ความเป็นมาของแผนที่


มาดูความสำคัญของแผนที่กันดีกว่า

              Photobucket - Video and Image Hostingความหมายของแผนที่ Photobucket - Video and Image Hosting

    การนำเอารูปภาพของสิ่งต่างๆ บนพื้นผิวของโลกมาย่อ ส่วนให้เล็กลง  แล้วนำมาเขียนบนกระดาษหรือวัตถุที่แบนราบ  สิ่งต่างๆ บนพื้นผิวโลกประกอบด้วยสิ่งที่เกิดเองตามธรรมชาติ และสิ่งที่ มนุษย์สร้างขึ้น  โดยใช้สัญลักษณ์แทนสิ่งต่าง ๆ บนพื้นผิวโลกแผนที่เป็นอุปกรณ์สำคัญอย่างหนึ่ง ที่มนุษย์นำมาใช้เป็นเครื่องมือ ช่วยในการดำเนิน กิจการงานต่าง ๆ      

    ความหมายของแผนที่อาจจะแตกต่างกันไปบ้างแล้วแต่จุดมุ่งหมายหรือลักษณะของการนำไปใช้งาน แผนที่อาจมีความหมายดังนี้

    1. แผนที่ในทางทหาร   คือ ข่าวสารที่แสดงไว้ด้วยลายเส้น
    2. แผนที่ในทางสากล   หมายถึงสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อแสดงลักษณะของพื้นผิวพิภพทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น

                                  Photobucket - Video and Image Hosting การอ่านแผนที่  Photobucket - Video and Image Hosting 

     คือ  การค้นหารายละเอียดบนภูมิประเทศ  ซึ่งรายละเอียดบนภูมิประเทศ หมายถึงสิ่งต่างๆ บนผิวโลก ที่ปรากฏตามธรรมชาติ และสิ่งที่เกิดจากมนุษย์สร้างขึ้น

                                     

                           Photobucket - Video and Image Hosting วัตถุประสงค์ของการศึกษาแผนที่Photobucket - Video and Image Hosting

 1. ศึกษาให้รู้จักรูปพรรณสัณฐาน  ของรูปหนึ่งซึ่งมีลักษณะคล้ายโลกมากที่สุดศึกษารูปทรงและขนาดของโลกโดยละเอียดถี่ถ้วน ทำให้เราทราบว่าโลกไม่ได้กลม แต่เป็นรูปทรงรีมีแกนยาวทั้งสองไม่เท่ากัน ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโลก

 2.  ศึกษาให้รู้จักกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก  หรือให้รู้จักสิ่งต่างๆที่อยู่บนพื้นโลก จากพื้นผิวโค้งถ่ายทอดไปยังพื้นผิวราบ

 3.  ศึกษาให้รู้จักการแสดงพื้นที่ของผิวโลก   ตลอดจนรายละเอียดทั้งหมด โดยแสดงถึงสิ่งต่างๆที่ได้กำหนดตำแหน่ง รายละเอียดไว้บนพื้นผิวโลกที่มีลักษณะผิวโค้งลงบนพื้นราบ

                                   Photobucket - Video and Image Hostingความสำคัญของแผนที่Photobucket - Video and Image Hosting

     แสดงให้ทราบทั้งลักษณะของภูมิประเทศและการกระจายของกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์นอกจากนี้ยังแสดงให้ เห็นถึงความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ อีกด้วย  เช่น  ด้านคมนาคม  วิศวกรโยธาซึ่งทำงานเกี่ยวกับการสร้างทางหลวงการก่อสร้าง  จำเป็น ต้องมีแผนที่ ซึ่งแสดงถึงลักษณะภูมิประเทศ  ปริมาณและชนิดของดินและหินตามบริเวณเส้นทางที่จะสร้าง การกระจายของน้ำฝน ตลอดทั้งอุณหภูมิของแต่ละฤดูกาล สภาวะการณ์ดังกล่าวและล้วนแต่มีผลต่อการพิจารณาในการสร้างทางหลวง นอกจากนี้แผนที่ก็มีความสำคัญอีกมากมาย

                                 Photobucket - Video and Image Hosting     ประโยชน์ของแผนที่ Photobucket - Video and Image Hosting

แบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ

 1. ประโยชน์ทางด้านการเมือง  แผนที่มีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจการของรัฐมากมายหลายสาขา ที่เกี่ยวข้อง ส่วนใหญ่และ เห็นได้ชัด  คือ  งานด้านภูมิศาสตร์การเมือง  งานด้านภูมิ

 2. ประโยชน์ทางด้านการทหาร  มีคำกล่าวในวงการทหารว่า  “แผนที่เป็นเครื่องมือรบชิ้นแรกของทหาร” ในการพิจารณา วางแผนยุทธศาสตร์ทางการทหารของชาตินั้น  จำเป็นต้องแสวงหาข้อมูล  เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาก่อนการวางแผนข้อมูลหรือ ข่าวสารที่เกี่ยวกับสภาพการภูมิศาสตร์และตำแหน่งของสิ่งแวดล้อมทางยุทธศาสตร์

3. ประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ   กิจกรรมทางเศรษฐกิจจำเป็นต้องใช้แผนที่เป็นเครื่องมือในการวางแผนและในการปฏิบัติงาน ทุกขั้นตอน  เช่น  การดำเนินโครงการพัฒนาลุ่มน้ำโขง  ของสภาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และองค์การสหประชาชาติ 

นอกเหนือจาก 3 ด้านดังกล่าว

         1. เพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน  เช่น  แผนที่ถนน  แผนที่ผังเมือง
         2. เพื่อใช้ในการทหารด้านต่าง ๆ   เช่น  การเคลื่อนกำลังพล  การจู่โจม  การหาตำแหน่งข้าศึก ฯลฯ
         3. เพื่อใช้ประกอบการค้นหาทรัพยากรธาตุที่อยู่บนพื้นโลก
         4. เพื่อใช้ทางด้านวิศวกรและการพัฒนาประเทศด้านต่างๆ
         5. เพื่อใช้ศึกษาประกอบการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา  สำหรับเป็นแนวทางปฏิบัติเมื่อมีความจำเป็น

                                      ประเภทของแผนที่

     แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ

 1. แผนที่ทั่วไป   คือ แผนที่ที่แสดงลักษณะโดยทั่วไป  ได้แก่  แผนที่แสดงลักษณะถูมิประเทศของภูมิภาคต่าง ๆ  โดยจะแสดง
ด้วยสีเพื่อให้เห็นความแตกต่างของลักษณะแผ่น

 2. แผนที่เฉพาะเรื่อง  คือ แผนที่ที่แสดงลักษณะเฉพาะตามจุดมุ่งหมาย  เช่น  แผนที่แสดงป่าไม้  แผนที่เส้นทางคมนาคม   แผนที่แสดงแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ  เป็นต้น

                                       

                                      องค์ประกอบของแผนที่

          1. ชื่อของแผนที่
          2. ระวางแผนที่   คือ ความกว้าง  ความยาวของแผนที่  ระวางแผนที่จะใหญ่หรือเล็กขึ้นอยู่กับมาตราส่วนของแผนที่
          3. พิกัดทางภูมิศาสตร์  คือ การบอกตำแหน่งของพื้นที่บริเวณใดบริเวณหนึ่ง  โดยใช้ค่าละติจูดและลองจิจูด
          4. มาตราส่วนของแผนที่  คือ  อัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างระยะทางในแผนที่กับระยะทางจริงในภูมิประเทศ
          5. สัญลักษณ์  หรือ  เครื่องหมาย  คือ รายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ ของบนพื้นผิวโลกที่แสดงลงบนแผนที่  แบ่งออกเป็น 5 จำพวก
                 5.1 แหล่งน้ำ  เช่น  ลำธาร  แม่น้ำ  หนอง  บึง  ที่ลุ่มชายฝั่ง
                 5.2 สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น  เช่น  ถนน  ทางรถไฟ  อาคาร  ฯลฯ
                 5.3 ลักษณะพื้นที่สูง ๆ ต่ำ ๆ  เช่น  เขา  ภูเขา
                 5.4 พืชพรรณ  เช่น  ป่า  สวน  ไร่นา
                 5.5 สิ่งที่กำหนดขึ้นเป็นพิเศษ  เช่น  แหล่งทรัพยากร
         6. สีที่ใช้ในแผนที่  ที่แสดงรายละเอียดบนแผนที่  สีที่ใช้เป็นมาตรฐาน มี 6 สี
                 6.1 สีดำ  ใช้แสดงรายละเอียดที่เกิดจากแรงงานของมนุษย ์ เช่น  วัด  โรงเรียน  หมู่บ้าน
                 6.2 สีแดง  ใช้เป็นสัญลักษณ์ที่เป็นถนน
                 6.3 สีน้ำเงิน  ใช้เป็นสัญลักษณ์ที่เป็นน้ำ  เช่น  แม่น้ำ  ลำคลอง  บึง  ทะเล  ฯลฯ
                 6.4 สีน้ำตาล  ใช้เป็นสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับความสูงและทรวดทรงของพื้นที่สูง ๆ ต่ำ ๆ
                 6.5 สีเขียว  ใช้เป็นสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับที่ราบ  ป่าไม ้ บริเวณที่ทำการเพาะปลูก  พืชสวน
                 6.6 สีเหลือง  ใช้เป็นสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับที่ราบสูง
                 6.7 สีอื่น ๆ  บางโอกาสอาจใช้สีอื่นนอกจากที่กล่าวมาเพื่อแสดงรายละเอียดพิเศษบางอย่างรายละเอียดเหล่านี้จะมีบ่งไว้ ในรายละเอียดในแผนที่         
          7. ทิศ  ในแผนที่จะระบุทิศเหนือไว้เสมอ เพื่อให้อ่าแผนที่ได้ง่ายขึ้น  ในกรณีที่แผนที่ไม่ได้ระบุทิศไว้  ให้เข้าใจว่าเมื่อหันหน้า เข้าหาแผนที่ ด้านบนทางขั้วโลกเหนือคือทิศเหนือ  ด้านที่หันไปทางขั้วโลกใต้เป็นทิศใต้  ด้านขวามือเป็นทิศตะวันออก และด้านซ้ายมือเป็น ทิศตะวันตก

                       Photobucket - Video and Image Hosting ประวัติความเป็นมาของแผนที่Photobucket - Video and Image Hosting

    ความสามารถในการทำแผนที่เป็นสัญชาตญาณอย่างหนึ่งของมนุษยชาติ  พฤติกรรม ที่แสดงออก ทางแผนที่มีมานานแล้ว  เช่น  พวกเอสกิโมรู้จักการทำแผนที่ด้วยการใช้ไม้สลักติดลงบนหนังแมวน้ำ  แสดงแหล่งล่าสัตว์  ตกปลา  ชาวเกาะมาร์แชลใช้เปลือกหอยแทนเกะ  ก้านมะพร้าวแทนเส้นทางเดินเรือและบริเวณที่มีคลื่นจัดเป็นต้น

    แผนที่ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก คือ แผนที่ของชาวเมโสโปเตเมีย เมื่อ 2,300 ปี ก่อนพุทธศักราช ทำด้วยดินเหนียวแสดง กรรมสิทธิที่ดินแปลงหนึ่ง

                                      

                      แผนที่บาบิโลนเป็นแผนที่เก่าแก่ที่สุด เมื่อ 2,500 ปี ก่อนค.ศ

                                      

  แผนที่ของอีแรตโทเทเนียส และขนาดของโลกที่คำนวณได้ใกล้เคียงที่สุดเป็นคนแรก

 

   ต่อมาอีกราว 370 ปี ปโตเลมี (Claudius Ptolemy) คิดทำแผนที่ให้ดียิ่งขึ้นโดยนำเอาผลงานของอีแรโตสเตนีสมารับปรุง คิดหาวิธีกำหนดค่าของมุมของเส้นขนานและเส้นเมอริเดียน ต่อมาแผนที่ของปโสตเลมีได้หายสาบสูญไปเป็นเวลาถึง 1,500 ปี

                

                                                      แผนที่ปโตเลมี

 

   สมัยโรมัน โรมันสนใจทำแผนที่เพื่อการเดินทาง การรบและแสดงการแผ่อาณาจักรโรมัน  เช่น  แผนที่ Orbis Terrarum แผนที่สมัยโรมันไม่คำนึงถึงความต้องของรูปร่างของแผ่นดินมากนัก รูปร่างของแผ่นดินจึงผิดจากความจริงอยู่มาก

                                

           แผนที่ของโรมันที่เรียกว่า “Orbis Terrarum” แสดงอาณาจักรโรมันอันยิ่งใหญ่

 

    สมัยกลางของยุโรป ตั้งแต่ พ.ศ.843 เป็นต้นมา การทำแผนที่ขึ้นอยู่กับคติทางศาสนา เพราะในสมัยนี้ศาสนามีอิทธิพลมาก แผนที่สมัยนี้แสดงรูปร่างของโลกเป็นวงกลม  มีมหาสมุทรล้อมรอบ  ภายในมีทะเล  แบ่งแผ่นดินออกเป็นส่วนๆ  โดยมีเมืองเยรูซาเลม ตั้งอยู่ตรงกลาง เรียกว่า ที-ใน-โอ (T-in-O)

                              

                                                 แผนที่ T - In - O

 

    ประมาณ  ค.ศ. 801 ชาวจีนโบราณได้คิดแผนที่ขึ้นใช้  แผนที่ที่เก่าแก่ที่สุดของจีนเป็นแผนที่ซึ่งแกะสลักด้วยหิน แสดงให้เห็น กำแพงเมืองจีนตัดข้ามแม่น้ำเหลือง

                               

                                        แผนที่เก่าแก่ที่สุดของจีน พ.ศ.1680

 

 ในต้นพุทธศตวรรษที่ 18   มีการประดิษฐ์เข็มทิศขึ้นใช้ในการสำรวจทำแผนที่ตามชายฝั่งทะเลเรียกว่า  แผนที่ปอร์โตลาน (portolan chart)  นับว่าเป็นแผนที่ที่มีความถูกต้องพอใช้

           แผนที่ปอร์โตลานแสดงทิศทางการเดินเรือ

 

ในพุทธศตวรรษที่ 21  การทำแผนที่เจริญขึ้นมาก  ปัจจัยส่งเสริมความเจริญทางแผนที่ในยุคนี้ มี 3 ประการคือ
                1. ได้มีการค้นพบแผนที่ของปโตเลมีที่หายไป
                2. คิดวิธีการทำแม่พิมพ์และการพิมพ์แผนที่
                3. ค้นพบทวีปอเมริกา (โลกใหม่)
          แผนที่ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับแผนที่สมัยปัจจุบันมากที่สุด  คือ  แผนที่ของ Deigo  ribero  ซึ่งทำขึ้นเมื่อปี  พ.ศ. 2072

       

                                     แผนที่ของ Deigo ribero

 

       พ.ศ. 2035 ชาวเยอรมันชื่อ มาร์ติน บาเเฮม (Martin Bahaim) ได้คิดสร้างโลกจำลองขึ้นสำเร็จ นับว่าเป็นความก้าวหน้า ทางแผนที่อย่างหนึ่ง

                                            

                                ลูกโลกที่มาร์ติน บาเฮมสร้างในปี พ.ศ. 2035

 

                    Photobucket - Video and Image Hosting    ความเป็นมาของแผนที่ในประเทศไทยPhotobucket - Video and Image Hosting

    แผนที่ปโตเลมีฉบับที่เขียนขึ้นเมื่อ  พ.ศ. 693  เรียกบริเวณที่ตั้งประเทศไทย   ปัจจุบันว่า Aurea Khersonesus ซึ่งแปลว่า แหลมทอง (Gloden  peninsular)  แผนที่ภายในประเทศที่เก่าแก่ที่สุด คือ แผนที่ยุทธศาสตร์ สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 พ.ศ.1893-1912

    การทำแผนที่ภายในเริ่มเมื่อปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2411 ได้มีการทำแผนที่บริเวณ ชายพระราชาอาณาเขตด้านตะวันตกของไทย เพื่อใช้กำหนดแนวเขตพรมแดนไทยกับพม่า ต่อมา  พ.ศ. 2413 ได้ทำแผนที่กรุงเทพฯ และกรุงธนบุรี โดยชาวต่างประเทศเป็นผู้ทำความเจริญในการทำแผนที่ของประเทศไทย  เริ่มจริงจังในสมัยรัชกาลที่ 5 พ.ศ. 2418 ได้ทรงตั้งกองทำแผนที่ขึ้นตามคำแนะนำของ  นายเฮนรี  อาลาบาสเตอร์ ที่ปรึกษาส่วนพระองค์ โดยมุ่งประโยชน์ในการตัดถนนสาย
ต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ  การวางสายโทรเลขจากกรุงเทพฯ  ไปพระตะบองและทำแผนที่ปากอ่าวเพื่อการเดินเรือ ใน พ.ศ. 2424  ได้จ้าง ชาวอังกฤษ  คือ  แมคคาร์ธี มาเป็นเจ้ากรมแผนที่ มีการวางโครงข่ายสามเหลี่ยมจากประเทศไทยไปลาว-เขมร

          ต่อมาได้ทำแผนที่มาตราส่วน 1 : 2,000,000  แสดงดินแดนประเทศไทย  รวมทั้งลาว - เขมร  และทำแผนที่บริเวณที่ราบ ภาคกลาง มาตราส่วน 1 : 100,000 งานทำแผนที่ของประเทศไทยระยะต่อมา  พอสรุปได้ดังนี้
          1. พ.ศ. 2444   เริ่มสำรวจและทำแผนที่โฉนดขึ้นเป็นครั้งแรก
          2. พ.ศ. 2447   มีการทำแผนที่ตามแนวพรมแดนด้านลาวและเขมรโดยชาวฝรั่งเศส
          3. พ.ศ. 2453 - 2493  ทำแผนที่ทั่วไปภายในประเทศ  เป็นแผนที่มาตราส่วน 1 : 50,000  ระยะเวลา 40 ปี  นี้ทำแผนที่เสร็จ
ประมาณ 50 %
          4. พ.ศ. 2455   เริ่มสำรวจทำแผนที่ทางทะเล
          5. พ.ศ. 2466   เริ่มงานสมุทรศาสตร์
          6. พ.ศ. 2468   นายชัตตัน (N.Sutton)  อาจารย์วิชาภูมิศาสตร์โรงเรียนสวนกุหลาบ  ร่วมมือกับกรมแผนที่ทหาร ทำแผนที่เย็บเล่ม ขึ้นเป็นครั้งแรก
          7. พ.ศ. 2495    เริ่มโครงการทำแผนที่ประเทศไทย ตามข้อตกลงระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกาเป็นการทำแผนที่มาตราส่วน
1: 50,000 ขึ้นใหม่ทั่วประเทศ
          8. พ.ศ. 2504    กรมแผนที่ทหารได้ทำแผนที่เฉพาะวิชา มาตราส่วน 1 : 1,000,000 ขึ้น 10 ชนิด
          9. พ.ศ. 2507    ปรับปรุงแก้ไขแผนที่เฉพาะให้ทันสมัยขึ้น และย่อส่วนเป็นมาตราส่วน 1 : 2,500,000
        10. พ.ศ. 2510 - 2512  เป็นต้นมา  ก็ปรับปรุงแก้ไขแผนที่เฉพาะวิชาชุดเดิม แล้วรวบรวมเป็นแผนที่เล่มมีคำอธิบายประกอบแผนที่ ี่เฉพาะแต่ละชนิด ทำให้สะดวกในการศึกษาและใช้เป็นอย่าง

                                Photobucket - Video and Image HostingPhotobucket - Video and Image HostingPhotobucket - Video and Image Hosting

ที่มาจาก: http://school.obec.go.th/takbai/caisrifa/index3.htm



คำสำคัญ (Tags): #^^แผนที่^^
หมายเลขบันทึก: 180592เขียนเมื่อ 4 พฤษภาคม 2008 22:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • ได้ความรู้เรื่องแผนที่ดีมากเลยครับ
  • ผมกำลังจะขอให้ สพท.นนทบุรีเขต 2 จัดทำ "แผนที่คนดี"ของจังหวัดนนทบุรี เพื่อเด็กได้เรียนรู้ในโอกาสต่อไป  ถ้าแผนที่คนดี แน่นไปด้วยต้นกล้าคนดี  จังหวัดนนทบุรี คงจะเป็นเมืองน่าอยู่ชั้นดีแน่ ๆ

อยากได้สัญลักษณ์ของแผนที่(แบบเป็นรูปภาพ) อย่างจุดกลมๆ ทางรถไฟ แม่น้ำอะไรแบบนี้

อยากทราบสัญลักษณ์แทนที่ตั้งเมืองจัดเป็นปรัเภทอะไร ใครตอบได้บ้างนะ

อยากให้มี่ แผนที่ แบบ ว่ามองดูเป็น แผนที่ธรรมดา แต่ พอ คริ๊กเข้าไป จุด ใด จุดหนึ่ง จะมีภาพ ปรากฎ อย่าง ชัด .... ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท