inter law
วิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ บทที่ 8 กฎหมายระหว่างประเทศ

เอกสิทธิ์และความคุ้มกันของผู้แทนทางการฑูต


เอกสิทธิ์และความคุ้มกันของผู้แทนทางการฑูต

เอกสิทธิ์และความคุ้มกันของผู้แทนทางการฑูต

   

 

กฎหมายว่าด้วยตัวแทนทางการทูต

กฎหมายการทูตเป็นกฎหมายที่มีวิวัฒนาการมาตั้งแต่ครั้งโบราณ แต่เริ่มมีกฎเกณฑ์ข้อ บังคับอย่างแน่นอนในศตวรรษที่ 15 ในฐานะเป็นกฎหมายจารีตประเพณี ต่อมาในปี ค.ศ. 1949 คณะกรรมาธิการกฎหมายระหว่างประเทศของสหประชาชาติ ได้เลือกประมวลหัวข้อเรื่องความ สัมพันธ์ และความคุ้มกันทางการทูตซึ่งการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการกฎหมายระหว่างประเทศได้สิ้นสุดลงเมื่อ ค.ศ. 1961 โดยร่างอนุสัญญานี้มีชื่อว่า อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต

 

กฎหมายว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล

สถาบันกงสุลมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 ในสมัยกลางแล้ว โดยกงสุลมักเป็นพ่อค้าที่ได้รับเลือกจากพ่อค้าชาติเดียวกันเพื่อติดต่อเจรจากับเจ้าผู้ครอบครองของรัฐที่ตนพำนักอยู่ ต่อมาปลายศตวรรษที่ 18การค้าและการพาณิชย์นาวีได้เจริญขึ้นมาก สถานภาพของกงสุลจึงถูกกำหนดโดยสนธิสัญญาพิเศษทางกงสุลหรือสนธิสัญญาทางการค้า แต่มิได้มีแนวทางปฏิบัติเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ดังนั้นกฎเกณฑ์ส่วนใหญ่ทางกงสุลจึงเป็นกฎหมายจารีตประเพณี ต่อมาคณะกรรมาธิการกฎหมายระหว่างประเทศ ได้ยกร่างอนุสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุลขึ้น ใน ค.ศ. 1963 ปัจจุบันนี้มีผลบังคับแก่รัฐคู่ภาคี

 

คณะผู้แทนทางการทูต

1.     คณะผู้แทนทางการทูต ประกอบด้วยบุคคลหลายประเภทด้วยกัน อันได้แก่ หัวหน้าคณะผู้แทน บุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายทูต บุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรการและวิชาการ บุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริการ ครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต คนรับใช้ส่วนตัว

2.       การเข้าดำรงตำแหน่งของผู้แทนทางการทูต ย่อมแตกต่างกันไปตามประเภทของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต

3.     การเข้าดำรงตำแหน่งของหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต ย่อมต้องขอความเห็นชอบจากรัฐผู้รับ และการเข้าดำรงตำแหน่ง ของหัวหน้าคณะผู้แทนจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้ถวายพระราชสาสน์ตราตั้งหรืออักษรสาสน์ตราตั้งที่ถูกต้องต่อกระทรวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับ

4.     การเข้าดำรงตำแหน่งของบุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายทูต บุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริการไม่จำต้องขอความเห็นชอบจากรัฐผู้รับ เป็นแต่แจ้งการแต่งตั้งบุคคลดังกล่าวไปยังกระทรวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับก็เป็นการเพียงพอแล้ว

5.     การสิ้นสุดของการดำรงตำแหน่งผู้แทนทางการทูตอาจมีได้ 3 สาเหตุ คือสาเหตุอันเนื่องมาจากรัฐผู้ส่งเรียกตัวกลับ สาเหตุอันเนื่องมาจากรัฐผู้รับส่งตัวกลับ และสาเหตุอื่นอันเนื่องมาจากตัวแทนทางการทูตนั่นเอง

6.     วิธีการที่ทำให้การดำรงตำแหน่งของผู้แทนทางการทูตสิ้นสุดลง มีได้ 2 วิธี คือ การเรียกหัวหน้าคณะหรือบุคคลอื่นในคณะผู้แทนกลับ และการขับไล่บุคคลในคณะผู้แทนทางการทูตโดยรัฐผู้รับ

7.     หน้าที่ของคณะผู้แทนทางการทูต มีหลายประการ คือ การเป็นตัวแทนของรัฐผู้ส่ง การคุ้มครองประโยชน์ของคนชาติของตนในรัฐผู้รับ การเจรจากับรัฐบาลของรัฐผู้รับ การเสาะแสวงหาข่าวและรายงาน การส่งเสริมและพัฒนาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และวิทยาศาสตร์ ระหว่างรัฐผู้รับกับรัฐผู้ส่ง

 

เอกสิทธิและความคุ้มกันของผู้แทนทางการทูต

1.     เอกสิทธิ์และความคุ้มกันมีความหมายที่แตกต่างกันแต่มักใช้ควบคู่กันไป เอกสิทธิ์เป็นเรื่องสิทธิของผู้ให้ที่จะให้แก่ผู้แทนทางการทูตแห่งรัฐผู้ส่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับประโยชน์พิเศษนอกเหนือจากกฎหมายธรรมดา ส่วนความคุ้มกันเป็นสิทธิ์ของรัฐผู้ส่งตามกฎหมายระหว่างประเทศ เพื่อยกเว้นจากการบังคับของกฎเกณฑ์แห่งรัฐผู้รับ

2.     รากฐานทางทฤษฎีเกี่ยวกับเอกสิทธิ์และความคุ้มกันมี 3 ทฤษฎี คือ ทฤษฎีลักษณะตัวแทนของผู้แทนทางการทูต ทฤษฎีสภาพนอกอาณาเขต ทฤษฎีประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่และการถ้อยทีถ้อยปฏิบัติ ปัจจุบันนี้ได้ยอมรับนับถือทฤษฎีหลังนี้เป็นรากฐานของเอกสิทธิ์และความคุ้มกัน

3.     เอกสิทธิ์และความคุ้มกันของตัวแทนทางการทูตมีขอบข่ายถึงเรื่องการยกเว้นภาษีอากร ภาษีศุลกากร ค่าธรรมเนียม ค่าภาระ เสรีภาพในการสื่อสารคมนาคม ความคุ้มกันเกี่ยวกับตัวบุคคล ความคุ้มกันทางศาลในตัวบุคคล ความละเมิดมิได้ในสถานทูต

4.     เอกสิทธิ์และความคุ้มกันของตัวแทนทางการทูต จะเริ่มขึ้นเมื่อบุคคลดังกล่าวได้เขามาในอาณาเขตของผู้รับ และจะสิ้นสุดลงเมื่อภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายยุติลง หรือถึงแก่กรรม

                                        

 

แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับเอกสิทธิ์และความคุ้มกันของผู้แทนทางการทูต

เอกสิทธิ์ทางการทูต หมายความถึง สิทธิของผู้ให้หรือเกิดขึ้นทางด้านผู้ให้ ที่จะให้สิทธิพิเศษในรูปผลประโยชน์หรือผลปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง หรืออาจเป็นการยกเว้นให้ไม่ต้องปฏิบัติหรือไม่ต้องมีภาระอย่างใดอย่างหนึ่ง

ความคุ้มกันทางการทูต หมายความถึง สิทธิของผู้รับหรือเกิดขึ้นทางด้านผู้รับ ผู้ให้จำจะต้องให้ความคุ้มกันแก่ผู้ได้รับ เพราะผู้ได้รับมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มกันนั้นอยู่ในตัวเอง ผู้ให้จะไม่ให้ไม่ได้ ความคุ้มกันออกมาในรูปของการยกเว้นให้ผู้ได้รับปลอดหรือหรือหลุดพ้นจากอำนาจหรือภาระหรือภัยอย่างใดอย่างหนึ่ง

 

ขอบเขตของเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต

ความคุ้มกันทางการทูตพอจำแนกได้เป็น 3 ประเภท คือ

1.    ความคุ้มกันเกี่ยวกับตัวบุคคล หมายความถึงความละเมิดมิได้ในตัวแทนทางการทูต ปลอดจากการจับกุม หรือกักขัง เป็นต้น

2.   ความคุ้มกันเกี่ยวกับสถานที่ หมายความถึง ความละเมิดมิได้ในสถานที่ทำการของผู้แทนทางการทูตและที่อยู่ส่วนตัวของผู้แทนทางการทูตด้วย รัฐผู้รับจำต้องงดเว้นการกระทำที่มีลักษณะเป็นการบังคับ เช่น การบุกรุกเข้าไปในสถานทูตเป็นต้น

                        

 

3.   ความคุ้มกันทางศาล หมายความถึง การหลุดพ้นจากอำนาจศาลในรัฐผู้รับ ความคุ้มกันนี้มีได้ทั้งทางคดีอาญา คดีแพ่ง และคดีปกครอง

 

                  

 

สถาบันกงสุล

1. กงสุลแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ พนักงานฝ่ายกงสุลอาชีพ กับพนักงานฝ่ายกงสุลกิตติมศักดิ์

2. อนุสัญญากรุงเวียนนา ค.ศ. 1963 ว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ได้เน้นถึงสถานที่ที่ทำการของกงสุลเป็นสำคัญ โดยจัดแบ่งเป็น 4 ระดับคือ สถานกงสุลใหญ่ สถานกงสุล สถานรองกงสุล สำนักตัวแทนทางกงสุล

3. บุคคลในสถานที่ทำการกงสุลอาชีพอาจจำแนกได้ดังนี้ คือ หัวหน้าสถานที่ทำการกงสุล และบุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุล ซึ่งได้แก่ พนักงานฝ่ายกงสุล ลูกจ้างฝ่ายกงสุล บุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริการ

4. กงสุลมีหน้าที่คุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐผู้ส่งและคนของชาติแห่งรัฐผู้ส่ง สืบเสาะด้วยวิธีการอันชอบด้วยกฎหมาย ถึงภาวะเศรษฐกิจ พาณิชย์ วัฒนธรรมของรัฐผู้รับ และส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีในด้านต่างๆ  ดังกล่าวข้างต้น

5. การแต่งตั้งหัวหน้าเจ้าหน้าสถานที่ทำการกงสุล ต้องได้รับคำยอมรับจากรัฐผู้รับเสมอ โดยคำยอมรับนี้จะออกมาในรูปของอนุมัติบัตร

6. การสิ้นสุดของการดำรงตำแหน่งหน้าที่ทางกงสุลมีได้ 3 สาเหตุ คือ สาเหตุอันเนื่องมาจากรัฐผู้ส่งเรียกตัวกลับ สาเหตุอันเนื่องมาจากรัฐผู้รับส่งตัวกลับ และสาเหตุอันเนื่องมาจากกงสุลนั้นเอง

 

 

เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางกงสุล

เอกสิทธิ์และความคุ้มกันเกี่ยวกับสถานที่ทางกงสุล  แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ

ก.       ความละเมิดมิได้ในสถานที่ทางกงสุล

ข.       ความละเมิดมิได้ของบรรณสารและเอกสารทางกงสุล

ค.       การยกเว้นการเก็บภาษีอากรสถานที่ทางกงสุล

ง.       เสรีภาพในการสื่อสาร

 

ประเภทของความคุ้มกันของบุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุล

ความคุ้มกันของบุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลประกอบด้วย

ก.     ความละเมิดมิได้ในตัวพนักงานฝ่ายกงสุล แต่ความละเมิดมิได้นี้มิได้เด็ดขาด โดยหลักแล้วพนักงานฝ่ายกงสุลจะไม่ตกเป็นผู้ถูกกักขังหรือจับกุมในระหว่างพิจารณาคดี เว้นแต่เป็นอาชญากรรมที่ร้ายแรง และความคำวินิจฉัยของศาล

ข.     ความคุ้มกันเกี่ยวกับการพิจารณาคดี พนักงานฝ่ายกงสุลและลูกจ้างฝ่ายกงสุลจะมีความคุ้มกันเกี่ยวกับการพิจารณาคดี ในส่วนที่เกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้กระทำไปในการปฏิบัติหน้าที่ทางกงสุล เว้นแต่

1)    การดำเนินคดีแพ่งเกี่ยวกับสัญญา ซึ่งพนักงานฝ่ายกงสุล และลูกจ้างฝ่ายกงสุลได้กระทำไปโดยมิใช่ในฐานะของตัวแทนของรัฐผู้ส่งอย่างแจ่มแจ้งหรือโดยปริยาย

2)      คดีแพ่งโดยฝ่ายที่สาม สำหรับความเสียหายอันเกิดจากอุบัติเหตุในรัฐผู้รับ โดยเนื่องมาจากยวดยาน เรือ หรืออากาศยาน

 

การเริ่มต้นและการสิ้นสุดของเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางกงสุล

บุคคลในสถานที่ทำการกงสุลเริ่มต้นอุปโภคเอกสิทธิ์ และความคุ้มกันในเวลาที่เข้ามาในอาณาเขตของรัฐผู้รับเพื่อเข้ารับตำแหน่ง หรือถ้าอยู่ในอาณาเขตของรัฐผู้รับแล้ว ให้เริ่มต้นเวลาที่เริ่มปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่ทำการกงสุล

โดยหลักแล้วเอกสิทธิ์และความคุ้มกันของเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลจะเริ่มเมื่อเข้ามาในอาณาเขตของรัฐผู้รับเพื่อเข้ารับตำแหน่งและจนสิ้นสุดลงเมื่อหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลได้สิ้นสุดลงและเดินทางออกนอกรัฐผู้รับแล้ว

 

การบังคับใช้กฎหมายการทูตในประเทศไทย

              ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติว่าด้วยเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต พ.ศ. 2527 และพระราชบัญญัติว่าด้วยเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางกงสุล พ.ศ. 2541 เพื่ออนุวัติการอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ค.ศ. 1961 และอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ค.ศ. 1963 ตามลำดับ

 

หมายเลขบันทึก: 178513เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2008 16:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะค่ะ เป็นประโยชน์และแนวทางต่อนักเรียนที่อยากเรียนไปเป็นนักการทูต เพื่อเตรียมความพร้อมค่ะ

คนขับรถของฑูตขับรถผิดกฏจราจร ฝ่าฝืนเครื่องหมายห้าม จอดในที่ห้ามจอด กฏหมายคุ้มครองไหมครับ คนขับรถก็เป็นนคนไทย
คนขับรถของฑูตขับรถผิดกฏจราจร ฝ่าฝืนเครื่องหมายห้าม จอดในที่ห้ามจอด กฏหมายคุ้มครองไหมครับ คนขับรถก็เป็นนคนไทย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท