beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

คุณเป็นคนมีจริตแบบไหน ?


เลือกทำงานให้ตรงกับจริตของตนเองได้อย่างมีความสุข

    ได้ฟังบรรยายของ ดร.ปราชญา กล้าผจัญ แล้วมีหลายประเด็น ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือ เรื่องของจริต (น่าจะเป็นคำเดียวกับที่สมัยก่อน เขามักใช้คำเรียกผู้หญิงบางคนว่า "ด้ดจริต" เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยได้ยินแล้ว) 

    จริต แปลว่า จิตท่องเที่ยว สถานที่จิตชอบท่องเที่ยว หรืออารมณ์ที่ชอบท่องเที่ยวของจิตนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ มี 6 ประการคือ ราคจริต,โทสจริต,โมหจริต,สัทธาจริต,วิตกจริตและพุทธิจริต  ตามรายละเอียดดังนี้

  1. ราคจริต จิตท่องเที่ยวไปในอารมณ์ที่รักสวยรักงาม คือ พอใจในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสนิ่มนวล ชอบการมีระเบียบ สะอาด ประณีต พูดจาอ่อนหวาน เกลียดความเลอะเทอะ เป็นต้น ราคจริต มีอารมณ์จิตที่รักสวยรักงามเป็นสำคัญ อย่าตีความหมายว่า ราคจริต คือจิตมักมากในกามารมณ์ ถ้าเข้าใจอย่างนั้นก็ผิดพลาดไปถนัดเลยครับ
  2. โทสจริต จิตท่องเที่ยวไปในอารมณ์มักโกรธ เป็นคนขี้โมโหโทโส จะเป็นคนที่แก่เร็ว พูดเสียงดัง เดินแรง ทำงานหยาบ แต่งตัวไม่พิถีพิถัน เป็นคนใจเร็ว
  3. โมหจริต มีอารมณ์จิตลุ่มหลงในทรัพย์สมบัติ ชอบสะสมมากกว่าจ่ายออก มีค่าหรือไม่มีค่าก็เก็บหมด นิสัยเห็นแก่ตัว อยากได้ของของคนอื่น แต่ของตนไม่อยากให้ใคร ไม่ชอบบริจาคทานการกุศล เรียกว่า เป็นคนชอบได้ ไม่ชอบให้
  4. วิตกจริต มีอารมณ์ชอบคิด ตัดสินใจไม่เด็ดขาด มีเรื่องที่จะต้องพิจารณาอะไรนิดหน่อย
    ก็ต้องคิดตรองอยู่อย่างนั้น ไม่กล้าตัดสินใจ คนประเภทนี้เป็นโรคประสาทมาก มีหน้าตาไม่ใคร่สดชื่น แก่เกินวัย หาความสุขสบายใจได้ยาก
  5. สัทธาจริต มีจิตน้อมไปในความเชื่อเป็นอารมณ์ประจำใจ เชื่อโดยไร้เหตุผล พวกนี้ถูกหลอกได้ง่าย ใครแนะนำอะไรก็เชื่อได้โดยไม่พินิจพิจารณา
  6. พุทธิจริต เป็นคนเจ้าปัญญาเจ้าความคิด มีความฉลาด มีปฏิภาณไหวพริบ การคิดการอ่าน ความทรงจำดี

      อารมณ์ที่กล่าวมา 6 ประการนี้ บางคนมีอารมณ์ทั้ง 6 อย่างนี้ครบถ้วน บางรายก็มีไม่ครบ มีมากน้อยกว่ากันตามอำนาจวาสนาบารมีที่อบรมมาในชาติที่เป็นอดีต อารมณ์ที่มีอยู่คล้ายคลึงกัน แต่ความเข้มข้นรุนแรงไม่เสมอกันนั้น ทั้งนี้ก็เพราะบารมีที่อบรมมาไม่เสมอกัน ใครมีบารมีที่มีอบรมมามาก บารมีในการละมีสูง อารมณ์จริตก็มีกำลังต่ำไม่รุนแรง ถ้าเป็นคนที่อบรมในการละมีน้อย อารมณ์จริตก็รุนแรง จริตมีอารมณ์อย่างเดียวกันแต่อาการไม่สม่ำเสมอกันดังกล่าวมาแล้ว

      ดังนั้น การที่ตนเองสามารถวิเคราะห์ตนเองได้ถูก หรือบอกได้ว่าตนเองมีจริตโน้มเอียงไปในทางใดมาก ก็จะสามารถเลือกทำงานให้ตรงกับจริตของตนเองได้อย่างมีความสุข เมื่อมีใจรักงานที่ตัวเองปฏิบัติแล้ว ก็ย่อมปฏิบัติภารกิจหน้าที่การงานอันเป็นอาชีพของตนเองให้บังเกิดผลดี เป็นประโยชน์ทั้งของตัวเอง หน่วยงาน และประเทศชาติครับ

     ต่อไปนี้ก็เป็นความเห็นของผมนะครับ ว่าผู้มีจริตแบบใด ควรทำงานด้านใด?

  1. ผู้ที่มีจริตรักสวยรักงาม หรือมีราคจริตสูงกว่าจริตอื่นใด ควรปฏิบัติหน้าที่ในเรื่องที่เกี่ยวกับความสวยความงาม เช่น ช่างเสริมสวย ขายเครื่องสำอาง นักออกแบบ (เสื้อผ้า,ตกแต่งภายใน) ศิลปิน เป็นต้น
  2. ผู้ที่มีโทสะจริตเป็นเจ้าเรือนมาก ก็ควรประกอบอาชีพประเภท "บู๊ล้างผลาญ" หรือ "เป็นนักต่อสู้" เช่น เป็นนักมวย (สากล,ไทย,ปล้ำ) ทหาร ตำรวจ พัศดี เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ นักประท้วง นักกีฬา เป็นต้น 
  3. ผู้ที่มีโมหะจริตเป็นเจ้าเรื่อนมาก ก็ควรประกอบอาชีพที่ "ชอบได้ ไม่ชอบให้" เช่น ปล่อยเงินกู้ (ดอกแพง), ฝ่ายสินเชื่อ ฝ่ายทวงหนี้ โบรกเกอร์ บังคับคดี เป็นต้น
  4. ผู้ที่มีวิตกจริตเป็นเจ้าเรือนมาก ทำอะไรแล้วก็วิตกวิจารณ์ไปเรื่อยว่าจะทำแล้วไม่ได้ดี ทำแล้วก็คิดว่ายังไม่ได้ทำ ก็เหมาะสำหรับเป็นแม่บ้าน ที่ขี้บ่นจู้จี้ คอยดูแลลูกแบบจ้ำจี้จำไช หรือ อาจจะชอบประเภทเป็น "ภรรยาน้อยก็ได้" ได้หลบๆ ซ่อนๆ
  5. ผู้ที่มีสัทธาจริตเป็นเจ้าเรือน น่าจะทำงานทางด้านรับใช้พระเจ้า เป็นคุณพ่อหรือบาทหลวง เป็นโยมอุปัฏฐาก อุบาสก อุบาสิกา พวกเข้าวันฟังธรรม มัคทายก ไวยาวัจกร เป็นต้น ข้อควรระวังคืออย่าศรัทธาจนเกินกำลัง ทำบุญจนหมดไม่มีเหลือเจือจานครอบครัวเลย
  6. ผู้ที่มีพุทธิจริตเป็นพื้นนิสัยสันดานนั้น เป็นคนเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ มีเหตุผล มีจิตใจเป็นนักวิทยาศาสตร์ คนประเภทนี้จะประกอบอาชีพอะไรก็ดูดี เป็นผู้ฝักใฝ่ในการศึกษา มีอาชีพเป็น ครูบาอาจารย์ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล นักคิด นักเขียน เป็นต้น

     ท่านล่ะเป็นคนประเภทไหน หรือมีจริตด้านไหนมากกว่ากัน ส่วนผมฟันธงไปเลยว่า ผู้ที่เขียน gotoknow น่าจะมีจริตประเภทที่ 6 คือ .......มากกว่าจริตอื่นครับ

 

หมายเลขบันทึก: 17978เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2006 13:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 23:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
ดรีมคงจะ จริต เงียบๆคะ
  • สงสัยมีข้อ 6  นะครับ
  • ขอบคุณมากครับ
จริงๆด้วยค่ะ คุณ beeman ที่ท่านฟันธงไว้ค่ะ
โลกนี้ทำดีก็ต้องได้ดี ทำชั่วก็ต้องรับโทษที่มีให้เห็น.ไวยาวัจกรคือที่ปรึกษาพระสงฆ์เป็นฆารวาส หรือเลขา.เราพอดีพอเพียงและไม่ใฝ่สูงอยากได้จนเกินตัว.พอแล้วจึงมายืนกันจุดนี้เมื่อได้พัฒนาทำวัดเหมือนมีความสุขอย่าง1.ในบทธรรมพุทธศ่าสนา.บอกผู้ใดสร้างความดี ก็จะเห็นผลในชาตินี้และชาติหน้า.ครับเราพอดี พอเพียงแล้วไง.
  • ขอขอบคุณท่าน ไวยาวัจกร เมืองไทย คนหนึ่งครับ ที่แวะมาเยี่ยมเยียน
  • ผมพึ่งทราบนะครับ ว่าไวยาวัจกร หมายถึงที่ปรึกษาพระสงฆ์
  • แต่ก่อนเข้าใจว่า เป็นผู้รักษาปัจจัย (เงิน) ให้พระ ครับ
  • ทำดี ดี ทำชั่ว ชั่ว อยู่แล้วครับท่าน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท