ประเด็นที่สำเร็จ กับ ปัจจัยแห่งความสำเร็จ


การบูรณาการหลักการ KM เข้ากับระบบงานที่มีอยู่ และใช้ในการพัฒนางานประจำ

           ในการเสวนาการจัดการความรู้ในวงราชการไทยโดย สคส. เมื่อวันที่ 28 กค ที่ผ่านมา และภาควิชาพยาธิวิทยา (โครงการ Patho-Otop)  คณะแพทย์ มอ. ได้รับเกียรติเป็นกรณีศึกษาหนึ่งนั้น ดิฉันในฐานะผู้นำเสนอมีความสับสนเล็กน้อย เนื่องจากได้รับการบอกกล่าวว่า ให้นำเสนอ 3 ประเด็นหลักคือ 1) ความสำเร็จในการนำ KM ไปใช้ คืออะไร  (สำเร็จอะไรบ้าง) 2) ทำไมจึงสำเร็จ 3) ความสำเร็จนั้นส่งผลต่อหัวปลาองค์กรอย่างไร  โครงการนี้ยังไม่จบ เป็นเพียงเริ่มต้น แต่ก็เกิดความสำเร็จเล็กๆ ที่สัมผัสได้ ได้แก่

1.      มีการทำงานเป็นทีม
2.      การพัฒนางานทุกกระบวนการพร้อมๆ กันไป
3.      บุคลากรกระตือรือร้นในการพัฒนางาน
4.      บุคลากรได้แสดงศักยภาพออกมา
5.      บุคลากรได้พัฒนาตนเองหลายด้าน (เช่นการใช้คอมพิวเตอร์  การนำเสนอ)

             แต่ในการสกัดแก่นความรู้ ปรากฏว่าเป็นการสกัดว่า “ปัจจัยแห่งความสำเร็จ” คืออะไร  ในความคิดส่วนตัว คิดว่าประเด็นนี้น่าจะตรงกับประเด็นที่ 2 ที่ให้นำเสนอมากกว่าคือ “ทำไมจึงสำเร็จ” และได้นำเสนอไปว่า เหตุที่ทำให้สำเร็จ หรือทำ KM ได้ สืบเนื่องจาก การมีความเชื่อ 3 อย่างคือ เชื่อ คือ 1. เชื่อว่าบุคคลกรระดับปฏิบัติ (ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ของหน่วยงาน) มีส่วนในความสำเร็จขององค์กรไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าระดับหัวหน้างาน 2. เชื่อว่าพวกเขามีศักยภาพ และ 3. เชื่อว่าการออกแบบโครงการตามหลักการ KM จะช่วยสร้างบรรยากาศในการดึกศักยภาพเหล่านั้นออกมา นอกจากนี้ ก็มีเทคนิคเล็กๆ น้อย ดังที่ทีมงานคุณลิขิตรวบรวมไว้แล้ว (KnowledgeAssets.doc)

             จากความเข้าใจคลาดเคลื่อ จึงขอเพิ่มปัจจัยแห่งความสำเร็จ ที่ไม่ได้นำเสนอในวันนั้น และถือเป็นปัจจัยสำคัญยิ่ง นั่นคือ การบูรณาการหลักการ KM เข้ากับระบบงานที่มีอยู่ และใช้ในการพัฒนางานประจำ  ถึงแม้จะดูว่าอาจมีภาระงานที่เพิ่มขึ้น  แต่เป็นการเพิ่มคุณค่าของงานที่ตนรับผิดชอบ และจะก่อประโยชน์ให้กับตนเองด้วย นอกจากที่หน่วยงานจะได้รับเต็มๆ ถือเป็น win-win situation หนึ่ง

หมายเลขบันทึก: 1800เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2005 21:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เพิ่มปัจจัยแห่งความสำเร็จ ที่ไม่ได้นำเสนอในวันนั้น และถือเป็นปัจจัยสำคัญยิ่ง นั่นคือ การบูรณาการหลักการ KM เข้ากับระบบงานที่มีอยู่ และใช้ในการพัฒนางานประจำ  ถึงแม้จะดูว่าอาจมีภาระงานที่เพิ่มขึ้น  แต่เป็นการเพิ่มคุณค่าของงานที่ตนรับผิดชอบ และจะก่อประโยชน์ให้กับตนเองด้วย นอกจากที่หน่วยงานจะได้รับเต็มๆ ถือเป็น win-win situation หนึ่ง

เป็นแนวคิดที่ดีมาก  เพิ่มเติมจากที่ไม่รู้เรื่องเลยค่ะ

 

ดีใจค่ะ ที่บันทึกมีประโยชน์ต่อคุณครู

    "บูรณาการ สู่งานประจำ นำไปพัฒนา เพิ่มคุณค่าอย่างภาคภูมิใจ" ผมขอนำไปบอกต่อคุณครูที่โรงเรียนด้วยครับ

     ขอบพระคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท