inter law
วิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ บทที่ 8 กฎหมายระหว่างประเทศ

ที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศ


ที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศ (Source  lf  International  Law)

 

1.       จารีตประเพณี หมายถึงกฎเกณฑ์ทางสังคมว่าด้วยเรื่องจริยธรรม เมื่อบรรดาประเทศได้มีการปฏิบัตินานๆ และกลายเป็นที่ยอมรับนับถือ ทำให้การปฏิบัติในลักษณะดังกล่าวเป็นประเพณีปฏิบัติ และเรียกว่า กฎหมายจารีตประเพณี

2.       ความคิดเห็นของนักนิติศาสตร์และนักวิชาการ นักกฎหมายได้ทำการรวบรวมประมวลกฎเกณฑ์ต่างๆ และประเพณีการปฏิบัติของนานาชาติในสมัยของตนมาตีพิมพ์ ผู้ที่มีชื่เสียงมากที่สุด คือ ฮูโก กรอเทียซ ( Hugo  Grotious ) ชาวเนเธอร์แลนด์ ผลงานคือ De  Jure Belli  ac  Pacis        ปี ค.ศ. 1625 ทำให้เขาได้รับการยกย่องว่า เป็นบิดาแห่งกฎหมายระหว่างประเทศ

บรรดาคณาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้เขียนตำราทางกฎหมายระหว่างประเทศและยกร่างอนุสัญญต่างๆขึ้น ความเห็นของบรรดานักนิติศาสตร์มีอิทธิพลต่อประเทศต่างๆในการดำเนินกิจการทางการเมืองระหว่างประเทศ

3.       คำวินิจฉัยของศาล คำวินิจฉัยของศาลทั้งในและต่างประเทศ  ได้กลายเป็นแนวทางการตีความสำหรับศาลยุคหลัง ปัจจุบันศาลยุติธรรมอยู่ที่กรุงเฮก ทำหน้าที่ตัดสินวินิจฉัยคดีพิพาทระหว่างประเทศ

4.       เอกสารระหว่างประเทศ เช่นเอกสารของอนุสัญญาความตกลง และสนธิสัญญาต่างๆ

 

 

สหประชาชาติ เป็นแหล่งกำเนิดของหลักการและกฎหมาย กฎบัตรสหประชาชน ได้ระบุถึงเจตจำนงค์อันธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความยุติธรรม ซึ่งมีหน่วยงานต่างๆขององค์การนี้ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ เช่นคณะกรรมาธิการ กฎหมายระหว่างประเทศ ได้ทำการศึกษาและวางหลักเกณฑ์สำคัญในเรื่อง การขายสินค้าระหว่างประเทศ การตรากฎหมายว่าด้วยการขนส่งระหว่างประเทศ

ในศตวรรษที่  20 กฎหมายได้รับการพัฒนาขึ้นมาก ส่วนใหญ่จะเป็นการมุ่งแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้เกิดความเป็นธรรมและเพื่อให้โลกมีสันติ ตลอดจนพยายามหามาตรการการลงโทษ หากอีกฝ่ายหนึ่งได้ละเมิด โดยเฉพาะกฎเกณฑ์ที่ทำให้เป็นที่ยอมรับนับถือทั่วไป เกี่ยวกับด้านมนุษยธรรมคือการทำให้การค้าทาสหมดไป

เพื่อให้เข้าใจง่ายเรื่องวิวัฒนาการ จึงได้แบ่งเป็นช่วงๆ ดังนี้

ช่วงที่ 1 ยุคโบราณ ถึงยุคจักรวรรดิโรมัน เป็นยุคที่มีการรบพุ่งฆ่าฟันกัน มาการปล้นสะดม เพราะการถือชาติพันธ์เป็นใหญ่ ถือคนละพวก จึงได้มีการวางหลักเกณฑ์ในการทำสงครามไว้ เช่น ห้ามทำร้ายศัตรูที่หลบหนีเข้าไปในโบสถ์นอกจากนั้นยังมีข้อกำหนดหรือข้องบังคับว่าด้วยการคุ้มครองความปลอดภัยแก่คณะทูต

ยุคที่ 2 ตั้งแต่จักรวรรดิโรมันถึงสนธิสํญญาเวสฟาเลีย โรมันในสมัยซีซาร์ได้กำหนดกฎเพื่อปกครอง โดยใช้กฎหมายที่เรียกว่า “Jus Gentium” หรือ “Law  of  Nations” ต่อมาเมื่อโรมันถูกรุกรานโดยอานาอารยชนเยอรมัน ในขณะที่พระสันตะปาปาทรงมีอำนาจ บรรดากษัตริย์ของประเทศยุโรป ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของพระสันตปาปา จึงทำให้การวิวัฒนาการของกฎหมายระหว่างประเทศชะงักลง

สำหรับสนธิสัญญาเวสฟาเลียนั้น มี 2 ฉบับ พอสรุปสาระสำคัญ ดังนี้

1.       ให้มีเสรีภาพในการนับถือศาสนา

2.        พระสันตะปาปาไม่มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดกรณีพิพาทระหว่างประเทศอีกต่อไป

3.        ให้เอกราชเป็นทางการแก่เนเธอร์แลนด์และสวิสเซอร์แลนด์

ยุคที่ 3 ตั้งแต่สัญญาเวสฟาเลีย ถึงปัจจุบัน ชาติยุโรปได้รับความบอบช้ำจากการทำสงครามมามาก ช่วงจักรวรรดิโรมัน ได้มีการทำสงครามอย่างโหดร้ายทารุณ มีการทำสงครามศาสนาด้วย ทำให้ชาติต่างๆ มีความประสงค์จะอยู่อย่างสันติ จึงได้มีการทำสนธิสัญญาขึ้น คือ

สนธิสัญญาเวสท์ฟาเลีย ได้รับการขนานนามว่า กฎบัตรว่าด้วยธรรมนูญแห่งยุโรป

สนธิสัญญาพีรีนีส (Pyreness)

และสนธิสัญญาอูเทรคท์ (Utrecht)ได้กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับแนวอาณาเขตระหว่างประเทศในยุโรป

สนธิสัญญาเวสฟาเลีย ค.ศ. 1648 มีประเด็นสำคัญคือ เพื่อขจัดปัญหากรณีพิพาทระหว่างโปรเตสแตนท์กับโรมันคาทอลิค ส่วนสนธิสัญญาพีรีนัสนั้น ได้มีการกำหนดประเด็นที่สำคัญคือ ดินแดนหรืออาณาเขตระหว่างสเปนกับฝรั่งเศส (ปี ค.ศ. 1659 ) และสนธิสัญญาอูเตรดต์นั้น ได้กำหนดประเด็นหลักคือ ปัญหาเกี่ยวกับอาณาเขตระหว่างประเทศต่างในยุโรป (ปี ค.ศ. 1713)

ในยุคนี้มีปัญหาระหว่างประเทศมากมาย เช่น ปัญหาเสรีภาพทางทะเล ปัญหาการตรวจจับสินค้ามนยามสงคราม เมื่อสงครามไครเมียสงบลงทำให้ผู้ชนะสงครามได้ทำสัญญากับประเทศผู้แพ้สงครามซึ่งมีอังกฤษ ฝรั่งเศส และตุรกี ได้ทำสัญญากับรัสเซีย จึงได้มีการประชุมสันติภาพขึ้นที่กรุงปารีส ปี ค.ศ. 1856 สาระสำคัญของสัญญาระบุไว้ว่า รัสเซียผู้แพ้สงครามจะต้องปฏิบัติคือ ห้ามรัสเซียสร้างป้อมค่ายตามชายฝั่งทะเลดำ ห้ามมีเรือรบในทะเลดำ และรัสเซียต้องถอนกำลังรบไปจากแม่น้ำดานูบ

ต่อมาได้ประกาศปฏิญญาอีกฉบับหนึ่ง ในปี ค.ศ. 1856 ว่าจะให้ความคุ้มครองแก่เรือสินค้าของประเทศที่เป็นกลาง และสินค้าของประเทศคู่สงคราม (ยกเว้นสินค้าต้องห้าม) และจะไม่มีการริบสินค้าของประเทศที่เป็นกลาง

 

                                                 

 

บทบาทของกฎหมายระหว่างประเทศ ในความสัมพันธ์ระหว่างรัฐในด้านบทบาท พอจะจำแนกออกได้ดังนี้

1.                          บทบาทในการวางหลักการปฏิบัติต่อกันของรัฐ ของกลุ่มหรือองค์กร โดยรัฐร่วมมือกันวางหลักเกณฑ์ออกมา เช่นกฎเกณฑ์ในเรื่องการคุ้มครองตัวแทนทางการทูต การไม่แทรกแซงกิจการภายในของชาติอื่น เป็นวิธีการดำเนินเพื่อไปสู่ผลประโยชน์และช่วยกันรักษาผลประโยชน์ร่วมกันของรัฐ

2.                          เป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบายของชาติ เป็นการดำเนินการเพื่อที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายของตน

3.                          บทบาทในการระงับข้อพิพาทให้ลุล่วงโดยสันติวิธี เพื่อยุติข้อพิพาทอาจนำขึ้นสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เมื่อปัญหานั้นไม่สามารถระงับด้วยวิธีเจรจาโดยตรง และเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้กำลัง

4.                          บทบาทในการยับยั้ง เป็นการยับยั้งมิให้รัฐที่มีกำลังอำนาจมากขยายอิทธิพลด้วยการรุกรานรัฐอื่น รัฐจะกระทำสิ่งใดก็มักจะอ้างหลักกฎหมาย คงไม่มีรัฐใดกล้าแสดงเจตนาอย่างเปิดเผยว่าต้องการฝ่าฝืนกฎหมาย

 

 

สรุป กฎหมายระหว่างประเทศเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมพฤติกรรมของรัฐ และมีบทบาทในการพิทักษ์และเพิ่มพูนผลประโยชน์ของชาติ การใช้กฎหมายในปัจจุบันเป็นการปูหนทางสู่สันติภาพของโลกในอนาคต

หมายเลขบันทึก: 178942เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2008 00:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท