คำเพชร


หนังสือเล่มนี้ รอการอ่าน รอการปฏิบัติ?

วันที่ 10 มีนาคม 2549 ที่ห้องประชุม 1 ศาลากลาง จ.น่าน มีการประชุมคณะอนุกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าน่าน   สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2549 คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตน์โกสินทร์และเมืองเก่าได้ประชุมปรึกษาหารือและมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการฯ ดังกล่าว

นายจรินทร์ จักกะพาก รอง ผวจ.น่าน เป็นผู้แทนนายปริญญา ปานทอง ผวจ.น่าน ( ติดราชการ กรุงเทพมหานคร ) เป็นประธานที่ประชุม มีผู้ทรงคุณวุฒิจากกรุงเทพฯ 4 ท่านผู้ติดตามอีก 2 รวมเป็น 6 ท่านร่วมประชุมเสนอแนะความคิดเห็น

ความตอนหนึ่งที่ขอบันทึกไว้  โดย นพ.บุญยงค์ วงศ์รักมิตร ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการฯ ได้พูดไว้ หลังจากที่คุณมานิตฯ  ผู้ทรงคุณวุฒิที่เดินทางจากกรุงเทพฯ กล่าวเสนอแนะให้ข้อคิดแก่ที่ประชุมเป็นอย่างดี  นพ.บุญยงค์ฯ กล่าวว่า " หนังสือเล่มนี้  รอการอ่าน และรอการปฏิบัติ .."

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 18483เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2006 08:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 16:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

มติคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า เรื่อง การอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าน่าน........วันที่ 20  กันยายน  2548
คณะรัฐมนตรีพิจารณามติคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า เรื่อง การอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าน่าน  ตามที่คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า (สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี  (นายพินิจ จารุสมบัติ)   เป็นประธานกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่าเสนอ    แล้วมีมติเห็นชอบตามมติคณะกรรมการฯ ทั้ง 3 ข้อดังนี้
                                1. การประกาศเขตพื้นที่เมืองเก่าน่าน   และเวียงพระธาตุแช่แห้งเป็นพื้นที่อนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า
                                2. แผนแม่บทและผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองเก่าน่าน
                                3. การแต่งตั้งคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าน่าน ดำเนินงานในพื้นที่เมืองเก่าน่าน โดยมี
ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการ 
                                ทั้งนี้ คณะกรรมการ ฯ ชี้แจงว่า สืบเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2548 สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการฯ ได้จัดทำแผนแม่บทและมีหัวแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองน่านเก่าเสร็จเรียบร้อยแล้ว  ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
                                1. วัตถุประสงค์
                                                1.1 เพื่อให้มีการอนุรักษ์อาคาร สถานที่ คูน้ำ-คันดินและกำแพงเมือง  ศาสนสถาน  รวมทั้งภูมิทัศน์
ที่มีคุณค่าและความสำคัญทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีและสถาปัตยกรรม และสภาพแวดล้อมโดยรวม
                                                                1.2 เพื่อให้มีการพัฒนาในพื้นที่บริเวณเมืองเก่า มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับแผนแม่บท
การอนุรักษ์  รวมทั้งไม่ก่อให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเมืองเก่า
                                                                1.3 เพื่อให้บริเวณเมืองเก่าน่าน  และเวียงพระธาตุแช่แห้ง ได้รับการคุ้มครอง ดูแลรักษาไว้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติตลอดไป
                                                                1.4 เพื่อให้มีองค์กรหลักในการบริหารจัดการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองน่าน
                                                                1.5 เพื่อให้เมืองเก่าน่าน  และเวียงพระธาตุแช่แห้งได้รับการปรับปรุงสภาพแวดล้อม และเป็นแหล่ง
ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่มีคุณภาพระดับชาติ/ประเทศ
                                2. ขอบเขตพื้นที่เมืองเก่าที่ต้องเร่งร่างแผนอนุรักษ์และพัฒนา
                                                2.1 พื้นที่ในเมืองน่าน  เนื้อที่รวม 0.18 ตารางกิโลเมตร
                                                                2.2 พื้นที่เวียงพระธาตุแช่แห้ง เนื้อที่รวม 0.13 ตารางกิโลเมตร
                                3. ยุทธศาสตร์และกลยุทธ์
                                                3.1 ยุทธศาสตร์ที่ 1 การกำหนดพื้นที่เมืองเก่าประกอบด้วย 3 กลยุทธ์
                                                                3.2 ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างกลไกการบริหารจัดการเมืองน่านเก่าและพื้นที่โดยรอบเชิงบูรณาการ ประกอบด้วย 8 กลยุทธ์
                                                                3.3 ยุทธศาสตร์ที่ 3  การอนุรักษ์สภาพแวดล้อมเพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างธรรมชาติ ศิลปกรรม  และคุณภาพชีวิต  ประกอบด้วย 1 กลยุทธ์
                                                                3.4 ยุทธศาสตร์ที่ 4 การใช้ประโยชน์เมืองเก่าน่านอย่างรู้คุณค่าเพื่อประชาชนในเขตเมืองเก่า ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์
                                                                3.5 ยุทธศาสตร์ที่ 5 การส่งเสริมการเป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก  ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์
                                                                3.6 ยุทธศาสตร์ที่ 6 การส่งเสริมการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารอนุรักษ์และพัฒนาเมืองน่านเก่า ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์
                                4. คณะกรรมการฯ ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 3/2548  เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2548  เห็นชอบแผนแม่บทและผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองน่านเก่าแล้ว ดังนั้น  เพื่อให้บริเวณเมืองเก่าน่านได้รับการคุ้มครองดูแลอย่างถูกต้องและเหมาะสม  และดำรงคุณค่าความเป็นมรดกทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมสำคัญยิ่งของประเทศไว้ได้
ตลอดไปhttp://www.thaigov.go.th/news/cab/48/cab20sep48.htm

ข้อมูลเรียงไม่สวยนัก ขออภัย เนื้อหาได้สำเนามาจากเว็ปราชการ

สวัสดีครับ.......

ผมนั่งอ่านหนังสือแผนแม่บทถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ ทำให้ นึกถึงเวียงกุมกาม เขาพาเราไปดูสิ่งที่ไม่มีชีวิตแล้ว แต่ที่เมืองน่านเก่าที่กำลังคุยกันอยู่นี้  ยังมีชีวิตและรอคอยคนป้อนข้าวป้อนน้ำให้แข่งแรงทนต่อกระแสทุนนิยมและวัตถุนิยม  ถ้าเราทำงานตามที่ศึกษาเสนอในหน้า ๙ - ๓๙ ได้   ผมว่าคนจะรู้จักเมืองเก่า

น่านบนวิถีชีวิตชาวน่าน เท่าที่อ่านแล้ว เห็นว่า  มีความจำเป็นจะต้อง ดำเนินตามแผนในหนังสือเรียงแบบ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕...........หรือไม่ก็ทำตรงไหนก่อนหลังก็ได้  ถ้าดำเนินงานตรงไหนก่อนหลังก็ได้ก็คงไม่ยากเท่าไหร่ที่จะทำ   ข้อความตามแผนงานในหนังสือ มีแผนบ้ายเมืองย้ายอาคาร  ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องยากและต้องใช้เวลากับใช้งบประมาณที่ สูงต้องทำความเข้าใจกับทุกภาคส่วนกว่าจะทำได้คงใช้เวลาอีกนานอยู่

แต่ในแผนมีบางส่วนที่ทำได้เลย  และใช้เวลาไม่นานก็จะเห็นผลก็คือแผน ฯ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับ อาคารและไม่กระทบกับผู้คนมากนัก   คือ  แผนฯด้านสังคมและแผนด้านเศรษฐกิจ อย่างแผนด้านเศรษฐกิจ ดูแล้วมีงบกระจัดกระจายอยู่เต็มไปหมดที่ต่างคนต่างทำขาดการบูรณาการ  เหมือนเราท่านรู้กันอยู่ 

ในเขตเมืองเก่าน่าน ควรใช้คณะอนุกรรมการฯ เมืองเก่าน่านจัดการโดยใช้งบที่มีอยู่อย่างกระจัดกระจายใช้แนวเศรษฐกิจพอเพียงผมว่า ทำได้ แผนด้านสังคมในแผนให้จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนา ตะวันออก ดูแล้วไม่ใช้เรื่องยากที่คณะจะทำ เพราะวิถีชีวิตชาวน่านผูกพันอยู่กับสิ่งเหล่านี้อยู่แล้วเพียงแต่เข้ามาจัดการให้เหมาะสม ( ยังมีต่ออีก)

ทุกวันนี้ คำว่า  " บูรณาการ " ในความคิดส่วนตัวไม่น่าจะมาใช้กับวัฒนธรรมได้ มีอยู่อีกเรื่อง หนึ่ง คิดว่ามีผู้คนไม่น้อยอาจลืมบุคคลสำคัญผู้นี้ไปแล้วก็ได้  คือ พ่อครูไชยลังกา เครือเสน ที่พูดถึงก็เพราะคิดมานานแล้วว่าจะมีอะไรสักอย่างที่เป็นหลักยึดในเรื่องศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน

ขณันี้ หลายหน่วยงานร่วมทั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่านมุ่งไปที่ พ่อครูคำผาย นุปิง ศิลปินแห่งชาติ ที่ยังมีชีวิตอยู่ ที่ทำอยู่คาดว่าคงเพราะมองว่าท่านยังมีชีวิต แต่ที่แจ้งให้ทราบเกี่ยวกับพ่อครูไชยลังกา เครือเสน ท่านมีภูมิความรู้ที่สุดจะบรรยายและยังมั่นในเรื่องวัฒนธรรมที่น่ายกย่อง บุคคลสำคัญท่านนี้ประกาศความเป็นศิษญ์เสมอ  ขณะนี้มีตำแหน่งเป็น  นายกเทศมนตรีเมืองน่าน คุณนามโรจน์ ศรีวรรณนุสรณ์ ลูกศิษย์ของพ่อครูไชยลังกา  ในเรื่องนี้คนไม่รู้ยังมีอีกมาก  เป็นเช่นนี้ยากไปไหม  ที่เทศบาลเมืองน่านจะทุ่มเทงบประมาณตอบแทนคุณงามความดี ส่งเสริมงานศิลปวัฒนธรรม  เพื่อที่จะช่องทางให้ศิษย์พ่อครูได้มารวมตัวกัน  ร่วมมือ ร่วมใจกิจกรรมดีในเขตเมืองเก่าน่าน   โครงการดี ๆ  เช่นว่านี้ พ่อครูคำผาย นุปิง ศิลปินแห่งชาติ คงไม่ขัดข้องที่จะมาร่วมหากได้ประสานงานไป เพราะท่านเองก็เป็นศิษย์ของ พ่อครูไชยลังกา  เครือเสน  ที่พร้อมสนองบุญคุณครูบาอาจารย์

 

รักน่านเหมือนคุณ
ขอบคุณครับที่สนับสนุนผมให้ได้เข้าร่วมประชุมแรู้สึกหวงแหนเมืองน่าน อันเป็นบ้านเกิดมากขึ้นกว่าเดิมอีกเพราะที่ทำงานจริง ๆ จัง ๆ  และมีคนต่าง จังหวัดมาบอกว่า  "ขอร่วมรักเมืองน่านด้วย"  และท่านเหล่านั้นเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ
ทั้งนั้น.....ผมกำลังอ่านหนังสือแผนแม่บทอยู่ครับยังไม่จบ  และ  ถ้าได้มีโอกาส ทำงานร่วมกับคุณหมอชาตรีได้นับว่าเป็นโอกาสอันดีของผมที่จะได้เรียนรู้ และขอเรียนว่า ผมมีจิตอาสา ทำงานเพื่อบ้านเพื่อเมืองอย่างเต็มกำลังความสามารถที่มีอยู่และพร้อมน้อมรับคำชี้แนะจากผู้รู้ทุกท่านครับ  สิ่งดีงามมีมากในหนังสือที่ผมกำลังอ่านและได้คำชี้แนะดีจากพ่อหมอบุญยงค์ฯ  ที่ได้กล่าวในการประชุมเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2549 ว่าหนังสือดีรอการอ่านและรอการปฎิ บัติ"  ขอบพระคุณครับ
 
 

สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรี
                        วันที่ 20 กันยายน 2548 เมื่อเวลา 08.30  น. ณ ห้องประชุม ชั้น 2 ตึกสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีหลังใหม่  ทำเนียบรัฐบาล นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์   รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี 

 ได้ร่วมกันแถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล สรุปสาระ              
................

2.  เรื่อง  มติคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า เรื่อง การอนุรักษ์และพัฒนา
             เมืองเก่าน่าน
                                คณะรัฐมนตรีพิจารณามติคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า เรื่อง การอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าน่าน  ตามที่คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า (สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี  (นายพินิจ จารุสมบัติ)   เป็นประธานกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่าเสนอ    แล้วมีมติเห็นชอบตามมติคณะกรรมการฯ ทั้ง 3 ข้อดังนี้
                                1. การประกาศเขตพื้นที่เมืองเก่าน่าน   และเวียงพระธาตุแช่แห้งเป็นพื้นที่อนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า
                                2. แผนแม่บทและผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองเก่าน่าน
                                3. การแต่งตั้งคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าน่าน ดำเนินงานในพื้นที่เมืองเก่าน่าน โดยมี
ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการ 
                                ทั้งนี้ คณะกรรมการ ฯ ชี้แจงว่า สืบเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2548 สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการฯ ได้จัดทำแผนแม่บทและมีหัวแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองน่านเก่าเสร็จเรียบร้อยแล้ว  ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
                                1. วัตถุประสงค์
                                1.1 เพื่อให้มีการอนุรักษ์อาคาร สถานที่ คูน้ำ-คันดินและกำแพงเมือง  ศาสนสถาน  รวมทั้งภูมิทัศน์
ที่มีคุณค่าและความสำคัญทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีและสถาปัตยกรรม และสภาพแวดล้อมโดยรวม
                                1.2 เพื่อให้มีการพัฒนาในพื้นที่บริเวณเมืองเก่า มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับแผนแม่บท
การอนุรักษ์  รวมทั้งไม่ก่อให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเมืองเก่า
                                1.3 เพื่อให้บริเวณเมืองเก่าน่าน  และเวียงพระธาตุแช่แห้ง ได้รับการคุ้มครอง ดูแลรักษาไว้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติตลอดไป
                                1.4 เพื่อให้มีองค์กรหลักในการบริหารจัดการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองน่าน
                                1.5 เพื่อให้เมืองเก่าน่าน  และเวียงพระธาตุแช่แห้งได้รับการปรับปรุงสภาพแวดล้อม และเป็นแหล่ง
ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่มีคุณภาพระดับชาติ/ประเทศ
                                2. ขอบเขตพื้นที่เมืองเก่าที่ต้องเร่งร่างแผนอนุรักษ์และพัฒนา
                                2.1 พื้นที่ในเมืองน่าน  เนื้อที่รวม 0.18 ตารางกิโลเมตร
                                2.2 พื้นที่เวียงพระธาตุแช่แห้ง เนื้อที่รวม 0.13 ตารางกิโลเมตร
                                3. ยุทธศาสตร์และกลยุทธ์
                                3.1 ยุทธศาสตร์ที่ 1 การกำหนดพื้นที่เมืองเก่าประกอบด้วย 3 กลยุทธ์
                                3.2 ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างกลไกการบริหารจัดการเมืองน่านเก่าและพื้นที่โดยรอบเชิงบูรณาการ ประกอบด้วย 8 กลยุทธ์
                                3.3 ยุทธศาสตร์ที่ 3  การอนุรักษ์สภาพแวดล้อมเพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างธรรมชาติ ศิลปกรรม  และคุณภาพชีวิต  ประกอบด้วย 1 กลยุทธ์
                                3.4 ยุทธศาสตร์ที่ 4 การใช้ประโยชน์เมืองเก่าน่านอย่างรู้คุณค่าเพื่อประชาชนในเขตเมืองเก่า ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์
                                3.5 ยุทธศาสตร์ที่ 5 การส่งเสริมการเป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก  ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์
                                3.6 ยุทธศาสตร์ที่ 6 การส่งเสริมการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารอนุรักษ์และพัฒนาเมืองน่านเก่า ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์
                                4. คณะกรรมการฯ ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 3/2548  เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2548  เห็นชอบแผนแม่บทและผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองน่านเก่าแล้ว ดังนั้น  เพื่อให้บริเวณเมืองเก่าน่านได้รับการคุ้มครองดูแลอย่างถูกต้องและเหมาะสม  และดำรงคุณค่าความเป็นมรดกทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมสำคัญยิ่งของประเทศไว้ได้
ตลอดไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท