วิธีแก้ปัญหาการกำหนดไอพีซ้ำในเครือข่ายย่อย


ip collision

ใครที่เคยติดตั้งหรือดูแลคอมพิวเตอร์เครือข่ายย่อยจำนวนร้อยเครื่องขึ้นไปอาจพบปัญหาไอพีชนกัน

ผมได้พัฒนาโปรแกรมสำหรับแก้ปัญหานี้ (ปัญหาที่เกิดในเครือข่ายคลาสซี) ยินดีให้ผู้ที่มีปัญหาเดียวกัน

นำไปใช้ได้โดยไม่มีเงื่อนไข

ที่อยู่โปรแกรม: http://gotoknow.org/file/krishna_th/ARP.zip

 คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายย่อยในสำนักงานหรือเครือข่ายที่กำหนดขึ้นเอง
หรือเครือข่ายอินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่จะใช้ข้อกำหนดในการสื่อสารข้อมูลระหว่างต้นทางกับปลายทางที่เรียกว่า
TCP/IP โปรโตรคอล  (ประกอบด้วยสองโปรโตรคอลคือ  TCP (Transmission Control Protocol)  และ IP (Internet Protocol) )คอมพิวเตอร์ที่ใช้โปรโตรคอล TCP/IPในการสื่อสารข้อมูลกันทุกเครื่องจะต้องกำหนดหมายเลขเพื่อให้สามารถ
บอกได้ว่าผู้ส่งหรือผู้รับเป็นใคร หมายเลขนี้เรียกว่าไอพีแอดเดรส  (IP Address)  ซึ่งเราจะเห็นเป็นตัวเลขฐานสิบสี่กลุ่มคั่น
ด้วยจุด (dotted decimal)  ดังนี้  203.164.120.50  หมายเลขนี้จะได้รับมาเป็นทอดๆ  โดยเริ่มจากหน่วยงานชื่อ  Internet Assigned
Numbers Authority (IANA) จัดสรรช่วงของไอพีแอดเดรสที่ยังไม่ได้ใช้ให้แก่หน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็น  Regional Internet Registry (RIR)
แล้ว  RIR  จัดสรรช่วงของไอพีแอดเดรสให้แก่  local Internet registry (LIR)  ต่อมา  LIR  กำหนดช่วงของไอพีแอดเดรส
ให้แก่  Internet service providers (ISPs)  และ  ISPs   กำหนดไอพีแอดเดรสให้กับผู้ใช้ที่ต้องการเชื่อมคอมพิวเตอร์กับเครือข่าย
อินเตอร์เน็ตเช่นหน่วยงานที่เราทำงานอยู่  ไอพีแอดเดรสในอินเตอร์เน็ตจะไม่ซ้ำกัน  ปัจจุบันเราจะใช้ไอพีแอดเดรสสองแบบคือ  
IP Version 4 (IPv4) และ  IP version 6 (IPv6)    ไอพีแอดเดรสซึ่งผู้ใช้เห็นเป็นตัวเลขฐานสิบจะถูกแทนค่าในคอมพิวเตอร์เป็นแลขฐานสอง
เช่นตัวเลขข้างต้นจะเป็น  11001011.10100100.01111000.00110010   ตัวเลขฐานสองแต่ละตัวจะเรียกว่าบิต  IPv4  จะใช้เลขฐานสอง  32  ตัว (32  บิต)
ซึ่งจะมีจำนวนไอพีแอดเดรสได้  4,294,967,296  ไอพีแอดเดรส  (ประชากรโลกปัจจุบันมีประมาณ  6,664,556,763  คน)  
เนื่องจาก  IPv4  ถูกใช้มาตั้งแต่วันที่  1  มกราคม  2526  และมีคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่นๆ  เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจำนวนมาก
เกินความคาดหมายของผู้ออกแบบ  IPv4  จึงมีการออกแบบ  IPv6  เพื่อรองรับการหมดไปของ  IPv4    
    IPv6  เริ่มใช้งานเมื่อ  ปี พ.ศ. 2542  ใช้เลขฐานสองจำนวน  128  บิต  แสดงเป็นหมายเลขไอพีของอุปกรณ์ด้วยเลขฐานสิบหก
เช่น  2001:0db8:582:ae33::29  และสามารถมีจำนวนไอพีแอดเดรสได้  3.4028236692093846346337460743177e38  ไอพีแอดเดรส
ซึ่งเป็นจำนวนที่สามารถกำหนดให้กับทุกตารางเมตรบนผิวโลก
      IPv5  หายไปไหน?   IPv5  ถูกใช้เป็นโปรโตรคอลในช่วงออกแบบและทดลอง  

แหล่งข้อมูล:

http://www.iana.org/numbers/

http://www.census.gov/main/www/popclock.html

 

หมายเลขบันทึก: 178661เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2008 14:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เดี่ยวจะลองไปใช้ดูนะคะ เป็นประโยชน์จริง ๆ

อยากได้โปรแกรมie

ใช้ไม่ได้ครับ ลงแล้วมันขึ้นกากะบาท

สำหรับ WindowsXP ต้องติดตั้ง WinPcap_3_1.exe ก่อนอยู่ในโฟลเดอร์ ARP\WinPcap

สำหรับ Windows 7 ต้องติดตั้ง WinPcap_4_1_2.exe ดาวน์โหลดได้ที่ http://www.winpcap.org/install/bin/WinPcap_4_1_2.exe

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท