น้ำดื่ม น้ำใช้ และการตรวจคุณภาพ


แวะไปเยี่ยมเว็บไซต์ของวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ครับ

น้ำดื่ม น้ำใช้ และการตรวจคุณภาพ

 

น้ำดื่มสะอาดเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญของการดำรงชีวิต เครื่องกรองน้ำหยอดเหรียญของประเทศไทยช่วยเพิ่มโอกาสการเข้าถึงน้ำดื่มราคาถูกได้ทั้งประเทศ (รูปเครื่องกรองถูกเผยแพร่ใน wilkipedia ด้วย)

การกรองน้ำเพื่อดื่มหรือใช้ประกอบอาหาร โดยทั่วไป ใช้ 3 ขั้นตอน คือ ดูดซับด้วยคาร์บอน ทำให้น้ำไม่กระด้าง และกรองแบคทีเรีย ด้วยเรซิน ดังนี้

(บ้านทีมีเด็กเล็ก ผู้ป่วย ผู้สูงอายุ อาจต้องเพิ่มขั้นตอนอื่นๆในการทำลายจุลินทรีย์ชนิดอื่น เช่น ไวรัส ด้วย แสง ยู-วี หรือเติมโอโซน (ozone) เป็นต้น)

 

การกรองน้ำดื่ม น้ำใช้ 3 ขั้นตอน

  1. ผงคาร์บอน

·         ใช้เป็นสารดูดซับ สิ่งปนเปื้อนที่เป็นสารอินทรีย์ (พวกนี้มีผลต่อสี รส และกลิ่นของน้ำ)

·         ผงคาร์บอนที่นิยมใช้มากที่สุด คือ แอคติเวเต็ท คาร์บอน (ถ้าโดยความหมาย คือ คาร์บอนที่ถูกเตรียมให้มีความว่องไวมากในการดูดซับ) ถ้ามองดูจากภายนอกผงคาร์บอนเหล่านี้ก็ไม่ต่างอะไรกับผงถ่านไม้ที่เผาแล้วบด แต่เขามีวิธีการเตรียมเฉพาะ เช่นวิธีทางกายภาพที่ใช้ความร้อน และให้อยู่ในบรรยากาศที่มีสภาวะอ็อกซิเดชั่น (รายละเอียดเพิ่มเติม เช่นวิธีทางเคมี ดูหัวข้อ การผลิต (Production) คลิกที่นี่ ) วิธีดังกล่าวทำให้ผงถ่านมีรูพรุนมากมาย ทำให้สามารถดูดซับหรือจับสิ่งปนเปื้อนในน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ

·         แอคติเวเต็ทคาร์บอน แบ่งได้เป็นหลายชนิดตามคุณสมบัติทางกายภาพ (คลิก) แต่รูปแบบที่นิยมนำมาใช้ในการกรองน้ำมี 2 แบบ คือ แบบเม็ดแกรนูล (granulated activated carbon, GAC) ซึ่งมีขนาดประมาณ 1 มม. (ใหญ่กว่าแบบผง 10-100 เท่า ชนิดนี้จึงมีพื้นที่ผิวน้อยกว่า)   และแบบผง (powdered activated carbon, PAC) [วิธีการแยกทำโดยการใช้ตะแกรงร่อนในขนาดรูที่กำหนด ส่วนที่ค้างบนตะแกรงจะเป็น GAC และส่วนที่ตกไปอยู่ข้างล่างจะเป็น PAC]

·         แบบผงมีพื้นที่ผิวมาก ดูดซับได้เร็วและมีประสิทธิภาพดี แต่ถ้าใช้งานอย่างต่อเนื่องอาจแพงเนื่องจากความสามารถขจัดได้น้อยกว่า GAC และค่าใช้จ่ายในการใช้ (operating cost) สูงกว่า

·         สิ่งที่ต้องติดตามคือ ผงคาร์บอนมีพอเพียงที่จะดูดซับสิ่งปนเปื้อนดังกล่าวในน้ำหรือไม่ (คือน้ำดังกล่าวสกปรกมากน้อยเพียงไร) ถ้าผงคาร์บอนดูดซับสิ่งปนเปื้อนไว้มาก ก็ต้องหมั่นไล่ออก โดยดันน้ำออกไปอีกทางคือย้อนกลับ (backwash)

 

2. เรซิน

    ·         เรซินมักเตรียมมาจากโพลีเมอร์ของสารอินทรีย์ เป็นเม็ดขนาด 1-2 มม. สีขาวหรือเหลือง มีรูที่ผิวที่จับหรือปล่อยไอออน (ส่วนสารอื่นที่อาจนำมาใช้ในการแลกเปลี่ยนไอออนเพื่อทำน้ำบริสุทธิ์ คือ  zeolite  ดูรูปไปที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Image:Zeolite-ZSM-5-3D-vdW.png)

     

    ·         ใช้กำจัดสิ่งปนเปื้อน ชนิดอนินทรีย์ที่มีประจุ

    ·         ไอออนจากสิ่งปนเปื้อนจะแลกเปลี่ยนกับไอออนที่อยู่บนผิวเรซิน ดังนั้นเมื่อเวลาผ่านไปผิวของเรซินจะเก็บสิ่งปนเปื้อนไว้ และจำเป็นต้องทำความสะอาดสม่ำเสมอ ด้วยการใช้สารละลาย(ขึ้นกับชนิดของเรซิน โดยทั่วไปใช้สารละลายเกลือแกง) ที่จะคืนประจุให้

    ·         เรซินมี 2 ชนิด คือ เรซินที่กำจัดไออนประจุบวก หรือแคทไอออนเรซิน (cation resin) ที่จะแลกประจุบวก เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม และเรเดียม กับ เรซินที่กำจัดไออนประจุบวกหรือแอนไอออนเรซิน (anion resin) ที่ใช้กำจัดแอนไอออน เช่น ไนเตรท อาร์ซีเนท อาร์ซีไนท์ และครอเมท

    ·         ในเครื่องกรองน้ำที่มีจำหน่ายทั่วๆไป จะใช้เรซินชนิดแคทไอออนเรซินชนิดเดียว เพื่อทำให้น้ำไม่กระด้าง โดยส่วนใหญ่กำจัดแคลเซียมและแมกนีเซียมออกไป (แต่ในขั้นตอนการผลิตน้ำในการเตรียมยาและอุตสาหกรรม จะใช้ 2ท่อ คือแคทไอออนเรซิน และแอนไอออนเรซิน)

    ·         ในการคืนประจุ สำหรับเรซินทั้งสองชนิดจะใช้น้ำเกลือแกง โดยกรณีเรซินประจุบวก ไอออนของโซเดียมจะไล่ที่ไอออนประจุบวกออกจากบริเวณแลกเปลี่ยนไอออน ส่วนเรซินชนิดแอนไอออน ไอออนคลอไรด์จะไล่ที่ไอออนประจุลบจากบริเวณแลกเปลี่ยนไอออน

    ·         ขั้นตอนการแลกเปลี่ยนประจุนี้ทำงานได้ดีที่สุดเมื่อน้ำไม่มีฝุ่นผงที่จะมาสะสมบนเรซิน และจำกัดประสิทธิภาพการทำงานดังกล่าว

     

    หน้าตาและสีของเรซินคล้ายกับน้ำตาลแร่ (ระวังอย่ากินผิด)

    เรซิน

     

    น้ำตาลแร่

     

    แต่น้ำตาลแร่ ทั้งหอมทั้งหวาน (ถ้าตักพรวดๆๆ โดยไม่ดม ก็สมควรให้ธรรมชาติลงโทษบ้าง)

     

    3. เซรามิค

      •  เป็นการกรองตามขนาด โดยเฉพาะจุลินทรีย์ซึ่งส่วนใหญ่คือแบคทีเรีย ปกติการใช้รูกรองขนาด 0.45 ไมครอน ก็สามารถกำจัดแบคทีเรียที่ปนเปื้อนได้แล้ว ท่อกรองเซรามิคโดยทั่วไปมีขนาดรูกรอง 0.3 ไมครอน ดังนั้นสามารถกรองน้ำให้ปราศจากแบคทีเรีย ได้
      • อย่างไรก็ตาม ไวรัสที่นำโรคผ่านทางน้ำดื่ม (ไวรัสโปลิโอ, ไวรัสตับอักเวบเอ, ไวรัสโรตา ฯลฯ) มีขนาดเล็กมากสามารถผ่านรูกรองนี้ได้ แต่เนื่องจากไวรัสเหล่านี้ไม่พบบ่อยโดยทั่วไป เว้นแต่มีการปนเปื้อนจากผู้ป่วย

       

      การประกอบเครื่องกรองน้ำ

      ถ้าเครื่องกรองน้ำของคุณเป็นชนิดที่ต่อตรงจากปลายก๊อกน้ำ ก็ไม่ยุ่งยากอะไร เพียงแต่ให้มั่นใจว่าเกลียวต่อของเครื่องตรงกับเกลียวต่อปลายก๊อกน้ำที่คุณจะต่อ 

      เครื่องกรองน้ำของผม เป็นชนิด 3 ขั้นตอนข้างต้น ก็ต่อดังนี้ ขอใช้รูปแทนคำอธิบาย (ลองทายว่า แต่ละภาพผู้เขียนหมายถึงอะไรบ้าง อืม..อย่างนี้ น่าจะสนุกกว่าบอกกันตรงๆ)

       

       

       

       

      การส่งตรวจเพื่อตรวจสอบคุณภาพน้ำ

      • สถานที่ส่งตัวอย่าง ทุกจังหวัดจะมี ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ ในจังหวัดพิษณุโลกก็สามารถส่งมาที่ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งสถานที่บริการอยู่ที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ แวะไปเยี่ยมเว็บไซต์ของวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ครับ
      • สิ่งที่อยากเน้น คือระวังการปนเปื้อนการเก็บตัวอย่างน้ำ ใช้ภาชนะสะอาด ก้เอาขวดพลาสติกน้ำดื่มที่ยังไม่เปื้อน (อ้อ..ต้องไม่ใช่ขวดที่ดื่มจากปาก หรือหลอดดูด เพราะอาจปนเปื้อนได้จากแบคทีเรียที่อาศัยตามปกติในช่องปากหรือระหว่างการจับต้อง)

       อ้างอิงและข้อมูลเพิ่มเติม ศึกษาได้จาก

      1. Safe Drinking water is Essential. National Academy of Sciences. http://www.drinking-water.org/html/en/Treatment/Adsorption-and-Ion-Exchange-Systems-technologies.html
      2. http://en.wikipedia.org/wiki/Zeolite
      3. http://en.wikipedia.org/wiki/Water_softening
      4. http://en.wikipedia.org/wiki/Activated_Carbon
      5. http://en.wikipedia.org/wiki/Ion_exchange_resin

       

      หมายเลขบันทึก: 181332เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2008 21:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


      ความเห็น (9)

      ขอบคุณครับ คุณภีรภา ที่แวะมาเยี่ยม

      แต่ว่าไม่ทันผม หลับไปเรียบร้อยแล้ว (ขออภัย ง่วงๆ) ตอนนี้เลยแย่

      ผมสังเกตเครื่องกรองน้ำที่บ้านผม มีอะไรเหมือนไข่ปลาเลย ที่แท้คือ เรซิน นี่เอง

      ขอบคุณมากๆคับกำลังสงสัย

      ผม เก็บน้ำกรอง 24 ลิตรแรก บรรจุขวด ตั้งทิ้งไว้ให้แสงส่องถึง เพื่อสังเกตตะกอนเบาและลักษณะกายภาพอื่นๆ ชมภาพ คลิกที่นี่

      สามารถเอาน้ำดื่มน้ำใช้ไปตรวจสอบคุณภาพได้ที่ไหนบ้างค่ะ กำลังทำเกี่ยวกับการตรวจสอบคุณภาพน้ำคนในชุมชนใช้ดืมอยู่ค่ะ

      บริการตรวจคุณภาพน้ำดื่มมีหลายที่ ดังนั้นก็เลือกใช้กับบริการที่ใกล้พื้นที่ก็ได้ครับ

      เลขเครื่องคอมฯ ของคุณ moji มาจากรอบๆบริเวณ ศิริราช วัดอรุณ วิชรพยาบาลน่าจะลองโทร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นนทบุรี จะได้ขอคำแนะนำการเก็บตัวอย่างด้วยครับ

      พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
      ClassStart
      ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
      ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
      ClassStart Books
      โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท