วิเคราะห์ภารกิจ Job Analysis


        ห้องสมุด ทบทวนขอบเขตงานระหว่างหน่วยงานกัน โดยการระดมความคิดโดยมีคำถามดังนี้ 1) การทำงานที่ผ่านมาหน่วยงานของคุณมีปัญหาอะไรบ้าง 2) มีงานไหนบ้างที่คุณคิดว่าน่าจะอยู่กับหน่วยงานคุณ 3) มีงานไหนบ้างที่ไม่ได้เป็นภารกิจหลักของหน่วยงานคุณ และคิดว่าควรไปอยู่กับหน่วยงานไหน วันนี้เราตอบ 3 คำถามนี้กันก่อน และหลังจากนี้เราจะมีตอบว่า ห้องสมุดเรายืนอยู่ตรงไหน และเราจะไปอยู่ที่ตรงไหน ซึ่งตอนนี้เรามีสิ่งที่เห็นลางๆ แล้วว่า เราจะเป็นศูนย์บริการทรัพยากรสารสนเทศชั้นนำ เราจะเป็นผู้ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเราจะสนับสนุนภารกิจหลักของมหาวิทยาลัย  และเราจะแข่งกับใคร โครงสร้างองค์กร รวมทั้งบุคลากรและศักยภาพที่เรามีอยู่พร้อมที่จะแข่งขันหรือไม่ ซึ่งเราคงต้องระดมความคิดกันต่อไป วันนี้ขอเล่าด้วยภาพก่อนนะครับ

   
   
หมายเลขบันทึก: 18258เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2006 16:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เพิ่งเห็นตัวจริง ดร มลิวัลย์ ประดิษฐธีระ เจ้าของ วิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเกี่ยวกับการประกันคุณภาพของห้องสมุดมหาวิทยาลัยในไทย วันนี้เองค่ะ เคยแต่อ่านผ่านตาจากฐานข้อมูล PDF Dissertation ของสกอ.  ประสบการณ์จากสำนักหอสมุด ม รังสิต เป็นแนวทางให้สำนักหอสมุดได้ และสภาพหลายอย่างก็คล้ายคลึงกับสำนักหอสมุดในปัจจุบันมาก..  เท่าที่ได้แลกเปลี่ยนกันในกลุ่ม Workshop  สมาชิกส่วนใหญ่ พร้อมที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลง และพร้อมที่จะทำงานหนักมากขึ้นนะคะ ขอเพียงให้งานของห้องสมุดแต่ละฝ่าย/งานชัดเจนขึ้น ...  การทำงานจะได้คล่องตัว และลดความซ้ำซ้อน

หวังว่าจะได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เปิดใจกันในการวิเคราะห์ภารกิจอย่างนี้อีก ในครั้งต่อไปค่ะ

ผมว่ามีประโยชน์มากเลยครับ "ถ้าชัดเจนกว่านี้" หวังว่าคงมีโอกาสได้จัดงานแบบนี้ขึ้นมาอีกนะครับ
ผมว่ามีประโยชน์มากเลยครับ "ถ้าชัดเจนกว่านี้" หวังว่าคงมีโอกาสได้จัดงานแบบนี้ขึ้นมาอีกนะครับ

เสียดายที่มีเวลาน้อยไปหน่อยค่ะ หลายคนบอกว่าเข้าใจง่ายและรู้สึกสนุกกว่าเมื่อ 2 วันก่อน เพราะมันเป็นงานของเราและใกล้ตัวเรามาก

เห็นด้วยกับคุณวันเพ็ญค่ะ ... จริงๆ แล้วต้องการให้ทุกฝ่ายได้ present การวิเคราะห์งานของตนเอง เพื่อที่ท่านวิทยากรจะได้ร่วมวิจารณ์ภาระงานของพวกเรา รวมทั้งให้เพื่อนร่วมงานช่วยกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน...ซึ่งโอกาสที่พวกเราจะรวมตัวกัน และท่านวิทยากรได้มาให้ความรู้กับพวกเรา โอกาสเช่นนี้หาได้ไม่ง่ายนัก 

หลายๆ คนบอกว่าเครื่องกำลังติด ความคิดกำลังแล่น เวลาก็หมดลงซะแล้ว ซึ่งการวิเคราห์ภาระงานเช่นนี้น่าจะใช้เวลาคุยกัน 2-3 วัน น่าจะดีค่ะ

จะตีเหล็กต้องตีตอนร้อน ๆ   (5555 นึกถึง ธารวังทอง ร้อนมาก ๆ จนไม่อยากตี)  ตอนนี้ เหล็กกำลังร้อนได้ที่ จะทำอะไรต้องรีบทำ   ดิฉันเชื่อว่าเราชาวสำนักหอสมุดพร้อมและยินดี ที่จะยอมรับการเปลียนแปลง
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท