เรียนรู้แบบลอกเลียน


การใช้ SEA น่าจะทำให้เกิดวิธีคิดจนเกิดรูปแบบการทำงานแบบใหม่ๆ

ผมพยายามจะเข้ามาเขียน  bิlog เมื่อคืน แต่ไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับระบบ เพราะมันพาผมไปหาคนที่ชื่อ phmoo ตลออดเลย พร้อมบอกว่าผมจะต้องสมัครก่อนจึงจะเขียน ิlog ได้ เลยยิ่งงใหญ่ ว่าเกิดอะไรขึ้น ลองพยายามอยู่ 3-4 ครั้งก็ไม่ได้เรื่อง เลยต้องล้มเลิกความพยายาม

มาเล่าเรื่องที่จั่วหัวไว้ดีกว่าครับ เรื่องมาจากโครงการ SEA กับการกำจัดขยะที่ อจ สมบัติ เหสกุล เป็นนักวิจัยหลัก ที่คุณ โอ มสช เคยมาเล่าไว้ 

แต่วันนี้ผมจะมาสะท้อนมุมมองที่เกิดขึ้นระหว่างนั่งฟัง อจ สมบัติ นำเสนอประสบการณ์ของ เทศบาลเกี่ยวกับการกำจัดขยะ สิ่งที่สะดุดใจผมก็คือข้อค้นพบที่บอกว่า เทศบาลส่วนใหญ่ใช้รูปแบบการกำจัดขยะที่ไปเรียนรู็้มาจาก กทม แทนที่จะคิดรูปแบบหรือทางเลือกใหม่

ในโครงการที่ อจ สมบัติตั้งใจทำนั้นคือการใช้วิธีมองแบบใหม่ โดยเฉพาะคือแนวคิดที่ว่าขยะไม่ใช่ภาระ แต่เป็นรายได้ และการจัดรูปแบบดีๆ แทนที่ เทศบาลจะเกิดภาระ จะกลับเป็นมีรายได้

แต่นั่นไม่ใช่รูปแบบที่เทศบาลไปเรียนมาจาก กทม แต่ที่อาจจะสำคัญกว่า คือพอใช้รูปแบบ กทม คือ เทศบาลต้องมารับภาระกำจัดขยะเอง ด้วยการตั้งหน่วยงาน จ้างคน และส่งออกไปเก็บขยะ แต่บริหารจัดการได้ไม่ดีพอ ค่าเก็บขยะที่เก็บได้จึงไม่พอกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น แต่ครั้งจะเอาเอกชนมาทำก็กลายเป็นเรื่องผลประโยชน์ที่ต้องมีการจัดการอย่างจริงจัง ไม่งั้นก็จะเริ่มวิธีคิดใหม่ไม่ได้

ผมนั่งฟังก็นั่งสะท้อนว่าหลายๆเรื่องดูจะคล้ายๆกันหมด เมื่อครั้งทีมูลนิธิสดศรี สฤษดิ์วงศ์ พยายามส่งเสริมนวัตกรรมการเรียนรู้ อจประเวศมานั่งฟังครูตามโรงเรียนมานั่งเล่านวัตกรรมการเรียนรู้ ซึ่งมีตัวอย่าางน่าสนใจมากมาย มีการเสนอว่าน่าจะทำเป็นชุดส่งไปยังโรงเรียนต่างๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ แล้วเอาไปประยุกต์ใช้ หลายคนก็เตือนว่าอย่าทำอย่างนั้น เพราะโรงดรียนต่างๆก็จะพากัน copy and paste ไปใช้ โดยไม่มีการไปประยุกต์ 

ความจริงการดูงานน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะทำให้เกิดความคิด เพื่อเอาไปคิดต่อว่าจะประยุกต์ได้ยังไง แต่ดูเหมือนคนที่ดูงานส่วนใหญ่จะมุ่งไปดูรายละเอียดแล้วเอาไปใช้ทั้งดุ้น

ว่าไปแล้วนี่ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่ประการใด และทุกคนก็รู้ว่าถ้าจะมีการพัฒนาก็ต้องมีการประยุกต์หรือหารูปแบบการทำงานใหม่ๆ

แต่ถ้าดูตัวอย่างการกระจายอำนาจที่ทำกันอยู่ตอนนี้ก็อาจจะเห็นร่องรอยของการ copy and paste อยู่แยะ เพราะสิ่งที่เรียกว่ากระจายอำนาจ กลายเป็นการถ่าโอนภาระกิจ ด้วยการยกโรงเรียน แถมครูให้ แล้วยังมีการคุยกันเรื่องยก สถานีอนามัยหรือ รพ พร้อมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้ กลายเป็นประเด็น ไป หรือไม่ไป ให้วุ่นวายกันหมด

ถ้าเราเชื่อเรื่องการหารูปแบบใหม่ เราก็ต้องยอมรับว่า ท้องถิ่นที่รับกระจายอำนาจน่าจะมีสิทธิหารูปแบบการจัดการใหม่ๆ ภายใต้ภาระกิจที่มอบให้ พร้อมกับงบประมาณที่กระจายใ้ห้ ไม่ใช่ต้องรับทอกวิธีการจัดบริการสาธารณสุข หรือจัดการศ฿กษาแบบที่ส่วนกลางเคยทำๆกันมาเท่านั้น

เพราะนั่นเท่ากับการเอาภาระทั้งหลายไปมอบให้ มากกว่าการมอบแค่พันธกิจ หรือเป้าหมาย แล้วปล่อยให้ท้องถิ่นมีสิทธิไปหาวิธีการเอง

พูดเรื่องท้องถิ่นมา copy วิธีจัดการขยะของ กทม แล้วเอาไปใช้โดยไม่ทันได้คิดวิธีใหม่ ซึ่งถ้าคิดใหม่ตอนนี้ก็น่าหัวเราะ แต่พอถึงเวลากระจายอำนาจเรากลับทำแบบเดียวกัน แต่คราวนี้ไม่ใช่ท้องถิ่นตัดสินใจ copy เอง แต่เป็นส่วนกลางพยายามยัดเยียดให้ท้องถิ่น copy

แบบนี้ก็ไม่รู้ว่าเมื่อไรการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จะเกิดขึ้นจริง หรือว่าเราหวังได้แค่การ ลอกเปลี่ยนเลียนดู กันแน่นะครับ 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 18290เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2006 23:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มีนาคม 2012 15:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
เห็นด้วยกับคุณหมอค่ะว่าไม่ควร copy and past  แต่บางทีอาจต้องใช้เวลาและต้องให้เวลาบ้าง เพื่อให้มีอิสระจากภาวะครอบงำในความคิดจิตใจที่มีอยู่เดิมในสังคม ก็ขอให้กำลังใจสำหรับผู้ที่รู้ตัวว่าอยากจะคิดนอกกรอบ หรือรู้จักประยุกต์การทำงานให้เข้ากับสภาพที่สอดคล้องกับความเป็นจริง (ตัวเองด้วยคนหนึ่ง)ไม่ใช่ copy and paste
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท