เค้าโครงวิทยานิพนธ์


เค้าโครง

เค้าโครงการวิจัย

เรื่อง การประเมินผลการใช้หลักสูตรสถานศึกษา (ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

พุทธศักราช 2544 ) ช่วงชั้นที่ ………………… โรงเรียน…………………………………….

โดยใช้รูปแบบซิปโมเดล (CIPP Model)

ภูมิหลัง

กระทรวงศึกษาธิการประกาศให้ใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 แทนหลักสูตรระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่าทุกฉบับที่กระทรวงศึกษาธิการได้มีคำสั่งให้ใช้ก่อนหน้านี้ เนื่องจากการติดตามผลและการดำเนินการวิจัยเพื่อ พัฒนาหลักสูตรที่ผ่านมาของกรมวิชาการ มีข้อค้นพบอยู่หลายประการ ดังนี้ 1.) หลักสูตรที่กำหนดจากส่วนกลาง ไม่สามารถประมวลรายละเอียดเกี่ยวกับสาระความรู้ตามสภาพแวดล้อมของสังคม ปัญหา ความต้องการทีแท้จริงของสถานศึกษาและท้องถิ่น 2.) การจัดหลักสูตรและการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศแล้วประเทศไทยยังไม่สามารถก้าวขึ้นเป็นผู้นำทางด้านนี้ได้ 3.) การนำหลักสูตรไปใช้ยังไม่สามารถสร้างพื้นฐานในการ คิด สร้างวิธีการเรียนรู้ให้คนไทยมีทักษะในการจัดการและทักษะในการดำเนินชีวิต สามารถเผชิญปัญหาทางสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.) การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษยังไม่สามารถที่จะทำให้ผู้เรียนใช้ภาษาในการสื่อสาร และการค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่หลากหลายในยุคสารสนเทศ ในการประกาศใช้หลักสูตรมีเงื่อนไขและเวลาการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ให้เป็นไปดังนี้ ปีการศึกษา 2546 ให้ใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4 ปีการศึกษา 2547 ให้ใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 5 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 5ปีการศึกษา 2548 ให้ใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ทุกชั้นเรียน ทั้งนี้ให้เริ่มใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ในโรงเรียนนำร่องและโรงเรียนเครือข่าย ที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศรายชื่อ ในชั้นเรียนที่เป็นไปตามลำดับข้างต้น ตั้งแต่ปีการศึกษา 2545 เป็นต้นไป หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลักสูตรแกนกลางระดับชาติที่มุ่งพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข และมีความเป็นไทย มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ มีขีดความสามารถในการแข่งขันโดยเพิ่มศักยภาพของผู้เรียนให้สูงขึ้น สามารถดำรงชีวิตอย่างมีความสุขบนพื้นฐานของความเป็นไทยและความเป็นสากล ในการจัดการศึกษา

มุ่งเน้น ความสำคัญทั้งด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อพัฒนาคนให้มีความสมดุล โดยยึดหลักผู้เรียนสำคัญที่สุด ทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติ สถานศึกษาซึ่งมี บทบาทสำคัญโดยตรง ที่จะต้องจัดทำหลักสูตรของตนเองเน้นการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียนและความต้องการของผู้ปกครองและชุมชน ดังนั้นในการจัดรายละเอียดของสาระการเรียนรู้รายปีหรือรายภาค ให้สถานศึกษาจัดเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาในชุมชน สังคมและประเทศ รวมทั้งให้จัดสอดคล้องกับความสามารถ ความถนัด และความสนใจของผู้เรียน แต่ละกลุ่มเป้าหมายด้วย

โรงเรียน……………………………………………………………………………………………… เป็นโรงเรียนที่ได้รับการ คัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นโรงเรียนเครื่อข่ายการใช้หลักสูตร ระดับมัธยมศึกษา ของจังหวัด……………………………………..ได้ดำเนินการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา โดยใช้กรอบแนวคิดจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 มาเป็นแนวทางในการจัดทำหลักสูตร และนำหลักสูตรไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน ตั้งแต่ปีการศึกษา 2545 เป็นต้นมา ซึ่งในการใช้ หลักสูตรที่ผ่านมาได้มีการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรตามสภาพปัญหาที่พบอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำและพัฒนาหลักสูตรมีความครบถ้วนสมบูรณ์ จึงได้ดำเนินการประเมินหลักสูตรสถานศึกษา (ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544) ช่วงชั้นที่ …………………… โรงเรียน………………………………….. โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปโมเดล (CIPP Model) เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการประเมินการใช้หลักสูตร ไปใช้เป็นแนวทางในการ

ปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป

กรอบแนวคิดการวิจัย

การประเมินการใช้หลักสูตรสถานศึกษา ในครั้งนี้ใช้กรอบแนวคิดแนวทางการจัดทำ

หลักสูตรสถานศึกษา จากแนวทางการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา (กระทรวงศึกษาธิการ. 2545 : 18)

โดยผู้วิจัยได้ยึดกระบวนการและขั้นตอนการจัดทำสาระของหลักสูตรสถานศึกษา ดังนี้

  1. 1. การกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมาย

    2. การกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์

    3. การกำหนดโครงสร้างหลักสูตรของสถานศึกษา

    4. การกำหนดรายวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้

    5. การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

    6. การจัดการเรียนรู้และการส่งเสริมการเรียนรู้

    7. การวัดผลประเมินผล

    8. การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อประเมินคุณภาพของนักเรียนและกระบวนการจัดการศึกษาของโรงเรียนตาม

จุดมุ่งหมายของหลักสูตร ในด้าน

1.1 ความรู้ความสามารถพื้นฐานด้านทักษะการใช้ภาษา ทักษะการคิดคำนวณ

และทักษะทางวิทยาศาสตร์

1.2 ความรู้ความสามารถด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน

1.3 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของสถานศึกษา

2. เพื่อประเมินกระบวนการจัดการศึกษาของโรงเรียนในด้าน

2.1 การกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ และเป้าหมาย

2.2 การกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน

2.3 การจัดโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา

2.4 การกำหนดรายวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้

2.5 การกำหนดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

2.6 การจัดการเรียนรู้และการส่งเสริมการเรียนรู้

2.7 การวัดผลประเมินผล

2.8 การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา

3. เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน กับกระบวนการจัดการศึกษาของโรงเรียน

ความสำคัญของการวิจัย

เป็นแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ เพื่อพัฒนา คุณภาพการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพยิ่งขึ้นต่อไป

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

  1. 1. จำนวนนักเรียนที่ประเมินคุณภาพและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ประกอบด้วย
    1. 1.1 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ………….. จำนวน …………….. คน
    2. 1.2 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ……………..จำนวน …………… คน 2. กลุ่มตัวอย่างการประเมินกระบวนการจัดการศึกษาของโรงเรียน ประกอบด้วย

      2.1 ครู อาจารย์ และอาจารย์พิเศษ จำนวน …………….. คน

      2.2 นักเรียน ได้จากการสุ่ม ระดับชั้นละ 50 คน รวม ………. คน

      2.3 ผู้ปกครองนักเรียน ได้จากการสุ่ม ระดับชั้นละ 50 คน รวม ………… คน

นิยามศัพท์เฉพาะ

1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ความสำเร็จหรือความสามารถในการเรียนที่เกิดขึ้น

กับตัวผู้เรียน โดยการเรียนในรายวิชาต่าง ๆ ในโรงเรียนตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรในช่วงชั้นที่ …………และช่วงชั้นที่ ……………2. ความรู้ความสามารถพื้นฐาน หมายถึง ความสามารถทั่วไปที่เป็นพื้นฐานคงอยู่ติดตัว

ผู้เรียนเมื่อผ่านกระบวนการของหลักสูตรในระดับชั้นที่กำหนด ในที่นี้คือ เมื่อนักเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ช่วงชั้นที่ 3) และจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ช่วงชั้นที่ 4) ได้แก่ทักษะในการใช้ภาษา

ทักษะการคิดคำนวณ และทักษะทางวิทยาศาสตร์

3. ความรู้ความสามารถด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน หมายถึง ผลการเรียนรู้ที่ได้จากการอ่าน การเขียน การคิดระดับสูง เช่น ความสามารถในเชิงวิเคราะห์ และการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล

4. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของสถานศึกษา หมายถึง พฤติกรรมที่นักเรียนแสดงออกในด้านต่าง ๆ จนเป็นนิสัย ตามที่โรงเรียน………………………………………………กำหนดไว้ 8 ด้าน ได้แก่

4.1 ด้านคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์

4.2 ด้านความสามารถในการคิด วิเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์

ไตร่ตรองและมีวิสัยทัศน์

4.3 ด้านทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

4.4 ด้านทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้และมีเจตคติ

ที่ดีต่ออาชีพสุจริต

4.5 ด้านสุขนิสัย สุขภาพและสุขภาพจิตที่ดี

4.6 ด้านการอนุรักษ์ไทย

4.7 ด้านทักษะการคิดคำนวณ

4.8 ด้านทักษะทางภาษา

5. กระบวนการจัดการศึกษาของโรงเรียน หมายถึง แนวทางการจัดการศึกษาของโรงเรียน

ที่เป็นผลสะท้อนจากการใช้หลักสูตร ได้แก่

5.1 การกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ และเป้าหมาย

5.2 การกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน

5.3 การจัดโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา

5.4 การกำหนดรายวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้

5.5 การกำหนดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

5.6 การจัดการเรียนรู้และการส่งเสริมการเรียนรู้

5.7 การวัดผลประเมินผล

5.8 การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา

6. คะแนนจุดตัดหรือคะแนนจุดผ่าน (Passing Score) หมายถึง การกำหนดคะแนนเพื่อแบ่งกลุ่มตามความสามารถในด้านต่าง ๆ ของผู้เรียน ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือระดับดี ระดับปานกลาง และระดับที่ต้องปรับปรุงแก้ไข

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 18303เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2006 07:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 09:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท