สื่อ นวัตกรรม และการวิจัย 5 บท ที่ไม่ยากแต่ก็ยังไม่เคยรู้มาก่อน


ทำวิจัย 5 บทได้โดยง่าย

เมื่อวันเสาร์อาทิตย์ 17-18 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ครูสุได้เข้าร่วมอบรม เรื่อง กระบวนการจัดทำและเผยแพร่การวิจัยในชั้นเรียน การวิจัยในชั้นเรียน หรือ นวัตกรรมในชั้นเรียน เพื่อผลงานทางวิชาการ โดยจัดอบรมขึ้น ณ โรงเรียนเวียงแหงวิทยาคม อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีคณะวิทยากรจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ คือ ผศ.ดร.หนูม้วน ร่มแก้ว และ ผศ.สมศักดิ์  เอี่ยมธรรมชาติ

ในความรู้สึกของครูสุตอนแรกคือ กลัวเรื่องการวิจัยมาก เคยแต่ทำวิจัยหน้าเดียว แต่ไม่เคยทำวิจัยถึง 5 บท ถ้าทำก็คงทำไม่ถูกต้องตามหลักการแน่ ๆ ถึงให้ครูที่เก่ง ๆ ทางวิจัยมาสอนก็ช่างเถอะ  แต่พอได้มาฟังบรรยายจากอาจารย์ระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งท่านทั้งสองเก่งมากและเป็นกรรมการตรวจผลงานทางวิชาการของครูอาจารย์มานับไม่ถ้วน ทำให้ครูสุเกิดความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้ง ว่า การทำสื่อ นวัตกรรม การวิจัย ต้องทำอย่างไรบ้าง

เริ่มต้นจากคำว่าสื่อ ที่เราทำ หากเราต้องการให้สื่อที่เราออกแบบ เราคิด นั้น หากจะทำให้เป็นนวัตกรรม ต้องผ่านกระบวนการวิจัยอย่างถูกขั้นถูกตอน เพื่อหาประสิทธิภาพของสื่อ หาผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนที่เรียนจากสื่อ จึงจะเป็นนวัตกรรมที่ถูกต้อง  และเมื่อมีการจัดนำเสนอสื่อผ่าน Symposium หรือเวทีการแสดงผลงานทางวิชาการแล้ว นวัตกรรมที่ได้รับการเผยแพร่ มีผู้นำนวัตกรรมนั้นไปใช้ จึงจะเรียกได้ว่าเป็นเทคโนโลยีทางการศึกษา 

สื่อนั้นมีหลากหลาย ตั้งแต่สื่อประเภท วัสดุ สิ่งพิมพ์ เทคโนโลยี วิธีการ แหล่งเรียนรู้ สื่อบุคคล (ภูมิปัญญา) ฯลฯ การจะเลือกใช้สื่อหรือผลิตสื่อนั้น สิ่งที่สำคัญ คือ ต้องมาดูบริบทของโรงเรียน และศักยภาพของโรงเรียนที่จะใช้สื่อนั้น ไม่ใช่มองประเด็นที่ความทันสมัยอย่างเดียว หากผลิตสื่อที่สวยงามทันสมัย แต่นำไปใช้ที่โรงเรียนไม่ได้ ก็ถือว่าสื่อนั้นไม่สามารถใช้ในการแก้ปัญหาหรือจัดการเรียนการสอนได้  ดังนั้นจึงไม่ใช่สิ่งผิด หรือ เชย หากเรายังจะใช้สื่อแบบเดิม ๆ ภาพพลิก บัตรภาพ ชุดการเรียน อยู่ แต่ทำให้นักเรียนเกิดการพัฒนาได้ดีกว่าเดิม ครูเท่านั้นที่รู้ดีกว่านักวิชาการ ว่าที่โรงเรียนเราเหมาะสมจะใช้สื่อแบบใด

การทำวิจัย 5 บท  ตอนที่ครูสุเรียน คิดว่า การวิจัย เป็นเรื่อง ที่เราจะต้องงม ต้องหา ต้องเสาะ แสวง ในสิ่งที่เราไม่รู้  (และเราก็ไม่อยากจะรู้เท่าไหร่)  แต่เราถูกบีบบังคับให้ไปวิจัย ครูสุถึงไม่ชอบวิจัย เพราะทำไปตามคำแนะนำ (น่าจะเรียกว่าคำสั่ง) พออาจารย์พ่อหนูม้วน Clarify จึงเข้าใจในกระบวนการวิจัย อย่างเช่น การวิจัยชั้นเรียน โดยครูสุขอสรุปดังนี้

1. การวิจัยที่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครู แบ่งออกเป็น 2 อย่างคือ
1.1การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในการจัดการเรียนรู้ คือเราจัดการเรียนรู้แล้วพบปัญหา นำปัญหานั้นมาทำวิจัย เพราะไม่สามารถแก้ไขในการสอนปกติได้ บทที่ 1 บทนำ จะใช้คำว่า ที่มาและความสำคัญของปัญหา
1.2กับการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนให้ดีขึ้นกว่าเดิม  หมายความว่า เด็กเรียนได้ดีอยู่แล้ว แต่ เราก็อยากจะพัฒนาให้ดีกว่านี้ ดังนั้น บทที่ 1 บทนำ จะใช้คำว่า หลักการและเหตุผล

2.การพัฒนาสื่อนวัตกรรม ไม่ใช่แค่ทำแต่สื่ออย่างเดียว ครูผู้สอนต้องจัดทำเอกสารประกอบการเรียน  แผนการสอนนวัตกรรม แบบทดสอบก่อนเรียนหลังเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจ  โดย สิ่งที่เราจัดทำทุกอย่างต้องผ่านผู้เชี่ยวชาญที่เชื่อถือได้

3.ในการเขียนบทนำ จะต้องมีการอ้างถึง พรบ.การศึกษา หลักสูตรแกนกลาง หลักสูตรสถานศึกษา เนื่องจากเราใช้สิ่งนี้เป็นตัวแบบในการจัดการเรียนรู้ ถึงจะมาอ้างบทความ งานวิจัย และตามสภาพจริง ถึงอ้างอิงที่มาจะดีเลิศแค่ไหน ถ้าขาดหลักสูตร ฯลฯ ดังกล่าว ที่เราอ้างมาเหล่านี้ก็ไม่เพียงพอ

4. วัตถุประสงค์ในการวิจัย ไม่ควรเขียนมากเกินไป เหมือนกับให้เราทำงานมากเกินไป ซึ่งอาจจะไม่รู้จักจบเสียที ในการจัดทำสื่อนวัตกรรม การวิจัยก็ควรมุ่งเน้นที่การหาประสิทธิภาพของสื่อเป็นหลัก

5.สิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำวิจัยทุกชนิด คือ การใช้ค่าสถิติให้ถูกต้อง หากใช้สถิติไม่ถูก ถึงงานวิจัยจะออกมาดีมีประโยชน์ก็ตาม มีสิทธิจะโดนเหวี่ยงทิ้งได้ หรือ ผ่านอย่างมีเงื่อนไข (คือเงื่อนไขเขาให้มาแก้การสถิติครับ)

ครับเอาเพียง 5 ข้อก่อนดีกว่า ที่เหลือรอจากท่านผู้รู้มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ 

 

หมายเลขบันทึก: 183493เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2008 20:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (42)

สวัสดีครับน้องจิ  โก๊ะจิจัง แซ่เฮ ^๐^!

  • ขอบคุณครับ กาแฟน่าทานจัง
  • เป็นกำลังใจให้น้องจิ ในการเป็นน้องใหม่ ขอให้ happy กับการเป็น Freshy นะครับ

สวัสดีครับท่านผอ.ประจักษ์ ขอบคุณมาก ๆ ครับ

  • สวัสดีค่ะ คุณครูสุ
  • มาซึมซับความรู้ค่ะ แต่ก่อนที่จะทำงานวิจัยกลัวมากเหมือนกันค่ะ แต่งานน้องและกลุ่ม ผ่านฉลุยไปแล้ว เป็นงานวิจัยแบบ Participatory Action Research:Par วิจัยข้าวกล้อง ของวิสาหกิจชุมชนบ้านหม้อ อ.สันทรายค่ะ  เย้ๆๆๆ
  • 5 บทเหมือนกันค่ะ  และกำลังเตรียมรับมือ อีกชิ้นหนึ่งที่กำลังใกล้จะมาถึง แต่เป็น วิจัยเดี่ยว
  • คุณครูสุ นำมาบอกเล่ากันอีกนะคะ มีประโยชน์มาก ขอบคุณค่ะ

มาอ่านเก็บความรู้จ๊ะครูสุ

เปิดเทอมแล้วขยันจัง :)

สวัสดีครับน้อง คำแสนดอย

  • ขอบคุณครับ
  • ที่ครูสุไม่เคยเข้าใจวิจัยอย่างกระจ้างแจ้ง เพราะได้รับความรู้แบบบรรยายโดยตลอด แต่ที่อบรมอาจารย์นำประสบการณ์จริง และตัวอย่างงานวิจัยมาวิเคราะห์ และสรุปองค์ความรู้ให้ฟัง
  • เป็นกำลังให้งานวิจัยเดี่ยวของน้องด้วยครับ ส่วนครูสุเองก็จะคงจะลุยงานวิจัยเดี่ยวเกี่ยวกับการสอนเหมือนกันครับ

สวัสดีครับพี่แจ๋ว

  • พี่แจ๋วก็ขยันเหมือนกันครับ เห็นcomment พี่แจ๋วนี่ คิดว่าหลับดึกเหมือนกันนะ
  • ส่วนครูสุช่วงนี้ดึกเฉพาะจันทร์-อังคารนะครับ เพราะดูละครช่อง 3 ส่วนวันอื่น ละครไม่สนุก จะหลับ 3 ทุ่มตลอด
  • ขอบคุณมากครับ

สวัสดีค่ะน้องชาย

  • ครูอ้อย มาตั้งใจการสรุปตามความเข้าใจ เรื่อง การทำนวัตกรรม
  • ต้องศึกษา การเขียนรายงานนวัตกรรม  รายงานวิจัยในชั้นเรียน  ยังมีรายละเอียดมากมาย บางที ก็ยังไม่ถูกใจ ผชช. หรือ กรรมการ  ที่มาตรวจเราค่ะ
  • ที่ถูกต้องที่สุด  ก็คือ ปัญหาจริง ทำจริง แก้ปัญหาได้ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับครูอ้อย

  • ครูสุตอนแรกก็คิดว่ากลัวจะไม่ถูกใจ
  • พอดีอาจารย์ที่เป็นวิทยากรครูสุ เป็นผู้ที่มีความรู้ มีเหตุผล และประสบการณ์เชี่ยวชาญมากในการตรวจ และเป็นที่ปรึกษาด้านการวิจัยมากครับ
  • อาจารย์ท่านบอกว่าใครจะทำ จะเป็นที่ปรึกษา เป็นผู้เชี่ยวชาญให้ หากทำแล้วไม่ผ่านตรงไหน ท่านยินดีช่วย และอธิบายแก่ผู้ที่ตรวจงานวิจัยของเราด้วยว่าผิดถูกตรงไหนอย่างไร
  • ครูสุรู้สึกว่าตัวเองโชคดี มีพระมาโปรด(เรื่องการวิจัย)แล้วครับครูอ้อย
  • สวัสดีค่ะ น้องครูสุ ขอเข้ามาทักทายก่อนค่ะ ตอนนี้เกือบสามทุ่มแล้ว ขอพาน้องเจนเข้านอนก่อน เดี๋ยวพี่อักษรกลับมาอ่านเรื่องการทำวิจัยห้าบทนะคะ  

ครูสุจ๊ะ

พี่แจ๋วใช้ชีวิตแบบไม่เป็นระเบียบค่ะ

นอนดึกบ้าง...เมื่อมีงานต้องทำ หรือบางทีก็นั่งเล่นจนดึกค่ะ

แต่บางทีก็หลับหัวค่ำก็มีค่ะ

แต่นอนดึกๆ ไม่ดีต่อสุขภาพนะคะ :)

สวัสดีครับ

แวะมาอ่าน เพิ่มเติมความรู้ครับ

จุดนี้น่าสนใจ วัตถุประสงค์ต้องไปมากไป ไม่อย่างนั้นเหนื่อยเกินไป

ครูสุ เป็นงานสรุปวิจัย 5 บทที่กะทัดรัด  ผมขอยกตัวอย่างเฉพาะรายชื่อ งานวิจัยในชั้นเรียนที่เคยเจอระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  1)การพัฒนาทักษะการอ่านหนังสือของนักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีมี่ 1 โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านสะกดคำ 2)ผลการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมการประหยัดของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 3)การศึกษาการพัฒนาการคิดเลขเร็ว เรื่องการคูณจำนวน 2 หลัก กับจำนวน 3 หลัก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

สวัสดีครับ ครูสุ

  • แวะมาทักทายครับ
  • มาดูวิจัย 5 บท ครับ
  • มาอ่านเพื่อเสริมสร้างความรู้
  • และนำไปปรับใช้ที่โรงเรียนครับ
  • ขอบคุณครับ
  • อ่านแล้วรู้สึกว่างานครูหนักมากเลยนะคะ ทั้งทำวิจัย ทั้งงานสอน แต่ถ้าทั้งหมดนี้ทำเพื่อให้ครูมีความรู้ในการหาวิธีการมากระตุ้นให้เด็กสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็น่าทำนะคะ พี่อักษรว่าที่สำคัญคือครูต้องรู้สึกสนุกกับการลงมือทำด้วย  
  • ทำให้นึกถึงว่า ครูที่โรงเรียนน้องเจนที่เม็กซิโกนี่ได้มาตรฐานเหมือนครูอย่างน้องครูสุ น้องครูปู และครูพี่อ้อย หรือเปล่าหนอ
  • ไม่มีอะไรมาแลกเปลี่ยน แค่ตามมาให้กำลังใจค่ะ

สวัสดีครับครูปู

  • ทานแล้วครับ
  • ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับ คุณ ธ.วั ช ชั ย

  • ใช่ครับ ถ้าจะต้องการศึกษาอะไรบางอย่าง อย่าวอกแวกจนลืมวัตถุประสงค์หลัก หลายคนที่มีหลายวัตถุประสงค์ ทำให้ต้องสร้างเครื่องมือมากมายนะครับ
  • ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับคุณ เอกราช แก้วเขียว

  • ขอบคุณมากครับ :)

สวัสดีครับ พี่อักษร ทับแก้ว

  • ได้ยินข่าวว่ามีนโยบายให้ครูทุกคนทำการวิจัยชั้นเรียน อย่างน้อย ปีละ เรื่อง
  • เดี๋ยวนี้ครูทำงานหนักมากครับพี่อักษร
  • งานสอน งานหน้าที่พิเศษ งานกับชุมชน และก็จะมีงานวิจัยอีก เหนื่อย
  • ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับครูโย่ง

  • ขอบคุณมากครับ ครูโย่ง :)

 

สวัสดีครับพี่แจ๋ว

  • หลับดึกมากไม่ดีนะครับ
  • ช่วง สี่ทุ่ม ถึง ตีสอง ควรนอน เพราะร่างกายกำลังเผาผลาญพลังงาน สมองก็ต้องการพักผ่อนช่วงนี้
  • ครูสุเคยเห็นข่าวว่าคนยิ่งอดนอนยิ่งอ้วน ครูสุเลยได้แต่นอน ๆๆๆ ครับ ฮะฮ่า
  • ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับ ครูสุ

  • แวะมาเยี่ยมครับ
  • งานหนักดูและสุขภาพด้วยครับ
  • แวะมาให้กำลังใจครูสุค่ะ
  • วิจัยไม่ยากอย่างที่คิด เพราะวิจัยก็คือ การค้นหาคำตอบอย่างมีระบบ ระเบียบ และมีการวางแผนค่ะ
  • ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ ก็ตั้งชื่อและสร้างขึ้นมาให้ง่ายต่อการทำวิจัยเท่านั้นค่ะ 

สวัสดีครับ คนไม่มีราก

  • ขอบคุณมากครับ
  • ใช่ครับ หากทำตามระเบียบ กติกา และเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้ง ทุกอย่างก็ไม่ยาก  ทุกวันที่ว่ายาก เพราะไม่มีสอน ใครอธิบายให้เข้าใจอย่างกระจ่าง
  • อาจารย์พ่อหนูม้วน ท่านบอกว่า ครูต้องทำหน้าที่สอนสิ่งที่ยากให้ง่ายแก่การเข้าใจ แต่อาจารย์ในระดับอุดมศึกษาส่วนใหญ่ (โดยเฉพาะเรื่องวิจัย) มักจะสอนเรื่องที่ยากให้ยากขึ้นไปอีก เพราะอยากให้นักศึกษามีคุณภาพ
  • ขอบคุณมากครับที่แวะมาเยี่ยม และความคิดเห็นดี ๆ เช่นเคยครับ 

ตามพี่ชาย พี่ ธ.วั ช ชั ย  มา

สวัสดีคุณครูสุ

ครูข้างถนนเคยเรียนงานวิจัย แต่เข้ากรุหมดแล้ว

ตอนนี้ให้วิจัยฝุ่น วิจัยดิน ป่าเขา ลำเนาไพร  พอทำได้ครับ

ขอบคุณที่ให้พื้นที่แสดงความคิดเห็นครับ

 

สวัสดีครับครู  ครูข้างถนน

  • เช่นกันครับ ครูสุก็เข้ากรุหมด แต่ก็เอามาปัดฝุ่นใหม่ได้ครับ
  • ขอบคุณมากนะครับ

สวัสดีค่ะ..ครูสุ

  • ปรบมือให้ค่ะ..จากใจพี่อ้วน
  • เก่งจัง..สรุปบทเรียนนำมาเล่าให้เพื่อน ๆอ่านได้กระจ่างชัดมากค่ะ
  • ใช่แล้วค่ะ..วิจัยไม่ยากอย่างที่คิด
  • คือการแก้ปัญหาหรือพัฒนางานอย่างเป็นระบบ
  • จับเรื่องเดียวง่าย ๆ สั้น ๆ ...ง่ายจริงๆค่ะ..ครูสุ
  • ที่พีอ้วนทำมานะคะ..จุดประสงค์ข้อเดียวเป็นส่วนใหญ่ค่ะ..อย่างมากก็ ๒ ข้อ
  • ตั้งโจทย์มาก..อะไร ๆ ก็ต้องเยอะตามค่ะ..พี่อ้วนคิดง่าย ๆ อย่างนี้
  • สโลแกนของพี่อ้วนคือ...ทำอะไรง่ายๆ ..ทำเรื่องยากเป็นเรื่องง่าย..ทำเรื่องง่ายอยู่แล้วให้เป็นเรื่องง่ายเข้าไปอีก (อิๆ)
  • ชื่นชม..น้องครูสุค่ะ
  • มีอะไรที่พี่อ้วนพอจะช่วยเหลือได้...บอกได้นะคะ ..ยินดีเสมอค่ะ

สวัสดีครับ ท่านอาจารย์ วัชราภรณ์ วัตรสุข

  • ขอบพระคุณครับ
  • ปีนี้ครูสุจะลุยทำวิจัยจริง ๆ สักตั้ง
  • และอาจต้องขอรบกวนอาจารย์ช่วยด้วยคนครับ แต่ตอนนี้ยังไม่อาจรบกวนได้ เนื่องจากงานวิจัยของครูสุยังไม่มีรูปร่างเป็นตัวเป็นตนเลยครับ
  • ขอบพระคุณมากครับ

สวัสดีครับท่านผอ.ประจักษ์

  • ขอบพระคุณครับท่านผอ.มากครับ
  • ท่านผอ.ขยันจังเลยครับ มาแวะหาครูสุบ่อยมาก ซึ้งและประทับใจครับ

สวัสดีครับ ครู ครูข้างถนน

  • สบายดีครับ
  • ขอบคุณมากครับที่มาเยี่ยมครับ : )

 

+ สุดยอดเลยครุสุ

+ พี่สอนวิทย์ แต่เด็กพี่อ่อนแอทางภาษาไทย แต่มีคความสุขกับการได้วาดรูป

+ เพื่อให้การเรียนวิทย์ มีความสุข สนุก และเก่ง ขึ้นพี่จึงจัดรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ใบกิจกรรมการเรียนรู้

+ เพื่อสื่อสารให้เด็กเข้าใจง่ายที่สุดโดยให้เด็กวาดรูป ตัดภาพปะปิด ทำmindmap ลงในใบกิจกรรมการเรียนรู้ตามสภาพของเนื้อหาแทนที่จะจดลงสมุด

+ เช่น

     - ถ้าสอนเรื่อง ราก พี่ก็ให้เด็กดู    รากของจริง แล้ววาดภาพลงในใบกิจกรรมต่อจากนั้นก็ สรุปสั้น ๆ ไว้ใต้ภาพ

     - ถ้าสอนอาหารหลัก 5 หมู่ ก็ตัด ปะภาพอาหารที่ละหมู่ลงในใบกิจกรรมพร้อมระบายสีให้สวยงามแล้วให้เด็กดูจากภาพว่าแต่ละหมู่ประกอบด้วยอาหาร ประเภทใดบ้าง

+ พี่มีใบประเมินการทำใบกิจกรรมทุกใบ

+ จากใบประเมินกิจกรรม สรุปได้ว่าเด็กมีความสุข สนุกและเข้าใจเนื้อหาง่ายขึ้น

+ ตอนเขตให้นำเสนอสื่อนวัตกรรม พี่ก็นำไปเสนอ

+ ศน.ที่มาดูของพี่บอกว่าแบบนี้ เชย อยากได้สื่อแบบ CAI ทำเป็นไหม... 

+ พี่ก็ไม่พูดอะไร...

+ แต่พี่สงสัยว่า ศน.เข้าใจแบบที่ครูสุหรือพี่เข้าใจหรือเปล่าว่า "การจะเลือกใช้สื่อหรือผลิตสื่อนั้น สิ่งที่สำคัญ คือ ต้องมาดูบริบทของโรงเรียน และศักยภาพของโรงเรียนที่จะใช้สื่อนั้น ไม่ใช่มองประเด็นที่ความทันสมัยอย่างเดียว หากผลิตสื่อที่สวยงามทันสมัย แต่นำไปใช้ที่โรงเรียนไม่ได้ ก็ถือว่าสื่อนั้นไม่สามารถใช้ในการแก้ปัญหาหรือจัดการเรียนการสอนได้ ดังนั้นจึงไม่ใช่สิ่งผิด หรือ เชย หากเรายังจะใช้สื่อแบบเดิม ๆ ภาพพลิก บัตรภาพ ชุดการเรียน อยู่ แต่ทำให้นักเรียนเกิดการพัฒนาได้ดีกว่าเดิม ครูเท่านั้นที่รู้ดีกว่านักวิชาการ ว่าที่โรงเรียนเราเหมาะสมจะใช้สื่อแบบใด"

+ การศึกษาไทยจงเจริญ......

สวัสดีครับคุณครูแอมแปร์

  • ขอบคุณครับ แหม..ให้คอมเมนท์และ share เยอะจัง
  • ครูสุได้สอบถามครูที่ได้มีโอกาสไปต่างประเทศ เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แม้แต่เวียตนาม
  • พบว่าไม่มีสื่อเทคโนโลยีในการสอนเท่าห้องเรียนในเมืองไทย (หรือว่าเขาจะเบื่อแล้วก็ไม่รู้)
  • ในห้องมีกระดาน อาจมีเครื่องเล่นเทปสักตัวหนึ่งเท่านั้นเอง แต่ทำไมเด็ก ๆ เขาถึงทำได้ แสดงว่ามันไม่ได้สำคัญที่วัตถุ แต่มันสำคัญที่เทคนิค หรือ วิธีการที่ทำให้เด็กของเขาฉลาด
  • รวมทั้งบทบาทของครู บทบาทของผู้เรียนสำคัญมากในการเรียนรู้ครับ
  • ที่คุณครูแอมแปร์ทำไปนั้น ครูสุว่าดีมากครับ แต่อาจไม่ถูกใจเท่านั้นเอง อย่าเสียใจเลยครับ เพราะคนเราอาจมองต่างมุมกัน
  • เป็นกำลังใจให้คุณครูครับ

ชื่อเรื่อง แบบฝึกเสริมทักษะ ชุดพัมนาการอ่านสะกดคำและการเขียนคำพื้นฐาน

การตั้งชื่อเรื่องนวัตกรรมภาษาไทยแบบนี้ถูกมั้ยคะ

ข้างบนผิด

ชื่อเรื่อง แบบฝึกเสริมทักษะ ชุดพัฒนาการอ่านสะกดคำและการเขียนคำพื้นฐาน

การตั้งชื่อเรื่องนวัตกรรมภาษาไทยแบบนี้ถูกมั้ยคะ

ถึงครูสุ

ยินดีด้วยที่มีความพยายามที่จะทำวิจัย...

พี่เคยอยู่ที่ ร.ร. บ้านนามนไม่ถึงปีก็ย้าย เพราะภาระทางครอบครัว

ตอนนี้สอนอยู่ที่ ร.ร. นวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี

เมษานี้ครบ 13 ปี แล้ว..มีโอกาสจะขึ้นไปแอ่วเจ้า +

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท