นวัตกรรม


การเรียนการสอนจะใช้รูปแบบใดคำนึงถึงผู้เรียนเป็นสำคัญ

นวัตกรรมการเรียนรู้  เป็นรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่คุณครูทุกท่านควรที่จะให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง  ด้วยในสังคมปัจจุบันเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้  นักเรียนมีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้ครูผูสอนควรที่จะตระหนักและให้ความสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆเพื่อให้การเรียนรู้ของนักเรียนมีความหมายมากยิ่งขึ้น  ในครั้งนี้ขอเสนอนวัตกรรมด้านการเรียนที่สำคัญ  4  วิธีขอให้ลองพิจารณาเพื่อการนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์แก่การเรียนการสอนของท่าน

1.      วิธีการสอนแบบกลุ่มสัมพันธ์

กลุ่มสัมพันธ์เป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในสังคมที่ช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและ

ทัศนคติของผู้เรียนให้เป็นที่ยอมรับของบุคคลใน กลุ่ม  ได้เป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ศึกษาเนื้อหาสาระ  ด้วยวิธีการทำงานร่วมกัน   ให้มีอิสระในการแสดงความรู้สึก  ความคิด  การตอบโต้  และการหาข้อยุติของเรื่อง  แล้วสรุปเป็นผลงานและความต้องการที่กลุ่มของตนพอใจ (ก่องแก้ว เจริญอักษร 2533 : 1-2)

      กรมวิชาการ (2539 : 67)  ได้ให้ความหมาย กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์  หมายถึง กระบวน

การขั้นตอน  วิธีการหรือพฤติกรรมต่างๆ ที่จะช่วยให้การดำเนินงานเป็นกลุ่มเป็นไปอย่างมี          ประสิทธิภาพ  คือ ได้ทั้งผลงานที่ดี และได้ทั้งความรู้สึก  และความรู้สึกที่ดีระหว่างผู้ร่วมงาน

      ทิศนา  แขมมณี (2529 : 35-40) ให้แนวคิดว่า การทำงานเป็นกลุ่มหรือการทำงานเป็นทีม 

หมายถึง  การที่กลุ่มบุคคลเข้ามาร่วมกันปฏิบัติงานอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กลุ่มต้องการ  การมาร่วมปฏบัติงานนี้เป็นไปอย่างราบรื่นและประสบผลสำเร็จหรือไม่เพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยและองค์ประกอบหลายประการในการทำงานร่วมกัน  ซึ่งต้องประกอบด้วย

1.      การมีเป้าหมายร่วมกัน  กล่าวคือ  ต้องมีวัตถุประสงค์ในการรวมกลุ่มว่าจะทำอะไรให้

เป็นผลสำเร็จ

2.      การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน  คือ ต้องมีบทบาทหน้าที่ในการดำเนินงานของกลุ่ม

3.      การติดต่อสื่อสารกันในกลุ่ม  คือต้องมีการสื่อความหมายต่อกันและกันเพื่อช่วยให้เกิด

ความเข้าใจในการทำงานร่วมกัน

4.      การร่วมมือประสานงานกันในกลุ่ม  กล่าวคือต้องมีการประสานงานกันเพื่อให้งานของ

กลุ่มสำเร็จ

5.      การมีผลประโยชน์ร่วมกัน กล่าวคือ ผลตอบแทนซึ่งกลุ่มจะได้รับจากการทำงาน

ร่วมกัน

กรมวิชาการ (2539 : 69) แบ่งกิจกรรมการเรียนการสอนแบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์

เป็น 4 ขั้น  คือ

            1. ขั้นนำ  เป็นขั้นเตรียมความพร้อมให้นักเรียน อาจเป็นการทบทวนความรู้  สร้างบรรยากาศให้เหมาะสมต่อการเรียนรู้ที่จะตามมา

6.      ขั้นกิจกรรม  เป็นการให้นักเรียนลงมือทำกิจกรรมที่เตรียมไว้  เพื่อให้นักเรียนมี     

ส่วนร่วมและรับผิดชอบในการเรียนของตน  และเพื่อให้นักเรียนเกิดประสบการณ์ที่จะสามารถนำมาวิเคราะห์  อภิปรายให้เกิดการเรียนรู้

                  3.    ขั้นอภิปราย  ให้นักเรียนแลกเปลี่ยนประสบการณ์  ความรู้สึก  และการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น

            4.    ขั้นสรุป  และนำไปใช้เป็นขั้นของการรวบรวมความคิดเห็นและข้อมูลต่างๆ จนได้ข้อ

สรุปชัดเจน  และเป็นขั้นกระตุ้นให้ผู้เรียนนำเอาการเรียนไปปฏิบัติ  หรือใช้ในชีวิตประจำวัน

จากวิธีสอนดังกล่าว ก่องแก้ว  เจริญอักษร ( 2533 : 2 ) ได้สรุปผลของการจัดการเรียนการ

สอนด้วยการใช้ กลุ่มสัมพันธ์  คือ 

1.      การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เกิดกับผู้เรียนส่วนใหญ่เป็นผลมาจากปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่างกันของบุคคลในห้องเรียน

2.      พัฒนาการด้านการเรียนรู้เกิดขึ้น  เนื่องจากผู้เรียนมีความพอใจขณะอยู่ร่วมกับกลุ่มเพื่อนในห้องเรียน

3.      บรรยากาศในห้องเรียนอันเนื่องมาจากความสัมพันธ์ในกลุ่ม  มีผลต่อการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก

4.      การจัดกลุ่มผู้เรียน หมายถึง  การจัดคนเข้ากลุ่มมีส่วนทำให้กระบวนการเรียนรู้มีประสิทธิภาพหรือตรงข้ามกันได้

5.      การให้เวลาและการอำนวยความสะดวกแก่กลุ่ม  เป็นการช่วยให้กลุ่มทำงานได้ดียิ่งขึ้น

6.      ครูสามารถใช้อิทธิพลของกลุ่มเปลี่ยนพฤติกรรม และทัศนคติของนักเรียนแต่ละบุคคลได้ด้วย

7.      ครูสามารถอาศัยความเห็นของกลุ่ม มาใช้กับการเรียนการสอนที่มุ่งการแก้ปัญหาได้

ข้อดีของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ คือ

1.      ครูสามารถฝึกให้นักเรียนรู้จักวางแผนการทำงานก่อนลงมือทำงานร่วมกัน  ทั้งยังฝึก

ให้รู้จักการแบ่งงานกันทำอย่างทั่วถึง  การวางแผนการทำงานและรู้จักแบ่งงานกันทำเป็นกระบวนการทำงานที่จะช่วยให้ผลงานมีคุณภาพมากขึ้น  และเป็นการช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้และฝึกฝนทักษะในการแสดงบทบาทหน้าที่ของผู้นำกลุ่มและสมาชิกกลุ่มที่ดี

            2.    การอภิปรายปัญหาในการทำงานกลุ่ม  และแนวทางแก้ไขว่าควรจะทำอย่างไร  หรือมีอะไรบ้าง  เป็นสิ่งที่ช่วยฝึกให้นักเรียนรู้จักการวิเคราะห์ปัญหาของกลุ่ม  เป็นทักษะที่สำคัญของการทำงานกลุ่มให้มีประสิทธิภาพ

2.   วิธีสอนโดยการเรียนแบบร่วมมือ

            การเรียนแบบร่วมมือ  เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิธีหนึ่งที่เน้นการจัด          สภาพแวดล้อมทางการเรียนให้แก่ผู้เรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ  แต่ละกลุ่มประกอบด้วยสมาชิกที่มีความรู้  ความสามารถแตกต่างกันมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นการแบ่งปันทรัพยากรการเรียนรู้  รวมทั้งช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  เพื่อให้กลุ่มได้รับความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด (หน่วยศึกษา       นิเทศก์ กรมสามัญศึกษา 2540 : 40) การสอนวิธีนี้เป็นที่แพร่หลายในประเทศสหรัฐอเมริกา  เนื่องจากมีผลงานวิจัยหลายร้อยเรื่องให้ข้อค้นพบว่า  การเรียนรู้แบบร่วมมือประสิทธิภาพในด้าน           ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้

            การเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคปริศนาความคิด (Jigsaw)

            เป็นการส่งเสริมความร่วมมือและการถ่ายทอดความรู้ระหว่างเพื่อนในกลุ่ม  เทคนิคนี้นิยมใช้ในรายวิชาที่ผู้เรียนต้องเรียนเนื้อหาวิชาจากตำราเรียน เช่น สังคมศึกษา  ภาษาไทย 

(วัฒนาพร  ระงับทุกข์ 2541 : 40)

            1.   กำหนดเนื้อหา  แบ่งเนื้อหาออกเป็นหัวข้อย่อยๆ ให้เท่ากับจำนวนสมาชิกกลุ่ม เช่น  มีเนื้อหา 4  หัวข้อ  ก็จะได้สมาชิกกลุ่มละ 4 คน เป็นต้น

            2.   แบ่งกลุ่มตามจำนวนหัวข้อที่ครูกำหนด ให้มีความสามารถคละกัน เรียกว่า กลุ่มประจำ แบ่งหน้าที่เป็น 3 กลุ่มย่อย คือ

-          กลุ่มวิชาการ  มอบหมายแต่ละคนศึกษาคนละ 1 หัวข้อ  (แต่ละคนต้องรับผิดชอบที่กลุ่มมอบหมายและทำให้เสร็จสมบูรณ์  ถ้าไม่เข้าใจให้ขอความช่วยเหลือจากเพื่อนในกลุ่ม กลุ่มประจำ  และ  กลุ่มเชี่ยวชาญ  ก่อนที่จะถามครู)

-          กลุ่มผู้สังเกต  สังเกตการทำงานของสมาชิกในกลุ่ม  ผู้ที่ได้รับมอบหมายหน้าที่นี้จะมีภาระ 2 อย่าง คือ

ก.      ต้องศึกษา 1 หัวข้อ  เหมือนสมาชิกคนอื่นๆ

ข.      เป็นผู้สังเกตและบันทึก  เมื่อสมาชิกเข้ากลุ่มเดิม กลุ่มประจำ จะต้องสังเกตการ

ทำงานของสมาชิกและจดบันทึก  เพื่อประเมินผลการทำงานของกลุ่ม

ค.      เข้ากลุ่มใหม่  ผู้เรียนที่รับหัวข้อเดียวกันจากแต่ละกลุ่มมานั่งด้วยกัน  เพื่อศึกษาร่วมกัน

ในหัวข้อที่กำหนดเรียก กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ทุกคนต้องทำความเข้าใจในหัวข้อที่ศึกษาเพื่อนำความรู้กลับไปสอนเพื่อนสมาชิกกลุ่มเดิม (กลุ่มประจำ)

4.      เพื่อนสอนเพื่อน  สมาชิกแต่ละคนออกจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญกลับกลุ่มเดิม  นำความรู้ที่

ได้รับจากการเข้ากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ  ผลัดกันอธิบายเพื่อถ่ายทอดความรู้ให้แก่เพื่อนสมาชิกกลุ่มเดิมจนครบทุกหัวข้อ

5.      สรุป  อาจดำเนินการดังนี้

-          ครูทดสอบเนื้อหาเป็นรายบุคคลนำคะแนนที่ได้มาหาค่าเฉลี่ยเป็นคะแนนกลุ่มซึ่งสมาชิกจะได้คะแนนเท่ากัน

-          สุ่มตัวแทนกลุ่มออกมารายงานหน้าชั้นและให้เพื่อนต่างกลุ่มแสดงความคิดเห็น

3.  วิธีการสอนแบบการตั้งคำถาม

การตั้งคำถามเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้และการสอน  ช่วยให้ผู้เรียนสร้างความรู้ความเข้าใจ  และพัฒนาความรู้ใหม่ๆ  กระบวนการตั้งคำถามและจะช่วยขยายทักษะการคิด ทำความเข้าใจให้กระจ่างเชื่อมโยงระหว่างความคิดต่างๆ  ส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นและเกิดการท้าทาย (วัฒนาพร ระงับทุกข์ 2542 : 21)

1.   ควรเริ่มต้นตั้งคำถามในระดับความจำ  ความสนใจ  ที่ผู้เรียนส่วนใหญ่ตอบได้ครูควรแสดงความชื่นชมทันทีด้วยคำพูดหรือใช้ภาษาท่าทาง  ก่อนที่จะเริ่มคำถามในระดับที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น

2.     เมื่อผู้เรียนประสบปัญหาความยากลำบาก  ครูผู้สอนควรช่วยผู้เรียนให้ตอบได้โดยใช้วิธีการต่างๆ

-          หยุดสักครูเพื่อให้นักเรียนได้มีเวลาคิดหาคำตอบ

-          แนะนำคำตอบให้เล็กน้อย

-          ทวนคำถามซ้ำ

-          เปลี่ยนวิธีถามโดยใช้ถ้อยคำใหม่ที่เข้าใจง่ายขึ้น

-          ตั้งคำถามเพิ่มเติม

-          กระตุ้นให้ผู้เรียนตั้งสมมติฐานหรือทายคำตอบ

-          ลดระดับคำถามที่อาจยากเกินไปลง

3.    ถามให้ทั่วถึงทุกคน  จะช่วยให้ผู้เรียนมีความตื่นตัวตลอดเวลา

4.    เพิ่มระดับความยากของคำถาม

4. วิธีการสอนแบบใช้กระบวนการเผชิญสถานการณ์

การสอนแบบใช้กระบวนการเผชิญสถานการณ์  ผู้สอนได้นำวิธีสอน  แนวคิด ประโยชน์

และขั้นตอนการสอน  จากกรมวิชาการ ( 2540 : 13-18 ) มาใช้โดยปรับบางส่วนเพื่อความเหมาะสม ดังนี้

1.      ความหมาย

กระบวนการเผชิญสถานการณ์  เป็นวิธีการสอนที่มีการเชื่อมโยงการกระทำกับการคิด

วิเคราะห์เข้าด้วยกัน  โดยผู้เรียนได้เผชิญสถานการณ์ลักษณะต่างๆ   ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง  ฝึกให้นักเรียนนำความรู้ ข้อมูล  ข่าวสาร  มาสรุปประเด็นเพื่อประเมินว่าสิ่งใดถูกต้อง  เกิดประโยชน์เพื่อนำมาใช้ในการตัดสินปัญหา กรมวิชาการ ( 2540 : 13 )

ขั้นตอนกระบวนการเผชิญสถานการณ์

            1.   การสร้างศรัทธา  เป็นกิจกรรมที่สร้างความสนใจและความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้น  โดยครูเสนอสิ่งเร้าที่เป็นประสบการณ์ของผู้เรียน  ให้ผู้เรียนตระหนัก เช่น สื่อสิ่งพิมพ์  วีดิทัศน์  รูปภาพ ตัวอย่างเหตุการณ์  เป็นต้น

            2.  ศึกษาสังคม  เป็นการเสนอสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อนำไปสู่การฝึกทักษะการรวบรวม ข้อมูลข่าวสาร  ความรู้และหลักการ  กิจกรรมที่จัด  เช่น  ให้นักเรียนรวบรวมข่าวสารข้อมูลจากหนังสือพิมพ์  อภิปรายข้อเท็จจริงที่ปรากฎในข่าว  บอกสาระสำคัญของข่าว

            3.   ระดมเผชิญสถานการณ์  เป็นการนำข้อมูลข่าวสารที่ได้สรุปประเด็นมาประเมินค่าว่าประเด็นใดถูกต้อง  ดีงาม  เหมาะสม  เกิดประโยชน์สูงสุดแท้จริง  ประเด็นใดบกพร่องผิดพลาด  ไม่ถูกไม่ควร  หากนำมาใช้จะเกิดผลร้าย

            4.   วิจารณ์ความคิด  เป็นการฝึกให้นักเรียนได้วิเคราะห์วิจารณ์ทางเลือกและตัดสินใจ  โดยใช้กฎเกณฑ์ในการเลือกและตัดสินใจ  ได้แก่

1.      ปรับพฤติกรรม  เป็นขั้นที่ต้องการให้นักเรียนนำเอาทางเลือกที่ตัดสินใจไว้แล้ว  มา

เสนอเป็นแนวทางปฏิบัติหรือถ้าเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์จริงที่คล้ายกันจะได้นำเอามาใช้  โดยเน้นนักเรียนได้ยึดหลักทางสายกลาง  การประสานประโยชน์  และสันติวิธี

            6.    สรุปและประเมิน  ขั้นนี้ครูจะให้นักเรียนร่วมกันสรุปความรู้  แนวทางเลือกและตรวจสอบนักเรียนโดยวิธีการต่างๆ เช่น

-          ให้ผู้เรียนประเมินตนเอง

-          สอบถาม (ถาม-ตอบ)

-          ใช้แบบทดสอบ

คำสำคัญ (Tags): #วิธีสอน
หมายเลขบันทึก: 183139เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2008 21:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สวัสดีครับอาจารย์

  • วันนี้ครูสุเพิ่งอบรมเรื่อง นวัตกรรม และการวิจัย เสร็จ กลับมาบ้านแบบมึนหัวหน่อย เพราะได้ความรู้มาหนักมาก
  • เลยเข้าใจคำว่านวัตกรรมขึ้นมาอีกนิดหนึ่งนะครับ คือ ถ้าเป็นสื่อ คือสิ่งที่ครูสร้างขึ้นเพื่อนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ตามปกติ ใช่มั้ยครับ แต่นวัตกรรมเป็นสิ่งที่ครูคิดขึ้นนั้น นั้นต้องผ่านการทดลอง โดยใช้กระบวนการวิจัยแบบ Action research กับผู้เรียนจนพิสูจน์ได้ว่ามีประสิทธิภาพ ช่วยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ดีขึ้น (เรียกว่าพัฒนาขึ้น) จึงเรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ

แวะมาเยี่ยมครับ

ได้ความรู้ดีครับ

และขอเสนอว่าอยากได้ ตัวหนังสือใหญ่ขึ้นครับ จะได้อ่านสะดวกกว่านี้ครับ

ขอบคุณครับที่ได้เรียนรู้นวัตกรรมที่ดีครับ

ครูอ้อย มาอ่านรับความรู้ และ เป็นกำลังใจให้เสมอค่ะ

  • สวัสดีค่ะ ท่านอาจารย์ preeda wittayagul
  • วิธีการสอน 5 รูปแบบนี้ สามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับรายวิชา และผู้เรียน  มีประโยชน์มากค่ะ
  • ตัวหนังสือเล็กจังเลยค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ พี่ปรีดา

  • ปรับอีกนี๊ด นาค๊า
  • น้องครูปู คอยเป็นกำลังใจให้ค่า..
  • จู้ จู้ ...

ขอบคุณครับที่แวะไปหา ยินดีที่มีเรื่องดี ๆ แลกเปลี่ยนกัน

ดีใจมาก ได้พบพี่ปรีดาแล้ว แวะไปเยี่ยม หน่อยบ่อยๆ นะคะ "พี่ที่รัก"

สวัสดีค่ะ

คุณครูสุ คุณประจักษ์ คุณเพชรากร คุณครูอ้อย

คุณศิริพร น้องครูปู คุณไชยา และคุณน้องหน่อย

ขอบคุณนะคะที่มาเยี่ยมเยียนและให้ข้อคิดที่ดีๆ

แล้วจะปรับปรุงระบบการพิมพ์ให้ดีขึ้นค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท