Toyota กับ Dr.Deming


คงพอเข้าใจนะครับว่าทำไมผมรู้สึกเสียดายที่พลาดโอกาสการไปดูงานที่ Toyota กับพวกเรามาก

         ช่วงนี้ผมได้ทานข้าวกลางวันพร้อม ๆ กับผู้บริหารงานวิจัยบ้าง นักวิจัยบ้าง เกือบจะทุกวัน บางวันกับท่านอธิการบดี (ในที่ประชุมรองอธิการบดี)

         เที่ยงวันนี้ก็มีนัดพูดคุยกับทีม NUKM ที่จะไปดูงาน Toyota กับ UKM

         ตัวผมเองโชคไม่ค่อยดีที่ Program การดูงานที่ Toyota มาชนกันกับ Prelude Naresuan Research Conference ที่กำหนดกันไว้นานแล้ว ได้เรียนเชิญท่านอาจารย์พีรเดช (ทองอำไพ) จาก สกว. ให้มาเป็นพี่เลี้ยงไว้เรียบร้อยแล้ว นักวิจัยก็รับรู้กันล่วงหน้านานแล้ว หลายคนรวมทั้งผมและท่านอาจารย์เสมอ (ถาน้อย) จึงจำเป็นต้องพลาดโอกาสดีที่หาได้ยากนี้ ยิ่งคิดยิ่งน่าเสียดาย

         ปีเศษที่แล้วผมได้ซื้อรถ Toyota มาใช้คันหนึ่ง จึงมีประสบการณ์ตรงกับการบริการและคุณภาพของสินค้า ทำให้อยากรู้ว่า Toyota ทำอย่างไร จึงได้ผลเป็นเช่นนี้

         4 – 5 ปีที่แล้ว NUQA Staff คงพอจำได้ที่ผมมักจะนำหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ ดร.เดมมิ่ง อเมริกันชนผู้ปูรากฐานเรื่องคุณภาพให้ญี่ปุ่น มาให้ดูและพูดเล่าสู่กันฟังอยู่เสมอถึงเนื้อหาภายในเล่ม

         เนื้อหาที่ผมมักยกขึ้นมาพูดเสมอคือ Deming cycle (PDCA cycle), Deming prize และกรณีศึกษาจาก Toyota

         ผมจะลองขออนุญาตคัดลอกในหน้า 4 ของหนังสือดังกล่าวมาให้อ่านกันสัก 2 ย่อหน้า เพื่อให้เข้ากับบรรยากาศของการจะไปดูงานที่ Toyota กัน เป็นดังนี้ครับ

         “สถานที่ที่ดีจะเริ่มพูดถึงก็คือสำนักงานใหญ่ของโตโยต้าในโตเกียว สิ่งแรกที่จะสังเกตเห็นในโถงต้อนรับนั้นเป็นภาพของคน 3 คน ภาพหนึ่งคือผู้ก่อตั้งของโตโยต้า อีกภาพเป็นภาพขนาดใหญ่เท่ากันเป็นภาพของประธานบริษัทคนปัจจุบันของโตโยต้า และภาพที่สามเป็นภาพที่ใหญ่กว่าภาพอื่นก็คือ ดับบลิว เอ็ดเวิอร์ดส์ เดมมิ่ง

         เกิดข้อผิดพลาดอะไรขึ้นหรือป่าว? โตโยต้าเสียสติไปแล้วหรือ? พวกเขายอมศิโรราบต่อคู่แข่งขันแล้วหรือ? เปล่าเลย ภาพนั้นแสดงถึงความเคารพต่อบุคคลซึ่งนำความรู้มาให้ตั้งแต่เริ่มต้น ดับบลิว เอ็ดเวิอร์ดส์ เดมมิ่ง เป็นผู้สอนเรื่องคุณภาพให้แก่ญี่ปุ่น”

         คงพอเข้าใจนะครับว่าทำไมผมรู้สึกเสียดายที่พลาดโอกาสการไปดูงานที่ Toyota กับพวกเรามาก

         วิบูลย์  วัฒนาธร

คำสำคัญ (Tags): #toyota#dr.deming
หมายเลขบันทึก: 18074เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2006 10:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 19:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์
  • ขอขอบคุณอาจารย์ที่กรุณานำเรื่องดีๆ มา "ลปรร." (ไม่ทราบว่าย่อมาจาก แลกเปลี่ยนเรื่องราวหรือเปล่า เพราะไม่ได้เข้าอบรม KM อย่างสมาชิกท่านอื่น)
  • เรื่องของ Ford motor กับ Dr. Deming ก็น่าสนใจครับ เท่าที่จำได้... ดร.อาเกวโย่นำเรื่องของบริษัท Ford ที่เกือบล้มละลายครั้งแรกมาตีพิมพ์ (ต้นฉบับตอนนี้ดูจะบริจาคให้ห้องสมุด มน.ไปแล้ว)
  • บริษัท Ford ตอนนั้นคุณภาพต่ำมาก ผมจำได้ว่า รถบรรทุกราคาประหยัดของ Ford เคยมีปัญหาขับๆ แล้วพวงมาลัยหลุด (เหตุเกิดในประเทศไทย)
  • Dr. Deming เข้าไปสอนวิธีปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องจนทุกวันนี้ Ford เขามี Ranger "กระบะนิรภัย" ขับแล้วพวงมาลัยไม่หลุด แถมยังมีคุณภาพสูงมาก แข็งแรง และมีรุ่น "ตู้กับข้าว" ที่เปิดปิดสะดวกมาก
  • สมาชิก NUKM คงจะมีโอกาสได้อ่านเรื่อง Toyota & Deming จากท่านที่มีโอกาสไปดูงานเร็วๆ นี้...

เรียน ท่านอาจารย์หมอวัลลภ ครับ

ขอโทษด้วยครับที่ตอบช้า (เสมอ)

ผมยืมคำว่า "ลปรร." มาจากท่านอาจารย์หมอวิจารณ์ครับ ย่อมาจาก "แลกเปลี่ยนเรียนรู้" หรือ Knowledge sharing ที่มีความหมายของ Active learning through action รวมอยู่ด้วย

ถ้าผมเข้าใจผิดประการใด ขอความกรุณาผู้รู้ช่วยกันชี้แจงด้วยจะขอบคุณมากเลยครับ

วิธีการของ Deming เหมือนวงจรที่นำมาใช้ในโรงเรียนไหมครับ

  • Plan
  • Do
  • Check
  • Act
ใช่เลยครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท