คุณผู้หญิงโปรดระวังโรคนิ้วล็อก


โรคนิ้วล็อก มักเป็นในคุณผู้หญิงวัย เกิน45 ขึ้นไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คุณแม่บ้านจอมหิ้ว จอมshop ระวัง ถุงมหาภัย(ถุงพลาสติก)ยิ่งหิ้วหนัก หิ้วบ่อย นิ้วล็อก จะมาเยือนท่านเร็วยิ่งขึ้น

โรคนิ้วล็อกเป็นภัยรายวันที่ใกล้ตัวคุณ

มีสาเหตุชัดเจน กำ บีบ ทุบ หิ้ว บิด สับ เป็นประจำ ซำๆ บ่อย จนทำให้ เข็มขัดรัดเส้นเอ็น เสีย เสมือนหนังสติ๊กที่ถูกยืด เสียความยืดหยุ่น หนาตัวกลายเป็นพังผืด ขวางการเคลื่อนตัวของเส้นเอ็น ที่ต้องวิ่งผ่านอุโมงค์ของเข็มขัดที่รัดจับเส้รเอ็นในการงอมือ และเหยียดมือ เมื่อการเคลื่อนตัวลำบาก ทำให้ เกิด

อาการ เจ็บ ฝืด สะดุด กระเด้ง ล็อก เสียรูป ตามลำดับ ( ดูเพิ่มเติมได้ใน WWW.trigger-finger.net) หรือ WWW.lockfinger.com

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 1785เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2005 00:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 15:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
 

View video details

อาการของโรคนิ้วล็อก

ปลดนิ้วล็อก   คุณ พิพัฒน์  คคะนาท
                ขอพูดคุยเรื่องส่วนตัวอันเกี่ยวกับความเจ็บไข้ได้ป่วยสักสัปดาห์นะครับ เนื่องเพราะเชื่อว่าน่าจะมีประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย แบบว่าอาจจะไม่เกิดประโยชน์วันนี้ แต่วันหน้าอาจจะได้ใช้หรือไม่ ไม่เกิดกับตัวเอง ก็จะได้นำไปบอกกล่าวกับใครเขาที่รู้จักกัน ซึ่งกำลังมีปัญหาเช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นกับผมมาแล้วนี้ก็ได้ เพราะคุณหมอยืนยันว่าโอกาสที่จะเกิดขึ้นกับทุกครอบครัวนั้นเป็นไปได้สูง คือเกิดอาการที่การแพทย์ปัจจุบันเรียกว่า นิ้วล็อก” (Trigger-Finger) ครับ
                ลักษณะของอาการที่เกิดขึ้นกับนิ้วของผมก็คือ ปวดที่นิ้วหัวแม่โป้งของมือขวา ปวดแบบว่าถ้าอยู่เฉยๆไม่เป็นทำให้มันเคลื่อนไหวอะไรก็ไม่มีปัญหา แต่อย่างอนิ้วลงมา เพราะแค่ทำท่าว่าจะขยับข้อนิดหรืองอหน่อย ก็แปล๊บเจ็บจี๊ดขึ้นมาทันที ความเจ็บนั้นเริ่มตั้งแต่ที่โคนนิ้วไปเกือบจดปลายนิ้ว หากยืดนิ้วเอาไว้ตรงๆก็ไม่มีปัญหา
                แต่ว่าในชีวิตประจำวันมันจะให้อยู่อย่างนั้นตลอดเวลาได้ไง ใช่ไหมครับ ยิ่งถนัดขวาด้วยแล้ว ยิ่งแสนเข็ญจริงๆ เวลาจะทำอะไร ว่ากันตั้งแต่เช้าแปรงฟันแล้ว จับด้ามแปรงไม่ถนัดเอาเลย อาบน้ำค่อยยังชั่วหน่อยเพราะใช้ฝักบัว แต่พอมาแต่งตัวใส่เสื้อต้องกลัดกระดุมนี่สิ ปกติแล้วนิ้วหัวแม่โป้งจะเป็นตัวควบคุมพฤติกรรมที่ว่านี้ทั้งหมดเมื่อมาเกิดเหตุเช่นนี้ขึ้นกว่าผมจะใช้มือซ้ายกลัดกระดุมครบถ้วนทุกเม็ดนี่ ลำบากเหลือแสนจริงๆ
                ยิ่งขับรถนี่ ไม่ต้องพูดถึงเลยครับ แค่จะสตาร์ทก็ไม่กล้าจับลูกกุญแจด้วยมือขวาแล้ว บิด สตาร์ทเหมือนปกติ ต้องใช้วิธีกำมะเหงก แล้วใช้ข้อกลางของนิ้วชี้กับนิ้วกลางคีบกุญแจแล้วออกแรงบิด จนสุดท้ายต้องใช้มือซ้ายสตาร์ทด้วยการยืนอยู่นอกรถก่อน เครื่องติดแล้วจึงเข้าไปนั่ง เพราะถ้านั่งแล้วเอื้อมมือซ้ายมาบิดกุญแจนี่ ก็ทำไม่ได้หรือทำได้ก็ไม่ถนัดอีกเหมือนกัน
                ผมทุกข์ทรมานเหลือแสนกับเรื่องนี้นานร่วมเดือนครับ ที่ปล่อยเอาไว้ก็เนื่องเพราะแรกเป็นใหม่ๆนั้น มันก็ให้รู้สึกเพียงนิดหน่อยเท่านั้นเอง และจำได้ว่าเคยเป็นมาก่อนหน้านี้สามสี่คราวแล้ว ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา แต่ทุกครั้งก่อนหน้านี้ปล่อยทิ้งไว้สี่ซ้าห้าวันก็หายไปเองได้มาตลอด เพราะยังคงนัดเล่นเทนนิสกับหลานได้อาทิตย์ละสองสามวันเป็นปกติ
                และเป็นเพราะเคยหายเองนั่นแหละครับ ผมก็เลยละเลยไปเรื่อยด้วยคิดว่า-เอาน่า, พรุ่งนี้คงหาย หรือไม่ก็คงดีขึ้น กอปรกับช่วงที่เริ่มเป็นหนนี้หลานกำลังจะสอบไล่ จึงไม่ได้เล่นเทนนิสกัน ก็เลยไม่มีเรื่องอะไรให้ต้องเป็นกังวลว่าควรรีบหาย ก็เลยปล่อยเลยตามเลยจนผ่านไปอาทิตย์แล้ว อาทิตย์เล่า มันก็ไม่ดีขึ้นสักที แถมยังมีทีท่าว่าจะหนักข้อขึ้นเรื่อยๆด้วยซ้ำไป กำลังจะตัดสินใจไปโรงพยาบาลหาหมออายุรกรรมที่คุ้นเคยกันให้ช่วยดู ก็ให้บังเอิญว่าวันนั้นมีเพื่อนผ่านทางแวะมาหาด้วยธุระบางประการ เพื่อนเห็นพูดคุยไปพลางคลึงนิ้วไปพลาง ก็ถามขึ้นมามือเป็นอะไรหรือ บอกเพื่อนไปว่าเจ็บที่ข้อนิ้วมาสักพักแล้ว
                เพื่อนก็พูดต่อว่านิ้วล็อกหรือเปล่า ไปหาหมอวิชัยซิ ให้หมอดูให้หน่อย ถ้าใช่หมอเขี่ยแป๊บเดียวก็หายแล้ว
                นั้นเป็นครั้งแรกเลยนะครับที่ผมได้ยินคำว่านิ้วล็อค ไม่รู้ว่ามันล็อคแบบไหน อย่างไร แล้วหมอเขาจะเขี่ยด้วยวิธีไหน เพื่อนถึงได้บอกว่าแป๊บเดียวหาย จึงถามต่อว่าเป็นหมอวิชัยไหนหรือ อยู่โรงพยาบาลอะไร จะได้ลองไปหา เพื่อนบอกว่าหมอเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการอยู่ที่เลิดสิน คุ้นกันดี เพราะเป็นเพื่อนบ้านกัน เดี๋ยวอาทิตย์นี้กลับเข้าบ้านสาธุประดิษฐ์แล้วจะถามให้ ว่าควรไปพบที่ไหนจะได้สะดวก เพราะหมอทำคลีนิคด้วย
                ที่คุยกันนั้นดูเหมือนจะวันเสาร์ครับ พอเช้าวันจันทร์ก็ได้ความทันที เพื่อนโทรมาบอกว่าสะดวกเมื่อไรก็ให้ไปได้เลย ไปที่คลีนิคจะสะดวกกว่า หมอมีคลีนิคอยู่ที่ตรอกจันทร์ สะพาน 3 กับที่ช่องนนทรี ไปตามแต่สะดวกได้เลยเพราะบอกหมอเอาไว้ให้แล้วว่าเพื่อนจะไปหา ว่าแล้วเพื่อนก็บอกเดี๋ยวจะเขียนแผนที่ส่งมาให้ทางโทรสารได้รับเรียบร้อย เย็นรุ่งขึ้นผมไปพบคุณหมอที่คลีนิคตรอกจันทร์ทันที ปรากฏว่าผิดคิวครับ เพราะที่นี่คุณหมอทำเฉพาะตรวจรักษาทั่วไป ซึ่งคนไข้แยะมาก คุณหมอบอกว่าจะทำเรื่องนิ้วล็อคเฉพาะเวลาอยู่คลีนิคช่องนนทรีเท่านั้น เพราะเครื่องไม้เครื่องมือทางโน้นพร้อมกว่า และเป็นเพราะมีคนไข้คอยอยู่แยะนั่นเอง จึงไม่ได้คุยอะไรกันมาก
                คุณหมอบอกว่าเข้าไปดูเรื่องนิ้วล็อคที่เว็บไซต์ของหมอก่อน คือ www.trigger-finger.net หรือที่  www.lockfinger.com ก็ได้ มีรายละเอียดบอกเอาไว้หมดทั้งสาเหตุ ตลอดจนวิธีการรักษาแผนใหม่ รวมทั้งมีการรักษาแบบเดิมที่จะต้องเป็นการผ่าตัด เพื่อเปิดนิ้วให้เปรียบเทียบกันได้ กลับถึงบ้านคืนนั้นสิ่งแรกที่ผมทำก็คือลุยสองเว็บไซต์ที่คุณหมอให้มาทันที
                อ้อ, ที่พูดถึงตรอกจันทร์นั้น ขอเรียกว่าเรียกตามประสาคนคุ้นเคยอยู่แถบนั้นมานานกว่า 30 ปีนะครับ ถึงทุกวันนี้เขาจะขยายทางจนกลายเป็นถนนจันทร์อันโอ่อ่าอลังการมานานแล้วก็ตาม ผมก็ยังติดปากว่าตรอกจันทร์อยู่ดีล่ะครับ
                เข้าไปในเว็บแล้วถึงได้ทราบแบบเต็มๆครับว่าคุณหมอนั้นคือ น.พ.วิชัย วิจิตรพรกุล ทำเรื่องนี้มาสี่ซ้าห้าปีแล้ว คิดค้นกรรมวิธีรักษาแบบใหม่ขึ้นมาก็เนื่องเพราะเหตุเกิดกับตนเองเมื่อรู้สมุฏฐาน ทราบเรื่องสรีระและกายวิภาค คุณหมอจึงดัดแปลงอุปกรณ์บางชิ้นของทันตแพทย์มาใช้เพื่อการนี้ และจากแต่เดิมที่เคยต้องแก้ปัญหาหรือรักษาด้วยวิธีผ่าตัดแบบเปิดนิ้วนั้น คุณหมอใช้วิธีเจาะผ่านผิวหนัง แล้วแซะ หรือสะกิด หรือเขี่ย แบบว่าสุดแท้แต่จะเรียกกันนะครับ โดยวัตถุประสงค์ก็เพื่อต้องการคลายหรือปลดส่วนของปลอกรัดเอ็นที่ยืดข้อนิ้วให้หลุดไป เพื่อให้เอ็นสามารถคลายตัวและยืดหยุ่นได้เป็นปกติ
                และคนไข้รายแรกที่คุณหมอใช้วิธีนี้รักษาก็คือตัวคุณหมอเองครับ โดยมีพยาบาลเป็นผู้ช่วย (ให้กำลังใจ) ที่คุณหมอบอกว่าทำหน้าเหยเกตลอดเวลาที่คุณหมอลงมือจัดการกับมือข้างที่มาปัญหาของตัวเอง
                ความสำเร็จของคุณหมอในเรื่องนี้ ที่ช่วยให้คนซึ่งมีทุกข์กับความเจ็บปวดจากอาการนี้กว่าสี่ซ้าห้าพันรายตลอดระยะเวลากว่าสี่ปีที่ผ่านมานั้น เป็นที่กล่าวขานถึงกันมากในวงการแพทย์มีรายการต่างๆ นำเรื่องราวออกไปเผยแพร่ทางโทรทัศน์แทบจะทุกช่องก็ว่าได้ แม้กระทั่ง CNN ก็ยังได้สัมภาษณ์คุณหมอไปออกรายการข่าวเชิงสารคดีแล้ว
                แล้วผมมัวไปอยู่ที่ตรงไหนมาหรือ ถึงไม่ได้ทราบอะไรกับเรื่องนี้แม้สักกระผีก มันน่าเขกกบาลตัวเองจริงๆ นับว่าโชคดีมากเลยนะครับที่วันนั้นเพื่อนแวะมาหา ทำให้วันนี้ที่ทุกข์ทรมานแกมรำคานมานานเดือนหายไปเป็นปลิดทิ้งเลย
                วันที่ผมเข้าไปให้คุณหมอจัดการกับนิ้วที่ล็อคนั้น เป็นช่วงเช้าครับ คุณหมอใช้เวลาทำทั้งหมด คือตั้งแต่เริ่มเช็ดทำความสะอาดมือบริเวณที่จะรักษากระทั่งปิดพลาสเตอร์ชิ้นสุดท้ายที่เป็นอันบอกให้รู้ว่ากรรมวิธีต่างๆเสร็จเรียบร้อยแล้ว ไม่ถึง 10 นาทีครับ ถามว่าเจ็บไหม, บอกได้ว่าแค่-จี๊ดเดียวตอนฉีดยาชาเข็มแรกเข้าง่ามมือเท่านั้นเอง จากนั้นไม่รู้สึกอะไรเลย แม้กระทั่งยาชาหมดฤทธิ์แล้วก็มิได้รู้สึกเจ็บปวดอะไรแต่อย่างใด
                ผมทำเช้าวันเสาร์ วันอาทิตย์อยู่กับบ้าน วันจันทร์ออกไปข้างนอกจับปากกาขีดเขียนอะไรได้เหมือนเดิมเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ ที่ขาดไปหน่อยไม่เต็มร้อยก็เนื่องเพราะผ้าปิดแผลกับพลาสเตอร์พันทับไปมาอย่างแน่นหนาตรงง่ามมือเท่านั้นเอง ที่ทำให้ขยับนิ้วหัวแม่โป้งกับนิ้วชี้ได้ไม่เป็นธรรมชาติสักเท่าไร แต่สามารถใช้ทำงานอย่างพิมพ์คีย์บอร์ดนี่ สบายมากครับ
                ฝากขอบพระคุณคุณหมอมา ณ ที่นี้อีกครั้งครับ และอยากให้ทุกท่านได้เข้าไปดูรายละเอียดเรื่องนี้ในเว็บไซต์ที่แจ้งไว้นั้นด้วย
                เพราะอย่างที่บอกนั่นแหละครับ วันหน้าอาจจะมีประโยชน์ต่อคุณๆ ได้
                                                                         พิพัฒน์  คคะนาท
                                                                         คอลัมป์เครื่องเสียง มติชนสุดสัปดาห์
 
หมอวีรพัฒน์ รพ.หาดใหญ่

 

ผมมีสูตรรักษานิ้วล็อค ไม่อันตราย ได้ผลช้า แต่แก้ได้ตรงสาเหตุ ป้องกันปัญหาอื่นในอนาคต(เอ็นมือเกร็ง )  

  โรคเราสะสมมาช้าๆ  เราสอนให้รักษาแบบ สะบัดดาบทีเดียวหาย   ลองคิดดูว่า มันจะถูกจุด หรือ เป็นวิธีแก้อาการแบบหนึ่ง

    อาการปวด มันเป็นกัลยาณมิตร เตือนเราว่า เสียสมดุลชีวิต ให้มีสติ ใช้งานมือลดลง ให้พอควรเถอะ  การแก้อาการปวดจึงต้องใครครวญว่า แก้เหตุแท้ๆ หรือ แก้อาการ หรือ แก้ที่จุดกลางของเหตุ กับ อาการปวด 

ใช้งานมือมาก -->   เอ็น กล้ามเนื้อมือหดเกร็ง--> คับแน่นช่อง

----> เบียด---->ปวด นิ้วมือ

เราจึงควรแก้ที่เหตุสุด ลดการใช้มือให้พอเหมาะกับสังขาร และ กายบริหารมือ เพื่อคลายเส้น    ดีกว่า   ขยายช่องปลอกหุ้มเอ็น

 

 สาเหตุในอีกทฤษฎีหนึ่ง คือ การใช้งานมาก จนเอ็นกล้ามเนื้อ หดเกร็ง ทำให้มีขนาดลำเอ็นกล้ามเนื้อ หนาตัวขึ้น ทำให้ ลอดในช่องปลอกหุ้มเอ็นไมได้   ที่แพทย์นิยม ตัดปลอกหุ้มเอ็น ขยาย ให้กว้าง เอ็นจึงเคลื่อนขยับผ่านช่อง ได้ง่าย แล้วลดอาการปวด ที่เป็นจากการเบียดเสียดในช่องได้    แต่ผมเลือก คลายกล้ามเนื้อ ให้ หายคลายจากการหดเกร็งของอ็น และ กล้ามเนื้อ

        แต่เชื่อกันว่า เอ็นกล้ามเนื้อนั้น ยังเกร็งหด ไม่ได้หายเกร็ง ทำให้บดบังอาการแฝงนี้ไว้ รอกำเริบด้วยปัญหาใหม่   เทียบกับเราปวดหัวเพราะกล้ามเนื้อบ่าตึงเกร็ง เราแก้ด้วยการกินยาแก้ปวด ไม่ได้คลายกล้ามเนื่อบ่า  นานไปกล้ามเนื้อบ่ายิ่งตึงเกร็งมาก เราก็เจอปัญหาว่า กินยาไม่ค่อยได้ผล  หรือ บรรเมาปวดหัว จากยาแก้ปวด แต่มึนหัวไม่ทุเลา เพราะกล้ามเนื้อบ่าตึงเกร็งจนเลือดหมุนเวียนเลี้ยงส่วนสมองไม่ตค่อยดี

       ดังนั้นผมอยากแนะนำ ให้พิจารณานวดเหยียด กล้ามเนื้อท้องแขน และ มือ   

       ท่ารำไทยแต่โบราณ เป็นภูมิปัญญาไทยที่ยอดเยี่ยม ในการแก้ไขป้องกันโรคนี้  ซึ่งเป็นปัญหาจาก การกำ งอ นิ้วมือ 

       เราเชื่อการออกำลังกาย ที่ออกแรง แบบตะวันตก  ลืมส่งเสริม กายบริหาร ที่คลายเส้นเอ็น เส้นมือ จากการทำงาน

 

ดีมากเลยครับ ขอเสริมอีกนิด การกำมือแน่น และงอช้อมือทิ้งไว้สัก5-10 นาที จะช่วยปรับความยาวของกล้ามแน้ท้องแขน ทำให้จุดที่ล็อก เคลื่อนตัวห่างกันไป (การจัดท่าเพื่อการรักษา)

ทั้งหมดนี้หากพักผืดมันหดรั้งมากจนขวางการเลื่อนตังของเส้นเอ็น การผ่าตัด หรือการเจาะตัดจะเป็นหนทางสุดท้ายที่จะแก้ปัญหาได้ ทางที่ดี มาป้องกันโรคนิ้วล็อกกันดีกว่า หลายๆสาเหตุป้องกันได้ ระวังให้ลดความเสี่ยงได้

                นิ้วมือคนเรา มีความสำคัญในการตอบสนองจากสมอง ซึ่งสั่งงานลงมาให้หยิบ จับ กำ บีบ ทุบ ฯลฯ ซึ่งการงอเหยียดนิ้วมือทุกนิ้วต้องอาศัยการหดตัวของกล้ามเนื้อดึงเส้นเอ็น ดึงกระดูก ให้งอเข้า-เหยียดออกผ่านข้อต่อ โดยมีระบบลอกหรือวงแหวน (หรือเข็มขัดรัดเส้นเอ็น) (รูป Anotomy of hand Pulley) จับให้เส้นเอ็นอยู่แนบกับกระดูกนิ้วมือ และวิ่งผ่านไปมาได้
                การใช้งานของมือที่รุนแรง ซ้ำซาก ในบางกิจกรรม บางอาชีพ ทำให้เกิดการเสียดสี ยึดปลอกหุ้มเอ็น เข็มขัดรัดเส้นเอ็น จนบวมอักเสบ และเสียความยืดหยุ่น ทำให้เส้นเอ็นวิ่งผ่านไม่สะดวก เกิดอาการขัดฝืด บวม สะดุด กระเด้ง ล็อก เสียรูป ซึ่งเป็นความผิดปกติของนิ้วมือที่พบบ่อยที่สุดที่พบในคนแข็งแรงปกติ ยิ่งแข็งแรงมากยิ่งมีโอกาสมาก หากหิ้วถุงหนัก กำบีบ ยกของหนักบ่อยๆ ยิ่งมีโอกาสเกิดโรคนิ้วล็อก (Trigger Finger) มากเท่านั้น ถึงแม้โรคนิ้วล็อกจะเป็นโรคที่พบบ่อยในสุภาพสตรีมากกว่าสุภาพบุรุษในสัดส่วน 4:1 เนื่องจากผู้หญิงมีกิจกรมของการใช้มือที่รุนแรง ซ้ำซาก ในชีวิตประจำวันมากกว่าผู้ชาย เช่น การหิ้วถุงช๊อปปิ้งจ่ายตลาด การกำบีบ สับโขก เช่น หั่นเนื้อ สับหมู สับกระดูกหมู เป็ด ไก่ การกำยกถังน้ำ การบิดผ้า ซักผ้า การกำไม้กวาด การกำตะหลิว การยกจับกะทะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการหิ้วถุงพลาสติกหนักๆ เวลาช๊อปปิ้งจ่ายตลาด ทำให้เข็มขัดรัดเส้นเอ็นถูกยึด และหนาตัวกลายเป็นพังผืดเสียความยืดหยุ่น เปรียบเสมือนอุโมงที่เส้นเอ็นเคยวิ่งผ่านแคบลง ……………….เกิดอาการฝืดเจ็บปวด สะดุด เด้ง หรือล็อกในที่สุด
                สุภาพบุรุษก็มีโอกาสเกิดโรคนิ้วล็อกได้เช่นกัน มักพบในอาชีพหรือกิจกรรมที่ใช้มือรุนแรง เช่น ช่างทั้งหลาย ไม่ว่าช่างไม้ ช่างกลึง ช่างเหล็ก คนทำสวนทำไร่ ก็ใช้มือรุนแรงในการกำจอบ เสียม พลั่ว ในการขุด ตัก รวมถึงการตัดกิ่งไม้ด้วยเครื่องมือทำสวน

อาการของโรคนิ้วล็อก

                ระยะ 1   เจ็บฐานนิ้ว
                                ระยะ 2   นิ้วเคลื่อนไหวงอเหยียดฝืด สะดุด กระเด้ง
                ระยะ 3   นิ้วล็อก ต้องใช้อีกมือช่วยง้างออก หรืองอเข้า
                                ระยะ 4   มีการโก่งงอ บวม เสียรูป นิ้วเกยกัน หรืองอเหยียดไม่ได้แล้ว
                เครื่องมือหรือเครื่องกลที่เป็นเหตุให้เกิดนิ้วล็อก เช่น ไขควง คีม เลื่อย ฆ้อน กรรไกรตัดเหล็ก หรือตัดกิ่งไม้ ฯลฯ ซึ่งล้วนต้องใช้มือในการกำบีบ กระแทก ทุบ ซ้ำๆเป็นเวลานานๆ และบ่อยๆ เป็นเหตุให้เข็มขัดรัดเส้นเอ็นเสื่อม หนาตัว เสียความยืดหยุ่น จนขวางการเคลื่อนไหวของเส้นเอ็น เป็นเหตุให้เกิดนิ้วล็อกในเวลาต่อมา

นิ้วล็อคสัมพันธ์กับอาชีพและกิจกรรมที่ใช้มือรุนแรง

การรักษาโรคนิ้วล็อคขึ้นกับระยะของโรคนิ้วล็อค
                                ระยะ 1   นำมือแช่น้ำอุ่น, ทานยา
                                ระยะ 2   ทานยาแก้อักเสบ การรักษากายภาพบำบัด, การฉีดยา
                                ระยะ 3   การฉีดยา, การผ่าตัด
                                ระยะ 4   การผ่าตัดปลดนิ้วล็อค

การป้องกันโรคนิ้วล็อค

                อาชีพหลายๆอาชีพมีความเสี่ยงกับโรคนิ้วล็อก จากการที่ต้องใช้มือ กำบีบเครื่องมือ เช่น ช่าง กำบีบไขควง สว่าน เลื่อย ฆ้อน คนสวนกำจอบเสียม กรรไกรตัดกิ่งไม้ พ่อครัว แม่ครัว กำมีด ตะหลิว จับกะทะ ยกหม้อหนักๆ ช่างทำผม กำแปรง กรรไกร ไดเป่าผม เนื่องจากเป็นอาชีพจึงต้องใช้มือในกิจกรรมดังกล่าวซ้ำๆตลอดเวลาที่ทำงาน ทำให้เข็มขัดรัดเส้นเอ็น และปลอกหุ้มเอ็นเสื่อมเสีย หนาตัว ขาดความยืดหยุ่น และยึด ทำให้นิ้ว กำ-เหยียดผิดปกติไป
การป้องกันคือ
1.       การปกป้องมือโดยตรง โดยการใส่ถุงมือ หรือใช้ผ้ารองให้ด้ามจับของเครื่องมือใหญ่ขึ้น นุ่มขึ้น ป้องกันการเสียดสี
2.     การประยุกต์เครื่องมือที่ใช้ประจำให้ได้เปรียบเชิงกล เพื่อทุ่นแรงหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น ใช้สว่านไฟฟ้า แทนสว่านมือ หรือแทนการใช้ฆ้อน
3.       มีการพักมือเป็นระยะ ไม่ทำนานจนมือล้า  หรือฝืนทำทั้งๆที่มือเจ็บระบม
4.     ปรับเปลี่ยนกริยา การกำมือดึงเข้า เป็นการแบมือดันออก เช่นเดียวกับการเปิดประตู การดันจะปลอดภัยกว่าการดึง แทนการหิ้วยกของหนักด้วยนิ้มมือ โดยการช้อนอุ้ม หรือใช้เครื่องทุนแรง เช่น รถเข็น รถลาก แทนการใช้มือเปล่า
การผ่าตัดมี 2 วิธี
1.       การผ่าเปิดแผล
2.       การเจาะรูตัดทางผิวหนัง
แนวคิดของการผ่าตัดเจาะรู (Percutaneous Release)
                เป็นทางเลือกใหม่ในการปลดล็อกโรคนิ้วล็อก  ซึ่งใช้เครื่องมือทันตแพทย์ (Carver หรือ Probe) ลับเป็นมีดพร้าเล็กๆ ขนาดปลาย 0.5 mm. เจาะผ่านผิวหนังบริเวณส่วนนิ้วที่ล็อกเจาะลงไปคลำเข็มขัดรัดเส้นเอ็น (A1 pully) แล้วตัดตัววงแหวน หรือรอกที่เสื่อมชำรุดแข็งตัวให้แยกออก เพื่อให้เส้นเอ็นสามารถวิ่นผ่านได้อีกครั้งหนึ่ง โดยขบวนการปราศจากเชื้อโรคทางการแพทย์ หลังจากทายาฆ่าเชื้อด้วย Betadine และ แอลกอฮอล์บริเวณที่เจาะผ่า ส่วนเครื่องมือได้รับการนึ่ง อบฆ่าเชื้อเหมือนเครื่องมือผ่าตัดทั่วไป ข้อดีของการเจาผ่านผิวหนังคือ แผลเล็ก เพียง 1 มม. ทำให้ลดความเจ็บปวด แผลหายเร็ว ปราศจากพังผืด หรือแผลเป็น ไม่ต้องตัดไหม สามารถกลับไปทำงานได้ แม้วันรุ่งขึ้นหลังผ่าตัด ไม่ต้องกลัวแผลแยกและเพียง 2-3 วัน แผลก็หายแล้ว ต่างกับการผ่าตัดแบบเปิด ซึ่งต้องทำในห้องผ่าตัด มีการเย็บแผล และใช้เวลานานเกือบ 2 สัปดาห์ จึงตัดไหมแผลจะยาง 1-2 เซนติเมตร เจ็บปวดมากกว่า ใช้เวลานานกว่า และต้องระวังแผลแยกหลังตัดไหมแล้ว โอกาสติดเชื้อมากกว่า เพราะแผลใหญ่กว่า
การประยุกต์ใช้เครื่องมือทันตแพทย์ (Carver)

                มากลึงลับปลาย Carver ให้ปลายมี 2 รูปทรง เพื่อเหมาะ สะดวกในการเจาะลงไปตัดเข็มขัดรัดเส้นเอ็น การลับเครื่องมือก็สามารถทำเองได้ โดยประยุกต์เครื่องสว่านไฟฟ้ามาดัดแปลงใส่หัวขัดกระดาษทราย เพื่อลับเครื่องมือให้ได้รูปทรงที่ต้องการ

                                                   วิชัย

 

พี่สาวอยู่ต่างจังหวัดเป็นโรคนิ้ล๊อค ต้องการมารักษากับคุณหมอจะติดต่อทำการรักษาที่คลีนิกหรือโรงพยาบาลได้ที่ไหนคะ ใช้เวลาวันเดียวใช่มั้ยคะ และค่ารักษาประมาณเท่าไหร่คะ

ขอบคุณมากค่ะ

สวัสดีค่ะคุณหมอ

พี่สาวอยู่ต่างจังหวัด เป็นโรคนิ้วล็อคอยู่หลายนิ้ว เนื่องจากอาชีพ ต้องปั้นแป้งขนม และต้องกวนขนมในกระทะใหญ่ๆเป็นเวลานาน เรียนถามคลีนิคหรือโรงพยาบาล วันเวลาที่จะไปพบคุณหมอ ได้เมื่อไหร่ และการรักษาเสร็จสิ้นภายในวันเดียวใช่มั้ยคะ และค่ารักษาขอทราบโดยประมาณการด้วยค่ะ

ขอบพระคุณมากค่ะ

ธนภัคมนต์

แม่เป็นพังผืดที่มือและก็เป็นิ้วล็อคด้วยอยากทราบว่าจะไปหาหมอที่ไหนดีและจะรักษายังไง

แม่เป็นพังผืดที่มือและก็เป็นนิ้วล็อคด้วยอยากทราบว่าจะไปหาหมอที่ไหนดีและจะรักษายังไงใครรู้ช่วยตอบทีอยากให้แม่หายมีหมอที่ไหนเก่งๆรักษาหายโปรดติดต่อ[email protected]

เรียนคุณหมอ วิชัย ที่เคารพ ค่ะ  แม่หนู มีอาการ ปวดมือ กำก็ไม่ได้ จับตรงอุ้งมือ โคนนิ้วก็ เจ็บก็ปวด นอนไม่หลับ ซักคืน ในระยะหลัง ๆ นี้ มีอาการมาประมาณ 6 เดือน เห็นจะได้ หนูไม่ดีเลยค่ะที่ปล่อยให้อาการของแม่ ล่วงเลยมานาน เท่านี้ จนตอนนี้ มีอาการปวด ถึง แขนแล้ว และเป็นทั้ง 2 มือ โดยเฉพาะ เวลา กลางคืน มีอาการปวดมาก แม่ทรมานมาก ร้องไห้ ทุกคืน หนูสงสารแม่มากที่สุด  ถ้าไปพบคุณหมอแล้ว จะสามารถ ได้ตรวจ หรือจะผ่าตัดได้เลยหรือไม่ค่ะ คุณหมอ ค่ารักษา ล่ะคะ คุณหมอ ตอนนี้คุณแม่หนู ทรมานมาก หยิบจับอะไร จะไม่ไม่ได้อยู่แล้ว เจ็บ ปวด ไปหมด จึงอยากขอความกรุณา คุณหมอ ช่วยแจ้งรายละเอียดเพื่อให้หนูสบายใจขึ้น ด้วยเถิดค่ะ  หนูขอขอบพระคุณ คุณหมอ อย่างที่สุดค่ะ   หนูขอคำตอบจากคุณหมอเพื่อคลายความกังวล รบกวนคุณหมอด้วยค่ะ

[email protected] 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท