ประวัติย่อ องค์กรการเงินชุมชน


เพิ่มทรัพย์สินให้ชุมชนก็เป็นเรื่องดี แต่ถ้าเพิ่มหนี้สินก็เป็นการซ้ำเติม

องค์กรการเงินชุมชนเป็นการรวมตัวของคนในชุมชนเพื่อทำกิจกรรมด้านการเงินร่วมกัน เริ่มจากแนวคิดเครดิตยูเนี่ยน ต่อมากรมพัฒนาชุมชนสนับสนุนการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตเป็นเป็นการฝึกฝนคนและออมเงินเป็นทุนในการผลิต  ซึ่งครูชบยอดแก้วที่สงขลาได้ปรับปรุงเป็นกลุ่มสัจจะพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต พระสุบินธุดงค์ไปทางใต้เรียนรู้จากครูชบ นำมาขยายผลที่จังหวัดตราดเป็นเครือข่ายกว้างขวาง
อีกด้านหนึ่งอ.จำนงค์ สมประสงค์นำความรู้เรื่องสถาบันการเงินทำโครงการธนาคารหมู่บ้านสนับสนุนโครงการอีสานเขียว ขยายผ่านกรมส่งเสริมการเกษตรลงไปจัดตั้งสวมทับกลุ่มเกษตรกรที่กรมดูแลอยู่ แต่ก็เติบโตผลุบโผล่ตามนโยบายที่ไม่ต่อเนื่อง

รัฐบาลนายกทักษิณได้แนวคิดจากกลุ่มBest practice เหล่านี้ ได้จัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองขึ้นทั่วประเทศ ซึ่งอ.ไอศูรย์ ภาษยะวรรณ์เห็นว่าเป็นดาบสองคมคือถ้าเพิ่มทรัพย์สินให้ชุมชน ก็เป็นเรื่องดี แต่ถ้าเพิ่มหนี้สินก็เป็นการซ้ำเติม

คุณสามารถ พุทธาที่ลำปางเห็นว่า "ออมเพิ่อกู้สร้างศัตรู เปลี่ยนเป็นออมเพื่อให้ดีกว่า" จึงจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์วันละบาทเพื่อสร้างสวัสดิการโดยเฉพาะ ครูชบไปพบเข้าโดนใจมากเพราะเคยทำโครงการออมวันละบาทของเด็กนักเรียนสมัยเป็นครูใหญ่ที่โรงเรียนบ้านน้ำขาวมาแล้ว จึงกลับมาปักหลักรณรงค์สัจจะวันละบาท ทำสวัสดิการภาคประชาชนที่สงขลา ตอนนี้มีประมาณ 40 กลุ่ม สมาชิกกว่า 20,000 คนแล้ว โดยมีนโยบายกองทุนสมทบสวัสดิการจากรัฐผ่านพอช.ประเดิมจำนวน 32 ล้าน จากที่นายกฯคุยไว้จำนวน 2,000 ล้าน

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 1821เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2005 10:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท