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาในชนบทเท่าที่ควร มีเพียงแค่นโยบายที่ดี แต่ไม่เคยนำไปปฏิบัติจริงจัง

ดังนั้น ประเด็นปัญหาทั้ง 3 ข้อ ท่านจะคิดเห็นและให้คำตอบอย่างไร

ปล. ในฐานะคนชนบท (บ้านนอก) ที่จบการศึกษามาจากโรงเรียนในชนบท (บ้านนอก) ต้องการเห็นการศึกษาในชนบทที่มีความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ

ครั้งที่ ๒

จากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มีหลักการที่ว่า การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข (มาตรา ๖) และในมาตรา ๙ ที่กล่าวถึง การจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษา นั้น มีหลักข้อหนึ่งกล่าวถึง การกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

จากแนวคิดหลักในพระราชบัญญัติที่อ้างมาข้างต้น จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้ และอธิบายว่าท่านมีความคิดเห็นอย่างไร เห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร “ความสำเร็จของการพัฒนาประเทศไม่ใช่อยู่ที่อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเท่านั้น แต่อยู่ที่กุญแจสำคัญอีกสิ่งหนึ่ง นั่นคือ การศึกษา ดังนั้นหากจะมุ่งหวังให้นโยบายการกระจายรายได้เป็นไปอย่างได้ผล จำเป็นจะต้องมีการกระจายบริการทางการศึกษาและโอกาสในการศึกษาของประชาชนอย่างทั่วถึงด้วย”

 "นักเรียน นักศึกษา ฆ่าตัวตาย"  ปัญหาใหญ่วงการศึกษาไทย????

เดี่ยวนี้ทำไม? ปัญหาการศึกษาของนักเรียนนักศึกษาจึงฆ่าตัวตาย ด้วยพ่อแม่หรือที่ต้องการให้ลูกเรียนในสิ่งที่ผู้ปกครองต้องการ

นักเรียนยุคนี้ไม่มีความอดทน ไม่รู้จักหน้าที่ของตนเองหรือเป็นด้วยเพราะกระทรวงศึกษาธิการพัฒนาหรือถอยหลังเรื่องการศึกษา จำนวนนักเรียนนักศึกษาที่ต้องแข่งขันกันเองในการเรียน แข่งขันกันในทุกสิ่งทุกอย่างตามกระแสความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี  การฆ่าตัวตายของกลุ่มนักเรียน นักศึกษา ยากที่จะวิเคราะห์ว่าเกิดจากสาเหตุใด การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม สังคม ปัญหาสังคม ทำไมนักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์จึงไม่สามารถช่วยเหลือ/ขัดเกลา/ แนะนำการเรียน การใช้ชีวิตในวัยเรียนกันอย่างไร ทำไมไม่มีใครเข้าถึงปัญหาของนักเรียน นักศึกษา/  ผู้ปกครองเองก็เลี้ยงด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก/ ไม่มีเวลาดูแลลูก ให้อยู่กับกล่องสี่เหลี่ยม อยู่กับจอแบน ๆ อยู่กับเกมส์ที่ไม่สร้างสรรค์ พัฒนาเด็กได้ ไม่รู้จักการต่อสู้กับโลกภายนอกที่สังคมมีแต่ความวุ่นวายและสับสน ผู้บริหารต่างก็มีวุฒิที่ภาวะที่ก้าวร้าว แสดงตัวตนออกมาให้เห็นถึงการบริหารประเทศ ไม่นึกถึงความรู้สึกซึ่งเยาวชนในวัยเรียนทั้งหลายต่างมีทัศนคติ ความเข้มแข็งทางจิตใจไม่มี เจอปัญหาอุปสรรคแก้ไม่เป็น  การสร้างความเข้มแข็งให้เด็กไม่มี  ความสามารถในการปรับตัวของนักเรียน นักศึกษาเมื่อเข้าสู่สังคมในรั้วโรงเรียน มหาวิทยาลัย มีการปรับตัวได้มากน้อยแค่ไหนสิ่งที่น่าเป็นห่วงคือในปัจจุบันคนมีปัญหาทางจิตเพิ่มมากขึ้นซึ่งเป็นปรากฎการณ์ของสังคมในเมืองที่เจริญ  เมืองเจริญด้วยวัตถุทำให้สภาพจิตใจแข็งกระด้าง

ระบบการดูแลเด็กนักเรียน นักศึกษาเป็นหน้าที่ของสถาบันการศึกษาทุกระดับชั้น ยอมรับว่าดีแต่จะดูได้ขนาดไหน สภาพจิตใจของนักเรียน นักศึกษา ยากที่จะตรวจสอบ เพราะเรื่องเหล่านี้เป็นสิทธิส่วนบุคคลยากที่ใครจะรู้ได้

มุมมองของนักการศึกษา ท่านมีมุมมองอย่างไรถึงปัญหาการฆ่าตัวตายของนักเรียน นักศึกษาที่นับวันจะมีมากขึ้น ระบบการศึกษาของบ้านเราเป็นอย่างไร ทำไมไม่หันมามองกันบ้าง ด้วยเพราะการศึกษามีการแข่งขันกันสูง แข่งขันกันระดับชาติ ระดับโลกทีเดียว  มีการแข่งขันเน้นไปในทางธุรกิจ การต่อสู้เอาชนะกันสูง ทำให้เด็กเครียดไปโดยธรรมชาติ อีกทั้งภาระหน้าที่ของคนในสังคม ผลกระทบเหล่านี้ทำให้ต้องหันมามองในระบบการศึกษาที่ไม่ได้ให้ความสำคัญในการดูแลเด็กในด้านความรู้สึกทางจิตใจเท่าที่ควร เพราะการศึกษาเน้นให้คนแข่งขันกันตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงระดับอุดมศึกษาที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน

ดังนั้นการศึกษาในปัจจุบันเป็นระบบสอบมากกว่าการอบรมให้ความรู่ และในปัจจุบันมีการแข่งขันกันมากทำให้เด็กและครูมาเน้นที่คะแนนกันมาก เด็กได้คะแนนไม่ดีก็จะกดดัน ดังนั้น ต้องกลับมามองใหม่ว่าการศึกษาต้องการอะไรกันแน่ การศึกษาควรเน้นให้เด็กรู้จักตัวเอง สามารถพัฒนาศักยภาพตามความถนัดและความสนใจของแต่ละบุคคล  ไม่ใช้เป็นความถนัดตามความต้องการของผู้ปกครอง ของครู อาจารย์ 

การฆ่าตัวตายของนักเรียน นักศึกษานอกจะเป็นความสูญเสียของครอบครัวแล้ว ยังมีผลต่อประเทศชาติที่จะขาดทรัพยากรบุคคลสำคัญ และยังสูญเสียงบประมาณที่รัฐได้ลงทุนเพื่อการจัดการศึกษาเป็นอย่างมาก 

          ดังนั้น  คำถาม ปัญหาการฆ่าตัวตายของเด็กไทยจึงไม่ใช้สิ่งที่ควรมองข้าม  ในฐานะผู้บริหารสถานศึกษาที่ต้องบริหารสถานศึกษาเพื่อความเป็นเลิศท่านมองปัญหานี้และแก้ได้อย่างไร???????

นางสาวสกุลรัตน์ โรจนพรพิรักษ์

การจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542  เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบรูณ์ทั้งร่างกาย  จิตใจ  สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต    

ในกระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพเคารพกฎหมาย  ความเสมอภาค    มีความริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่รู้และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง  สถานศึกษาจะมีหน้าที่จัดทำสาระของหลักสูตร  หลักสูตรการศึกษาในระดับต่างๆ ต้องมีลักษณะที่หลากหลาย จัดให้เหมาะสมในแต่ละระดับ มุ่งเน้นพัฒนาคุณภาพชีวิตของทุกคน ครูต้องจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรยน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ครูต้องจัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกปฏิบัติให้เป็นคนคิดเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้ใฝ่เรียน มีคุณธรรม ปลูกฝังค่านิยมอันดีงาม จัดบรรยากาศการเรียนรู้ มีสื่อการเรียน

นักเรียนตามระบบการศึกษาไทยตาม .. นี้ จะต้องมีการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี นักเรียนสามารถศึกษาได้ทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและศักยภาพ ขณะที่อยู่ในระบบการศึกษานักเรียนจะต้องเรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเองและความสัมพันธ์ระหว่างตนกับสังคม เมื่อสำเร็จการศึกษานักเรียนจะต้องมีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรมจริยธรรม สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

 

 

การบริหารสถาบันเพื่อความเป็นเลิศ

การบริหารโรงเรียนที่มีประสิทธิภาพนั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายประการทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร ดังนั้นผู้บริหารโรงเรียนเป็นบุคคลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งของโรงเรียนในการเป็นแบบอย่างที่ดีที่จะนำโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพสู่ความสำเร็จ ต้องมีคุณลักษณะของผู้นำที่สำคัญ ได้แก่ มีความซื่อสัตย์ มีความยุติธรรม มีความ

มุ่งมั่น ขยัน อดทน มีความรับผิดชอบสูง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีภาวะผู้นำสูง เป็นคนกล้าคิด กล้าเปลี่ยนแปลง กล้าตัดสินใจ มีคุณธรรมจริยธรรม มีวุฒิภาวะทางอารมณ์สูง เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้และมีความจริงใจ

การบริหารเชิงคุณภาพ กับการประกันคุณภาพการศึกษา

คุณภาพผู้เรียนมุ่งน้นสู่ความเป็นสากล โดยใช้การบริหารที่เน้นแบบการมีส่วนร่วม

การบริหารโดยยึดประชาธิปไตย การสร้างทีมงาน หลัก 5 ส. เทคนิคการวิเคราะห์แบบ SWOT. การบริหารแบบ TQM. การบริหารระบบคุณภาพ ISO 9002 จนสามารถบริหารโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วิเคราะห์ถึงจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และข้อจำกัดหรือภัยคุกคาม (SWOT Analysis) ซึ่งจะวิเคราะห์จุดแข็งและโอกาส ซึ่งเป็นเชิงบวก และวิเคราะห์จุดอ่อนและข้อจำกัด ซึ่งเป็นเชิงลบ ดังนี้

1. จุดแข็ง (Strength) และโอกาส (Opportunity) ได้แก่ แผนฯ 8 และ 9

ต่างยึดพื้นที่ หน้าที่ และการมีส่วนร่วม (Area-Function-Participation Approach : AFP) มาเป็นหลักในการนำแผนพัฒนาประเทศไปดำเนินการในระดับปฏิบัติ ดังนั้น การกระจายอำนาจทางการศึกษา โดยยึดที่....

1.1 พื้นที่ จึงมีทั้งในมิติของเขตการศึกษา โรงเรียน (School Based)

และชุมชน (Community Based)

1.2 หน้าที่ ที่จะต้องปรับบทบาทของภาครัฐ จากผู้สั่งการ (Instructor)

มาเป็นผู้ประสานงาน (Coordinator) และเอื้ออำนวยความสะดวก (Facilitator) ให้เกิดกลไกและเครือข่ายความร่วมมือกันในการจัดการศึกษา

1.3 การมีส่วนร่วมเป็นหลัก ในการจัดการศึกษา ดังนั้นจะต้องกระจาย

หรือมอบอำนาจในการจัดการศึกษา ไปให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของ

การจัดการศึกษา ตั้งแต่ขั้นของการวางแผน กำหนดหลักสูตร ร่วมกันสร้างโรงเรียนและชุมชนให้กลายเป็นองค์กรชุมชนแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน (Learning Society) จนถึงขั้นของการติดตามประเมินผลคุณภาพของการจัดการศึกษา บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2540 พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอน การกระจายอำนาจไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 และ พ.ร.บ.การศึกษาฯ พ.ศ.2542 ล้วนสร้างกลไกใน

การกระจายอำนาจทางการศึกษา รวมทั้งกลไกการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้อง ให้

เอื้ออำนวยต่อการกระจายอำนาจทางการศึกษาไปให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน และประชาชนในที่สุด

1.4 ความก้าวหน้าของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ นอกจากจะช่วย

สนับสนุนให้เกิดโอกาสในการเรียนรู้เรื่องการกระจายอำนาจทางการศึกษาร่วมกันในระหว่างชุมชนต่าง ๆ รวมทั้งกันร่วมมือกันเป็นเครือข่ายแล้ว ยังจะช่วยสร้างกระแสความตื่นตัวในการเข้ามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้แพร่กระจายออกไปอีกด้วย

2. จุดอ่อน (Weakness) และอุปสรรคหรือข้อจำกัด (Threat) ได้แก่

2.1 งบประมาณสนับสนุนของรัฐมีจำกัด รวมทั้งข้อจำกัดทางด้าน

ทรัพยากรและงบประมาณในพื้นที่ ตามผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจ จะเป็นอุปสรรคต่อการสนับสนุน ทั้งจากภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ธุรกิจเอกชน หรือแม้แต่จากชุมชนเอง

2.2 การขาดความจริงใจและเข้าใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในระดับนโยบาย

โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักการเมืองท้องถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่มิใช่นักการศึกษา และในระดับปฏิบัติการ เช่น ครู หรือแม้แต่ประชาชนในชุมชนนั้น ทำให้ไม่สามารถเข้ามีส่วนร่วมได้ตามบทบาทที่ได้รับอย่างเหมาะสม

2.3 ระบบและโครงสร้างการบริหารจัดการ ยังปรับตัวไม่ทัน ตั้งแต่ใน

ระดับส่วนกลางที่ยังต้องการปฏิรูประบบต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบราชการ และความชัดเจนในขอบเขตของการกระจายอำนาจ

2.4 มีกลไกความร่วมมือน้อยในลักษณะของพหุภาคี เพื่อให้เกิดการมี

ส่วนร่วมในการกระจายอำนาจทางการศึกษา ให้ตรงกับเจตนารมณ์ของการปฏิรูป

การศึกษาอย่างแท้จริง ในทุกระดับตั้งแต่ในระดับชาติ ระดับอุดมศึกษาการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ที่ยังเน้นการท่องจำมาสอบ ทำให้ยังไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์

การปฏิรูปการศึกษา ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับท้องถิ่น และระดับชุมชน จะต้องผสมผสานความทันสมัยให้เข้ากับท้องถิ่น

คำถาม.....เพราะมีเหตุใดหรือปัจจัยอะไร ที่การจัดการศึกษาไทยยังพัฒนาไปได้ไม่ถึงเท่าที่ควรจะเป็น.....ขอให้นักบริหารการศึกษา นักการศึกษา และผู้เกี่ยวข้อง ช่วยกันคิดด้วย.....

นายวัฒนพงค์ ขันทองดี

สรุปบทเรียนวันที่ 17 มิถุนายน 2551

การทำงานใดๆให้ประสบผลสำเร็จได้นั้น จำเป็นต้องมีความรู้ด้านทฤษฎีเพราะทฤษฎีเหล่านั้นจะเป็นตัวกำหนดกรอบ สำหรับผู้ปฏิบัติและเป็นตัวกำหนดความรู้เพื่อช่วยให้การติดสินใจกระทำไปอย่างมีเหตุผลและสามารถปฏิบัติได้จริง การจะเป็นนักบริหารการศึกษานั้นเราต้องหมั่นศึกษาค้นคว้าใน หลักการ/แนวคิด/ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประยุกต์แล้วปรับใช้ในหน่วยงานหรือองค์กร

แม้ว่าจะมีนักทฤษฎีการบริหารอยู่มากมายหลายท่าน โดยแต่ละบุคคลก็มีลักษณะเฉพาะตัวอาจมีความเกี่ยวข้องหรือเชื่อมโยงกัน นักบริหารนั้นย่อมมีบทบาทหน้าที่ที่สำคัญในการขับเคลื่อนหน่วยงานหรือองค์กรให้ประสบผลสำเร็จในระดับที่แตกต่างกันด้วยปัจจัยดังนี้

1. สิ่งแวดล้อม

2. วัฒนธรรมองค์กร

3. เศรษฐกิจ

4. การเมืองการปกครอง

5. ความสามารถของผู้บริหาร

ลักษณะเด่นของการบริหารคือ

1. การบริหารต้องมีวัตถุประสงค์หรือป้าหมาย

2. ต้องอาศัยความร่วมมือของคนในองค์กรเพื่อให้งานบรรลุวัตถุประสงค์

3. เป็นการดำเนินงานอย่างมีเหตุผล

4. เป็นกระบวนการของคนในสังคม

5. มีการประเมินและตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน

ดังนั้นผู้บริหารเพียงคนเดียวไม่สามารถทำงานให้บรรลุเป้าหมายได้จำเป็นต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างที่กล่าวมา แม้มีทฤษฏีอยู่จนล้น ไม่มีเหตุผล ไม่มีระบบ ขาดซึ่งวัฒนธรรมองค์กร

ขาดการยอมรับ ไม่มีประสบการณ์ งานที่ทำไม่เดิน

ประเด็นคำถาม

1. การบริหารไม่มีตัวตนแต่มีอิทธิพลต่อองค์กรอย่างไร?

2. ทฤษฎีและการปฏิบัตินั้นมีความสัมพันธ์กันเพราะเหตุใด?

3. นักบริหารที่ดีควรมีวิสัยทัศน์อย่างไร

แม่ชีฉวีวรรณ อ่ออน้อม

ส่งครั้งที่ 3 เรียนวันที่ 17 มิถุนายน 2551

ได้ศึกษาเกี่ยวกับแนวคิดการบริหารสถานศึกษาซึ่งก็มีนักการศึกษาหลายท่านซึ่งแต่ละแนวคิดก็มีความน่าสนใจมาก เป็นประโยชน์ และสามารถนำมาปรับประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

**ปัญหา**  ทำไมการศึกษาไทยมีการพัฒนาไม่ต่อเนื่อง?

การศึกษาไทยมีการพัฒนาอย่างล่าช้ามาก  ไม่มีการต่อเนื่องกัน มีการเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการของการเมือง  เมื่อมีการเลือกตั้งใหม่ก็จะเกิดนโยบายใหไม่ๆเกิดขึ้น  เอาจนว่าครู ผู้บริหารสถานศึกษาปรับตัวกันแทบไม่ทัน

เราน่าจะมีแนวทางการพัฒนาการศึกษาอย่างแน่นอนเกิดความต่อเนื่องในการพัฒนา 

ส่วนงบการบริหารในด้านการศึกษาในประเทศไทยยังไม่เพียงพอ (น้อยมากๆ) เราน่าจะเอาจริงเอาจังในการพัฒนาด้านการศึกษาให้มีคุณภาพมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

บทสรุปของนักการศึกษา ทั้ง ๗ คนที่ได้รับการแนะนำจาก ดร.กีรติ ยศยิ่งยง เมื่อวันอังคารที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๑ เราจะทำให้การปฏิรูปการศึกษาและการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศให้เป็นจริงขึ้นมาได้อย่างไร การปฏิรูปการศึกษาในความหมายกว้าง หมายถึงกระบวนการค้นคว้าวิจัย เรียนรู้ เผยแพร่ และเปลี่ยนแปลงของสังคมทั้งสังคมที่ทำให้นักเรียน เด็ก เยาวชนที่อยู่นอกระบบโรงเรียน และประชาชนทุกคนมีโอกาสได้เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ วิพากษ์วิจารณ์ มีประสิทธิภาพและมีจิตสำนึกเข้าใจความจำเป็นที่จะต้องปฏิรูปสังคมทั้งหมดเพื่อประโยชน์ของสังคมส่วนรวมในระยะยาว นักปฏิรูปอาจจะเป็นผู้บริหารสถานศึกษาในฝันเพื่อสังคมที่ดีกว่า แต่เขาไม่ได้เสนอที่เป็นอุดมคติเพ้อฝันชนิดให้คนต้องมาเห็นแก่ส่วนรวม และละเลยประโยชน์ส่วนตัวโดยสิ้นเชิง ผู้บริหาสถานศึกษา คือผู้มีจิตสำนึกว่าการปฏิรูปนั้นแท้จริงก็คือ การทำเพื่อประโยชน์ของตัวเราเองและลูกหลานของเราในระยะยาวนั่นเอง หากประชาชนไทยจำนวนมากเข้าใจการปฏิรูปการศึกษาในความหมายกว้างนี้ และช่วยกันลงมีปฏิรูปการคิด การเรียนรู้ การทำงาน และการใช้ชีวิตของตัวเอง และร่วมมือกันผลักดันปฏิรูปการศึกษาและปฏิรูปสังคมอย่างมุ่งมั่น ก็จะเป็นหนทางที่สำคัญที่จะปลดปล่อย ประชาชนไทยออกจากวงจรชั่วร้าย ไปสู่การแก้ปัญหาวิกฤติและพัฒนาสังคมได้อย่างยั่งยืนถาวรต่อไป

คำถาม ๑. เราจะทำให้การปฏิรูปการศึกษาและการบริหารสถานศึกษาเป็นจริงขึ้นมาได้อย่างไร ???

๒. การปฏิรูปการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศนั้น ควรปฏิรูปอย่างไรจึงไปสู่ความเป็นเลิศ?

การบริหารสถาบันเพื่อความเป็นเลิศ

การบริหารโรงเรียนที่มีประสิทธิภาพนั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายประการทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร ดังนั้นผู้บริหารโรงเรียนเป็นบุคคลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งของโรงเรียนในการเป็นแบบอย่างที่ดีที่จะนำโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพสู่ความสำเร็จ ต้องมีคุณลักษณะของผู้นำที่สำคัญ ได้แก่ มีความซื่อสัตย์ มีความยุติธรรม มีความ

มุ่งมั่น ขยัน อดทน มีความรับผิดชอบสูง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีภาวะผู้นำสูง เป็นคนกล้าคิด กล้าเปลี่ยนแปลง กล้าตัดสินใจ มีคุณธรรมจริยธรรม มีวุฒิภาวะทางอารมณ์สูง เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้และมีความจริงใจ

การบริหารเชิงคุณภาพ กับการประกันคุณภาพการศึกษา

คุณภาพผู้เรียนมุ่งน้นสู่ความเป็นสากล โดยใช้การบริหารที่เน้นแบบการมีส่วนร่วม

การบริหารโดยยึดประชาธิปไตย การสร้างทีมงาน หลัก 5 ส. เทคนิคการวิเคราะห์แบบ SWOT. การบริหารแบบ TQM. การบริหารระบบคุณภาพ ISO 9002 จนสามารถบริหารโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วิเคราะห์ถึงจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และข้อจำกัดหรือภัยคุกคาม (SWOT Analysis) ซึ่งจะวิเคราะห์จุดแข็งและโอกาส ซึ่งเป็นเชิงบวก และวิเคราะห์จุดอ่อนและข้อจำกัด ซึ่งเป็นเชิงลบ ดังนี้

1. จุดแข็ง (Strength) และโอกาส (Opportunity) ได้แก่ แผนฯ 8 และ 9

ต่างยึดพื้นที่ หน้าที่ และการมีส่วนร่วม (Area-Function-Participation Approach : AFP) มาเป็นหลักในการนำแผนพัฒนาประเทศไปดำเนินการในระดับปฏิบัติ ดังนั้น การกระจายอำนาจทางการศึกษา โดยยึดที่....

1.1 พื้นที่ จึงมีทั้งในมิติของเขตการศึกษา โรงเรียน (School Based)

และชุมชน (Community Based)

1.2 หน้าที่ ที่จะต้องปรับบทบาทของภาครัฐ จากผู้สั่งการ (Instructor)

มาเป็นผู้ประสานงาน (Coordinator) และเอื้ออำนวยความสะดวก (Facilitator) ให้เกิดกลไกและเครือข่ายความร่วมมือกันในการจัดการศึกษา

1.3 การมีส่วนร่วมเป็นหลัก ในการจัดการศึกษา ดังนั้นจะต้องกระจาย

หรือมอบอำนาจในการจัดการศึกษา ไปให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของ

การจัดการศึกษา ตั้งแต่ขั้นของการวางแผน กำหนดหลักสูตร ร่วมกันสร้างโรงเรียนและชุมชนให้กลายเป็นองค์กรชุมชนแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน (Learning Society) จนถึงขั้นของการติดตามประเมินผลคุณภาพของการจัดการศึกษา บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2540 พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอน การกระจายอำนาจไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 และ พ.ร.บ.การศึกษาฯ พ.ศ.2542 ล้วนสร้างกลไกใน

การกระจายอำนาจทางการศึกษา รวมทั้งกลไกการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้อง ให้

เอื้ออำนวยต่อการกระจายอำนาจทางการศึกษาไปให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน และประชาชนในที่สุด

1.4 ความก้าวหน้าของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ นอกจากจะช่วย

สนับสนุนให้เกิดโอกาสในการเรียนรู้เรื่องการกระจายอำนาจทางการศึกษาร่วมกันในระหว่างชุมชนต่าง ๆ รวมทั้งกันร่วมมือกันเป็นเครือข่ายแล้ว ยังจะช่วยสร้างกระแสความตื่นตัวในการเข้ามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้แพร่กระจายออกไปอีกด้วย

2. จุดอ่อน (Weakness) และอุปสรรคหรือข้อจำกัด (Threat) ได้แก่

2.1 งบประมาณสนับสนุนของรัฐมีจำกัด รวมทั้งข้อจำกัดทางด้าน

ทรัพยากรและงบประมาณในพื้นที่ ตามผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจ จะเป็นอุปสรรคต่อการสนับสนุน ทั้งจากภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ธุรกิจเอกชน หรือแม้แต่จากชุมชนเอง

2.2 การขาดความจริงใจและเข้าใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในระดับนโยบาย

โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักการเมืองท้องถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่มิใช่นักการศึกษา และในระดับปฏิบัติการ เช่น ครู หรือแม้แต่ประชาชนในชุมชนนั้น ทำให้ไม่สามารถเข้ามีส่วนร่วมได้ตามบทบาทที่ได้รับอย่างเหมาะสม

2.3 ระบบและโครงสร้างการบริหารจัดการ ยังปรับตัวไม่ทัน ตั้งแต่ใน

ระดับส่วนกลางที่ยังต้องการปฏิรูประบบต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบราชการ และความชัดเจนในขอบเขตของการกระจายอำนาจ

2.4 มีกลไกความร่วมมือน้อยในลักษณะของพหุภาคี เพื่อให้เกิดการมี

ส่วนร่วมในการกระจายอำนาจทางการศึกษา ให้ตรงกับเจตนารมณ์ของการปฏิรูป

การศึกษาอย่างแท้จริง ในทุกระดับตั้งแต่ในระดับชาติ ระดับอุดมศึกษาการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ที่ยังเน้นการท่องจำมาสอบ ทำให้ยังไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์

การปฏิรูปการศึกษา ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับท้องถิ่น และระดับชุมชน จะต้องผสมผสานความทันสมัยให้เข้ากับท้องถิ่น

ครั้งที่ 3

ชั่วโมงนี้ อาจารย์ ดร.กีรติ ยศยิ่งยง ได้แนะแนวทางการค้นหารายการงานเพิ่มเติม เนื่องจากนักศึกษาค้นหางานที่อาจารย์ให้มาแล้ว หาไม่พบ และบางรายก็ค้นพบแล้วแต่การนำเสนอไม่ถูกต้อง ได้แก่ ของข้าพเจ้า ไปหาเป็นแนวปรัชญา ซึ่งอาจารย์ต้องการหาแนวของการบริหารการศึกษา ว่าเขามีแนวคิดอย่างไร มีข้อดี ข้อเสียอย่างไร และนักการศึกษาต่าง ๆ ได้นำหลักคิดของเขามาใช้หรือมาพัฒนาต่อยอดให้มากขึ้นเป็นอย่างไรบ้าง จึงจะทำให้แนวทางการศึกษาเจริญงอกงาม นอกจากนั้น อาจารย์ยังได้พูดถึงการบริหารว่ามี 3 อย่าง คือ การบริหารธุรกิจ การบริหารการศึกษา และการบริหารองค์การ ซึ่งจะมีความหมายแตกต่างกันไปตามจุดประสงค์ของข้อความด้านหลัง แต่ทุกอย่างก็จะหมายถึง การบริหารเหมือน ๆ กัน

คำถาม เหตุใดนักเรียนด้านการจัดการศึกษาจึงจำเป็นต้องศึกษาแนวคิดของนักการศึกษาที่มีชื่อเสียงในอดีต

สกุลรัตน์ โรจนพรพิรักษ์

เป็นการบันทึกการเรียน ประจำวันที่ 17 มิถุนายน 2551

ในชั่วโมง เป็นการเตรียมการรายงานรูปแบบการนักการศึกษา ได้แนะนำการวิเคราะห์รายงานของนักศึกษาแต่แต่ละบุคคล  อาจารย์ต้องการให้นักศึกษาวิเคราะห์นักศึกษาที่ได้มอบหมายให้ ว่ามีการจัดรูปแบบการบริหารสถานศึกษาให้มีความเป็นเลิศ เพื่อให้จัดการที่ดี  การบริหารสามารถแบ่งได้ 3 ประเภท คือ 1 การบริหารธุรกิจเป็นการบริหารที่มุ่งกำไร   2.การบริหารสถานศึกษาเป็นการบริหารที่ผลที่ได้ไม่สามารถเป็นในรูปของกำไรได้  3. การบริหารโครงการเป็นกำหนดภาระกิจงานขึ้นมาเฉพาะ และทำการบริหาร จัดบริหาร โดยมีระยะเวลาช่วงสั้น มีการประเมินผลสำเร็จของโครงการนั้น

การบริหารสถานศึกษาเป็นเลิศ นั้นมีความเกี่ยวงข้องนักศึกษาอย่างไร

นายบุญเลิศ ระงับทุกข์

ต่อภาค 2 กันครับ

    สำหรับผู้บริหารในฝันของเราได้กล่าวกันไปบ้างแล้วว่าถ้าหากเราจะเป็นผู้บริหารเราจะต้องประสบกับปัญหาอยู่เสมอๆ แล้วเราจะมีวิธีการอย่างไรในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ก็คงต้องบอกว่าผู้บริหารจะต้องพยายามวิเคราะห์สถานการณ์ให้ดีที่สุด เพราะสถานการณ์จะเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจ นอกจากนั้นยังต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและความต้องการของบุคคลเป็นหลักมากกว่าที่จะแสวงหาวิธีการอันดีเลิศมาใช้ในการทำงาน และจะต้องใช้ปัจจัยทางด้านจิตวิทยาในการบริหารด้วย นอกเหนือจากที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นผู้บริหารจะต้องรู้จักใช้การพิจารณาถึงความแตกต่างที่มีอยู่ในหน่วยงานด้วย เช่น ความแตกต่างของบุคคล ความแตกต่างระหว่างระเบียบกฏเกณฑ์ วิธีการ กระบวนการ การควบคุมงาน ความสัมพันธ์ในองค์กร เป้าหมายการดำเนินงานขององค์กร และนี่เป็นเพียงรายละเอียดย่อยของการเป็นผู้บริหารที่ดีเท่านั้นนะครับ  อนาคตผมก็ฝันไว้อย่างนี้เหมือนกัน                                      ป.ล. แล้วท่านผู้อ่านหละครับอยากจะเป็นผู้บริหารแบบใด เพราะเหตุใด  ช่วยตอบด้วยนะครับ

นายวัฒนพงค์ ขันทองดี

สรุปบทเรียนวันที่ 24 มิ.ย 2551

หลักในการบริหารนั้นมีลักษณะที่ไม่ได้แตกต่างกันมากนัก แม้ว่าองค์กรแต่ละหน่วยงานจะมีบริบทที่แตกต่างกันโดยมีการจัดแผนในการบริหารดังนี้

ทรัพยากรในการบริหาร เช่น คน เงิน วัสดุอุปกรณ์ วิธีการ การจัดการ

การบริหารที่มีประสิทธิภาพ/ประสิทธิผล

ดังนั้นการบริหารที่ดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลนั้นแม้จะเป็นเรื่องเดียวกันแต่ก็ยังมีบริบทที่ต่างกันคือ

1. ในการบริหารจัดการที่ดีนั้นมีใช่จะมีประสิทธิผลหรือประสิทธิภาพเพียงอย่างเดียว หรือทั้งสองอย่างในขณะเดียวกัน

2. ในการบริหารจัดการอาจมีประสิทธิผลแต่ไม่มีคุณภาพและใช้ทรัพยากรที่ไม่คุ้มค่า ลงทุนสูงไม่มีประสิทธิภาพ

3. ในการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพเพียงอย่างเดียว แต่ปริมาณไม่ได้ ใช้ทรัพยากรมาก

4. ในการบริหารจัดการนั้นจึงต้องมีการคิดวิเคราะห์ทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลจึงจะทำให้องค์กรประสบผลสำเร็จ

5. องค์ที่ประสบผลสำเร็จได้ต้องมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลก็คือ

- ใช้ทรัพยากรน้อย + สินค้าหรืองานมีคุณภาพ+ ปริมาณได้มาก+บรรลุเป้าหมาย

(ประสิทธิผล/ประสิทธิภาพ)

- ใช้ทรัพยากรน้อย + สินค้าหรืองานไม่มีคุณภาพ+ ปริมาณได้มาก+บรรลุเป้าหมาย (ประสิทธิผล)

- ใช้ทรัพยากรมาก + สินค้าหรืองานไม่มีคุณภาพ+ ปริมาณได้น้อย+ไม่บรรลุเป้าหมาย

(ไม่มีประสิทธิผล/ไม่มีประสิทธิภาพ)

ประเด็นคำถาม

1. การประเมินการบริหารจัดการว่ามีประสิทธิภาพหรือประสิทธิผลนั้นควรยึดอะไร ?เป็นเกณฑ์

2. การบริหารจัดการที่มีประสิทธิผลในหน่วยงานอาจไม่มีประสิทธิภาพใช่หรือไม่เพราะเหตุผลใด?

3. การบริหารจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพนั้นจะส่งผลกระทบอย่างไร?

4. ในฐานะที่ท่านเป็นผู้บริหารท่านจะให้ข้อคิดอย่างไร?เกี่ยวกับการบริหารที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และจะนำไปประยุกต์ใช้อย่างไร?

ครั้งที่ 4

ความมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพขององค์กร

สถานศึกษาทุกสถานศึกษา หากต้องการจะประสบความสำเร็จ จะต้องมีส่วนประกอบดังนี้

1. สถานศึกษา

2. ประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของสถานศึกษา

3. ประสิทธิผลของการทำงาน

ในการเรียนการสอนครั้งนี้ ได้กล่าวถึงความแตกต่างของคำว่า ประสิทธิผลและประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถสรุปได้คือ

ประสิทธิผล คือ การปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่ตั้ง ไว้ (Effectiveness is to do right things)

ประสิทธิภาพ คือ การปฏิบัติงานหรือบริการที่ถูกต้อง รวดเร็ว ใช้เทคนิคที่สะดวกสบายกว่าเดิม คุ้มค่า และใช้ทรัพยากรน้อยที่สุดในขณะที่ต้องการผลงานมากที่สุด (Efficiency is to do thing right)

คำถาม

จงอธิบาย เหตุใด สถานศึกษาไทยจึงเน้นแต่ประสิทธิผล ไม่มีการกล่าวถึงประสิทธิภาพมากนัก

นายบุญเลิศ ระงับทุกข์

ต่อจากภาคที่แล้วนะครับ

    ในภาคนี้เรามาดูกันต่อว่า ผู้บริหารที่ดีนั้นจะมีวิธีการใดบริหารงานให้มีประสิทธิภาพ จากการแลกเปลี่ยนทัศนคติกับผู้บริหารหลายๆท่าน ผมก็สรุปได้ดังนี้

1. การบริหารที่มีผู้บริหารคนเดียวในองค์กร สามารถที่จะตัดสินใจได้รวดเร็ว

2. มีการกำหนดมาตรฐานการทำงานที่ชัดเจน

3. มีเอกภาพในการบังคับบัญชา

4. มีการกระจายอำนาจและความรับผิดชอบให้แก่ผู้ร่วมงานเฉพาะเจาะจงขึ้น

5. มีการแบ่งสายงานรับผิดชอบให้แก่บุคลากร

6. มีการมอบมอบหมายการควบคุมติดตามที่เหมาะสม

7. เปิดโอกาสให้มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆในองค์กร 

8. ทำให้คนในองค์กรเกิดความรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัย

9. ยอมรับนโยบายของบุคคลที่มีความสามารถ

10.มีการประเมินผลการปฏิบัติงานทั้งส่วนบุคคลและองค์กร

ก็ขอฝากไว้กับอนาคตท่านผู้บริหารรุ่นใหม่ด้วยนะครับ

ป.ล. แล้วท่านล่ะมีความคิดอย่างไรกับระบบการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพ ขอทราบความคิดเห็นบ้างครับ

หลักในการบริหารนั้นมีลักษณะที่ไม่ได้แตกต่างกันมากนัก แม้ว่าองค์กรแต่ละหน่วยงานจะมีบริบทที่แตกต่างกันโดยมีการจัดแผนในการบริหาร ดังนี้ ทรัพยากรในการบริหาร เช่น คน เงิน วัสดุอุปกรณ์ วิธีการ การจัดการ การบริหารที่มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ดังนั้นการบริหารที่ดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลนั้นแม้จะเป็นเรื่องเดียวกันแต่ก็ยังมีบริบทที่ต่างกันคือ ๑. ในการบริหารจัดการที่ดีนั้นมีใช่จะมีประสิทธิผลหรือประสิทธิภาพเพียงอย่างเดียว หรือทั้งสองอย่างในขณะเดียวกัน ๒. ในการบริหารจัดการอาจมีประสิทธิผลแต่ไม่มีคุณภาพและใช้ทรัพยากรที่ไม่คุ้มค่า ลงทุนสูงไม่มีประสิทธิภาพ ๓. ในการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพเพียงอย่างเดียว แต่ปริมาณไม่ได้ ใช้ทรัพยากรมาก ๔. ในการบริหารจัดการนั้นจึงต้องมีการคิดวิเคราะห์ทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลจึงจะทำให้องค์กรประสบผลสำเร็จ ๕. องค์ที่ประสบผลสำเร็จได้ต้องมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลก็คือ - ใช้ทรัพยากรน้อย + สินค้าหรืองานมีคุณภาพ+ ปริมาณได้มาก+บรรลุเป้าหมาย (ประสิทธิผล/ประสิทธิภาพ) - ใช้ทรัพยากรน้อย + สินค้าหรืองานไม่มีคุณภาพ+ ปริมาณได้มาก+บรรลุเป้าหมาย (ประสิทธิผล) - ใช้ทรัพยากรมาก + สินค้าหรืองานไม่มีคุณภาพ+ ปริมาณได้น้อย+ไม่บรรลุเป้าหมาย (ไม่มีประสิทธิผล/ไม่มีประสิทธิภาพ) ประเด็นคำถาม ๑. ในฐานะที่ท่านเป็นผู้บริหารท่านจะให้ข้อคิดอย่างไร?เกี่ยวกับการบริหารที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และจะนำไปประยุกต์ใช้อย่างไร? ๒. การบริหารจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพนั้นจะส่งผลกระทบอย่างไร? ๓. การบริหารจัดการที่มีประสิทธิผลในหน่วยงานอาจไม่มีประสิทธิภาพใช่หรือไม่เพราะเหตุผลใด? ๔. การประเมินการบริหารจัดการว่ามีประสิทธิภาพหรือประสิทธิผลนั้นควรยึดอะไร ?เป็นเกณฑ์

สกุลรัตน์ โรจนพรพิรักษ์

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4 ประจำวันที่ 24 มิถุนายน 2551

ในการเรียนในวันนี้ เป็นการรายงานนักการศึกษา ของนักศึกษาตามหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย เมื่อนักศึกษารายงานจบแล้ว ท่านอาจารย์ ดร กีรติ ได้บรรยายในเรื่องการจัดองค์สถาบันการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ จึงสรุปได้ดังนี้ องค์ประกอบของการบริหารเป็นเลิศในองค์กรมี ตัวองค์กร เป็นคุณสมบัติขององค์กรนั้นเราสามารถแบ่งได้หลายรูปแบบ เช่นลักษณะองค์กรโดยในด้านการบริการ ได้เป็น 1. องค์กรที่เป็นหน่วยงานของรัฐ เช่นกระทรวง ทบวง กรม 2. องค์กรที่เป็นหน่วยงานของเอกชน เช่น บริษัท ต่าง ๆ 3. องค์กรที่เป็นองค์กรอิสระเช่น NGO ประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการบริหารองค์กร เป็นการมุ่งดูการบริหารจัดการขององค์กรการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ เช่น money man material management เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ประสิทธิผล เป็นการมุ่งดูผลความสำเร็จของการบริหารองค์กร เพียงอย่างเดียว แต่ส่วน ประสิทธิภาพ นอกจากการมุ่งดูความสำเร็จของงานแล้วยังต้องความคุ้มค่ากับการใช้ทรัพยากร ต้องพิจารณาการใช้ ทรัพยากรต่ำที่สุด ได้ผลตอบแทนสูง มีอัตราสูญเสียน้อย มุ่งกำไรสูง องค์กรทีมีการบริหารเป็นเลิศนั้นต้องมีทั้งประสิทธิภาพสูง และประสิทธิผลสูง แต่ในบางครั้งการบริหารองค์กรนั้นยังไม่สามารถทำให้ได้ทั้งประสิทธิภาพสูง และประสิทธิผลสูง เริ่มแรกต้องมีการบริหารให้มีประสิทธิภาพสำเร็จก่อน คำถาม นำแนวพุทธศาสตร์มาช่วยในการบริหารเพื่อความเป็นเลิศ อย่างไรบ้าง

การบริหารสถาบันเพื่อความเป็นเลิศ

โลกในปัจจุบันมีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วส่งผลต่อการพัฒนา ระบบสื่อสารมวลชน ทำให้กระแสข้อสนเทศแผ่กระจายครอบคลุมพื้นที่ส่วนต่าง ๆ ของโลกอย่างรวดเร็วจนได้ชื่อว่าโลกไร้พรหมแดนผลของการเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดกระแสสำคัญๆที่เข้าสู่ความเป็นสากลรวมทั้งการจัดการศึกษา ขณะเดียวกันก็อาจก่อให้เกิดปัญหาต่างๆหลายประการ เช่น ความสับสนในข้อสนเทศ ข้อจำกัดด้านการใช้เทคโนโลยี รวมทั้งการรับกระแสวัฒนธรรมโดยขาดการกลั่นกรอง และการยั้งคิด
จนกระทั่งวัฒนธรรมดั้งเดิมที่ดีงาม เอกลักษณ์ไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่นไม่ได้รับการอนุรักษ์ไว้เท่าที่ควร ในขณะที่สังคมโลกต้องการด้านคุณภาพและมีคุณลักษณะที่
พึงประสงค์ต่างไปจากเดิม ดังนั้นระบบการศึกษาจึงเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพที่ยั่งยืนและสามารถรักษาเอกลักษณ์ไทยไว้ ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นผู้เรียนสาขาวิชาการการจัดการศึกษาได้คำนึงถึงสภาพปัญหาของสังคมที่เกิดขึ้น จึงได้นำเสนอแนวทางในการบริหารและจัดการศึกษาโรงเรียน 2 ด้านที่เป็นสิ่งสำคัญมาก
ในขณะนี้คือด้านการบริหารบุคคล บุคคลทั่วไป และที่เป็นบุคลากรในโรงเรียนซึ่งถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุด ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าบุคลากรในโรงเรียนมีความสำคัญต่อการบริหารฯเพราะบุคลากรฯเป็นผู้รับผิดชอบฯและดำเนินการเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆ ทั้ง วัสดุ อุปกรณ์ และการจัดการต่างๆ เพื่อการบริหารจัดการศึกษาในโรงเรียนให้ประสบกับความสำเร็จได้นั้นผู้บริหารฯต้องสร้างภาวะผู้นำและควรยึดหลักวิชาที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมาบูรณาการไปสู่การปฏิบัติที่เน้นการมีส่วนร่วมอย่างมุ่งมั่นและจริงจัง ดังนี้

1.      มีความซื่อสัตย์สุจริต ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดของการบริหาร เพราะจะ

ต้องทำเป็นแบบอย่างที่ดี เพื่อให้เกิดความศรัทธาและเป็นตัวอย่างที่ดีแก่บุคลากร
ผู้ใต้บังคับบัญชา ดังคำกล่าวที่ว่า แบบอย่างที่ดีย่อมอยู่เหนือคำสอนอื่นใด

2. มีความยุติธรรม การบริหารงานด้วยความเสมอภาค เป็นกลาง และยุติธรรมกับทุกคน ซึ่งทำให้ลดความขัดแย้งภายในโรงเรียนได้

            3. มีความมุ่งมั่น ขยัน อดทน และเป็นคนสู้งาน บุคลากรฯ จะเห็นการทำงานและจะนำไปเป็นแบบอย่าง โดยยึดหลักว่า สอนให้รู้ ทำให้ดู อยู่ให้เห็น(ท่านได้ทำในสิ่งเหล่านี้หรือยัง)

4. มีความรับผิดชอบสูงความรับผิดชอบเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งอีกประการหนึ่ง เพราะ ความรับผิดชอบทำให้งานประสบความสำเร็จ แม้ในบางครั้งงานที่สำคัญของโรงเรียนเกิดความผิดพลาด ในฐานะผู้บริหารฯ จำเป็นต้องยอมรับและรับผิดชอบโดยไม่โยนความผิดไปให้ผู้อื่น

5. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ นำแนวคิดและวิธีการใหม่ๆมาปฏิบัติในโรงเรียนบ้างเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงสร้างสรรค์ แสดงให้เห็นถึงการเป็นผู้นำแห่ง
การเปลี่ยนแปลง

6. มีภาวะผู้นำสูง ผู้บริหารต้องเป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงในโรงเรียนเชิงการพัฒนาที่ดีขึ้นใน 4 ด้าน กล่าวคือ ด้านบริหารงานบุคคล ด้านวิชาการ

ด้านงบประมาณ และด้านการบริหารงานทั่วไป

            7. กล้าที่จะคิด กล้าที่จะพูด กล้าที่จะนำ กล้าที่จะทำ กล้าที่จะตัดสินใจ และ

กล้าที่จะรับผิดชอบ ในฐานะผู้บริหารฯ

8. มีคุณธรรม และจริยธรรม ยึด พรหมวิหาร 4 เป็นธรรมะในการบริหารบุคลากร ได้แก่

- เมตตา ให้ความรัก ความปรารถนาดีแก่ทุกคนด้วยความเสมอภาค

ไม่ลำเอียง

 - กรุณา ให้ความช่วยเหลือแก่บุคลากรฯ ที่มีทุกข์ตามโอกาสและความ

เหมาะสมอย่างเท่าเทียมกันหรือกรณีมีปัญหาในหน้าที่การงานและปัญหาส่วนตัว

 - มุฑิตา ยินดีให้กำลังใจแก่บุคลากรทุกคนเมื่อประสบความสำเร็จใน

ชีวิต หรือในหน้าที่ การงานตามความเหมาะสม พิจารณาความดีความชอบที่ใช้หลักความดี/ เก่ง ส่งเสริม และสบับสนุนให้ทำผลงานเพื่อการพัฒนาวิชาชีพที่สูงขึ้น การจัดทำการ์ดอวยพรและของที่ระลึกมอบให้ ในวันคล้ายวันเกิด ฯลฯ

         - อุเบกขา ทำงานโดยปราศจากอคติ วางตัวเป็นกลาง ให้ความยุติธรรมแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่ลำเอียง ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ไม่แสดงความดีใจจนเกินควร หรือทับถมผู้อื่นเมื่อประสบเคราะห์กรรม

            9. มีวุฒิภาวะทางอารมณ์สูง สามารถเก็บความรู้สึกต่างๆ ได้ สุขุม รอบคอบ

นุ่มนวล มีความอดทนต่อความรู้สึกที่ไม่ถูกต้อง หรือการปฎิบัติที่ขัดต่อกฎระเบียบ และวัฒนธรรม

10. เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่บุคลากรใน
โรงเรียนและ ครอบครัว มีนิสัยรักการอ่าน การใช้เวลาว่างในวันหยุด โดยการวางแผนและบริหารเวลาให้คุ้มค่าที่สุดสำหรับการปฏิบัติงาน และการศึกษาเพื่อการพัฒนา
ตนเองเสมอ

11. มีความจริงใจ ยึดอุดมการณ์ในการทำงานให้ความเป็นกันเองแก่ผู้ร่วมงาน ทุกคนด้วยความเสมอภาค ด้านการบริหารงาน การบริหารงานในด้านต่างๆ ของ
โรงเรียน ได้แก่ ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ และด้านบริหารงานทั่วไป ควรใช้วิธีการบริหารรูปแบบใหม่
รูป
แบบที่ทุกคนมีส่วนร่วมร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมทำ และร่วมรับผิดชอบโดยพิจารณาจัดทำภารกิจให้ชัดเจน ครอบคลุมงานทั้งหมดและมี
การกำหนดกลุ่มงานที่มีความสอดคล้องกัน จัดโครงสร้างบริหารที่เป็นนิติบุคคล มี
การบริหารเป็นระบบ มีสายบังคับบัญชา และการประสานคน /งาน เพื่อให้เกิดความคล่องตัว มีการกำหนดขอบเขต อำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบ ในทุกระดับของตำแหน่ง ตามความรู้ความสามารถและประสบการณ์ ทุกขั้นตอน ไว้อย่างชัดเจนและโปร่งใส ตรวจสอบได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องฝึกการสร้างจิตสำนึกในเรื่องของความรักและภักดี ความหวงแหน และความเป็นเจ้าของร่วมกัน (Sense of Belonging)

ดั่งที่กระแสพระราชดำรัสที่พระราชทานแก่ ข้าราชการทุกหมู่เหล่าได้นำมาเป็นข้อคิดสำหรับ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษานำหลักธรรมะมาใช้เป็น
แนวทางปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพได้แก่ ฉันทะ ความพึงพอใจ โดยให้บุคลากรทุกคนได้ทำงานอย่างที่ตนเองชอบ ปฏิบัติงานด้วยความวิริยะอุตสาหะมีความเพียรพยายามในการทำงาน ทำงานด้วยความคิดก่อนทำ การทำงานด้วยความไตร่ตรอง มีความรอบคอบ ถูกต้อง รวดเร็ว

การบริหารโรงเรียนที่มีประสิทธิภาพนั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายประการทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร ดังนั้นผู้บริหารโรงเรียนเป็นบุคคลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งของโรงเรียนในการเป็นแบบอย่างที่ดีที่จะนำโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพสู่ความสำเร็จ ต้องมีคุณลักษณะของผู้นำที่สำคัญ ได้แก่ มีความซื่อสัตย์ มีความยุติธรรม มีความ
มุ่งมั่น ขยัน อดทน มีความรับผิดชอบสูง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีภาวะผู้นำสูง เป็นคนกล้าคิด กล้าเปลี่ยนแปลง กล้าตัดสินใจ มีคุณธรรมจริยธรรม มีวุฒิภาวะทางอารมณ์สูง เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้และมีความจริงใจ

การบริหารสถาบันเพื่อความเป็นเลิศ

             การบริหารเชิงคุณภาพ กับการประกันคุณภาพการศึกษาคุณภาพผู้เรียนมุ่งน้นสู่

ความเป็นสากล โดยใช้การบริหารที่เน้นการมีส่วนร่วมการบริหารโดยยึดประชาธิปไตย การสร้างทีมงาน หลัก 5 . เทคนิคการวิเคราะห์แบบ SWOT. การบริหารแบบ TQM. การบริหารระบบคุณภาพ ISO 9002 จนสามารถบริหารโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ                                  วิเคราะห์ถึงจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และข้อจำกัดหรือภัยคุกคาม (SWOT Analysis) ซึ่งจะวิเคราะห์จุดแข็งและโอกาส ซึ่งเป็นเชิงบวก และวิเคราะห์จุดอ่อนและข้อจำกัด ซึ่งเป็นเชิงลบ  ดังนี้

1.       จุดแข็ง (Strength) และโอกาส (Opportunity) ได้แก่ แผนฯ 8 และ 9

ต่างยึดพื้นที่ หน้าที่ และการมีส่วนร่วม (Area-Function-Participation Approach : AFP) มาเป็นหลักในการนำแผนพัฒนาประเทศไปดำเนินการในระดับปฏิบัติ ดังนั้น การกระจายอำนาจทางการศึกษา โดยยึดที่....

1.1 พื้นที่ จึงมีทั้งในมิติของเขตการศึกษา โรงเรียน (School Based)

และชุมชน (Community Based)

1.2 หน้าที่ ที่จะต้องปรับบทบาทของภาครัฐ จากผู้สั่งการ (Instructor)

มาเป็นผู้ประสานงาน (Coordinator) และเอื้ออำนวยความสะดวก (Facilitator) ให้เกิดกลไกและเครือข่ายความร่วมมือกันในการจัดการศึกษา

1.3 การมีส่วนร่วมเป็นหลัก ในการจัดการศึกษา ดังนั้นจะต้องกระจาย

หรือมอบอำนาจในการจัดการศึกษา ไปให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของ

การจัดการศึกษา ตั้งแต่ขั้นของการวางแผน กำหนดหลักสูตร ร่วมกันสร้างโรงเรียนและชุมชนให้กลายเป็นองค์กรชุมชนแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน (Learning Society) จนถึงขั้นของการติดตามประเมินผลคุณภาพของการจัดการศึกษา บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญฯ.. 2540 ...กำหนดแผนและขั้นตอน การกระจายอำนาจไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ..2542 และ ...การศึกษาฯ..2542 ล้วนสร้างกลไกใน
การกระจายอำนาจทางการศึกษา
รวมทั้งกลไกการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้อง ให้
เอื้ออำนวยต่อการกระจายอำนาจทางการศึกษาไปให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน และประชาชนในที่สุด    

1.4 ความก้าวหน้าของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ นอกจากจะช่วย

สนับสนุนให้เกิดโอกาสในการเรียนรู้เรื่องการกระจายอำนาจทางการศึกษาร่วมกันในระหว่างชุมชนต่าง ๆ รวมทั้งกันร่วมมือกันเป็นเครือข่ายแล้ว ยังจะช่วยสร้างกระแสความตื่นตัวในการเข้ามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้แพร่กระจายออกไปอีกด้วย

2. จุดอ่อน (Weakness) และอุปสรรคหรือข้อจำกัด (Threat) ได้แก่

2.1 งบประมาณสนับสนุนของรัฐมีจำกัด รวมทั้งข้อจำกัดทางด้าน

ทรัพยากรและงบประมาณในพื้นที่ ตามผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจ จะเป็นอุปสรรคต่อการสนับสนุน ทั้งจากภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ธุรกิจเอกชน หรือแม้แต่จากชุมชนเอง

2.2 การขาดความจริงใจและเข้าใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในระดับนโยบาย

โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักการเมืองท้องถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่มิใช่นักการศึกษา และในระดับปฏิบัติการ เช่น ครู หรือแม้แต่ประชาชนในชุมชนนั้น ทำให้ไม่สามารถเข้ามีส่วนร่วมได้ตามบทบาทที่ได้รับอย่างเหมาะสม

2.3 ระบบและโครงสร้างการบริหารจัดการ ยังปรับตัวไม่ทัน ตั้งแต่ใน

ระดับส่วนกลางที่ยังต้องการปฏิรูประบบต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบราชการ และความชัดเจนในขอบเขตของการกระจายอำนาจ

2.4 มีกลไกความร่วมมือน้อยในลักษณะของพหุภาคี เพื่อให้เกิดการมี

ส่วนร่วมในการกระจายอำนาจทางการศึกษา ให้ตรงกับเจตนารมณ์ของการปฏิรูป
การศึกษาอย่างแท้จริง ในทุกระดับตั้งแต่ในระดับชาติ ระดับอุดมศึกษาการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ที่ยังเน้นการท่องจำมาสอบ ทำให้ยังไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์
การปฏิรูปการศึกษา ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับท้องถิ่น และระดับชุมชน จะต้องผสมผสานความทันสมัยให้เข้ากับท้องถิ่น

 สรุป: ในการบริหารโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพ และประสบกับความสำเร็จได้นั้นไม่มีทฤษฎี และหลักการใดที่เหมาะสมที่สุด ที่สามารถนำมาใช้บริหารได้กับทุก
โรงเรียน แต่ถ้าโรงเรียนนั้นๆ มีผู้บริหารที่เป็นมืออาชีพ ใช้หลักธรรมาภิบาลใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญในการนำเทคนิควิธีทฤษฎีและหลักการต่างๆที่หลากหลายมา
บูรณาการ/เพื่อปรับใช้กับการบริหารจัดการศึกษาให้เหมาะสมกับสภาพเหตุการณ์ สถานที่ ระยะเวลา และปัจจัยแวดล้อม จึงจะประสบกับความสำเร็จและมีประสิทธิภาพในที่สุด
ตามภาพประกอบ ดังนี้...

 

 

 

 

 

ผู้เรียน

 เป็นคน เก่ง / ดี / มีสุข

หลักนิติธรรม

หลักความรับผิดชอบ

หลักการมีส่วนร่วม

หลักความ   

 โปร่งใส

หลักคุณธรรม

  หลักความคุ้มค่าคุ้มทุน

ด้านบริหารทั่วไป

ด้านการบริหารบุคคล

ด้านงบประมาณ

ด้านวิชาการ

 

ภาพประกอบ: ภาพรวมธรรมาภิบาลกับการบริหารโรงเรียนที่มีประสิทธิภาพ

               คำถาม.....เพราะมีเหตุใดหรือปัจจัยอะไร ที่การจัดการศึกษาไทยยังพัฒนาไปได้ไม่ถึงเท่าที่ควรจะเป็น.....ขอให้นักบริหารการศึกษา นักการศึกษา และผู้เกี่ยวข้อง ช่วยกันคิดด้วย.....

นายวัฒนพงค์ ขันทองดี

ผู้นำกับกระบวนการคิด

ปัจจุบันกระบวนการคิดเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นในการตัดสินใจผู้ที่มีความคิดอ่านที่กว้างไกลและมีกลยุทธ์ในการวิเคราะห์ผลได้ผลเสียและได้เปรียบในทุกๆด้านซึ่งในกระบวนการคิด

นั้นมีมากมายหลายวิธีซึ่งสิ่งที่ใช้ประกอบในการคิดคือ

1. ต้องมีข้อมูลเพียงพอ คนที่มีข้อมูลมากกว่าย่อมได้เปรียบในการคิด

2. ต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาว่าควรจะเป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่มีอะไรเป็นปัจจัยนั้น

ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรและมีแนวทางใดบ้างที่จะสามารถนำมาใช้ได้

3. ต้องมีการกำหนดทางเลือก ว่าแนวทางใดเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดและน่าจะมีผลกระทบน้อยที่สุด และมีกี่ทางเลือก

4. ต้องมีการวิเคราะห์ทางเลือกที่ดีที่สุด เมื่อวิเคราะห์ทางเลือกแล้วก็เลือกสิ่งที่ดีที่สุดโดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุด

รูปแบบการคิด

- รูปแบบง่ายๆ เป็นงานที่ง่ายๆไม่มีอะไรซับซ้อน

- มีลักษณะแนวนอน ความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน

- มีวิธีการคิดแบบกลไก เป็นการคิดที่ซับซ้อนมีบริบทมากมาย

การคิดที่เราคุ้นเคย

- คิดจากเล็กไปหาใหญ่

- คิดจากใหญ่ไปหาเล็ก

การปรับกระบวนการคิด

- เปลี่ยนจากวิธี

- ประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎี (ทฤษฎีเกม )

บริบทที่ช่วยในกระบวนการคิด

1. คิดในด้านสภาพแวดล้อม

2. คิดคาดการณ์ล่วงหน้า

3. คิดอย่างมีวิสัยทัศน์

4. คิดแบบจับคู่

5. คิดแบบองค์รวม

6. คิดโดยมองที่ระบบ

7. คิดชั่งน้ำหนัก

8. คิดแทนคนอื่น

9. คิดถึงปัจจัยความสำเร็จ

10. คิดเปรียบเทียบ

11. คิดแบบพลวัต ( ความไม่นิ่ง )

12. คิดในแง่ของเวลา

13. คิดถึงผลกระทบ

14. คิดโลกของละคร (เกม)

15. คิดในเชิงต่ำสุด

16. คิดในทางนวัตกรรม

17. คิดทางสายกลาง

18. คิดแบบนักวางแผน

19. คิดถึงความเปลี่ยนแปลง

20. คิดแบบเครือข่าย

21. คิดในด้านความสัมพันธ์

22. คิดในทางสมดุล

ทฤษฎีเกม

1. ตัดสินใจดีที่สุด

2. รู้เขารู้เรา

3. อำนาจการต่อรอง

4. วิเคราะห์ทางเลือก

5. วิเคราะห์ผลที่ดีที่สุดที่จะได้รับ

ในการคิดนั้นแม้จะมีหลักการมากมายแต่เมื่อเราจะนำมาปฏิบัติหรือเลือกคิดตัดสินใจเมื่อใดก็ตามบุคคลหลายคนที่มีอำนาจในการตัดสินใจ ก่อนมีการตัดสินใจควรได้คิดใคร่ครวญให้ดีเพื่อที่จะทำให้ตนเองมั่นใจว่าการตัดสินใจของตนเองนั้นไม่ผิดพลาด เพราะการคิดนั้นมีอำนาจในการตัดสินใจว่าจะได้เปรียบหรือเสียเปรียบหรือจะส่งผลกระทบในทางที่ดีที่เลวร้ายกำไรหรือขายทุนก็เป็นได้ การคิดมีผลดีและผลเสียและมีอำนาจในการบริหารหรือชี้เป็นชี้ตายในอนาคตเพราะฉะนั้นเมื่อจะทำการสิ่งใดก็โปรดนึกถึงหลักคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องให้มากและนำไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ประเด็นคำถาม

1. ในอดีตที่ผ่านมาท่านเคยคิดหรือตัดสินใจผิดหรือไม่?

2. จะมีใครที่คิดว่าความคิดของตนจะย่ำแย่จริงไหม?

3. เราจะรวยหรือจนได้เปรียบหรือสับสนก็คือความคิดของตนนั้นแหละ

4. รู้เขารู้เราคิดอ่านให้กว้างก่อนตัดสินใจทุกครั้งท่านเห็นด้วยหรือไม่

แม่ชีฉวีวรรณ อ่อนน้อม

.........คุณภาพการศึกษา......

การศึกษาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ประการหนึ่งในการพัฒนาประเทศ ปัจจุบันสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีด้านต่างๆ เจริญก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง การพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าไปด้วยดีต้องอาศัยประชากรที่มีคุณภาพ แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 8 จึงเน้น “คน” เป็นศูนย์กลางหรือจุดหมายหลักของการพัฒนา หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า “การพัฒนาเพื่อคนโดยอาศัยคน” หมายความว่า ในการพัฒนาคนจะต้องพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ ให้เป็นคนที่มีความรู้ มีสุขภาพอนามัยและจิตใจที่ดีงาม อันจะทำให้ประเทศที่มีประชากรที่มีคุณภาพสามารถพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า การศึกษาเป็นหัวใจสำคัญ เป็นกระบวนการที่ช่วยให้คนได้พัฒนาตนเองด้านต่างๆ ตลอดชีวิตให้สามารถดำรงชีพและประกอบอาชีพได้อย่างมีความสุข รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งเป็นพลังสำคัญอันยิ่งใหญ่ในการพัฒนาประเทศชาติให้มีความเจริญก้าวหน้า และยั่งยืนทัดเทียมกับนานาประเทศได้2 โดยผลผลิตของระบบการศึกษาคือ ประชากรของประเทศจะต้องมีความสามารถในการปรับตัวแก้ไขปัญหาที่มีความหลากหลายในสภาพการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วและสามารถริเริ่มพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน ตลอดจนประเทศชาติให้พัฒนาและก้าวหน้าไปได้อย่างมีหลักการบนพื้นฐานของความเข้าใจในเหตุและผล ความถูกต้อง ความดีงาม และความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม เพื่อดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างเป็นสุข

จากการที่ประเทศไทยประสบกับวิกฤติทางเศรษฐกิจ ในปี พ.ศ.2540 และยังไม่สามารถที่จะแก้ไขได้ในปัจจุบันได้ส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสังคม ปัญหาอาชญากรรม ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ซึ่งไม่ว่าจะเกิดปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจดังกล่าวจะมีสาเหตุมาจากอะไร แต่ปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลกับวิกฤติการณ์ครั้งนี้ แม้จะไม่โดยตรงก็โดยอ้อม คือ การศึกษาเพราะต้องยอมรับว่าการศึกษาของไทยในช่วงที่ผ่านมามิได้สอนให้คนไทยรู้จักคิด ทำให้คิดไม่เป็นไม่สามารถวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ และขาดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง6 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อพิจารณาคุณภาพการศึกษาของไทย ปัจจุบันพบว่าคุณภาพการศึกษาของไทยยังอยู่ใน

สภาพที่น่าเป็นห่วงอย่างมาก คือ ความรู้ความสามารถของเด็กไทยโดยเฉลี่ยอยู่ในขั้นต่ำ ทั้งในด้านกระบวนการคิด การวิเคราะห์และการสังเกตอย่างมีเหตุผล การริเริ่มสร้างสรรค์ การแก้ปัญหาความรู้ทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ รวมทั้งไม่ได้รับการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในด้านลักษณะนิสัยใฝ่รู้ ความมีคุณธรรม จริยธรรมระเบียบวินัย การทำงานเป็นหมู่คณะ7 เป็นต้น ซึ่งความหวังที่จะให้การศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญในการแก้ปัญหาวิกฤติต่างๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ย่อมไม่มีทางเป็นไปได้ในระยะเวลาอันสั้น เพราะการศึกษาเองก็อยู่ในสภาวะวิกฤติเช่นกัน ดังนั้นการแก้ปัญหาทางด้านการศึกษาจึงเป็นงานเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการแก้ไข โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

คือ ครู หากแต่ในปัจจุบันตัวครูก็ได้รับผลกระทบจากปัญหาทางวิกฤติทางเศรษฐกิจเช่นเดียวกับบุคคลในอาชีพอื่นๆ ส่งผลให้การปฏิบัติงานในหน้าที่ครู มีครูจำนวนไม่น้อยที่ไม่อาจดำรงจิตวิญญาณของความเป็นครูให้คงอยู่ได้ไม่สนใจที่จะพัฒนาการเรียนการสอน หรือละทิ้งงานในหน้าที่ของตน ทั้งนี้ก็เนื่องจากอาชีพครูในประเทศไทยเป็นอาชีพที่มีรายได้หรือผลตอบแทนต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ถึงแม้ว่าในภาวะวิกฤติที่ข้าราชการครูในสถาบันการศึกษาของรัฐไม่ถูกปรับลดเงินเดือนแต่ในภาวะเศรษฐกิจที่สินค้ามีราคาสูงขึ้น รายได้ที่แท้จริงของครูจึงเสมือนหนึ่งได้ลดน้อยลงโดยปริยาย เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าอัตราการเพิ่มของรายได้เฉลี่ย ครูจึงดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดของตนเองทำให้ความเอาใจใส่ต่องานในหน้าที่ลดน้อยลง

ประเด็นปัญหา คือว่า

1. ทำไมคุณภาพทางการศึกษาไทยไม่เป็นบรรทัดฐานเดียวกันทั่วประเทศ กรณีศึกษา เช่น ในโรงเรียนต่างจังหวัดที่อยู่ในชนบทคุณภาพการศึกษาก้อจะอีกระดับหนึ่ง...ซึ่งจะบอกว่าต่ำมากก้ออาจได้ และโรงเรียนในตัวเมืองคุณภาพการศึกษาก้อจะอีกระดับหนึ่ง..

2. โรงเรียนสังกัดของรัฐบาลเมื่อเปรียบเทียบกับโรงเรียนเอกชนแล้ว

ทำไมคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนรัฐบาลจึงสู้โรงเรียนเอกชนไม่ได้

3. จะแก้ไขให้การศึกษาไทยมีคุณภาพเท่ากันได้อย่างไร

...ปล.เด็กบ้านนอก..น้อยใจในคุณภาพการศึกษาของไทยโดยเฉพาะการจัดการศึกษาในชนบทที่รอการแก้ไข....เพื่อโอกาสที่เท่ากันในการเลืออาชีพของประชากร...ในประเทศที่มีรัฐธรรมนูญระบุว่า..คนไทยมีสิทธิเท่าเทียมกันทุกประการ...

ขอบคุณค่ะ...

แม่ชีฉวีวรรณ อ่อนน้อม

ปัญหาด้านการพํฒนาการศึกษาของไทย...

การพัฒนาการศึกษาตามแนวทางของแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) และแนวคิดของนักวิชาการมีเหตุผลและความจำเป็น สืบเนื่องจากประเทศไทยประสบกับวิกฤตการณ์ทางการศึกษา 13 ประการ กล่าวคือ

1. เด็กในก่อนวัยเรียนจำนวนมากอยู่ในภาวะทุพโภชนาการ

2. มีเด็กวัยเรียนจำนวนมากที่ด้อยโอกาสทางการศึกษา

3. ประชากรวัยทำงานมีการศึกษาในระบบโรงเรียนเฉลี่ยต่ำมากคือ 3.8 ปี

4. กำลังแรงงานร้อยละ 80 มีการศึกษาไม่เกินระดับประถมศึกษา

5. เยาวชนอายุ 18-21 ปี ได้รับการศึกษาขั้นปริญญาตรีเพียงร้อยละ 18.7

6. คุณภาพการศึกษาด้อยลง

7. กระบวนการเรียนการสอนมุ่งท่องจำ มากกว่าการคิดวิเคราะห์

8. คณธรรมจริยธรรมในสังคมเสื่อมทรามลง

9. สื่อและเนื้อหาสาระการเรียนรู้ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง

10. วิชาชีพครูตกต่ำ

11. การผลิตกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีน้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้าน 10 เท่า

12. ระบบการบริหารจัดการศึกษายังรวมศูนย์อำนาจ และขาดประสิทธิภาพ และ

13. รูปแบบการศึกษาไม่หลากหลายโดยรัฐเป็นผู้ผูกขาดการจัดการศึกษามากเกิน ไป

ดังนั้น แผนพัฒนาการศึกษา ฉบับที่ 8 จึงกำหนดวัตถุประสงค์ไว้ 3 ด้าน สำหรับด้านการพัฒนาการศึกษาระบุว่า &hellip; &ldquo;ข้อ 2. เพื่อพัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพสอดคล้อง สัมพันธ์กับความต้องการของบุคคล ชุมชน และประเทศ ให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ

วิสัยทัศน์การศึกษาไทย แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 กำหนดวิสัยทัศน์ไว้ 3 ด้าน คือ ต้องการให้การศึกษาไทย

1. เป็นการศึกษาที่มุ่งพัฒนามนุษย์ที่สมบูรณ์ มีลักษณะมองกว้าง คิดไกล ใฝ่ดี มีวินัย มีทักษะสำหรับยุคโลกาภิวัตน์

2. เป็นการศึกษาที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและความต้องการของบุคคล ชุมชน สังคม ประเทศชาติ ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

3. เป็นการศึกษาที่ปรับแนวคิดการจัดการใหม่ ให้ผู้เรียนรู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง รูปแบบการสอนหลากหลาย ทุกส่วนของสังคมเอื้อต่อการเรียนรู้

นโยบายของแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8

เพื่อให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ จึงมีการกำหนดนโยบายสำหรับเป็นกรอบ หรือให้แนวทางการดำเนินงาน และมี แผนงานหลักสำหรับรองรับนโยบาย นโยบายของแผนทั้ง 5 ประการ ได้แก่

1. เร่งขยายและยกระดับความรู้พื้นฐานของประชาชน

2. ปฏิรูประบบการเรียนการสอน

3. ปฏิรูประบบการผลิตและการพัฒนาครู

4. เร่งผลิตและพัฒนากำลังคนระดับกลางและสูง และ

5. ปฏิรูปการบริหารและการจัดการศึกษา

แผนงานหลักเพื่อพัฒนาการศึกษา แผนงานหลักเพื่อพัฒนาการศึกษามี 9 แผนงานได้แก่

แผนงานหลักที่ 1 การยกระดับมาตรฐานการศึกษาพื้นฐานของปวงชน

แผนงานหลักที่ 2 การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน

แผนงานหลักที่ 3 การพัฒนาการผลิตครูและการฝึกอบรมและพัฒนาครูประจำการ

แผนงานหลักที่ 4 การผลิต และพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และด้านสังคมศาสตร์

แผนงานหลักที่ 5 การวิจัยและพัฒนา

แผนงานหลักที่ 6 การพัฒนาระบบการบริหารและการจัดการ

แผนงานหลักที่ 7 การพัฒนาระบบอุดมศึกษา

แผนงานหลักที่ 8 การระดมสรรพกำลังเพื่อจัดการศึกษา

แผนงานหลักที่ 9 การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษา

เมื่อพิจารณาจากแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 นี้ จะเห็นได้ว่า การพัฒนาการศึกษาในระดับมหภาค หรือระดับประเทศ มีองค์ประกอบ หรือมีสิ่งที่ต้องพัฒนาอยู่ 9 ประการ ซึ่งหมายถึงการปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานตามแผนงานหลักทั้ง 9 แผนงานนั่นเอง แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาการพัฒนาการศึกษาในมุมที่แคบกว่าการพัฒนาระดับมหภาค หรือระดับประเทศ อาจมองเฉพาะการพัฒนาการบริหารการศึกษา

การพัฒนาการบริหารการศึกษา ก่อนที่จะพัฒนาการบริหารการศึกษา สิ่งที่ต้องทำเป็นลำดับแรกคือต้องระบุหรือกำหนดกรอบให้ได้อย่างถูกต้องเสียก่อนว่า งานใด หรือ ภารกิจใด ที่เป็นการบริหารการศึกษา แล้วจึงพิจารณาต่อไปว่า งานดังกล่าว มีระบบ กระบวนการ ขั้นตอน และวิธีการบริหารจัดการอย่างไร และจะพัฒนาได้อย่างไร ภารกิจการบริหารการศึกษา ภารกิจการบริหารการศึกษา ยึดตามงานที่สถานศึกษาต้องปฏิบัติ มี 8 ประการ ดังนี้

1. การจัดโครงสร้างองค์

2. การบริหารหลักสูตร และการเรียนการสอน

3. การบริหารงบประมาณ

4. การจัดการด้านธุรการ และบริการสนับสนุนต่าง ๆ

5. การบริหารงานบุคคล

6. การบริหาร และบริการด้านกิจการนักเรียน-นักศึกษา

7. การจัดการด้านอาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก

8. ความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับชุมชน

ถ้าเราศึกษาจากประเด็นเหล้านี้แล้ว....สะท้อนให้เห็นว่าการศึกษาของไทยยังไม่ได้รับการพัฒนาตามที่ตั้งเป้าไว้ หรือยังไม่ประสบผลสำเร็จในการพัฒนาทางคุณภาพทางการศึกษาเท่าที่ควร

ดังนั้นประเด็นของปัญหา คือ

1. รัฐบาลและองค์กรที่เกี่ยวข้องทางการศึกษาได้ทำอะไรที่เป็นรูปธรรมในการแก้ไขปัญหาการศึกษาที่เดิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องของไทยหรือไม่

ส่งงาน ดร.กีรติ ยศยิ่งยง จากบทเรียนเมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๑

ปัจจุบันกระบวนการคิดเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นในการตัดสินใจผู้ที่มีความคิดอ่านที่กว้างไกลและมีกลยุทธ์ในการวิเคราะห์ผลได้ผลเสียและได้เปรียบในทุกๆด้านซึ่งในกระบวนการคิดนั้นมีมากมายหลายวิธีซึ่งสิ่งที่ใช้ประกอบในการคิดคือ

๑. ต้องมีข้อมูลเพียงพอ คนที่มีข้อมูลมากกว่าย่อมได้เปรียบในการคิด

๒ ต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาว่าควรจะเป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่มีอะไรเป็นปัจจัยนั้น

ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรและมีแนวทางใดบ้างที่จะสามารถนำมาใช้ได้

๓. ต้องมีการกำหนดทางเลือก ว่าแนวทางใดเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดและน่าจะมีผลกระทบน้อยที่สุด และมีกี่ทางเลือก

๔. ต้องมีการวิเคราะห์ทางเลือกที่ดีที่สุด เมื่อวิเคราะห์ทางเลือกแล้วก็เลือกสิ่งที่ดีที่สุดโดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุด

รูปแบบการคิด - รูปแบบง่ายๆ เป็นงานที่ง่ายๆไม่มีอะไรซับซ้อน - มีลักษณะแนวนอน ความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน

- มีวิธีการคิดแบบกลไก เป็นการคิดที่ซับซ้อนมีบริบทมากมาย การคิดที่เราคุ้นเคย - คิดจากเล็กไปหาใหญ่ – คิดจากใหญ่ไปหาเล็ก

การปรับกระบวนการคิด - เปลี่ยนจากวิธี - ประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎี (ทฤษฎีเกม ) บริบทที่ช่วยในกระบวนการคิด - คิดในด้านสภาพแวดล้อม –ดคาดการณ์ล่วงหน้า – คิดอย่างมีวิสัยทัศน์ - คิดแบบจับคู่ –คิดแบบองค์รวม- คิดโดยมองที่ระบบ - คิดชั่งน้ำหนัก – คิดแทนคนอื่น – คิดถึงปัจจัยความสำเร็จ – คิดเปรียบเทียบ- คิดแบบพลวัต ( ความไม่นิ่ง )

- คิดในแง่ของเวลา ----- คิดถึงผลกระทบ - คิดโลกของละคร (เกม) - คิดในเชิงต่ำสุด -คิดในทางนวัตกรรม - คิดทางสายกลาง

-คิดแบบนักวางแผน -คิดถึงความเปลี่ยนแปลง - คิดแบบเครือข่าย – คิดในด้านความสัมพันธ์-คิดในทางสมดุล

ทฤษฎีเกม

ก. ตัดสินใจดีที่สุด

ข . รู้เขารู้เรา

ค อำนาจการต่อรอง

ง . เคราะห์ทางเลือก

จ. วิเคราะห์ผลที่ดีที่สุดที่จะได้รับ

ในการคิดนั้นแม้จะมีหลักการมากมายแต่เมื่อเราจะนำมาปฏิบัติหรือเลือกคิดตัดสินใจเมื่อใดก็ตามบุคคลหลายคนที่มีอำนาจในการตัดสินใจ ก่อนมีการตัดสินใจควรได้คิดใคร่ครวญให้ดีเพื่อที่จะทำให้ตนเองมั่นใจว่าการตัดสินใจของตนเองนั้นไม่ผิดพลาด เพราะการคิดนั้นมีอำนาจในการตัดสินใจว่าจะได้เปรียบหรือเสียเปรียบหรือจะส่งผลกระทบในทางที่ดีที่เลวร้ายกำไรหรือขายทุนก็เป็นได้ การคิดมีผลดีและผลเสียและมีอำนาจในการบริหารหรือชี้เป็นชี้ตายในอนาคตเพราะฉะนั้นเมื่อจะทำการสิ่งใดก็โปรดนึกถึงหลักคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องให้มากและนำไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ประเด็นคำถาม

๑. เราจะรวยหรือจนได้เปรียบหรือสับสนก็คือความคิดของตนนั้นแหละ

๒. รู้เขารู้เราคิดอ่านให้กว้างก่อนตัดสินใจทุกครั้งท่านเห็นด้วยหรือไม่

๓. จะมีใครที่คิดว่าความคิดของตนจะย่ำแย่จริงไหม?

๔. ในอดีตที่ผ่านมาท่านเคยคิดหรือตัดสินใจผิดหรือไม่?

ครั้งที่ 5

สถานศึกษาต่าง ๆ ที่ต้องการสู่ความเป็นเลิศที่ตนต้องการนั้น นอกจากจะใช้วิธีการต่าง ๆ แล้ว การศึกษาด้านเนวคิดที่สำคัญ ๆ ก็มีส่วนทำให้สถานศึกษานั้นประสบความสำเร็จได้

แนวคิดที่สำคัญ ๆ มีด้วยกัน 22 วิธี ซึ่ง 1 ใน 22 วิธีที่จะมานำเสนอ คือ แนวคิดเชิงเกม (Game Theory) ซึ่งเป็นแนวคิดที่เป็นส่วนหนึ่งของแนวทางทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ (Behaviorism) หมายถึง กรอบในการวิเคราะห์บนพื้นฐานของพฤติกรรมในการตัดสินใจ ซึ่งแนวคิดแบบเกมนี้ ใช้หลักการดังนี้

1. การตัดสินใจที่ดีที่สุด 2. รู้เขารู้เรา 3. มีอำนาจในการต่อรอง

4. เลือกหนทางที่ดีที่สุด 5. วิเคราะห์ผลที่ดีที่สุดที่จะได้รับ วิธีคิดแบบ Game Theory นี้ ได้รับรางวัลโนเบล เมื่อ พ.ศ. 2537

การใช้ทฤษฎีเกม (Game Theory) นี้สามารถเป็นกลยุทธ์ในการนำไปสู่ความเป็นเลิศขององค์การได้อย่างดีที่สุด

คำถาม

ทำไมองค์การจึงนิยมนำทฤษฎีเกมมาใช้ในการบริหารงาน

นายบุญเลิศ ระงับทุกข์

เรามาคุยกันต่อในภาคที่ 3 นะครับ

ภาคนี้เราก็จะมาพูดถึงบทบาทและสมรรถภาพของผู้บริหารที่เราจะต้องการกันดีกว่าผู้บริหารที่เราต้องการนั้นน่าจะมีคุณสมบัติดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ เป็นผู้ที่กำหนดทิศทางการบริหารเช่น รู้เทคนิคต่างๆของการบริหาร มีความสามารถที่จะกระตุ้นคนได้ ต้องเป็นนักวางแผนที่ดีมีความสามารถในการตัดสินใจ จัดการองค์กร เป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง สามารถที่จะจัดการกับปัญหาและข้อขัดแย้งต่างๆที่เกิดขึ้นกับองค์กรของตัวเอง เป็นผู้ที่สามารถวิเคราะห์และจัดระบบงานบริหารบุคคล ทรัพยากร สามารถประเมินบุคคลอื่นได้ และที่สำคัญจะต้องเป็นผู้นำในสังคมเพื่อให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเชื่อถือ

แล้วท่านละ......ต้องการมีหรือเป็นผู้บริหารแบบไหนกันบ้างอยากรู้จังเลยครับ....

สกุลรัตน์ โรจนพรพิรักษ์

สรุปการเรียนครั้งที่ 5 ประจำวันที่ 1/08/2008

สถานศึกษาที่ต้องการบริหารเพื่อความเป็นเลิศ แนวทางที่อาจารย์สอนเป็นเรื่องการต่อรองด้วยทฤษฎีเกม

ทฤษฎีเกม (Game Theory)เป็นแนวทางหรือทฤษฎีที่ใช้ในการเจรจาต่อรองที่มีการศึกษาและนำไปใช้กันในวงกว้าง ความจริงนั้นทฤษฎีเกม(Game Theory) นั้นเป็นทฤษฎีที่มีการใช้กันในวงการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในทางรัฐศาสตร์ ตลอดจนเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเจรจาต่อรอง ทฤษฎีเกมสามารถที่จะใช้ในการวิเคราะห์และพยากรณ์พฤติกรรมของคู่เจรจาหรือในกรณีที่เป็นการเจรจาทางการทูตนั้นก็สามารถที่จะพยากรณ์ถึงผลการเจรจาที่จะเกิดขึ้น ในทางวิชารัฐศาสตร์นั้นทฤษฎีเกมก็เคยถูกหยิบยกมาอธิบายในเรื่องเกี่ยวกับพฤติกรรมของประเทศต่างๆในโลกยุคสงครามเย็นอันเป็นโลกซึ่งมีการแบ่งระบบการเมืองออกเป็น 2 ขั้ว หรือทางวิชาเศรษฐศาสตร์ทฤษฎีเกมได้ถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาพฤติกรรมกลยุทธ์(strategic behavior)

ในการจัดการด้านการศึกษา เป็นการใช้ในการวิเคราะห์ตัวของเรา วิเคราะห์คู่แข่ง ใช้ในการตัดสินใจ ว่าเราจะกำหนดกลยุทธ์อย่างไรที่จะบริหารสถานศึกษาให้เป็นเลิศ

คำถาม ถ้าหากนำทฤษฎีเกมมาใช้ในการบริหาร ต้องพิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้องอะไรบ้าง

การบริหารต่าง ๆ จำเป็นต้องมีหลักเกณฑ์ มีวิธีการแตกต่างกันไป เช่นเดียวกับการบริหารสถานศึกษา ถ้าตัวผู้บริหารต้องการจะก้าวไปสู่ความเป็นเลิศเหนือกว่าสถาบันอื่น ๆ จำเป็นต้องมีเทคนิค กระบวนความคิดที่ชัดเจน สติปัญญาเฉลียวฉลาด มีคุณธรรม มีผู้ร่วมงานดี ประการสำคัญผู้บริหารต้องเข้มแข็ง ขยัน เป็นตัวของตัวเอง ไม่เอนเอียง รู้จักวิธีทำงาน จึงจะสามารถให้สถานศึกษามุ่งความเป็นเลิศได้

กระบวนการความคิดของผู้บริหารสถานศึกษาที่มุ่งความเป็นเลิศนั้น มีหลายทฤษฎีด้วยกัน ในชั่วโมงนี้ อาจารย์ได้สอนการใช้ทฤษฎีเกม ในการคิดและตัดสินกลยุทธ์ดีที่สุด ถูกต้องที่สุด ซึ่งจำเป็นต้องใช้ทฤษฎี Dominant และ Dominated ซึ่งผลสรุปออกมาเป็นข้อที่ 1 ของผู้บริหารได้คือ 1. ต้องตัดสินใจให้แน่นอน รวดเร็ว 2. ทีมงานต้องเข้ากันได้ กฎข้อที่ 2 คือ ต้องดูภารกิจที่ผู้บริหารสถานศึกษาต้องศึกษาคือ ภารกิจของสถานศึกษา ประกอบไปด้วย ฝ่ายวิชาหาร ฝ่ายบุคลากร ฝ่ายงบประมาณ และฝ่ายบริหารงานทั่วไป

นอกจากนั้น อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับทฤษฎีเกม Zero Sum Game คือเกมที่มีคนแพ้และคนชนะ Positive Sum Game เกมที่ชนะทั้งคู่ แต่เปอร์เซ็นต์ไม่เท่ากัน และ Negative Sum Game คือเกมแพ้ทั้งคู่ ทฤษฎีเกมเหล่านี้ จะเป็นแนวคิดของผู้บริหารสถานศึกษาได้เป็นอย่างดีว่าเกมจะใช้ทฤษฎี เกมใดไปต่อสู้กับคนอื่นได้ ต้องหาวิธีล่อและชน ดักความคิดของคนอื่น ๆ ได้ เดาความคิดของคนอื่นได้เพื่อเราจะได้เป็นผู้ชนะในที่สุด

คำถาม

ผู้บริหารสถานศึกษาจะใช้วิธีการอย่างไร จึงจะทำให้สถานศึกษาของตนมีผู้มาสมัครเรียนให้มาก โดยแข่งขันกับสถาบันอื่นได้

นายวัฒนพงค์ ขันทองดี

สรุปบทเรียน 15 ก.ค 2551

ทักษะการคิด มีความจำเป็นในการตัดสินใจและการคิดนั้นทำให้คนเราไม่นิ่งอยู่กับที่เกิดการพัฒนาต่อเนื่องบ่อยครั้งเรามักมีคำถามในใจเสมอว่าเรา

- เราคิดอะไร?

- คิดทำไม?

- คิดอย่างไร?

- เพราะเหตุใดเราต้องคิด?

- เมื่อเราไม่คิดเราจะเป็นเช่นใด?

- คิดแล้วเอาไปใช้ประโยชน์อย่างไร?

- คิดแล้วมีทางเลือกหรือไม่

-ทำไมเราต้องเลือกคิดและสิ่งที่เราเลือกนั้นถูกต้องหรือไม่เหตุใดจึงเลือก?

นานาทัศนะของการคิดของคน เมื่อเราคิดได้แล้วเราก็ต้องใคร่ครวญไตร่ตรองก่อนนำไปใช้และตัดสินใจความคิดเปรียบเหมือนดาบสองคม คือคิดในแง่บวกกับคิดในแง่ลบ ซึ่งทั้งสองอย่างต่างมีข้อดีข้อเสียในการคิดของเรานั้นในบางครั้งต้อง มีวิจารณญาณการคิด

บางครั้งเราคิดได้คนอื่นอาจจะคิดได้เหมือนหรือแตกต่างจากเราในด้านการบริหาร นั้นธรรมดาต้องมีคู่แข่งไม่ว่าจะเป็นทางด้านการค้าด้านธุรกิจก็ตาม เราต้องคิดในมุมที่กลับด้านและวิเคราะห์ การรู้เกมของคู่แข่ง หรือคู่แข่งนั้นในทางธุรกิจถือว่าชนะไปกว่าครึ่ง ในทฤษฎีเกมเราจะไม่เล่นเกม zero ซึ่งเป็นเกมศูนย์ คือไม่ได้ประโยชน์ใดๆเลยถ้าแพ้คือมีแต่เสีย แต่ถ้ามั่นใจว่าชนะแน่นอน(เล่นสุดๆไปเลย ) ในทางการค้ามักจะเล่นเกม zum เกม เพราะต่างฝ่ายต่างมีผลประโยชน์ แต่จะมากน้อยแตกต่างกัน

-พึงระลึกเสมอว่าคนเราน่ากลัวที่สุดคือความคิด

- ความคิดจะโยงใยไปสู่การนำไปปฏิบัติ

- การจะประสบผลสำเร็จได้นั้นความคิดเป็นเครื่องจักรกลขับเคลื่อนมหาศาล

ประเด็นคำถาม

1. จิตเป็นนายกายเป็นบ่าวท่านคิดว่าเหตุผลใช้สนับสนุนทักษะการคิดได้หรือไม่ เพราะเหตุผลใด?

2. ความคิดของคนอื่นท่านพอจะดูออกหรือไม่และท่านใช้หลักการวิเคราะห์อย่างไร?

3. ความคิดจำเป็นต้องมีประสบการณ์ช่วยสนับสนุนใช่หรือไม่?

4. มนุษย์เราจำเป็นต้องคิดเพื่อความอยู่รอดจริงหรือ?

นายบุญเลิศ ระงับทุกข์

พบกันอีกแล้วนะครับ

พบกันในครั้งนี้เราจะมาคุยกันเกี่ยวกับการทำงานเป็นทีมกันบ้างนะครับ สำหรับการจะเป็นผู้บริหารที่ดีได้นั้นจะต้องมีการทำงานเป็นทีมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยอย่างแน่นนอน ลักษณะของการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพของเสนอความคิดนะครับว่าจะต้องประกอบไปด้วย

1. มีความกระจ่างชัดในวัตถุประสงค์ สมาชิกทุกคนต้องเห็นด้วยกับเป้าหมายและมีความเต็มใจที่จะผูกพันเพื่อให้เกิดความสำเร็จ

2. สมาชิกมีความสัมพันธ์กันอย่างเปิดเผย ซื่อสัตย์ ตรงไปตรงมา กล้าเผชิญหน้าเพื่อแก้ปัญหาร่วมกัน

3. มีการสนับสนุและจริงใจต่อกัน

4. สมาชิกทุกคนต้องอุทิศตนในการปฏิบัติงานเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

5. สมาชิกต้องอาศัยข้อเท็จจริงเป็นหลักในการตัดสินใจ มีการพูด การเขียน และการทำงานในสิ่งที่ถูกต้องในการแก้ปัญหา

6. หัวหน้าทีมจะต้องมีบทบาทของผูนำที่ดี เป็นมาตรฐานในการปฏิบัติทุกอย่าง ไม้ผูกขาดเป็นผู้นำคนเดียวของกล่ม ควรจะกระจายอำนาจไปตามสถานการณ์ที่เหมาะสม

7. มีการทบทวนการทำงานอย่างสมำเสมอ รู้จักการเรียนรู้ถึงข้อผิดพลาดในการทำงานเพื่อเป็นการแก้ไขข้อบกพร่องในการทำงาน

8. สมาชิกในกลุ่มจะต้องมีการพัฒนาความสามารถตามความชำนาญของแต่ละบุคคลอยู่อย่าสม่ำเสมอ

และสุดท้ายนะครับข้อนี้ขาดไม่ได้เลยทีเดียว คือ

9. ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มอื่น คือจะต้องเป็นที่ยอมรับของกลุ่มอื่นด้วย ตลอดจนยื่นมือเข้าไปให้ความช่วยเหลือเมื่อถึงคราวจำเป็น ด้วยความเข้าใจและปราจากการแข่งขัน

แล้วท่านผู้อ่านละครับมีความพร้อมที่จะเป็นทีมงานแล้วหรือยัง ฝากไว้คิดกันเล่นๆนะครับ

การที่จะทำให้การบริหารการศึกษาไปสู่ความเป็นเลิศได้นั้น จำเป็นต้องใช้กลยุทธ์หรือยุทธวิธีต่าง ๆ เพื่อทำให้หน่วยการบริหารของตนเองได้เปรียบกว่าฝ่ายตรงข้าม

ยุทธวิธีในการที่จะทำให้ได้เปรียบฝ่ายตรงข้าม ได้แก่ การคิด การสังเกต การวางแผน ซึ่งจำเป็นต้องใช้เครื่องมือต่าง ๆ มาประกอบและรวมถึงการประเมินผลถึงสิ่งที่ได้กระทำลงไป สำหรับกลยุทธ์หรือยุทธวิธีที่จะก่อให้เกิดชัยชนะในที่สุดนั้น ได้แก่ กลยุทธ์ การเฉือนคมคู่แข่ง กลยุทธ์การหาพันธมิตร หรือยุทธวิธีของนายพลแพ็ตสัน ซึ่งมีกฎใหญ่ ๆ 7 ข้อ คือ

1. จงควบคุมกล่องทรายให้ได้

2. เลือกคู่แข่งที่จะเข้าโจมตีให้ชัดเจน

3. คาดการณ์ยุทธศาสตร์คู่แข่งล่วงหน้า

4. วาดภาพคู่แข่งออกมาเอง

5. จัดการยุทธศาสตร์ของคู่แข่ง

6. สลายขอบเขตความเป็นเลิศของคู่แข่ง

7. เลือกคู่แข่งของคุณ อย่าให้คู่แข่งเลือกคุณ

นอกจากนั้นยังมียุทธวิธีการทำสงครามด้วยเพื่อชัยชนะของคู่แข่ง

คำถาม

ยุทธวิธีการทำสงครามมีประโยชน์อย่างไรบ้างแก่ผู้บริหารสถานศึกษาใน

ยุคโลกาภิวัตน์

นายวัฒนพงค์ ขันทองดี

สรุปบทเรียน วันที่ 13 ส.ค 2551

การบริหารสถานศึกษานั้น มีปัจจัยที่แตกต่างกัน ผู้บริหารสถานศึกษาจัดว่ามีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร หรือหน่วยงานให้ประสบผลสำเร็จโดยเพราะปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการมีดังนี้

1. ผู้บริหารสถานศึกษาเอง

2. ครูและบุคลากร

3. การบริหารจัดการ

4. วัฒนธรรมในองค์กร

5. สิ่งแวดล้อมภายใน

6. เทคโนโลยี

7. สิ่งแวดล้อมภายนอก

8. การแข่งขัน

9. เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง

10. งบประมาณสนับสนุน

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องนั้นจะส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมโดย ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องนั้นต้องหาทางร่วมมือช่วยเหลือกัน

การแก้ปัญหานั้นผู้บริหารต้องมีประสบการณ์และวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล ศึกษาหาความรู้ตลอดเวลา กล้าได้กล้าเสียโดยคำนึงถึงผู้เรียนและองค์กรเป็นหลัก ในการบริหารจัดการนั้น ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องก็จำเป็นเพราะ การทำงานใดๆต้องมีทฤษฎีไว้เป็นแนวทางที่นำไปสู่ การปฏิบัติ การนำไปปฏิบัติหรือนำไปใช้นั้น สิ่งที่ทำได้ดีอีกโรงเรียนหรือสถานศึกษาหนึ่งๆ อาจได้รับผลสำเร็จหรือไม่สำเร็จก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เพราะฉะนั้นสิ่งที่ดีเราก็อาจนำมาปรับเปลี่ยนให้เข้ากับบริบทหรือหน่วยงานของเรา โดยการนำมาใช้นั้นต้องไม่ยกมาทั้งดุ้น

ผู้บริหารที่มีประสบการณ์มากนั้นย่อมได้เปรียบ กว่าผู้มีประสบการณ์น้อยเพราะอย่างน้อยก็เคยผ่านงานมามาก แต่ก็อาจมิเป็นเช่นนั้นเสมอไป ทุกกรณี

การบริหารสถานศึกษาให้ประสบผลสำเร็จนั้นคงมิได้สำเร็จด้วยปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งเพียงอย่างเดียวแน่นอน โดยทุกหน่วยงานต้องหาทางปรับปรุงจุดอ่อน และส่งเสริมจุดที่เด่น และเมื่อไปในทิศทางที่ดีแล้วก็ สร้างภูมิคุ้มกันที่ดี และพัฒนาอย่างต่อเนื่องสืบไป

การบริหารสถานศึกษามีอยู่ด้วยกันหลายแบบ การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (school based management -SBM) เป็นรูปแบบหนึ่งที่สถานศึกษานิยมนำมาใช้จัดการศึกษาในปัจจุบัน

การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เป็นกลยุทธ์ในการปรับปรุงการศึกษาโดยเปลี่ยนอำนาจหน้าที่ในการตัดสินใจจากส่วนกลางไปยังแต่ละโรงเรียน (กระจายอำนาจ) โดยมีคณะกรรมการโรงเรียน ซึ่งประกอบด้วยด้วยผู้ปกครอง ครู สมาชิกในชุมชน ผู้ทรงคุณวุฒิ ศิษย์เก่า และผู้บริหารโรงเรียน บางโรงเรียนมีตัวแทนนักเรียนเป็ฌนกรรมการด้วย ซึ่งกลุ่มคณะกรรมการนี้ มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการตัดสินใจอันเกี่ยวข้องกับงบประมาณ บุคลากร วิชาการ และการบริหาร โดยให้เป็นไปตามความต้องการของนักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน

หลักการสำคัญของการบริหารแบบ SBM ได้แก่

หลักกระจายอำนาจ

หลักการบริหารตนเอง

หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

หลักการพัฒนาทั้งระบบ

หลักความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้

นอกจากนี้ ยังได้กล่าวถึงลักษณะสำคัญของการบริหารโรงเรียน รวมทั้งเงื่อนไขความสำเร็จของการนำ SBM ไปสู่การปฏิบัติ

คำถาม

ทำอย่างไรจึงจะให้โรงเรียนมีคุณภาพเป็นที่ต้องการของชุมชน

นายวัฒนพงค์ ขันทองดี

สรุปบทเรียน วันที่ 19 สิงหาคม 2551

การบริหารตามหลักกลยุทธ์ Balance scorecard ( Bsc )

เป็นกลยุทธ์ในการบริหารงานสมัยใหม่และได้รับความนิยมไปทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยเป็นแนวคิดของ Drs. Robert Kaplan และ David Norton

คือระบบการบริหารและการประเมินผลทั่วทั้งองค์กรและมิใช่เฉพาะเป็นระบบการวัดผลเพียงอย่างเดียว เช่นเรามักจะมองธุรกิจในมิติเดียวคือมองมิติด้านการเงินเพียงอย่างเดียว Balance scorecard ( Bsc ) ซึ่งมองเห็นภาพองค์กรในภาพรวมที่ชัดเจนขึ้น เป็นการบริหารรอบทิศ เช่น

1. มิติ ด้านการเงิน- ทุนหรืองบประมาณในการดำเนินงาน เช่นการเพิ่มขึ้นของรายได้และ

การลดลงของรายจ่าย

2. มิติ ด้านลูกค้า- ลูกค้าและการแข่งขัน เช่นความพึงพอใจของลูกค้า กำไรจากลูกค้า

การเพิ่มขึ้นหรือลดลง ส่วนแบ่งในการตลาด การรักษาลูกค้า และการเพิ่มลูกค้า

3. มิติ ขบวนการดำเนินการภายใน - กิจกรรมหลัก และกิจกรรมสนับสนุน

4. มิติ การพัฒนาและการเรียนรู้- เป็นมุมมองในการพัฒนาตนเองและพัฒนาองค์กรใน

อนาคต เนื่องจากวัฒนธรรม และความไม่นิ่งของเทคโนโลยี การเรียนรู้ที่ดีเกิดความคิด

สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ทำให้เกิดการแข่งขัน เช่น

- การทำเพิ่มจำนวนจาก 1ไป2 เราจำเป็นต้องเปลี่ยนกลยุทธ์

- ไม่เคยทำมาก่อน คนก็ต้องเปลี่ยน-วิธีการก็ต้องเปลี่ยน -เทคนิควิธีการก็ต้องเปลี่ยน

เพราะฉะนั้นการนำหลักการBsc มาใช้ในการบริหารนั้นควรต้องใช้มุมมองที่หลากหลายในมิติ และต้องคำนึงถึงผลรับที่ได้ ว่า มีประสิทธิภาพหรือประสิทธิผลหรือไม่ องค์กรพอใจหรือเปล่า

ลูกค้าพึงพอใจไหม การตลาดเป็นอย่างไร ลูกค้ามั่นคงหรือลดลงอย่างไร การเงินเอื้อหรือไม่คนในองค์กรสนับสนุนหรือไม่ เพราะการบริหารไม่มีที่สิ้นสุดนั่นเอง

นายบุญเลิศ ระงับทุกข์

พบกันอีกครั้งนะครับ คราวนี้เรามาพบกับปัจจัยด้านสารสนเทศการพัฒนาสถานศึกษาว่าผู้บริหารควรทราบอะไรบ้าง

สารสนเทศกับการพัฒนาสถานศึกษา ในการพัฒนาสถานศึกษา สามารถพัฒนาได้ในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าด้านอาคารสถานที่ ด้านบุคลากร ด้านการจัดการเรียนการสอน หรือแม้แต่ด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศ ซึ่งการพัฒนาระบบสารสนเทศนั้น ควรมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในเรื่องของ การพัฒนาว่าจะพัฒนาเพื่ออะไร โดยสามารถกล่าวแนวทางการพัฒนาระบบสารสนเทศอย่างกว้างๆ ไว้ 3 ด้านด้วยกัน คือ

1. สารสนเทศที่มีความจำเป็นพื้นฐานของสถานศึกษา

2. งานเครือข่ายของสถานศึกษา เช่นการจัดทำเว็บ การจัดทำเครื่องข่ายร่วมกันในระดับจังหวัด หรืออื่นๆ ตามที่สถานศึกษาเห็นว่ามีความจำเป็น

3. สารสนเทศเกี่ยวกับบุคลากร ในการพัฒนาสถานศึกษานั้น แม้ว่าระบบสารสนเทศจะมีความสำคัญ และจำเป็น แต่การบริหารจัดการด้านอื่นๆ ก็นับว่ามีความสำคัญไม่แพ้กัน เช่นการบริหารความขัดแย้ง การบริหารบุคคล การบริหารงานด้านอื่นๆ ซึ่งก็นับว่ามีความสำคัญไม่แพ้ระบบสารสนเทศ ผู้บริหารจึงควรให้ความสำคัญกับทุกๆ ด้าน ทุกๆ งาน

แล้วท่านละครับในฐานะอนาคตผู้บริหารท่านมีความคิดอย่างไร

นายบุญเลิศ ระงับทุกข์

พบกันอีกครั้งนะครับ มาครั้งนี้ผมมีบทความดีๆ มาฝากท่านผู้อ่าน เป็นเรื่องเกี่ยวกับ โครงการ

"ระบบดี ร.ร มีคุณภาพ" กระบวนการเรียนรู้สู่การพัฒนาการศึกษา  

       เพื่อสู่เป้าหมาย เยาวชนในสถาบันการศึกษาเป็นผู้มี "คุณธรรมนำความรู้" สถาบันพัฒนาการเรียนรู้ ด้วยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กำเนิดโครงการ "ระบบดี โรงเรียนมีคุณภาพ" ซึ่งเป็นการพัฒนาระบบการเรียนการสอนในโรงเรียน โดยนำหลักการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมเข้าไปพัฒนาระบบการศึกษาให้สอด คล้องกับความต้องการของนักเรียนและชุมชน นายสุรินทร์ กิจนิตย์ชีว์ ประธานกรรมการบริหารแผนคณะที่ 4 สสส. กล่าวถึงความเป็นมาของโครงการ ว่า จากที่ระบบการเรียนการสอนในปัจจุบันเป็นการพัฒนาการศึกษาแบบแยกส่วน เน้นการเรียนการสอน เน้นการถ่ายทอดวิชาเพียงอย่างเดียว โดยไม่ได้มองที่ตัวคนเป็นหลัก ก่อให้เกิดแรงกดดันอย่างมากต่อเยาวชนไทยที่กำลังศึกษาอยู่ในปัจจุบัน "ในระบบเดิมนั้นจะมองเด็กทุกคนเหมือนกันทั้งหมด มองแบบแยกส่วน โรงเรียนจะเน้นเรื่องความเป็นเลิศทางวิชาการ เพราะมันคือคำตอบว่าเขาจะผ่านเข้าไปเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาได้โดยสะดวก และเลือกเรียนในสาขาที่ได้ค่าตอบแทนสูงสุด ซึ่งการศึกษาแบบนี้เป็นการทำลายคนทำลายมนุษย์ เพราะศักยภาพของคนไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะต้องไปในทิศทางเดียวกันหรือมิติเดียวกันทั้งหมด ดังนั้น ระบบการศึกษาที่ดีต้องมองที่คน แต่เน้นที่จิตใจ เอาความเป็นคนดีมาเป็นตัวตั้ง ความรู้เป็นตัวรอง" นายสุรินทร์กล่าว ด้าน อาจารย์สุมน อมรวิวัฒน์ ที่ปรึกษาคณะกรรมการกองทุน สสส. กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของโครงการว่า "โครงการนี้ต้องการให้โรงเรียนได้พัฒนาคุณภาพของโรงเรียน พัฒนาระบบการดูแลนักเรียน ซึ่งเป็นหลักสำคัญ และพัฒนากิจกรรมต่างๆ โดยมีระบบสนับสนุนดูแล ซึ่งคุณภาพการศึกษาที่แท้จริงคือการพัฒนานักเรียน และพัฒนาชีวิตของนักเรียน จะเห็นได้ว่าตั้งแต่เข้าโรงเรียนมาจนไม่อยากออกจากโรงเรียน นั่นคือชีวิตของนักเรียนมีความสุข "สรุปได้ว่า การศึกษากับชีวิตคือกระบวนการเดียวกัน ดังนั้น การพัฒนาการศึกษาจึงไม่ใช่การพัฒนาตัวหนังสือหรือตัววิชา แต่เป็นการพัฒนาชีวิตทุกคนที่อยู่ในโรงเรียน โดยเครื่องจักรสำคัญที่เชื่อมโยงคือผู้อำนวยการที่มีวิสัยทัศน์ ผู้สนับสนุนคือครูทั้งหลาย ซึ่งผลประ โยชน์ก็ตกอยู่ที่ชีวิตของนักเรียนนั่นเอง" การพัฒนาการศึกษาภายใต้โครง การระบบดี โรงเรียนมีคุณภาพ ไม่ได้ปฏิเสธเรื่องความรู้ แต่มุ่งเน้นไปที่กระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมตามความถนัดและศักยภาพของนักเรียนแต่ละคนที่แตกต่างกันออกไป เพื่อให้เกิดสังคมการเรียนรู้ภายในโรงเรียนอย่างมีความสุข โดยการดำเนินงานเน้นไปที่การบริหารจัดการของโรงเรียนให้เกิดความสมดุลในทุกด้าน ทั้งด้านการเรียนการสอน คุณธรรมและจริยธรรม สิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียน ฯลฯ โดยใช้กระบวนการมีส่วนในแนวราบ โดยฝ่ายบริหารก็ต้องเคารพในความคิดเห็นของครู นอกจากนี้ จะต้องดึงศักยภาพของชุมชนเข้าเป็นกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อให้คนในชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ โรงเรียนวารินชำราบ จ.อุบลราชธานี เป็นหนึ่งในโรงเรียนต้นแบบโครงการระบบดี โรงเรียนมีคุณภาพ ที่จัดระบบการเรียนการสอนแบบใหม่ ตั้งแต่หลักสูตรการเรียนการสอน อาคารสถานที่ บริเวณโรงเรียน กิจกรรม ฯลฯ เพื่อให้ระบบนั้นตอบสนองบรรยากาศของการเรียนรู้อย่างมีความสุข อาจารย์อมรา วีสเพ็ญ รองผู้อำนวยการโรงเรียนวารินชำราบ บอกเล่าถึงผลดีที่เกิดขึ้นกับเด็กๆ ในโรงเรียนแห่งนี้ว่า "การเรียนการสอนในระบบใหม่ โรงเรียนจะให้นักเรียนมีส่วนร่วมและเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยการให้เรียนผ่านกิจกรรม ทั้งกิจกรรมกลุ่ม กิจกรรมนำความรู้ แล้วให้เด็กได้สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากกิจกรรมนั้นๆ ซึ่งพบว่านักเรียนมีความสนุกสนาน โรงเรียนมีชีวิตชีวา อีกทั้งครูและนักเรียนต่างมีสัมพันธ ภาพที่ดีขึ้น เมื่อนักเรียนเรียนอย่างมีความสุข ครูก็พึงพอใจ และผู้ปกครองก็ชื่นชม" สำหรับความสุขที่เกิดจากการเรียนรู้ นายวีรชาติ หิมะคุณ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กล่าวว่า "เมื่อได้เรียนรู้ที่ควบคู่ไปกับการทำกิจกรรมที่เน้นการปฏิบัติให้เห็นแล้ว ทำให้นักเรียนมีความสุข รู้สึกผ่อนคลาย ไม่เครียด" เช่นเดียวกับ น.ส.ปิยะรักษ์ สิงทองทัศน์ ที่บอกว่า "ครูให้นักเรียนมีส่วนร่วม ด้วยการถามความคิดเห็นว่าอยากเรียนอย่างไร เพื่อให้ได้แสดงความสามารถของตัวเอง และที่โรงเรียนทุกคนจะเรียกครูว่า คุณพ่อ คุณแม่ ทำให้รู้สึกถึงความเป็นกันเอง เป็นการดึงดูดให้น้องๆ อยากเข้ามาศึกษา และการเรียนให้สบายนั้น เราต้องไม่คิดคำนึงว่าจะได้เกรดอะไร ถ้าเราเรียนอย่างตั้งใจ และขยัน ก็จะเป็นบรรยากาศการเรียนที่ดีที่สุด" ยังมีโรงเรียนบ้านคูเมือง (อ่อนอนุเคราะห์) อ.วาริน ชำราบ ที่เป็นโรงเรียนต้นแบบโครงการระบบดี โรงเรียนมีคุณภาพ อาจารย์โกวิท บุญเฉลียว ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านคูเมือง เล่าว่า ก่อนหน้านี้โรงเรียนเคยประสบปัญหาเด็กหนีเรียน เล่นการพนัน ติดยาเสพติด เพราะโรงเรียนไม่น่าอยู่ จนกระทั่งวันหนึ่งนักเรียนถูกตำรวจบุกเข้ามาจับกุมถึงในโรงเรียนเพราะร่วมกันขโมยรถมอเตอร์ไซค์ เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้ครูและผู้ปกครองหันหน้าเข้าหากันเพื่อปรึกษาหาทางออก เป็นที่มาของการพัฒนาระบบภายในโรงเรียน การแก้ไขปัญหาเริ่มด้วยการแยกเด็กเกเร เรียนอ่อน ออกจากเด็กที่เรียนดี โดยพบว่า เด็กเกเรและมีผลการเรียนอ่อนนั้น ส่วนใหญ่มีพื้นฐานมาจากครอบครัวแตกแยก ยากจน บางคนติดยาเสพติด ทำให้ไม่สนใจในการเรียน โดยแบ่งเด็กได้เป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นเด็กเรียนดี กลุ่มที่ 2 เป็นเด็กที่มีผลการเรียนในระดับปานกลาง และกลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มที่มีผลการเรียนต่ำกว่าทั้ง 2 กลุ่ม และได้จัดการเรียนการสอน โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ให้น้ำหนักเนื้อหาวิชาที่เรียนแตกต่างไปในแต่ละกลุ่ม "เด็กในกลุ่มที่ 1 จะจัดการเรียนการสอนครบทุกสาระการเรียนรู้รายวิชา และจัดสอนเสริมความรู้ตามความสามารถ ส่วนเด็กในกลุ่มที่ 2 ใช้หลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการกำหนด เน้นภาษาไทยและคณิตศาสตร์ และเด็กในกลุ่มที่ 3 เน้นการงานอาชีพ โดยบูรณาการภาษาไทยและคณิตศาสตร์ ส่วนสาระความรู้ในด้านอื่นๆ ใช้รูปแบบการบูรณาการไว้ในกิจกรรมที่นักเรียนปฏิบัติ" อาจารย์โกวิทกล่าว ผลจากทดลองเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนแบบใหม่ ปรากฏว่า นักเรียนในกลุ่มที่ 2 และ 3 มีความกระตือรือร้นในการเรียน และแสดงให้เห็นว่าสามารถเรียนรู้ได้ดี ซึ่งดีกว่านักเรียนในกลุ่มที่ 1 บางคนที่ประสบภาวะกดดันจากทั้งครูผู้สอนและเพื่อนร่วมชั้นเรียน และจากผลการเรียนของนักเรียนที่ดีขึ้น แสดงให้เห็นว่าการที่โรงเรียนแบ่งเด็กเป็นกลุ่มๆ ช่วยให้นักเรียนแต่ละกลุ่มได้เรียนรู้ตามศักยภาพของตน ตามระดับสติปัญญาและความสนใจด้านเนื้อหาของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ซึ่งเป็นตัวอย่างของการวางระบบบริหารจัดการการศึกษาที่มุ่งความสำคัญของการพัฒนาเด็กเป็นตัวตั้ง "การเรียนการสอนในระบบนี้ ไม่ได้หมายความว่าเด็กเหล่านั้นจะหมดสมรรถนะ แต่จะยิ่งเป็นการเพิ่มสมรรถนะ เพราะเมื่อเราสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้เกิดในตัวของเขาได้แล้ว ก็จะก่อให้เกิดความเข้าใจอย่างแตกฉานในทุกๆ สาระวิชา" นายสุรินทร์กล่าว และแน่นอน เป้าหมายเยาวชนในสถาบันการศึกษาเป็นผู้มี "คุณธรรมนำความรู้" อยู่ไม่ไกล ตอบโจทย์โครงการ "ระบบดี โรงเรียนมีคุณภาพ" แนวคิดใหม่ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของไทย ......................................................... ที่มา - ข่าวสด วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 18 ฉบับที่ 6434 หน้า 28

เป็นอย่างไรบ้างครับ อ่านแล้วท่านมีความคิดเห็นอย่างไรกันบ้าง

การบริหารในสถานศึกษาของยุคโลกาภิวัตน์ที่จะทำให้ประสบความสำเร็จนั้น จำเป็นต้องใช้กลยุทธ์ใหม่ ๆ มาบริหารจัดการ ซึ่งวิธีการใหม่ ๆ มาบริหารจัดการนั้น ได้แก่ การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (MBO) และแบบ Balance Scorecard (BSC)

การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์เป็นตัวกำหนด (MBO) เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์ของผู้บังคับบัญชา และผู้ใต้บังคับบัญชา มาประชุมกันก่อนแล้วจึงมาทำงานร่วมกัน วัดผลร่วมกัน และเข้าใจตรงกัน เมื่อสถานศึกษาได้ปฏิบัติงานสำเร็จความเป็นเลิศแล้ว จะมีการให้ขวัญและกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานด้วย ซึ่งการบริหารแบบนี้เป็นที่นิยมมาก

ส่วนการบริหารงานสมัยใหม่ Balance Scorecard (BSC) เป็นระบบการบริหารและประเมินผลทั่วทั้งองค์กร ซึ่งจะต้องมีหลักดังนี้ ต้องกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย แล้วจึงจะไปสู่กลยุทธ์ที่จะปฏิบัติได้ ซึ่งมีหลักประเมินผล 4 ข้อ คือ

1. ด้านการเงิน มีวัตถุประสงค์ 2 ด้าน คือ 1. ด้านการเพิ่มขึ้นของรายได้ 2. ด้านการลดลงของต้นทุน

2. ด้านลูกค้า มีวัตถุประสงค์ 5 ประการ คือ 1. ส่วนแบ่งการตลาด 2. ด้านรักษาลูกค้า 3. ด้านการเพิ่มขึ้นของลูกค้าใหม่ 4. ด้านความพึงพอใจของลูกค้า 5. ผลกำไรต่อลูกค้า

3. ด้านการดำเนินการภายใน มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1. กิจกรรมหลัก ได้แก่ การจัดเก็บ การแจกจ่ายวัตถุดิบ 2. กิจกรรมสนับสนุน ได้แก่ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การวางแผน การบัญชีและการเงิน

4. ด้านการเรียนรู้และพัฒนาการ ได้แก่ วัตถุประสงค์ในการพัฒนา และความพึงพอใจของประชาชน

ดังนั้น สถานศึกษาที่ต้องการความเป็นเลิศจำเป็นต้องนำกลยุทธ์ดังกล่าวมาบริหารจัดการในสถานศึกษาของตนเองโดยมีความทันสมัยในด้านเทคโนโลยี ด้านภาษา โดยสถานศึกษาต้องมีความทันสมัยก้าวหน้าได้ 2 – 3 ภาษา เมื่อสถานศึกษามีความก้าวหน้าด้านการเรียนรู้ ความทันสมัยในด้านเทคโนโลยี ก็จะมีผู้สนใจ ต่อสถานศึกษามากขึ้น รวมทั้งสามารถตั้งราคาของสถานศึกษาได้ทำให้การเงินดีขึ้น ซึ่งจะเป็นตัวดัชนีชี้วัดได้ดีว่า สถานศึกษาของเราจะก้าวหน้าไปได้เพียงใด และการบริหารแบบ BSC จึงเป็นที่นิยมของคนในยุคปัจจุบันไปทั่วโลกและประเทศไทยด้วย

คำถาม

ทำไมการบริหารแบบ BSC จำเป็นต้องศึกษาวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายของตนเองก่อนจะมาบริหารสถานศึกษาให้เจริญก้าวหน้า

แม่ชีฉวีวรรณ อ่ออน้อม

การบริหารสถาบันการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ

การที่จะนำเราไปสู่ความเป็นเลิศเราต้องมาทำความรู้จักกับคำนี้ให้ดีเสียก่อน

คือคำว่า Change Formula

การที่เราเข้าใจคำนี้ก็จะก่อให้เกิดสิ่งที่ดีๆตามมามากมายเลยคะ

ในทุกองค์กรต้องการการเปลี่ยนแปลงเป็นระยะๆ ไม่มีองค์กรใดจะดำรงอยู่ได้แบบหยุดนิ่ง แต่การเปลี่ยนแปลงมักมาควบคู่กับการต่อต้าน มากบ้างน้อยบ้าง การเปลี่ยนแปลงบางครั้งสำเร็จ และบางครั้งไม่สำเร็จ จึงทำให้ต้องมีการแสวงหาสูตรการอธิบายว่าทำไมจึงจะทำให้การเปลี่ยนแปลงนั้นนำไปสู่ความสำเร็จ

สูตรการเปลี่ยนแปลง (Formula for Change) คิดโดย Richard Beckhard และ David Gleicher และบางครั้งจึงถูกเรียกว่า “สูตรไกลท์เชอร์” (Gleicher's Formula) สูตรนี้ใช้ประเมินความเข้มแข็งที่จะนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงในองค์กร ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

D x V x F > R

มีองค์ประกอบ 3 ตัวที่มีความหมายต่อการเปลี่ยนแปลง

D = ความไม่พอใจในสภาพที่เป็นอยู่ (Dissatisfaction)

V = วิสัยทัศน์ในสิ่งที่จะเป็น (Vision)

F = ขั้นตอนในการนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลง (Initial and Concrete Steps)

ถ้า 3 องค์ประกอบนี้รวมกันเข้มแข็งกว่า R = การต่อต้าน (Resistance) การเปลี่ยนแปลงก็เป็นไปได้

ถ้า 3 องค์ประกอบนี้รวมกันอ่อนกว่า R หรือการต่อต้าน หรือไม่มีองค์ประกอบของ 3 สิ่งดังกล่าว การเปลี่ยนแปลงก็ไม่เป็นผล คนก็จะไม่คิดว่าเปลี่ยนไปเพื่ออะไร

เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงได้ผล จึงต้องมีการคิดเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อให้เกิดวิสัยทัศน์ (Vision) และการวางแผนในแต่ละขั้นตอน (Initial and Concrete Steps) ให้ชัดเจนว่าจะเดินทางไปกันอย่างไร จะมีผลกระทบที่ต้องเตรียมการรองรับสำหรับแต่ละฝ่าย แต่ละคนกันอย่างไร และในขณะเดียวกัน องค์กรต้องรับฟังความไม่พึงพอใจในสิ่งที่ได้เกิดขึ้น (Dissatisfaction) ต้องมีการศึกษาสภาพความเป็นไปในสังคม ความคิดจากผู้นำ และการวิเคราะห์สภาพการแข่งขันในโลกหรือในสภาพแวดล้อมนั้น เพื่อหาช่องทางในการเปลี่ยนแปลงที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ

ปล. อ่านแล้วดีจัง

แม่ชีฉวีวรรณ อ่ออน้อม

การคิดเชิงกลยุทธ์

กลยุทธ์ คือ การมุ่งมั่นที่จะทำให้องกรบรรลุเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ โดยมีการประยุกต์วิธีปฏิบัติและการใช้ทรัพยากรที่จำเป็นเพื่อบรรลุเป้าหมายนั้น

โดยเป็นการตัดสินใจในเรื่องพื้นฐาน และเรื่องในสถาวะวิกฤตทั้งที่เกี่ยวกับเป้าหมายและวิธีการดำเนินงานต่างๆ

กลยุทธ์ไม่ว่าจะเป็นกลยุทธ์ด้านใดนั้นจะต้องมีองค์ประกอบ 2 ประการ คือ

1. ต้องมีวัตถุประสงค์ คือ สิ่งที่ต้องการบรรลุ

2. ต้องมีการปฏิบัติการ คือ วิธีการที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์

แนวคิดหลักของกลยุทธ์ มีอยู่ 3 เรื่อง คือ

1. การได้เปรียบคู่แข่ง

2. มีสมรรถนะที่แต่ต่าง

3. กลยุทธ์แบบสอดประสาน

แม่ชีฉวีวรรณ อ่ออน้อม

การเปลี่ยนแปลและการพัฒนาสถาบันการศึกษา

ปัจจุบันโลกเรามีการเปี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การศึกษานั้นต้องรู้จัก ICT เป็นอย่างดี

ซึ่งจะทำให้เราอยู่ในโลกของการเรียนรูได้อย่างดี สู่การมีชีวิตใหม่ 10 ประการ

เริ่มต้นชีวิตใหม่

ในอดีตการเกษียณอายุ วัย 60 ปี นับว่าเป็นเวลาอันควร แต่ปัจจุบันและอนาคต บางลักษณะงาน เขาเกษียณกันที่ 75 ปี การเกษียณอายุของระบบราชการไทยที่ 60 ปีนั้นคงจะต้องปรับเปลี่ยนไป เพราะคนอายุ 60 ปียังมีที่สุขภาพแข็งแรง มีสติปัญญาที่สมบูรณ์เฉียบคมก็มีให้เห็นมากขึ้นเรื่อยๆ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อได้เกษียณไปแล้ว ก็ขอให้เป็นได้เริ่มต้นชีวิตใหม่ที่มีอิสรภาพในการเลือกว่าจะทำงานหรือใช้ชีวิตที่มีคุณค่าต่อไปย่างไร

แต่ในอีกด้านหนึ่ง จะมีคนบางส่วน แม้อายุยังไม่ได้มาก แต่ได้ไปสั่งหยุดการทำงานบางส่วนของสมองและสติปัญญาของเราเสียแล้ว เช่น คนที่เป็นนักวิชาชีพ วิศวกร แพทย์ เจ้าของกิจการขนาดเล็กและกลาง ผู้จัดการ ฯลฯ ได้เลือกที่จะทำงานแบบวันๆไป ไม่ได้พัฒนาอะไรเพิ่มเติม บางส่วนทำงานโดยยังใช้คอมพิวเตอไม่เป็น ยังไม่ขวนขวายพัฒนาทักษะภาษาต่างประเทศ คนกลุ่มนี้ยังมีอยู่อีกมาก และหากไม่คิดพัฒนาตนเองให้มีขีดความสามารถ คงเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย ทั้งสำหรับตนเองและสังคมส่วนรวม

ในสังคมไทยในปัจจุบันนี้ เรากำลังประสบปัญหาการขาดแคลนคนมีความรู้ความสามารถ เราต้องระดมกำลังจากทุกภาคส่วนมาช่วยกันทำงาน ทำตามความเหมาะสม เพื่อใช้ขีดความสามารถสูงสุดของประชากรทุกคน

1. ไม่มีใครแก่เกินเรียน

ชีวิตคือการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life-long Learning) คนบางคนได้ขีดเส้นชีวิตของตนเองว่า ได้มีความรู้เฉพาะของตนแล้ว จะไม่เรียนรู้อะไรที่คิดว่าไม่เหมาะแก่วัยตนเอง คือคิดที่จะไม่จับสิ่งเหล่านั้นเสียแล้ว เพราะคิดว่า แก่เกินไป สติปัญญาน้อยเกินไป ทักษะหรือเรื่องนั้นๆ เป็นเรื่องที่ยากเกินไป ไม่อดทนพอที่จะเรียน การขีดเส้นให้กับชีวิตตนเองว่าจะไม่จับสิ่งนั้นสิ่งนี้อีกแล้วนั้นมีอยู่มาก และเป็นเรื่องของทัศนคติโดยสิ้นเชิง คนหลายคนจึงอาจไม่มีทักษะชีวิตที่จำเป็นอย่างน่าประหลาดใจ เช่น ขาดทักษะ การอ่านหนังสือ (แม้แต่ภาษาไทย) การว่ายน้ำ การขี่จักรยาน การขับรถยนต์ การรู้ภาษาต่างประเทศอย่างภาษาอังกฤษ และรวมถึงการเรียนรู้ที่จะใช้คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวันด้วย

ในโลกของความเป็นจริงแล้ว ไม่มีใครสายเกินเรียน เพียงแต่ว่าต้องเปิดใจ และตั้งใจใหม่เสียว่าจะเรียนรู้ให้ได้ เริ่มต้นเมื่อวัย 40 ปี ก็นับว่าไม่ช้าเกินไป เริ่มต้นเมื่อวัย 60 หรือ 70 ปี ก็ยังไม่สายเกินเรียน

ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นเป็นเรื่องที่จำเป็นในการใช้ชีวิตในโลกยุคใหม่ จำเป็นสำหรับเด็กๆ และเยาวชน คนทำงาน และเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับคนสูงวัย เป็นโอกาสใหม่ๆ และเป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้นและเป็นประโยชน์สำหรับคนสูงวัยที่จะได้เรียนรู้ในสิ่งเหล่านี้

2. กินช้างตัวใหญ่ ก็ต้องหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ

มีสุภาษิตอัฟริกันหนึ่งกล่าวว่า “หากจะกินช้างตัวใหญ่ ก็ให้หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ”

ในอัฟริกา เมื่อต้องการอาหาร ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ใหญ่ขนาดไหน ก็ล้วนนำมาเป็นอาหารได้ทั้งสิ้น เพียงแต่ว่าต้องมีการแบ่งหั่นให้เป็นชิ้นเล็กๆ แต่ละคนพอนำไปประกอบเป็นอาหารได้

อันความรู้และการเรียนรู้ก็เช่นเดียวกัน เราก็เลือกที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง เลือกเรียนจากสิ่งที่สำคัญ จำเป็นต้องใช้ก่อน เรียนแล้วก็นำไปใช้ ไปฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ แล้วก็ไปศึกษาหาความรู้ใหม่เพิ่มเติม ในการศึกษาเล่าเรียนนั้น อะไรที่ใหญ่เกินไป ไปฟังคำบรรยายมานานเกินไป ไม่ได้ฝึกปฏิบัติบ้างเลยก็ไม่มีประโยชน์ เหมือนไปกินมามากๆ แล้วไม่มีเวลาให้กระเพาะย่อยอาหาร ดังนั้น ข้อแนะนำคือเรียนมาพอประมาณ แล้วนำมาฝึกปฏิบัติ การเรียนด้านคอมพิวเตอร์นั้นไม่ใช้เรื่องยาก แต่ว่าเรียนแล้ว ต้องนำไปปฏิบัติให้มากๆ บ่อยๆ ทำจนคล่อง แล้วจะได้ไม่ต้องเน้นการท่องจำ

3. เริ่มที่ทัศนคติที่พร้อมรับ

ปัญหาการฝึกอบรมแบบฟังคำบรรยาย แล้วไม่นำไปปฏิบัตินั้นเป็นปัญหาที่พบมากที่สุด

บางคนเรียนแล้วเรียนอีก นับเป็น 10 ครั้ง ได้รับใบประกาศเข้ารับการอบรมมาก็มาก แต่ยังใช้งานคอมพิวเตอร์ไม่ได้ และไม่ได้ใช้ ผู้เขียนพบปัญหานี้ในกลุ่มครูอาจารย์

ปัญหาใหญ่คืออะไร ทำไมการเรียนรู้จึงไม่นำไปสู่การปฏิบัติได้ ลองพิจารณาดูแล้ว (1) ไม่ใช่ปัญหาด้านการเงิน เพราะหลายคนที่ไม่ยอมเรียนรู้อย่างจริงจังนั้นมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สำนักงาน ทีบ้าน และในชุมชนก็มีร้านอินเตอร์เน็ตเปิดอยู่ไม่ห่างไกลไปนัก (2) ไม่ใช่ปัญหาด้านเวลา เพราะการเรียนคอมพิวเตอร์นั้น ให้สละเวลาเรียนวันละ 1-2 ชั่วโมง ใช้เวลาสัก 20 ชั่วโมงอย่างจริงจัง ก็จะทำให้เกิดทักษะที่จะเรียนรู้ต่อไปได้แล้ว (3) ไม่ใช่ปัญหาด้านสติปัญญา เพราะเขาได้พิสูจน์แล้วว่าคอมพิวเตอร์สามารถใช้ได้กับผู้มีปัญหาทางด้านสมองและสติปัญญา ระดับที่ไม่ปกติ และรวมถึงเด็กที่มีปัญหาความสนใจและสมาธิสั้น อย่างที่เรียกว่า Autistic และ (4) ไม่ใช่ปัญหาด้านพิการร่างกาย เพราะหากขาพิการ ก็ใช้แขนและมือได้ หากพิการที่แขนหนึ่งข้าง ส่วนที่เหลือก็ยังใช้งานได้ หากมือพิการ ระบบก็ยังทำให้ใช้เสียงเพื่อการสื่อสารได้ และแม้เป็นคนพิการที่สายตา ระบบคอมพิวเตอร์สามารถพัฒนาให้ใช้เสียงทดแทนสายตาได้

สิ่งที่เป็นปัญหามากที่สุด คือเรื่องของจิตใจ และการทำใจ กล่าวคือต้องเริ่มเปิดใจ อะไรที่ไม่เคยทำมาก่อน บางที่ลองทบทวนอีกสักครั้ง และเปิดใจที่จะเรียนรู้และทดลอง เริ่มต้นใหม่อีกที ท่านอาจจะพบกับสิ่งใหม่ๆ อย่างที่ท่านไม่เคยคิดมาก่อน และที่สำคัญคือ การเรียนรู้ต้องเริ่มเรียนไปทีละเล็กละน้อย เรียนรู้แล้วก็ใช้งานให้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมชีวิต จะเขียนจดหมายถึงเพื่อนก็ใช้เป็น E-mail, จะทำบัญชีอย่างที่เคยเป็นสมุดกระดาษ ก็ให้ไปใช้โปรแกรม Spreadsheet หรือ โปรแกรมจัดการด้านการบัญชี หรือหากจะนำเสนออะไร หรือจะบรรยายในที่ประชุม ก็หันไปใช้โปรแกรม Presentation เพื่อนำเสนอ

หลักของมันก็คือเมื่อเรียนรู้แล้ว ก็ให้ได้ใช้งานมันไปเรื่อยๆ

4. เรียนรู้ด้วยตนเองที่บ้าน ที่ทำงาน และทุกที่ทาง

เราเข้าสู่โลกยุคใหม่ที่มีเทคโนโลยีในการเรียนรู้ เราควรใช้โอกาสจากการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และเรียนรู้ได้ในทุกสถานที่ โดยทั้งนี้ให้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนในการเรียนรู้ไปด้วยในตัว ที่สำคัญคือให้ใช้โอกาสใหม่ คือการใช้เทคโนโลยีสนับสนุน ทำให้ได้เรียนรู้ได้ ในทุกสถานที่และเวลา

อยู่ที่บ้าน เรียนรู้จากลูกๆ หลานๆ หรือจากคนที่เขาพอเป็นคอมพิวเตอร์บ้างแล้ว บางครั้งอยู่ที่บ้าน ก็จะได้มีเวลาในการศึกษาเล่าเรียนอย่างยืดหยุ่น ฝึกแสวงหา และเรียนรู้ด้วยตนเองให้มากยิ่งขึ้น

หากยังทำงาน อยู่ที่ทำงาน เป็นผู้ใหญ่กว่าเขา ให้เรียนรู้จากลูกน้องได้ อย่าไปรู้สึกอายหรือเสียศักดิ์ศรี หากเราจะเรียนด้วยการถามลูกน้อง แล้วจะได้รู้ใจลูกน้อง ว่าเป็นพวกมีจิตบริการ หากใครอยากรู้อยากเรียน พอมีเวลาก็ช่วยสอนช่วยแนะนะเขา หรือว่าเป็นพวกหลงตนเอง พอเห็นผู้ใหญ่ใช้งานคอมพิวเตอร์ไม่เป็นก็จะมองอย่างดูถูกไม่ให้เกียรติ คนประเภทหลังนี้ ก็ต้องสอนให้เขาเข้าใจสภาพความเป็นจริงว่า ความรู้ความสามารถด้านคอมพิวเตอร์นั้นเป็นเรื่องจำเป็น แต่ไม่ใช่เป็นทุกสิ่งทุกอย่าง มันเป็นเพียงคุณค่าด้านเดียว คนทำงานที่ดีนั้นยังต้องเรียนรู้ในอีกหลายๆ ด้าน บางด้านต้องเรียนจากผู้อาวุโส บางอย่างเรียนจากคนที่รู้เฉพาะด้าน บางอย่างเรียนรู้จากลูกค้าหรือผู้ติดต่อกับเรา คนที่มีลักษณะอหังการนั้นเป็นพวกที่ต้องสั่งสอนให้เปิดกว้างมากขึ้น

เราเรียนรู้ได้ในทุกที่ทุกทาง เมื่อเดินทางไปในที่ใดๆ ก็เรียนรู้จากเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้บันทึกเสียง แล้วเปิดฟังระหว่างเดินทาง ดังเช่นระบบบันทึกและเล่นด้านเสียงนั้นปัจจุบันเป็นระบบดิจิตอลเกือบหมดแล้ว ดังเช่นในระบบโทรศัพท์มือถือนั้นมีส่วนที่ใส่หน่วยความจำเอาไว้มากพอที่จะนำไฟล์บันทึกเสียงขนาดเล่นได้เป็นหลายๆวัน ในกรณีต้องนั่งรถโดยสาร รถไฟ ลงเรือที่ต้องใช้เวลาการเดินทางยาวนาน ก็ให้ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ มีทางเลือกในการฟังคำบรรยาย หรือเรื่องอื่นๆที่น่าสนใจต่างๆได้อีกมาก

5. เลือกใช้เครื่องมืออย่างเหมาะสม

ในโลกปัจจุบัน มีเครื่องมือเครื่องใช้ที่เป็นคอมพิวเตอร์อยู่มากมายให้เลือกใช้ บางทีมีมากจนคนที่จะใช้รู้สึกท้อ เพราะไม่มีความรู้ใดๆ เกี่ยวกับเครื่องมือเลย แม้มีเงิน ซื้อเครื่องเหล่านั้นมา ก็ไม่รู้จะใช้อย่างไร บางคนซื้อโทรศัพท์มือถือแบบใหม่มา ราคาหลายหมื่นบาท มันเป็นเครื่องมือในการทำงานและการสื่อสารที่ดี แต่ซื้อมาแล้วใช้งานได้ไม่ถึงร้อยละ 10-20 ของคุณค่ามัน ดังนี้ก็ถือเป็นความสูญเปล่า

เรื่องของ Hardware คอมพิวเตอร์มีหลายแบบตามความเหมาะสมในการใช้งาน ลองเลือกเครื่องมือหลักๆ เราหนีเครื่องมือเหล่านี้ไปไม่พ้น เช่น

เครื่อง Mainframe หรือคอมพิวเตอร์ใหญ่สุด เมื่อเราต้องการจะเบิกเงินจากธนาคาร ทำบัตรประชาชน เสียภาษี เหล่านี้ท้ายสุดก็จะมีระบบเครื่องขนาดใหญ่มาก บางที่เขาเรียกว่า Super Computer เพื่อทำหน้าที่จัดเก็บ ประมวลงานของเรา เราใช้มันโดยไม่รู้ตัว

เครื่องระดับ Mini Computer เป็นเครื่องส่วนกลางขนาดเล็กลงมา ทำหน้าที่เป็นเครื่องส่วนกลาง หรือที่เขาเรียกว่า server บริษัทขนาดกลางที่ต้องมีการจัดเก็บระบบข้อมูล ห้องสมุดสถาบันการศึกษาที่มีหนังสือเป็นล้านๆ เล่ม เหล่านี้ต้องทำระบบจัดการห้องสมุดอัตโนมัติ ก็ต้องใช้เครื่องเหล่านี้ เราจึงใช้ระบบอย่างไม่ได้ไปสัมผัสกับมันเช่นกัน

เครื่อง Personal Computer บางทีก็เรียกว่า Desktop computer หรือคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ เครื่องระดับนี้เป็นต้นไปที่เรามีสิทธิเลือกซื้อหามาใช้เป็นส่วนตัว หรือจะใช้ ณ ที่ทำงานก็ได้ ราคาเครื่องก็ถูกลงมาก ขนาดราคา 15,000บาท ก็สามารถหาซื้อใช้ได้แล้ว แต่เครื่องลักษณะนี้มีขนาดใหญ่พอสมควร ไม่เหมาะแก่การโยกย้ายไปทำงานในที่ต่างๆ

เครื่อง Laptop หรือ Notebook เป็นเครื่องระดับที่หิ้วไปไหนมาไหนได้ มีระบบไฟสำรอง ใช้งานโดยไม่ต้องเสียบปลั๊กทำงานได้สัก 2-3 ชั่วโมง ราคาก็ถูกลงมาอย่างมากเช่นกัน จนเหลือระดับราคา 30,000 บาท ก็หาซื้อย่างที่มีคุณภาพใช้ได้แล้ว

เครื่อง Palmtop computer หรือขนาดพกพาติดตัวใส่กระเป๋าเสื้อหรือกางเกงไปในที่ต่างๆได้ตลอดเวลา และในปัจจุบันแนวโน้มของเครื่องมือการทำงานยุคใหม่ จะเป็นระบบ Multi-function เครื่องหนึ่งเครื่องทำงานได้หลายๆอย่างไปพร้อมๆ กัน

โทรศัพท์มือถือหนึงเครื่อง มักจะมีเครื่องมืออื่นๆ ร่วมด้วย เช่นนอกจากจะใช้เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่แล้ว ยังเป็นโทรศัพท์มือถือ เครื่องบันทึกเสียง กล้องถ่ายภาพ วิทยุ หรือแม้แต่โทรทัศน์ ทำงานได้ใกล้เคียงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะไปทุกระยะ และราคาก็ลดลงมาอย่างมาก ในต่างประเทศอย่างเครื่อง IPhone ที่พัฒนาโดยบริษัท Apples มีหน่วยความจุขนาด 8 พันล้านไบท์ (GB) ซึ่งเรียกว่าเหลือเฟือในการจัดเก็บข้อมูลในการทำงาน ราคาที่ต่างประเทศประมาณ 13,000 บาท แต่หากนำเข้ามาในประเทศไทย ราคาอาจจะสูงระดับ 20,000-25,000 บาท แต่หากคนมีแผนการใช้งานอย่างเหมาะสมและคุ้มค่า ก็น่าใช้เหมือนกัน

ในการนี้ท่านคงต้องเลือกที่จะเริ่มขึ้นมาสักอย่างหนึ่งว่าจะใช้อะไรเป็นหลัก ถ้านั่งทำงานอยู่กับบ้านเป็นหลัก และใช้เครื่องและจอขนาดใหญ่มองได้ชัดเจนดี ราคาไม่แพง ก็ใช้เครื่องแบบ PC หรือเครื่องตั้งโต๊ะ หากจะต้องเดินทางบ่อย และทำงานนอกสถานที่ เช่นงานวิศวกร งานออกแบบที่ต้องไปใช้งานในสนาม ก็ต้องเลือกใช้เครื่องแบบกระเป๋าหิ้ว แต่หากเป็นประเภทต้องการความคล่องตัวยิ่งกว่านั้น ใช้เครื่องที่เบาและติดตัวไปได้ง่ายยิ่งกว่านั้น ก็ให้เลือกใช้แบบ Palmtop แต่สำหรับท่านที่ต้องการใช้เครื่องแบบกระเป๋าหิ้ว และเครื่องแบบพกติดตัว ต้องมีระบบสำรองข้อมูลไว้ให้ดี เผื่อเครื่องสูญหาย ตกหล่น ชำรุดได้ ก็ต้องมีระบบสำรองข้อมูลเก็บเอาไว้ที่บ้านหรือที่ทำงาน

6. เลือกใช้ซอฟต์แวร์อย่างเหมาะสม

เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาไปนั้น ระบบซอฟต์แวร์ก็มีพัฒนาการที่ควบคู่ไปด้วยกัน พูดกันไม่รู้จักจบ หากเป็นคนเริ่มเรียนรู้ใหม่ โปรแกรมในลักษณะที่คนทำงานทั่วไปต้องใช้กันมีดังนี้

ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์พื้นฐาน (ICT Fundamentals) เมื่อเริ่มใช้งาน ให้เข้าใจระบบ รู้ระบบ นับเป็นความรู้ขั้นพื้นฐานที่จำเป็น เหมือนคนจะรู้จักใช้รถ ก็ต้องรู้ว่าเบรคทำหน้าที่อย่างไร พวงมาลัยทำงานอย่างไร จะดูแลรักษาเครื่องขั้นพื้นฐาน น้ำมันเครื่อง น้ำและน้ำยาใส่หม้อน้ำ ระบายความร้อนทำหน้าที่อย่างไร ยางล้อทำหน้าที่อย่างไร ต้องเติมลมขนาดไหน ทางด้านคอมพิวเตอร์ก็มีความรู้บางอย่างที่เป็นพื้นฐาน บางอย่างต้องรู้ไว้ บางอย่างรู้ไว้เป็นประโยชน์ บางอย่างหากได้เริ่มใช้งานไป ก็จะค่อยๆ เรียนรู้ไปได้

การจัดการกับระบบ files และอื่นๆ ได้ เขาเรียกว่า file Management หากเป็นการเรียนรู้การใช้รถยนต์ ก็เหมือนเรียนโดยต้องลงมือหัดขับ และขับโดยเครื่องที่ไม่มีข้อมูลจัดเก็บ หากมีการทำคำสั่งใดผิดพลาด ก็จะไม่เป็นผลทำให้ต้องสูญเสียข้อมูลไป การเรียนในช่วงนี้หากมีการปูพื้นฐานให้ดีเพียงพอ การเรียนในระยะต่อๆ มาจะเป็นเรื่องที่สะดวกขึ้น เหมือนกับคนเรียนขับรถยนต์มาอย่างถูกลักษณะ ก็จะมีทักษะที่ดี ขับได้อย่างปลอดภัย ดูแลเครื่องยนต์และระบบต่างๆ ได้ดี แต่ถ้าพื้นฐานไม่ดี บางที่ต้องไปทำสิ่งที่ไม่ควรทำ ก่อให้เกิดความเสียหายได้

เมื่อมีพื้นฐานที่ดีแล้ว ก็จะมาสู่โปรแกรมที่จะใช้งานตามลักษณะต่างๆ เริ่มจากในขั้นพื้นฐานสัก 5 รายการ กล่าวคือ

ใช้เพื่อประมวลคำ (Word Processing) โปรแกรมในลักษณะนี้จะใช้เพื่อการพิมพ์งานต่างๆ หากใช้ได้คล่องพอสมควร ก็ควรจะฝึกพิมพ์ (Typing, Keyboarding) ให้สามารถพิมพ์ได้อย่างถูกต้อง และพิมพ์ได้สัก 25-30 คำต่อนาที ซึ่งมีโปรแกรมในการฝึกพิมพ์ที่สามารถเรียนรู้เองได้ ขอแนะนำให้หัดพิมพ์สัมผัสได้อย่างถูกต้อง จะเป็นประโยชน์ต่อท่านเองในระยะยาว ในโปรแกรมประมวลคำนั้น หากในระดับก้าวหน้าขึ้น ก็จะไปสู่ระดับจัดทำตารางข้อมูล การสอดใส่ภาพ งานกราฟิก การจัดทำงานพิมพ์เพื่อทำหนังสือ หรือสิ่งพิมพ์ต่างๆ

ใช้เพื่อการสื่อสารในระบบอินเตอร์เน็ต (Communication) การเรียนรู้โปรแกรมด้าน E-mailing หรือระบบไปรสณีย์ติดต่อผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต การสืบค้นหาข้อมูลต่างๆ ผ่านอินเตอร์เน็ต การสั่งซื้อของ การจัดทำธุรกรรมกับธนาคาร การสั่งซื้อและขายหุ้น การติดต่อกับต่างประเทศ เพื่อการดำเนินธุรกิจร่วมกัน เหล่านี้ต้องมีทักษะในการสื่อสาร และควรมีทักษะด้านภาษาที่ดีควบคู่ไปด้วย

ใช้เพื่อการทำงานเกี่ยวกับตัวเลข (Spreadsheet) เช่นการทำบัญชี การจัดทำงบประมาณ การศึกษาความเป็นไปได้ด้านความคุ้มหรือไม่คุ้มของโครงการ คอมพิวเตอร์เมื่อทำงานด้วยโปรแกรมต่างๆ สามารถช่วยงานด้านการเงินการบัญชีได้อย่างกว้างขวาง ทำงานได้มากกว่าเครื่องคิดเลขมากมาย

ใช้เพื่อการนำเสนองาน (Presentation) ซึ่งในสมัยก่อนเราต้องมีการทำแผ่นโปสเตอร์ขนาดใหญ่ ต้องหอบหิ้วไปนำเสนอ บางที่ต้องทำเป็น Slide หรือภาพยนตร์ แต่เดี๋ยวนี้สามารถทำงานนำเสนอโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย ทำได้ทั้งที่เป็นข้อความ ภาพ ภาพเคลื่อนไหว และสอดใส่เสียงได้ด้วย

ใช้เพื่อการจัดทำฐานข้อมูล (Database) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่นับว่าจะยากที่สุดสำหรับพื้นฐาน แต่หากรู้ไว้ว่ามันจะทำประโยชน์อะไรได้บ้าง กล่าวคือ มันจะเป็นประโยชน์ในการจัดทำฐานข้อมูลลูกค้า การจัดเก็บสินค้าคงคลัง การจัดเก็บเอกสาร หนังสือ หรือมีระบบอะไรที่ต้องจัดเก็บและสืบค้น เรียกใช้ได้อย่างสะดวก โปรแกรมนี้ก็จะเป็นประโยชน์

นอกจากนี้ ความรู้กว้างในระบบนั้น อาจมิได้หมายความว่าเราจะต้องไปดำเนินการในรายละเอียด แต่รู้พอที่จะสื่อต่อไปยังคนทำงาน ซึ่งระบบองค์การมักจะมีคนที่จะรู้และสามารถใช้งานโปรแกรมได้ และเราใช้ความสามารถของเขาในส่วนที่เราขาด แต่อย่างน้อยต้องสื่อสารกันได้ว่า เราต้องการให้เขาทำอะไร และระบบนั้นๆ ทำอะไรให้ได้บ้าง

7. เลือกมีและใช้ระบบเครือข่ายอย่างเหมาะสม

โดยทั่วไปสำหรับคนธรรมดามักจะไม่ค่อยรู้เรื่องระบบเครือข่ายการสื่อสารมากนัก จนกว่าว่าเราต้องทำงานที่บ้าน หรือต้องมีสำนักงานเป็นผู้ประกอบการขนาดเล็ก ขนาดย่อมด้วยตนเอง จะต้องมาคิดว่าเราจะใช้เครือข่ายอย่างไรเพื่อการสื่อสารและการทำงาน แต่สำหรับเครือข่ายเพื่อการสื่อสารนั้น ในปัจจุบันมักจะต้องเป็นเครือข่ายที่เปิดเพื่อการเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตเพื่อทำให้เราสามารถสื่อสารติดต่อได้กับคนทั่วโลก ยกเว้นว่าเราอยู่ในที่ซึ่งเป็นเกาะแก่ง ป่าเขา หรือในแดนที่ห่างไกลผู้คนจนไม่มีระบบเครือข่ายสื่อสารใดๆ รองรับได้ ลองหันมาให้ความสนใจกับเทคนิคเล็กๆ น้อยๆด้านเครือข่าย เพื่อประโยชน์ในการเรียกใช้

เครือข่ายภายในหน่วยงาน (Local Area Network) เรียกย่อๆ ว่า LAN หรือ แลน เป็นเครือข่ายท้องถิ่นที่มีใช้ในแต่ละตัวอาคาร สำนักงาน หน่วยงาน สถานศึกษา ฯลฯ ในระบบที่ยังใช้อยู่เป็นอันมาก คือการมีสายสัญญาณที่เราเห็นเป็นสายสีขาว มีหัวเสียบเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เราทางด้านหลัง สายพวกนี้มักจะเป็นพวก UTP มาจากคำว่า Un-Shielded Twisted Pairs เป็นสายสัญญาณที่ให้ความเสถียร มีความเร็วสูงถึง 100 ล้านบิทต่อวินาที และในบางกรณีอาจสูงถึง 1000 ล้านบิทต่อวินาที คือมีความเร็วที่สูงมาก แต่ระบบนี้จำเป็นต้องมีการเดินสายสัญญาณต่อเชื่อมระบบ

เครือข่ายความเร็วสูง (ADSL) เป็นเครือข่ายที่ให้สัญญาณต่อเชื่อมกับอินเตอร์เน็ตที่มีความเร็วสูง อาจเป็นสูงถึง 1-2 ล้านบิทต่อวินาที ซึ่งอันที่จริงก็คือการใช้สัญญาณสายโทรศัพท์ที่มีอยู่แล้วนั้นแอง ราคาค่าบริการก็ไม่แพงนัก คือประมาณ 500-1000 บาทต่อเดือน หากเป็นสำนักงาน มีเครื่องภายในสัก 4-6 ตัว ก็สามารถมาต่อบริการใช้ภายในได้อย่างสะดวกเพียงพอ ต้นทุนการใช้งานต่อหน่วย ต่อเครื่องก็จะไม่สูงมากนัก

เครือข่ายไร้สาย (CDMA) ก็คือระบบอินเตอร์เน็ตที่ใช้เสาสัญญาณเพื่อบริการเครื่องโทรศัพท์มือถือ ซึ่งมีกระจายอยู่ทั่วประเทศและทั่วโลกนั้นเอง ในปัจจุบันนี้ เราสามารถซื้อบริการดังกล่าวในหลายประเทศ และรวมถึงประเทศไทย ในการใช้บริการ CDMA เพื่อการสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ตนี้ ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับการสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ตของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งแบบตั้งโต๊ะ กระเป๋าหิ้ว หรือมือถือ คนที่ต้องทำงานแบบเคลื่อนที่ย้ายไปทำงานตามที่ต่างๆ อาจพิจารณาใช้บริการดังกล่าว เพื่อให้มีทางเลือกในด้านสถานที่ๆ ที่จะใช้ทำงานกว้างขวางยิ่งขึ้น

ความรู้ในด้านเครือข่ายเอาไว้บ้างนั้นเป็นประโยชน์ เพราะบางที่มีของดีๆ มากมาย แต่เราต้องเลือกใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะมันเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย มันเกี่ยวกับเครื่องมือที่เหมาะสมจะใช้งาน

8. เรื่องของ E-learning

การเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย คำว่า E มาจากคำว่า Electronic แต่ในระบบอิเลคโทรนิกส์ยุคใหม่ เราก้าวสู่โลกยุค Digital หรือระบบคอมพิวเตอร์มากขึ้นทุกขณะ E-learning จึงน่าจะเหมาะที่จะเรียกว่า ระบบการศึกษาหรือการเรียนรู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์สนับสนุน

ในอดีต ยุคพ่อแม่ของเรา เราอยู่ในยุค “โลกกว้างทางแคบ”

ตัวอย่าง “โลกกว้าง” คือ ในสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ใครจะไปอีสาน ต้องเดินทางผ่านดงพญาเย็น คนอีสาน พวกต้อนวัวต้อนควายมาขายในกรุงเทพฯ การเดินทางจากอีสานถึงกรุงเทพฯนั้นใช้เวลาเป็นเดือนๆ ไม่รู้จะติดโรคไข้ป่าตายไประหว่างทางหรือไม่

ในสมัยผู้เรียนไปศึกษาต่อต่างประเทศ ค่าเครื่องบินในการเดินทางไปเที่ยวเดียว แพงเท่ากับซื้อรถยนต์ได้ทั้งคัน ใครจะเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศจึงมีคนไปส่งกันนับเป็นร้อยๆ

แต่ปัจจุบัน ดูเหมือน “โลกจะแคบลง” ตัวอย่างเช่น ค่าเครื่องบินถูกลงโดยเปรียบเทียบ คนเดินทางไปต่างประเทศเหมือนว่าเล่น เด็กนักเรียนนักศึกษาที่เดินทางไปศึกษาต่อนั้น เขาเดินทางกลับบ้านทุกปี หรือทุกภาคการศึกษา

ในปัจจุบัน “โลกแคบ” เพราะการเดินทางเป็นอุปสรรคน้อยลง เราสามารถศึกษาหาความรู้ได้ โดยไม่ต้องเดินทางไปยังสถานศึกษา มหาวิทยาลัยหลายแห่งในต่างประเทศได้ปรับข้อความรู้ของเขาให้เป็นระบบออนไลน์ ใครอยากจะเรียนรู้อย่างไรก็ได้ เพราะถึงเขาสงวนความรู้นั้นๆไว้ เขาก็ไม่สามารถเก็บงำไว้ได้มากนัก เพราะความรู้นั้นอาจเรียนทันกันหมด

ดังนั้น คนที่มีทักษะด้านคอมพิวเตอร์อย่างดีพอสมควรแล้ว ก็จะได้โอกาสในการได้ศึกษาหาความรู้ในโลกใหม่ได้อย่างไม่จำกัด

ในโลกยุคปัจจุบัน คำว่า “ทางกว้าง” นั้นหมายถึงประสิทธิภาพของสื่อ สื่อย่างอินเตอร์เน็ตที่มีราคาถูกลง ประสิทธิภาพอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงนั้นยิ่งมีขีดความสามารถยิ่งขึ้น การสื่อสารได้เปิดกว้าง เราสามารถเรียกหาข้อมูลที่มีความเป็นสื่อสมบูรณ์ สื่อที่เป็นเสียง เป็นภาพ ภาพเคลื่อนไหว สื่อประสมที่มีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างฝ่ายผู้สอนกับฝ่ายผู้เรียน

สำหรับผู้สูงอายุ อาหารสมองที่สำคัญคือการศึกษา คนมีการศึกษา ครู อาจารย์ นักวิชาการ แม้เกษียณอายุแล้ว หากไม่หยุดยั้งที่จะเรียนรู้ และเรียนแล้วก็นำความรู้นั้นๆ มาถ่ายทอดให้กับคนรุ่นหลังๆ เป็นตัวอย่างที่ดี ดังนี้ก็จะเป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเอง และต่อสังคมแวดล้อม

9. สนุกกับการเรียนรู้

สมองคนเรานั้นเหมือนกับส่วนต่างๆ ของร่างกาย ใช้มากไปหนักเกินไป ก็อาจเสื่อมเร็วได้ เช่น นักกีฬาบางประเภท ใช้ร่างกายบางส่วนหนักมาก อวัยวะบางส่วนก็อาจสึกหรอ เสื่อมสภาพเร็วเกินควร เช่นนักกีฬาฟุตบอล รักบี้ เทนนิสในระดับอาชีพ ก็จะมีโรคอันเกิดจากอวัยวะส่วนที่ใช้งานหนักเสื่อมสภาพเร็วเกินควร ข้อเข่าสึก ข้อศอกเจ็บ แต่ในทางกลับกัน ไม่ออกกำลังกายเลย กลายเป็นคนอ้วน น้ำหนักเกิน ก็จะเกิดโรคอีกแบบหนึ่ง เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง

สมองของคนเราก็เช่นกัน ใช้งานมาก ไม่รู้จักหลับนอน พักผ่อนไม่เพียงพอ เครียดจัด เหล่านี้ก็ไม่ดีต่อสุขภาพทั้งระยะสั้นและระยะยาว แต่อีกด้านหนึ่ง ไม่ใช้งานเลย เกษียณแล้วหยุดทุกอย่าง ดังนี้ก็มีโอกาสตายเร็ว สมองเสื่อม ความจำสูญหาย ขาดแรงผลักดันในชีวิต เหล่านี้ก็มีให้เห็น

การได้เรียนรู้ ได้เห็น ได้ทำในสิ่งใหม่ๆ นับเป็นการออกกำลังทางสมองอย่างหนึ่ง

แต่สำหรับคนเกษียณแล้ว การทำงานอย่างใช้สมองพอเหมาะ เรียนรู้กระตุ้นให้สมองทำงานในสิ่งที่ท้าทาย เหล่านี้จะทำให้สุขภาพร่างกาย สติปัญญา และส่วนสมองทำงานได้ดีขึ้น สุขภาพจิตสมบูรณ์ และแก่ช้าลง

10. ให้รางวัลแก่ชีวิต

มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์แล้ว ลองหางานทำที่ให้รางวัลแก่ชีวิต

ทำงานแล้วไม่ได้เงิน แต่มีเงินทองมากเพียงพออยู่แล้ว ก็ไม่เป็นไร งานเป็นสิ่งมีคุณค่า งานคือธรรมะ ดังที่ท่านพุทธทาสได้เคยกล่าวไว้ แต่คนในวิชาชีพบางลักษณะ เป็นคนที่หายาก กว่าจะฝึกอบรมให้มีความสามารถได้ในขนาด ก็เป็นเรื่องที่ยาก ดังเช่น อาชีพ แพทย์ วิศวกร สถาปนิก นักออกแบบ ศิลปิน นักกฏหมาย ทนายความ คนบางคนจบปริญญาขั้นสูงมาจากต่างประเทศ รู้ภาษาต่างประเทศอย่างดี คนเหล่านี้หากจะเกษียณไปแล้วไม่ทำอะไรเลย ก็น่าเสียดายความรู้เหล่านั้น

คนในระดับดังกล่าว หากสังคมและระบบองค์การใดรู้ว่าเขาอยู่ที่ไหน ก็ให้หาทางเชื้อเชิญมาใช้ประโยชน์ เป็นเชื้อไฟ สร้างพลัง สร้างคนรุ่นใหม่ๆ ให้สามารถพัฒนาตนเองให้ตามทัน เหล่านี้เป็นสิ่งมีประโยชน์

สำหรับคนเกษียณอายุแล้ว หากหางานทำที่มีรายได้บ้าง มีความรู้ความสามารถด้านคอมพิวเตอร์ดีพอ ก็มีทางเลือกในการทำงาน ก็หาทางทำงานในระบบออนไลน์ หรือใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำงาน ทำงานได้อย่างยืดหยุ่น แม้จะเดินทางไปท่องเที่ยวในที่ต่างๆ ไปเที่ยวพักผ่อนในต่างประเทศ ก็ยังสามารถทำงานได้ในเวลาและสถานที่ต่างๆ ได้อย่างยืดหยุ่น

นายวัฒนพงค์ ขันทองดี

สรุปบทเรียนวันที่ 9 กันยายน 2551 นายวัฒนพงค์ ขันทองดี

หลักในการบริหารคุณภาพขององค์กร

การเทียบเคียงโดยอาศัยกระบวนการและวิธีการ โดยหาวิธีการที่ดีสุดขององค์กรหรือระหว่างองค์กรกับองค์กร หรือหน่วยงานกับหน่วยงาน

* KPI - ปัจจัยในการชี้วัดความสำเร็จ- การปรับระดับความต้องการโดยการนำเสนอขบวนการ ( บ่งชี้วัด )

* I Q M Total Quality menetment เพื่อให้เกิดการบริหารที่เกิดความพึงพอใจคือ

- การให้ความสำคัญกับลูกค้า

- การพัฒนา/ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

- สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วม -ทุกภาพส่วนมีคุณภาพ- เน้นคุณภาพทุกมิติ- ลูกค้าพึงพอใจ

และทุกคนมีส่วนร่วมในการทำ การรับผลประโยชน์ มีความตั้งใจและมีพันธสัญญาที่ขัดเจน

การจัดการคุณภาพโดยภาพรวมพื้นฐาน ของ TQM มีดังนี้

1. การมีขอผูกพันร่วมกันและการสนับสนุนฝ่ายบริหาร

2. การปรับผลกระทบกับลูกค้า

3. ประสิทธิภาพและการใช้งาน

4. การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

5. การให้ความสำคัญแก่ผู้ขาย

6. การกำหนดสมรรถนะในการทำงานและกระบวนการเช่น

- การจัดระบบต้องมีกระบวนการ

- ความสามารถเฉพาะด้าน

- เทคโนโลยี

- การแข่งขัน

- การมีส่วนร่วม

- ยิ่งโตยิ่งใช้จิตเชี่ยวชาญสูง

- ยิ่งสูงยิ่งต้องรู้และต้องเรียนรู้ให้มากให้คุ้มภูมิของเราเอง

การจัดการคุณภาพโดยรวม

การบริหารจัดการองค์กรเป็นความจำเป็นที่องค์กรหรือหน่วยงานต้องคำนึงถึงไม่ว่าจะเป็นองค์กรหรือหน่วยงานใดทั้งของรัฐและเอกชน เพราะเป็นตัวชี้วัดคุณภาพและศักยภาพขององค์กรสร้างผลผลิต หรือผลิตภัณฑ์ที่เชิดหน้าชูตาและเป็น แบนด์เนมที่ทำให้ลูกค้าต้องการและ ศักยภาพในการแข่งขัน การประกันคุณภาพ และเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง พนักงานหรือคนในองค์กรเกิดความพึงพอใจและได้รับผลประโยชน์อย่างทั่วหน้า แม้เราจะมี วิธีการที่มากมายแต่จุดมุงหมายสูงสุดก็เช่นเดียวกัน

แม่ชีฉวีวรรณ อ่ออน้อม

สวัสดีคะ อาจารย์กีรติ จากการได้มีโอกาสไปดูการบริหารสถานศึกษา ที่โรงเรียนประชานิเวศน์ ซึ่งเป็นการเรียนรู้จากสถานที่จริง และทำให้ได้รับประสบการณ์ที่ดีในชีวิต มีความประทับใจมาก เพราะโรงเรียนประชานิเวศน์เป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียง มีความเป็นเลิศทางด้านวิชาการ และกิจกรรมต่างๆ เป็นโรงเรียนที่มีนักเรียน ผู้ปกครองหลายท่านที่อยากจะส่งบุตรหลานเข้าไปเรียน เปลื่อมล้นไปด้วยศักยภาพ คุณภาพ ประสิทธิภาพ

จากการดูงานการบริหารสถานศึกษาครั้งนี้ ก็ได้รับสิ่งที่ดีๆหลายอย่าง เริ่มต้นจากการต้อนรับ แสดงถึงความเป็นมิตรไมตรีที่ดีงาน มีน้ำให้ความเป็นกันเอง ช่วยเหลือนักศึกษาเป็นอย่างดี และนอกจากการต้อนรับที่ประทับใจแล้วโรงเรียนประชานิเวชน์ยังเป็นโรงเรียนที่มีความเป็นเลิศ ในทุกๆด้าน แทบจะหาที่ติไม่ได้เลย ถ้าเปรียบเทียบกับโรงเรียนในกรุงเทพมหานครทั่วไป เป็นโรงเรียนตัวอย่างมีการนำร่องกิจกรรมเสริมหลักสูตรมากมาย แต่ละกิจกรรมก็เป็นที่ยอมรับและน่านำเอาเป็นแบบอย่าง เช่นกิจกรรมเสริมสร้างประชาธิปไตย มีการลงคะแนนเลีอกตั้ง เลือกนายยกรัฐมนตรี มีการทำงานจริง เป็นโรงเรียนแรกที่มีกิจกรรมดีๆอย่างนี้ โครงการเด่นๆมีมากมาย และน่าที่จะเรียนรู้เป็นอย่างมาก สรุว่าการดูงานครั้งนี้มีแต่ความรู้สึกที่ดีๆ และสามารถนำเทคนิค หรือกิจกรรมต่างมาใชในการทำงานของสถานศึกษาของเราได้เป็นอย่างดี

การบริหารโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศนั้น จำเป็นต้องพัฒนาคุณภาพทั้งองค์การ เพราะจะทำให้สถานศึกษามุ่งไปสู่ความสำเร็จได้ ซึ่งอีกวิธีหนึ่งที่นักบริหารสถานศึกษา ควรนำมาใช้ คือ TQM (Total Quality Management) การบริหารสถานศึกษาเพื่อมุ่งคุณภาพทั้งองค์การ

สถานศึกษาที่ต้องการสู่ความเป็นเลิศนั้น ควรจะต้องการเปลี่ยนแปลง หรือพัฒนาไปทั้งองค์การไม่ใช่เฉพาะด้านใดด้านหนึ่ง หรือปฏิบัติเฉพาะกิจเป็นช่วง ๆ

TQM มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ คือ การปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การดเนินงานในทุก ๆ ด้าน มีคุณภาพ ผลจากการทำงานที่มีคุณภาพจะได้ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีคุณภาพตามความต้องการ หรือคาดหวังของลูกค้า

รูปแบบการบริหารที่มุ่งสู่คุณภาพทั้งองค์การมีดังนี้

1. มุ่งลูกค้า เด็กนักเรียนและผู้ปกครอง ถือว่าเป็นลูกค้ารายใหญ่ ความสัมพันธ์

ระหว่างลูกค้าและผู้ให้บริการเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะลูกค้าก็มุ่งหวังที่จะได้รับสิ่งดี ๆ จากผู้ให้บริการเป็นหน้าที่ของผู้ให้บริการที่จะต้องเข้าใจความต้องการของลูกค้า นำสิ่งที่ลูกค้าต้องการมาก่อนกำหนดเป็นแนวทางในการจัดบริการที่เหมาะสมต่อไป

2. ทุกคนมีส่วนร่วม ทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการปรับปรุงสถานศึกษา เป็นความรับผิดชอบของทุกคน คุณภาพการศึกษาต้องอาศัยพลังของทุกคน จึงจะบรรลุผลสำเร็จ

3. ตรวจวัดความก้าวหน้า ผู้บริหารส่วนใหญ่มักแก้ปัญหาโดยไม่มีข้อมูลที่เพยงพอ ซึ่งในแง่การปรับปรุง ถ้าไม่สามารถตรวจวัดผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ก็ปรับปรุงไม่ได้ สถานศึกษาก็เช่นกันถ้าไม่มีมาตรการในการตรวจวัด สถานศึกษาก็จะไม่ก้าวหน้า

4. มีความผูกพัน ผู้บริหารทุกระดับ ต้องมีความผูกพันกับสถานศึกษาจึงจะสร้างพลัง เพื่อพัฒนาให้มีคุณภาพด้วย

5. ปรับปรุงโดยต่อเนื่อง การจัดการในสถานศึกษาต่างมุ่งหวังที่จะทำวันพรุ่งนี้ให้ดีกว่าเมื่อวานหรือวันนี้ ดังนั้นต้องคอยสอดส่องดูแล เพื่อป้องกันปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นตลอดเวลา ขณะเดียวกันก็ต้องแก้ไขปัญหา อุปสรรค เพื่อพัฒนาให้องค์กรดีขึ้น

ดังนั้น การนำ TQM มาบริหารงานในสถานศึกษานั้น หัวใจสำคัญคือ

วิสัยทัศน์ ผู้บริหารต้องมีความมุ่งมั่น ตั้งใจจริงที่จะดำเนินการตามแนวทางของ TQM เพื่อนำมาใช้ในหน่วยงานของตน

สรุป การนำแนวคิด TQM มาประยุกต์ใช้ในหน่วยงาน หรือ สถานศึกษาถ้าต้องการมุ่งสู่ความเป็นเลิศ สิ่งที่ผู้บริหารพึงตระหนักได้แก่

1. การมุ่งให้ความสำคัญกับลูกค้าหรือผู้รับบริการ

2. การปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อประสิทธิภาพของการทำงาน

3. การเข้ามามีส่วนร่วมของทุกคนทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำความคิดที่หลากหลาย มาปรับปรุงคุณภาพของการทำงาน นอกจากนี้ ผู้บริหารควรตระหนักในเรื่องการทำให้ถูกต้องตั้งแต่ครั้งแรกและทุกครั้ง ซึ่งจะสู่การบริหารอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

คำถาม

ท่านเห็นว่า TQM เป็นสูตรสำเร็จของการบริหารที่นำไปใช้กับสถานศึกษาของท่านได้อย่างแท้จริงหรือไม่ อย่างไร จงอธิบาย

สกุลรัตน์ โรจนพรพิรักษ์

สรุปบทเรียน วันที่ 19 สิงหาคม 2551

การบริหารตามหลักกลยุทธ์ Balance scorecard ( Bsc )

Balanced Scorecard คืออะไร

Balanced Scorecard (BSC) คือ ระบบหรือกระบวนในการบริหารงานชนิดหนึ่งที่อาศัยการกำหนดตัวชี้วัด (KPI) เป็นกลไกสำคัญ Kaplan และ Norton ได้ให้นิยามล่าสุดของ Balanced Scroecard ไว้ว่า “เป็นเครื่องมือทางด้านการจัดการที่ช่วยในการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ (Strategic Implementation) โดยอาศัยการวัดหรือประเมิน (Measurement) ที่จะช่วยทำให้องค์กรเกิดความสอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และมุ่งเน้นในสิ่งที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กร (Alignment and focused) ”

มุมมองทั้ง 4 ประกอบด้วย

มุมมองด้านการเงิน (Financial Perspective)

มุมมองด้านลูกค้า (Customer Perspective)

มุมมองด้านกระบวนการภายใน (Internal Process Perspective)

มุมมองด้านการเรียนรู้และการพัฒนา (Learning and Growth Perspective)

การบริหารสถานศึกษาแบบBalanced Scorecard

เป็นการบริหารสถานศึกษาที่ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบในการประสบความสำเร้จทั้ง สี่ ด้าน ซึ่งในแต่ด้านมีความสำคัญทั้งสิ้น ในการประสบความสำเร็จในองค์กร สถานศึกษานั้น ต้องมีดำเนินการประเมิน เพื่อช่วยให้การปฏิบัติงานนั้นประสบความสำเร็จได้

สกุลรัตน์ โรจนพรพิรักษ์

สรุปบทเรียนวันที่ 9 กันยายน 2551 หลักในการบริหารคุณภาพขององค์กร ในการบริหารองค์กรไม่ว่าเป็นองค์กรที่มุ่งแสวงหากำไร เช่ยบริษัท ต่าง ๆ ร้านค้า และองค์กรที่ไม่มุ่งแสวงหากำไร เช่นสถานบันการศึกษา กระทรวง หน่วยงานราชการต่างๆ ต่างก็ต้องการให้การบริหารองค์กรของตนนั้นประสบความสำเร็จในการจัดการให้มากที่สุด จึงมีการนำหลักการบริหารองค์กรต่าง ๆ มาใช้ ได้แก่ BSC (Balance Sore Card),TQM (Total Quality Management) เป็นต้น TQM หมายถึง ระบบการทำงานที่เป็นวัฒนธรรมขององค์การที่สมาชิกทุกคนต่างให้ความสำคัญ และมีส่วนร่วม ในการพัฒนาการดำเนินงานขององค์การอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งที่จะตอบสนองความต้องการ และสร้างความพอใจให้แก่ลูกค้า ซึ่งจะสร้างโอกาสทางธุรกิจ ความได้เปรียบในการแข่งขันและพัฒนาการที่ยั่งยืนขององค์การ TQM มี หลักการที่สำคัญ 3 ประการ คือ 1. การให้ความสำคัญกับลูกค้า (Customer Oriented) ลูกค้าเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ธุรกิจอยู่รอด และความมุ่งหมายเดียวของธุรกิจ คือ การสร้างและรักษาลูกค้าการให้ความสำคัญกับลูกค้า 2. การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement)ศึกษา วิเคราะห์และทบทวนข้อมูลการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมเพื่อหาแนวทางในการพัฒนา และปรับปรุงคุณภาพของระบบและผลลัพธ์อย่างสร้างสรรค์ พยายามหาวิธีในการแก้ไขปัญหา และพัฒนาการดำเนินงานที่เรียบง่ายแต่ให้ผลลัพธ์สูง ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลงานอย่างเป็นระบบ 3. สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วม (Employees Involvement) ตั้งแต่พนักงานระดับปฏิบัติการ จนถึงหัวหน้าคณะผู้บริหาร (Chief Executive Officers) หรือ CEOS ที่ไม่ใช่เพียงปฏิบัติงานแบบขอไปทีเท่านั้นแต่ต้องมีความเข้าใจและยอมรับในการสร้างคุณภาพสูงสุดให้เกิดขึ้น ไม่เฉพาะบุคคลในหน่วยงาน แต่ทุกหน่วยงานจะต้องร่วมมือกันในการพัฒนาคุณภาพของธุรกิจอย่างสอดคล้องและลงตัว

     ในการประสบความสำเร็จในการบริหารในองค์กรนั้นต้องมีปัจจัยหลายประการได้แก่การผู้ต้องมีวิสัยทัศน์ว่าการบริหารนั้นจะประสบความสำเร็จ การมีส่วนรวมของคนในองค์กรว่าหากมีการเปลี่ยนแปลงในการบริหารแล้วผลประโยชน์ขงเขาจะไม่สูญหายไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท