KM ในมุมมองของข้าพเจ้า (เรื่องของปลา)


"ใจ" ในการทำ KM เป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะถ้าไม่มีใจก็ไม่สามารถทำงานดังที่ตั้งเป้าได้เลย
     
        ก่อนเข้ามาทำงานที่สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) บอกตามตรงคะว่าไม่เคยรู้จักคำว่า Knowledge Management (KM) เลย แต่พอตั้งแต่เริ่มแรกที่ดิฉันได้เข้ามาทำงานที่นี่ก็ได้ยินคำนี้จนติดหูและพอได้เข้าไปที่เวปไซด์ www. Gotoknow.org ก็มีหลายคนได้แสดงความคิดเห็นต่างๆในบล็อกของตัวเองและมีหลากหลายความคิดที่แสดงให้เราเริ่มรู้สึกว่า KM มีประโยชน์และมีความสำคัญในองค์กรของพวกเค้าเหล่านั้นจริงๆ หลายคนแสดงความคิดเห็นในแง่มุมที่น่าสนใจ ทำให้ตัวดิฉันเองที่ไม่ค่อยเข้าใจนัก พอจะเห็นรูปร่างของมันบ้างแล้ว ว่า KM  คือกระบวนการที่จะต้องมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันภายในองค์กรในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่คนเหล่านั้นสนใจที่จะจัดการความรู้นั้นๆ เพื่อให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพ  แต่ในการจะจัดทำ KM นั้นจะต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน ตอบโจทย์ของตัวเองได้ว่ามีเป้าหมายเพื่ออะไร และมีกลุ่มคนที่มี"ใจ" เป็นอันดับแรกจะจัดทำด้วย ซึ่ง "ใจ" ในการทำ KM  เป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะถ้าไม่มีใจก็ไม่สามารถทำงานดังที่ตั้งเป้าได้เลย และการที่ผู้บริหารระดับสูงซึ่งก็คือ "คุณเอื้อ" ให้ความสำคัญในการที่จะทำ KM อย่างจริงจัง ทำหน้าที่เป็นคุณเอื้อให้สมบูรณ์ ก็คือการเอื้อให้เกิดการจัดการความรู้  และยังมี"คุณอำนวย" "คุณประสาน" "คุณกิจ" และ "คุณลิขิต" และซึ่งแรกๆ ดิฉันก็งงคะว่า ท่านทั้งหลายคือใคร แต่ตอนนี้ก็ถึงบางอ้อแล้วคะ
         เห็นได้จากกรณีที่ดิฉันได้มีโอกาสไปดูงานที่บริษัท Toyota Motor(Thailand)  และเป็นโอกาสอันดีมากที่ได้เห็นกระบวนการผลิตรถไฮลักซ์ วีโก้ที่บอกว่ามียอดขายอันดับหนึ่งเป็นอย่างไร บอกได้คำเดียวว่าเยี่ยมยอดมาก ตั้งแต่ผู้บริหารให้ความสำคัญกับการแลกเปลี่ยนความรู้กับพนักงานภายในบริษัท เห็นความพร้อมมือพร้อมใจที่จะช่วยให้บริษัทดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและเติบโตอย่างมาก การหาข้อบกพร่องในแต่ละหน่วยงานย่อยเพื่อทำให้ หน่วยอื่นๆ ทำงานต่อได้อย่างสมบูรณ์ และการมีกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบ มีแบบแผน   ให้ความสำคัญกับพนักงานทุกคนเพื่อสร้างให้เจริญก้าวหน้าในอาชีพการทำงาน รวมทั้งการสร้างวัฒนธรรมภายในองค์กร  เช่น การประชุมของพนักงานทุก 4 โมงเย็นเพื่อรับฟังปัญหาและแก้ไข  โดยเปิดโอกาสให้พนักงานใน section นั้นๆ แสดงความคิดเห็นเพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานให้เกิดความคล่องตัวและเกิดความรวดเร็ว และถ้าพนักงานคนใดสามารถชี้จุดบกพร่องและเสนอความคิดเห็นก็จะได้รับรางวัล ซึ่งอาจจะเป็นการประกาศว่าเป็นพนักงานดีเด่นแห่งเดือนซึ่งจะมีผลต่อการประเมินการทำงาน หรือการได้รับรางวัลสูงสุดคือเงินสด 5000 บาท อาจเป็นแรงจูงใจสิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้พนักงานทุกคนตั้งใจทำงาน ซึ่งกลยุทธ์เหล่านี้คือกระบวนการหนึ่งที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้กันในสายงานนั้นๆ  จากการไปดูงานครั้งนี้ ดิฉันเห็นว่าที่นี่ใช้กระบวนการ KM ได้เนียนมากจริงๆ  ทุกกระบวนการจะมี KM แทรกสอดอยู่ทุกอณูของชิ้นงาน ตั้งแต่ผู้บริหาร พนักงาน ซึ่งทุกคนมีโอกาสพัฒนางานของตนให้สูงขึ้นได้
         อาจจะบอกได้ว่า KM มีหลายส่วนที่ประกอบกัน ส่วนทักษะ ส่วนการปฏิบัติ และส่วนทัศนคติ ซึ่งทางสคส. จะใช้โมเดล "ปลาทู" ในการอธิบาย ซึ่งดิฉันก็พอจะเล่าอย่างคราวๆ ว่า ที่ใช้ปลาทูเพราะว่า มี 3 ส่วนที่เป็นองค์ประกอบ นั่นคือหัวปลา ตัวปลา และหางปลา หัวปลาก็คงจะหมายถึง มีเป้าหมายอะไร ทำเพื่ออะไร ตัวปลาคือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และหางปลาคือการสร้างทั้งคลังความรู้และเครือข่าย และที่สำคัญคือการต่อยอดความรู้ แต่ขณะนี้ดิฉันก็เริ่มเห็นทั้ง 3 ส่วนแล้วจากการไปดูงานตามที่ต่างๆ  แต่ก็ยังไม่ชัดเจนมากนะคะเพราะพึ่งเริ่มมาทำงานที่นี่ยังไม่ครบเดือน คงต้องใช้เวลาในการศึกษาและสั่งสมประสบการณ์ซักพักคะ
          และดิฉันเองก็รู้สึกว่า KM เป็นกระบวนการที่มีประโยชน์ต่อทุกคน ต่อหน่วยงานต่างๆเป็นอย่างมาก  จากกรณีที่ได้มีโอกาสไป KM สัญจร ครั้งที่ 3 ที่จังหวัดบุรีรัมย์ จะขอเล่าส่วนประทับใจบางส่วน บางตอนที่ได้มีโอกาสสัมผัสนะคะว่า การไปดูงานครั้งนี้ดิฉันได้พบกับพ่อสำเริง เย็นรัมย์ ที่หมู่บ้านหัวฝาย กิ่งอ. แคนดง ซึ่งเป็นหัวหน้าฐานคนเดียวที่มีการศึกษาน้อย ไม่สามารถเขียนหนังสือได้ แต่มีความมุมานะที่จะแสวงหาความรู้เพื่อการทำงานของตนเองอยู่ตลอดเวลา และพ่อสำเริงเป็นเกษตรกรและจัดทำการเกษตรแบบพอเพียง  เน้นการพึ่งตนเอง โดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมี แต่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทน และใช้ KM เป็นเครื่องมือในการทำงาน พ่อสำเริงทำเกษตรแบบผสมผสานคือปลูกพืช (ปลูกกล้วย ขนุน น้อยหน่า มะละกอ) ร่วมกับเลี้ยงสัตว์   เช่น เลี้ยงหมู เลี้ยงปลา (ปลานิน ปลาทับทิม ปลาสวาย ปลายบึก) และมีลูกฐานอยู่อีก 5 คน ซึ่งพ่อสำเริงคัดเลือกลูกฐานจาก "ความสนใจ ขยัน และมีหัวใจสู้ จริงๆ "  ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญหลัก และจากการพูดคุยกัน พ่อสำเริงเล่าว่า ได้ทำการเกษตรแบบลองผิดลองถูกอยู่นานก่อนที่จะเข้าโครงการ KM และเมื่อเข้าโครงการ KM แล้วก็เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มอื่นๆ ทำให้ความรู้ที่ได้จากการประชุมที่บ้านครูบาสุทธินันท์แต่ละครั้ง ลองนำมาปฏิบัติกับแปลงเกษตรของตน และเริ่มเห็นผลผลิต เจริญงอกงาม เติบโตดี ก็นำมาบอกแก่ลูกฐาน และจากการประชุมทุกครั้งพ่อสำเริงจะให้ลูกฐานคนหนึ่งเป็นคนจดบันทึก ซึ่งการบันทึกนี้จะเป็นเครื่องมือของกระบวนการความคิด การรวบยอด และเป็นขั้นตอนหนึ่งของกระบวนการจัดการความรู้ ซึ่งดิฉันคิดว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องที่สุดเพราะการบันทึกนี่แหละจะเห็นวิวัฒนาการของการทำงานของตนเอง ซึ่งพ่อสำเริงก็ได้จดบันทึกทุกครั้งที่เข้าประชุม เพราะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างลูกฐานและช่วยกันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น การเกิดการรวมกลุ่มกันนี้ทำให้ดิฉันเห็นว่า ช่วยสร้างระบบการทำงานให้เกิดประโยชน์สุงสุด เพราะเมื่อเกิดปัญหาขึ้น ทุกคนก็ช่วยกันระดมความคิดได้มากมายและหลากหลาย จึงเป็นประโยชน์ในการแก้ไข เข้าตำราที่ว่า  "หลายหัวดีกว่าหัวเดียว"  จากการที่พ่อสำเริงใช้ KM เป็นเครื่องมือนี้ ส่งให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนกับลูกฐาน  ลูกฐานสามารถนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาในแปลงเกษตรของตน เกิดผลเจริญงอกงาม และในแง่มุมหนึ่งดิฉันได้รับจากการพูดคุยกับลูกฐานข้อหนึ่งที่ฟังแล้วรู้สึกถึงพลังในตัวลูกฐาน และอิ่มเอิบใจคือทำแล้วมีความสุข สุขที่จะได้รับจากการได้ทำ มีผลผลิตทางการเกษตรดี อยู่สบายไม่อด พอมีพอกิน ไม่ลำบาก อยู่กันพร้อมหน้าทั้งครอบครัว โดยไม่ต้องร่อนเร่สร้างอาชีพที่เมืองกรุง ได้อยู่อาศัยที่บ้านเกิด ฟังแล้วรู้สึกภูมิใจแทนเค้า ยินดีกับความสำเร็จที่เค้าได้รับ  
      ดิฉันมีความคิดว่าการที่จะขับเคลื่อนการจัดการความรู้ได้ก็อยู่ที่ทุกคนขององค์กรที่จะช่วยเหลือกันด้วยแรงใจมุ่งมั่นที่จะฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ โดยไม่ย่อท้อ พร้อมทั้งการเชื่อมร้อยเครือข่าย เกิดเป็นการสร้างเครือข่ายพันธมิตรในแต่ละส่วนให้เป็นแรงในการขับเคลื่อน KM ไปอย่างมีจุดมุ่งหมายและขยายความเชื่อมโยงนั้นไปอย่างทุกทิศทุกทาง ทุกหนทุกแห่ง ก็เกิดการจัดการความรู้ของประเทศได้คะ
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 18013เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2006 11:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
ผมได้เขียนไว้ในสามสายธารของการจัดการความรู้ว่า ต้องเริ่มที่ธารน้ำใจก่อน จึงจะนำไปสู่ธารน้ำคำ(Knowledge sharing)และธารปัญญา(Knowledge Assets)
อ่านแล้วได้ประโยชน์ดีมากเลยค่ะ แต่คิดว่าการที่องค์กรหนึ่งองค์กรจะร่วมแรงร่วมใจกันทำงานตามกระบวนการ  Knowledge Management ได้เนี่ย ทุกคนในองค์กรจะต้องใช้หัวใจในการทำงานถึงจะทำได้สำเร็จนะคะ
ไม่เคยรู้จัก km มาก่อนเหมือนกันคะ ตัวย่อดูคล้ายๆๆ กิโลเมตรมากเลยเเต่ความหมายก็ไปในทิศทางเดียวกันนะคะ คือการก้าวไปข้างหน้า การนำความรู้มาพัฒนาคนด้วยคนดีมากเลยคะ บุคคลในองค์กรได้มีปฎิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน สร้างความรู้สึกรักองค์กรเพราะทุกคนได้ร่วมกันพัฒนาความรู้ใหม่ๆๆ

KM: "The wise see knowledge and act as one." (Bhagvad-Gita)

KM: "No amount of sophistication is going to allay the fact that all your knowledge is about the past and all your decisions are about the future."

KM: "The lack of correlation of information technology spending with financial results had led me to conclude that it is not the computer that makes the difference, but what people do with them."

These are other perspectives of Knowledge management to share with you.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท