สรุปการเรียนรู้ การเตรียมการนำเสนอ


สรุปการเรียนรู้ การเตรียมการนำเสนอผลจากการวิจัยเชิงคุณภาพ

สรุปการเรียนรู้ ทีมจังหวัดน่าน

วันที่  12 สิงหาคม 48


                  สมาชิกมาพร้อมกันเวลา ประมาณ 14.00 น. วิทยากรให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ทบทวนข้อมูลที่ได้จัดทำมา เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง เริ่มกระบวนการ เวลา 16.40 น. โดย         วิทยากรให้นำกระดาษ A4 ให้สมาชิกที่เข้ารับการอบรมได้ใช้สมองคิดและเขียนออกมาจากความจำของตนเองได้ (โดยมิให้ปรึกษากัน) เพื่อทบทวนการจัดทำโครงการวิจัยที่ผ่านมา ดังนี้    โจทย์วิจัยคืออะไร มีความมุ่งหมายอะไรบ้าง  มีกิจกรรมหลักของการวิจัยอะไรบ้าง                ข้อค้นพบที่สำคัญมีอะไรบ้าง  เวลาผ่านไปถึงเวลา ๑๗.๐๗ น. วิทยากรได้ให้ผู้เข้ารับการอบรม ได้เขียนความคิดเห็น(ความเป็นเหตุเป็นผล) ของตนเองว่า ความคิดเห็น(เชิงเหตุผล)ของเรา ความรู้สึก(Feeling) ของเราที่มีต่อข้อค้นพบเป็นอย่างไร
การที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ให้ดีที่สุด เช่นการทบทวนสิ่งที่เราทำมา เราควรเขียนเป็น เราได้ทำอะไร เราได้พบอะไร เรารู้สึกอย่างไรกับสิ่งเหล่านั้น สิ่งนี้เรียกว่า Chronicle   มิใช่เรื่องย่อ เป็นการเขียนตามความเข้าใจหรือรู้สึกของเราตามที่เราประสบ หากเป็นงานวิจัยเรียกว่า ข้อค้นพบ การย่อความหรือ summary จะมีเพียง เราได้ทำอะไร เราได้พบอะไร
ผู้เข้าร่วมรับฟังข้อมูลคือใคร ผู้ที่เข้าร่วมกับการนำเสนอครั้งนี้ คนกลุ่มนี้คือใคร เราคาดหวังว่า เขาจะทำอะไรต่อ กลุ่มแกนนำในนักศึกษา กลุ่มอาจารย์ที่มีบทบาทใกล้ชิดกับปัญหา กลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่มสื่อมวลชน แกนนำสตรี  เจ้าของหอพัก จนท.ภาครัฐ ประชาคมน่าน(ผู้ที่ทำกิจกรรมครอบครัว) ตัวแทนมูลนิธิเพื่อนหญิง วิทยากรได้เสนอให้นำกลุ่มนำเยาวชน กลุ่มเยาวชนน้ำเกี้ยง
อยากจะเสนออะไร ในการนำเสนอครั้งนี้ ท่านอยากนำเสนออะไรแก่บุคคลที่เชิญมาเหล่านี้ หากจะต้องเสนอเช่นนั้น จะต้องนำเสนออะไรบ้าง  (ควรให้สมาชิก ควรนั่งนิ่งๆ และให้แต่ละคนใช้ความคิดและเขียนออกมา)
ข้อสรุปการนำเสนอของแต่ละกลุ่ม
1.       โจทย์วิจัยคืออะไร  ฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ของนักเรียน นักศึกษา ในหอพัก เขตเทศบาลเมืองน่าน เป็นอย่างไร
2.       มีความมุ่งหมายอะไร    เพื่อหาแนวทาง/รูปแบบ การลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ของนักเรียน นักศึกษา ในหอพัก เขตเทศบาลเมืองน่าน
3.       ทำกิจกรรมหลักของการวิจัยนี้มีอะไรบ้าง
·        สร้างแนวคำถามในการเก็บข้อมูล
·        จัดทำแผน
·        จัดเก็บข้อมูลโดยวิธีการทางวิจัยเชิงคุณภาพ (RAP – Rapid assessment process ) โดยวิธี วิธีการจัดกลุ่ม (Focus Group) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ในกลุ่มเป้าหมายได้แก่ นักเรียนมัธยมศึกษา นักศึกษา อาชีวศึกษา และกลุ่มบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เจ้าของหอพัก บุคลากรสาธารณสุข ครูอาจารย์ (ครูประจำชั้น ฝ่ายปกครอง ครูแนะแนว) กลุ่มนักเรียนที่เคยตั้งครรภ์ในวัยเรียน ผู้ปกครองนักเรียน/นักศึกษาที่เคยตั้งครรภ์ในวัยเรียน
·        การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการการจัดเตรียมข้อมูลด้วย..? การให้รหัสข้อมูล (Coding)  วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis)
4.       ข้อค้นพบที่สำคัญๆมีอะไรบ้าง  
·        รูปแบบการเช่าที่พักของนักเรียน นักศึกษา  วิถีชีวิต การจัดการของเจ้าของหอพัก
·        รูปแบบการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนมีหลายรูปแบบ ได้แก่
                       สถานที่ ภายในหอพักของเพื่อนโดยยืมห้อง โรงแรมราคาถูก ริมแม่น้ำสถานที่ลับตาคน บ่อบำบัดน้ำเสีย รั้วข้างหอพัก
               การป้องกันหรือการคุมกำเนิด การมีเพศสัมพันธ์มักไม่ใช่ถุงยางอนามัย หรือใช้วิธีหลั่งข้างนอก ใช้ยาคุมกำเนิด
                อายุการเริ่มมีเพศสัมพันธ์ เริ่มตั้งแต่เมื่ออยู่ชั้น ป. 6
·        ความรู้ ทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์ ปัจจัยความสัมพันธ์ของเด็กในเขต กับนอกเขตเทศบาล
               ในเด็กวัยเรียนมองเป็นเรื่องปกติ
                                                                                “ พี่รักน้อง พี่ทำท้อง น้องทำแท้ง “
“ มันไม่ได้หลุเหมือนส้า มันไม่ได้อ้าเหมือนก๋วย “ (การมีเพศสัมพันธ์ไม่ได้ชำรุด หรืออ้าคาเหมือนตะกร้า )
                “ มันบ่ได้หักขำ “ (
                                ค่านิยมของนักเรียน นักศึกษาหญิง การมีเพศสัมพันธ์เพราะต้องการจับผู้ชาย หรือ การเก็บสถิติในการมีคู่นอน
·        การป้องกันการตั้งครรภ์
·        การมีเพศสัมพันธ์ที่เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์
·        ผลกระทบที่เกิดขึ้นเมื่อตั้งครรภ์ต่อนักเรียน/ครอบครัว/ผู้ชาย
·        นโยบาย มาตรการเชิงป้องกันใน การดำเนินการกับนักเรียนที่ตั้งครรภ์ในเพศหญิง เพศชาย
·        ข้อคิดเห็น การป้องกันปัญหา
·        ปัจจัยที่มีผลต่อการมีเพศสัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ในวัยเรียน คือ
          ลักษณะ หรือบริบทของหอพัก หอพักที่เป็นหอพักที่ไม่มีเจ้าของดูแล หรือมีระเบียบไม่เคร่งครัด จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนได้ง่าย
          เด็กต่างอำเภอที่มาเช่าหอพักในเมือง เมื่อมีแฟน จะขาดทักษะในการปฏิเสธในการมีเพศสัมพันธ์กับแฟน ต่างกับเด็กในเมืองที่กล้าปฏิเสธ
           พฤติกรรมที่เลียนแบบเพื่อนที่มีแฟน เลียนแบบดารา
           การมีโอกาสได้รับสื่อต่างๆ เช่น หนังสือการ์ตูนโป๊ ซีดีหนัง การเที่ยวกลางคืน ดื่มสุรา
·        การจัดการเมื่อพบนักเรียน/นักศึกษาตั้งครรภ์ในวัยเรียน ของสถานศึกษามักจะอนุโลมให้มีสิทธิสอบเพื่อจบการศึกษาในระดับนั้นๆ พักการเรียนเพื่อให้ตั้งครรภ์ต่อไปจนกระทั่งคลอดแล้วเปิดโอกาสให้เรียนต่อจนจบ
5.       ความรู้สึกต่อข้อค้นพบ 
·        ตะลึง คาดไม่ถึง หดหู่
·        นักเรียน นักศึกษา มีพฤติกรรมเลียนแบบ (ดารา เพื่อน) ค่านิยมด้านวัตถุเปรียบเทียบว่าการมีเพศสัมพันธ์ เหมือนกับการชวนกันไปกินข้าว ทานขนม
·        เด็กๆสมัยนี้ใช้ชีวิตประมาท ขาดการวางแผน ประกอบกับการมีสิ่งยั่วยุ และกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ และตั้งครรภ์ในวัยเรียน เนื่องจากชีวิตมีอิสระมากเกินไป
·        ความรู้ของนักเรียน นักศึกษา พบว่า ไม่รู้จริงในการมีเพศสัมพันธ์ การวางแผนครอบครัว หรือการป้องกันไม่ให้มีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน เช่น การใช้ยาคุมกำเนิด การใช้ยาหลั่งการมีเพศสัมพันธ์ การนับระยะปลอดภัย(ก่อน 7 หลัง 7 )  เจ้าของหอพักคิดว่า การให้ความรู้เรื่องเพศศึกษา จะเป็นการชี้โพรงให้กระรอก ยังไม่สมควรให้
·        หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ? ล้มเหลวในการให้ความรู้แก่กลุ่มนักเรียน นักศึกษา เท่าที่ควร หน่วยงานต่างๆมักคิดว่าไม่ใช่หน้าที่ของตนเอง การแก้ไขยังไม่เป็นรูปธรรม การให้ความรู้เรื่องเพศศึกษายังไม่เป็นรูปธรรม
6.       อยากเสนออะไร
·        เหตุผลของการทำวิจัย
·        วิธีการได้มาของข้อมูล
·        ข้อมูลที่ค้นพบ
·        สภาพปัญหา / บริบท
·        สาเหตุของปัญหา ( ข้อค้นพบหรือปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิด)
·        ผลกระทบของปัญหา
·        แนวทางในการแก้ไขปัญหา
7.       อยากให้มีอะไรเกิดขึ้น  
·        เกิดความตระหนัก ป้องกันจริงจังก่อนเกิดปัญหา
·        กล่อมเกลาจิตสำนึก เกิดเครือข่ายกลุ่มคนหลากหลายแบบพหุภาคีในการแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมในสังคม
·        วิธีการให้ความรู้ ไม่บูรณาการ
·        นำข้อมูลไปขับเคลื่อนผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ปัญหานี้
·        มีการแก้ไขที่ร่วมมือกันระหว่างหน่วยงาน
เลิกประมาณ  21.00 น.

13 สิงหาคม 2548
เริ่มเวลาประมาณ 8.30 น. วิทยากรได้ให้ความรู้แก่ผู้เข้ารับการอบรม
การกำหนดผู้รับ( Audience Analysis) หมายถึง ผู้รับการสื่อสารจากเรา ในการประชุมครั้งนี้ ใครเป็น Audience หลัก( Primary Audience) ครั้งนี้ (หมายถึง กลุ่มหลักที่เมื่อได้รับข้อมูลควรที่จะลุกขึ้นมาทำอะไรสักอย่างกับ ข้อค้นพบจากการวิจัยครั้งนี้ ) เมื่อได้กลุ่มหลักแล้ว ให้กำหนด Secondary Audience และให้เหตุผลว่าทำไมจึงกำหนดเช่นนั้น  แต่ละกลุ่มควรตั้งนิยาม เช่นคำว่าหอพัก ควรเป็นสถานที่พักที่ให้เช่า มิใช่เป็นเพียงหอพักโดยความเข้าใจทั่วไป เช่น บ้านที่เช่าแล้วมีนักเรียนมาพักรวมกัน และแชร์ค่าห้องพัก ต่อไป การวิเคราะห์ primary audience ในแต่ละกลุ่ม ควรมีลักษณะอย่างไร เช่น ในกลุ่ม เจ้าของหอพัก(ที่พัก) ครู และ ผู้ปกครอง
ลักษณะ primary audience การวิเคราะห์ primary audience ในแต่ละกลุ่ม ควรมีลักษณะอย่างไร เช่น ในกลุ่ม เจ้าของหอพัก(ที่พัก) ครู และ ผู้ปกครอง
                ครู มีลักษณะ ยอมในที หรือ รับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้น แก้ปัญหาเฉพาะราย แต่มิได้ขาดการปัญหาเชิงรุก ขาดมาตรการเชิงป้องกัน                  ครูผู้บริหาร ไม่มีนโยบายชัดเจน คิดว่า ครู ยอมรับปัญหานี้ได้หรือไม่ วิธีการยอมรับปัญหาของครู ควรเป็นอย่างไร พอฟังแล้ว จะทำอะไร คิดว่า เขา(ครู)คงสร้างกรอบเพิ่ม ครูเข้าคงคิดว่า มันเป็นภาระ หรือขาดศักยภาพในเรื่อง Human Sexuality (วิถีแห่งเพศ)  เพราะเขาวนอยู่ในกรอบ เพราะวิถีมันเป็นอย่างนั้น
                ผู้ปกครอง ไม่ทันเหตุการณ์ ไม่ทันเด็ก ไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลง การแก้ปัญหาติดกรอบ ผู้ปกครองมีอคติต่อข้อมูลที่ได้รับ มีข้อมูลเชิงบวกในเด็ก(ลูกเรามันดี มิใช่ลูกเรา แถมยังพาลูกย้ายหอพัก อยู่บ้านมันก็ดีเรียบร้อย)  และเชิงลบในข้อมูลในข้อมูลที่เข้ามา
                เจ้าของหอ เน้นเชิงธุรกิจ ไม่กล้าเข้มงวด กลัวไม่มีลูกค้า หากเขาฟังข้อมูลแล้วจะเกิดอะไรขึ้น เขาจะปฏิเสธ ว่าไม่มีเหตุการณ์ดังกล่าวในหอพัก
                ชุมชน โดยทั่วไปจะคิดอย่างไร มี ๒ กลุ่ม รับรู้ปัญหา ได้รับผลกระทบของปัญหา บางส่วนมองว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่ในระดับที่ตนเองแก้ไขปัญหาไม่ได้ (ขาดพลังในการแก้ปัญหา)
                องค์กรต่างๆ (องค์กรภาครัฐ) งานเยอะ ขาดจิตวิญญาณ ไม่รู้หนาวรู้ร้อน ปล่อยไปตามยถากรรม การทำงานไม่ไปด้วยกัน ต่างคนต่างทำ ทำงานโดยไม่เอาปัญหาเป็นศูนย์กลาง ไม่ใส่ใจ ทำตามสั่ง เมื่อเสนอข้อมูลแล้วในระดับผู้บริหาร ขาดความสนใจ ขาดศักยภาพ (ส่งไปก็หายจ้อย ) การแก้ปัญหา ก็แก้ที่ตรงปลาย เกี่ยงกันว่า ใครจะเป็นคนทำ(ไม่ฉลาดรู้ ไม่ฉลาดทำ) อยากตั้งกระทรวงเพศเอื้ออาทร มีภาระงานมาก ระบบมันไม่เอื้อให้ฉลาดรู้ ฉลาดทำ พระพุทธเจ้าไม่ให้โทษคนอื่น ให้ใช้โยมนสิการ หรือ ใช้ อุเบกขาซะเลย
แล้วในกลุ่มเหล่านี้ เราจะนำเสนออย่างไร เพื่อให้กลุ่มนี้ไปสู่จุดมุงหมายของเรา จะใช้ Quotation ใดมาใช้ให้เกิดการกระตุกของกลุ่มเหล่านี้
แนวทางในการนำเสนอ เราจะมีการนำเสนอ approach กับกลุ่มนี้อย่างไร ใช้เนื้อหาอย่างไร เพื่อให้เขาเข้ามา ทำให้เป็นปัญหาของตนหรือใกล้ตัว (อู้หู้เลย) เช่น ตัวเองมีลูกหลานอยู่ หากเกิดกับลูกหลานตนเองจะเป็นอย่างไร อาจต้องดึง Quotation ที่กระแทกกระทั้น เช่น อยู่บ้านยังกะผ้าพับไว้ พอนอกบ้าน..... หรือ พอชั่วโมงว่างกลางวันเพียง ๑-๒ ชั่วโมง ก็แอบไปกันแล้ว เมื่อเขาฟังแล้วจะแก้แบบปัจจุบัน(การเพิ่มกฎ หรือควบคุมสถานที่ เด็กก็เปลี่ยนสถานที่ไป (แต่ไม่บอก เพราะจะมีการแก้ปัญหาแบบเก่า) หากแก้ปัญหาแบบเก่า เช่น ให้ตำรวจตรวจเยี่ยมหอพัก เพราะสภาพหอพักปรับเปลี่ยนไปเป็นบ้านพัก อพาร์ทเมนท์ การนำเสนอให้เขาเห็นภาพ และให้จำนนต่อข้อมูล และวิธีการที่ทำอยู่(ที่ถนัดทำ)ไร้ประสิทธิภาพ  มีข้อมูลสถานที่การมีร่วมเพศกันข้างรั้ว(แม้จะปิดหอพัก) ชุมชนข้างหอพักเล่าให้ฟัง “เด็กมันเข้ารั้วไม่ได้ มันก็.....”   โดยสิ้นเชิง(เช่นคิดจะทำ เคอร์ฟิวในเด็ก กลางวันยังมีโอกาสและเวลา กลางวันยังเอาเสื้อผ้าไปเปลี่ยน เพิ่มสารวัตรนักเรียน ถนนละคนก็จะแก้ปัญหาได้หรือ )  เราจะนำเสนอให้เขารับรู้ปัญหาความรุนแรง มันกำลังจะคืบคลานเข้าสู่ครอบครัวของเขา อนาคตมันจะรุนแรงกว่านี้ ฟังแล้วให้นอนแผ่ 
ก่อนนำเสนอ เราควรจะตรวจสอบข้อมูลก่อนนำเสนอดีหรือไม่ อาจทำเป็น Pre-test / Post-test ก็ได้
โครงสร้างการนำเสนอการวิจัย
1.       โจทย์วิจัย หรือ ชื่อเรื่อง
2.       Background
3.       Purpose ความมุ่งหมาย
4.       Objectives
5.       Research Question
6.       Methodology
·        ระเบียบวิธีหลักที่ใช้
·        กระบวนการเก็บข้อมูล เก็บอย่างไร ใครเป็นข้อเก็บ เก็บด้วยวิธีใด ในพื้นที่ใด กลุ่มเป้าหมายเป็นใคร ประเด็นในการเก็บข้อมูลมีอะไรบ้าน
·        ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้เทคนิคแบบใด
7.       Findings (ข้อค้นพบ) ข้อค้นพบสำคัญที่ใช้เป็นประโยค แสดง Evidence ประกอบคือ Quotation เสนอไปตามเนื้อผ้า
8.       อภิปราย (เป็นความคิดเห็นของ Outsider) เช่นทีมวิจัยบางคนต้องเกิดความวิตกกังวล
9.       ข้อเสนอแนะ
10.    สรุป (Summary) ข้อค้นพบ อภิปราย รวมกับข้อเสนอแนะ
11.    กิตติกรรมประกาศ ขอบคุณ
               
การค้นหา Quotation (ตามเอกสารหมายเลข 6)
                                Quotation ที่เป็น Norm หรือบรรทัดฐานที่เป็นจริง ที่เข้าปฏิบัติกัน  เช่น “มันแอบลักลอบกัน  โดยเป็นที่รู้กันทั่วไป “ อาจผิดหรือถูกตามอุดมคติ
                                Share perception เป็นที่รับรู้ร่วมกัน เป็นพฤติกรรมที่ใครๆก็รู้กัน แม้จะเป็นของคนส่วนใหญ่หรือคนส่วนน้อยก็ได้ เช่น ในสังคม
                                Provocative Quote ยั่วยุยั่วแย้ง เช่น “ปัญหาเรื่องนี้มันแก้ได้ยาก” “ใส่ถุงยางเหมือนกินต้มยำไม่ใส่มะนาว” “คงเลิกไม่ได้หรอก ให้เลิกเหล้า มันแก้ยาก “
                                Difference Voice คิดต่างจากคนส่วนใหญ่ เช่น “ อยากให้คุมคนกินเหล้า เหมือนยาบ้า “
                                Discord แสดงถึงความไม่ลงรอยสิ่งที่ทำอยู่ เช่น “ กลุ่ม NGO เรียกร้องให้ชาวบ้านทำเหล้าเสรี “
                                Choices ทางเลือก
การเลือก Quotation ที่เหมาะสม ได้อย่างไร
                                เนื้อหานั้นสมบูรณ์ ครอบคลุม Statement
                                Powerful Words ภาษาที่ใช้ เสียงโทนสูงต่ำ เป็นคำคมเปรียบเปรย ฟังแล้วเห็นภาพ อาจเกิดผลทั้งลบและบวก
                                อารมณ์ ความรู้สึก กินใจ ชีวิตชีวา เช่น การนำเสนอในการทำ Focus group ควรยกการพูดโต้ตอบมาทั้งหมด
การจัดการข้อมูล วิทยากรเสนอให้กลุ่มแบ่งงาน ควรทำในส่วน ข้อค้นพบให้ชัด ในการประชุมนี้ให้แบ่งเป็น กลุ่มและให้ลำดับการทำงานเพื่อค้นหา Quote การกำหนดหัวข้อเพื่อ เขียนข้อค้นพบจาก Statement  
·        รูปแบบการเช่าที่พักของนักเรียน นักศึกษา  วิถีชีวิต การจัดการของเจ้าของหอพัก
·        รูปแบบการมีเพศสัมพันธ์
·        ความรู้ ทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์ ปัจจัยความสัมพันธ์ของเด็กในเขต กับนอกเขตเทศบาล
·        การป้องกันการตั้งครรภ์
·        การมีเพศสัมพันธ์ที่เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ ทัศนคติและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น ความรัก ต้องการผูกมัดผู้ชาย
·        ผลกระทบที่เกิดขึ้นเมื่อตั้งครรภ์ต่อนักเรียน/ครอบครัว/ผู้ชาย
·        นโยบาย มาตรการเชิงป้องกันใน การดำเนินการกับนักเรียนที่ตั้งครรภ์ในเพศหญิง เพศชาย
·        ข้อคิดเห็น การป้องกันปัญหา
หลังจากนั้นอาจารย์ทวีศักดิ์ ได้ให้แบ่งทีมเป็น 2 กลุ่มเพื่ออ่าน statement ทั้งหมดเพื่อค้นหาและคัดเลือก Quote ที่ต้องการและเหมาะสมกับสิ่งที่สรุปมาข้างต้น  ตอนแรกวางแผนไว้ว่า ประมาณเวลา 2 ทุ่มจะนำเสนอ Draft แรก แต่อาจมีปัญหาในการจัดการ จึงได้แบ่งหัวข้อ ตาม ITEMS ที่ต้องการนำเสนอ และให้แต่ละทีมทำ Power point มาพร้อมกับการค้นหา Quote ทีมได้นัดแนะกันถึง Format ของการนำเสนอให้เป็น Format เดียวกัน ตามที่สังเกตพบว่า ในแต่ละทีมมีทักษะในการทำ Power point ต่างกัน ทำให้ Format การจัดทำต่างกัน และไม่ได้ใช้ แบบเดียวกันในการนำเสนอ นอกจากนี้การคัดเลือก Quote ยังไม่เลือกได้ไม่ครอบคลุม อาจารย์ทวีศักดิ์ ได้เข้ามาแนะนำในการคัดเลือกอีกครั้ง และร่วมทำการคัดเลือกพร้อมแนะนำ Format ต่างๆ จนเวลาประมาณ 22.00 น. จึงได้ปล่อยให้ทีมดำเนินการต่อ จากนั้นทีมต่างๆ เริ่มผลัดเปลี่ยนกันส่ง Powerpoint ให้แก่ผู้จัดทำหลักเพื่อรวบรวมพบว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ Format ที่แตกต่างกัน ทั้ง Font การเลือกสี ขนาด และตัวอักษร นอกจากนี้ บล็อกที่เป็นTitle และ Items ยังใช้แบบที่แตกต่างกัน บางทีมใช้ กล่องข้อความจัดทำ บางทีมใช้Block สำเร็จรูป ทำให้มีการปรับแก้ทุกสไลด์ที่เชื่อมงานกัน สิ่งที่ได้เรียนรู้คือ ควรมีการกำหนด Format ที่สำเร็จรูปโดยให้ทีมใดทีมหนึ่งจัดทำ Block สำเร็จรูป ทั้งหมดให้ทุกทีม และ แจกให้ทุกทีม แต่ผู้สังเกตไม่ได้บอกให้ทีมเนื่องจากต้องการเกิดการเรียนรู้ภายในทีม  จนถึงเวลาประมาณ 01.30 น. ผู้สังเกตจึงได้เสนอให้ทีม Print  1st  Draft ให้แก่ผู้นำเสนอเพื่อไปเขียน Script
14     สิงหาคม  2548
15     สิงหาคม  2548
เริ่มต้นเวลา 9.30 น.  โดยอาจารย์นิวัติ  ได้ให้ทีมต่างๆในเครือข่ายจังหวัดน่าน ได้สอบถามถึงปัญหาของการทำวิจัยในพื้นที่ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึงกันและกัน
คำถามจากการทำงานวิจัยเชิงคุณภาพ
                ขนาดของ sample size สำหรับการทำวิจัย แบบRAP ควรมีขนาดเท่าใด
                จำนวนขนาดของผู้ให้ข้อมูล ขึ้นกับการออกแบบแนวคำถามว่าเป็นอย่างไร จะถามกับใครที่มีข้อมูลมากมาย (Key informant) ที่จะรู้ข้อมูลมากที่สุด และข้อมูลเมื่อไหร่จะอิ่มตัว
                การเก็บข้อมูลมากมาย ขอให้ถามตัวเองว่ามันตอบคำถามการวิจัยของโครงการอย่างไร
                การจัดทำ แบบNon structure คำถามวิจัยจะเป็นหัวข้อที่สนใจ ซึ่งต้องใช้เวลานาน
                แบบ Semi structure จะต้องมีคำถามที่เป็นแนวคร่าวๆ แล้วค่อยแกะรอยตามข้อมูลที่เกิดขึ้น
                แบบ Structure เป็นการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพที่มีโครงสร้างแนวคำถามที่ไม่แน่นอน เช่นการวิจัยแบบ RAP
จำนวนกลุ่มของการจัดทำ Focus group และ In-depth Interview
ในการทำRAP จุดเด่นคือการ Triangulation คือการเก็บข้อมูลจากมุมมองที่หลากหลาย เช่น กรณี การเก็บข้อมูลความรู้และปฏิบัติในการดูแลตนเองในผู้ป่วย ดังนั้นควรมีมุมมองจากทั้งผู้ป่วยและญาติ และการทำกลุ่ม แต่ทุกครั้งที่ต้องเลือกกลุ่มที่จะถามต้องกลับไปดูคำถามการวิจัย ทุกครั้ง
การลง Code ข้อมูลจะทำอย่างไรให้ครอบคลุม
ต้องกลับไปที่คำถามการวิจัย หรือวัตถุประสงค์ของการวิจัย ตัวอย่าง การพูดถึงพฤติกรรมสุขภาพ โดยถามถึงวิถีชีวิต  ให้กลับไปดูแนวคำถาม ดู ประเด็นในการศึกษา Topic Guide ตัวนั้นจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะกำหนด Code เบื้องต้น แต่จะเป็นเพียงบางส่วนของการวิจัย  การกำหนด code ควรทำหลังจากเก็บข้อมูลจนหมด และควรอ่านซ้ำแล้วซ้ำอีก แล้วค่อยกำหนด Code
พฤติกรรมสุขภาพ การกระทำใดๆที่ส่งผลต่อภาวะสุขภาพ ส่วนวิถีชีวิตเป็นเรื่องราวชีวิตทั้งหมดของเขา
ข้อมูลมันอิ่มตัวเมื่อไหร่
บอกได้โดยนักวิจัยผู้เก็บข้อมูล โดยบอกตัวเองว่า ข้อมูลมันเริ่มซ้ำๆ หรือบอกว่า ข้อมูลที่ต้องการรู้หมดแล้ว คนที่ควรบอกก็บอกแบบเดิมๆ และต้องคิดถึงการเก็บข้อมูลในการคัดเลือก
คำถามการคัดเลือก คนที่มาให้ข้อมูล เช่น การปฏิเสธการผ่าตัดผู้ป่วย 
งานวิจัยคือการแสวงหาข้อมูลโดยไม่มี อคติ แต่ในความเป็นจริงเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นการdesign งานวิจัย ต้องมีการออกแบบการวิจัยต้องออกแบบอยู่ในความเป็นไปได้ของการวิจัย
การวิจัยเชิงคุณภาพ เชิงเปรียบเทียบเป็นอย่างไร
 การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพในคำถามวิจัยชุดเดียวกัน เพื่อหาผลในเชิงเปรียบเทียบดังนั้นการวิเคราะห์จำเป็นต้องนำมารวมกันทั้งหมดเพื่อใช้ในการกำหนด Code นำไปสู่การวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป
การทำ Focus group Discussion จำเป็นต้องได้ข้อมูลที่ลึกหรือไม่
วัตถุประสงค์ของการทำ Focus group ส่วนใหญ่เป็นการหาประเด็นเพื่อเจาะต่อ หากมีประเด็นที่ลึกพบในการทำกลุ่ม ควรเชิญผู้ให้ข้อมูลที่อยู่ภายในกลุ่ม มาทำ  In-dept interview ต่อ
การคัดเลือกคนที่มาทำ  Focus group Discussion 
การวิจัยเชิงคุณภาพ แล้วพบข้อมูลที่ควรเสนอแนะเพื่อแก้ไขระหว่างทางหรือไม่ 
ควรเก็บข้อมูลให้เสร็จสิ้นเสียก่อน แล้วจึงคืนข้อมูลให้แก่ผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน มิฉะนั้นการมีข้อมูลไม่เพียงพอจะเกิดให้ความเสียหายต่อการแก้ปัญหาได้
การนำข้อมูลหรือภาพของผู้ให้ข้อมูลมาเผยแพร่ ควรทำอย่างไร
ควรคำนึงถึงจริยธรรม แท้ที่จริงต้องขออนุมัติเรื่องของจริยธรรม ภายในเมืองไทยยังไม่มี เพราะเป็นการละเมิดสิทธิของผู้ให้ข้อมูล เห็นได้จากตัวอย่าง การวิจัยของเมืองน่าน ต้องคำนึงเสมอว่า มีผลกระทบต่อตัวเขาและญาติหรือไม่ เขาจะได้รับการประณาม หากต้องนำเสนอต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจกผู้ให้ข้อมูลก่อน
การขอข้อมูลจากผู้เข้าร่วมประชุม ควรให้หรือไม่
หากข้อมูลยังสรุปไม่เสร็จ อยู่ในขั้นตอนการเขียนสรุปเพื่อเป็นรายงาน  ควรให้ภายหลัง และหากจะขอจากการประชุมเพื่อ
การ In-dept interview  ควรเริ่มต้นอย่างไร
ควรมีการ Small talk ก่อน
การทำ Focus Group Discussion ในพระสงฆ์ ควรทำอย่างไร
อาจลำบากในการพูดถึงพฤติกรรมบางอย่าง การทำ In-dept interview  พฤติกรรมของสงฆ์อาจใช้ในคนข้างเคียง เช่น เด็กวัด มัคทายก
ประเด็น
                ประเด็นการเรียนรู้ ของทีมจังหวัดน่าน การแลกเปลี่ยน ระหว่างกลุ่ม
                การเตรียมการเพื่อทำ Interim เครือข่าย 
                ทักษะที่ได้จากการทำงาน
                อะไรเกิดขึ้นขณะทำวิจัย
                                ผู้ทำวิจัย
                                ผู้ให้ข้อมูล เกิดการทบทวนในตัวผู้ให้ข้อมูลเมื่อถูกถาม และนำไปสู่การเรียนรู้ภายตัวเอง อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง
                                ที่ทำงาน เกิดการตรวจสอบข้อมูล ในระหว่างการทำงาน นำไปสู่ขณะที่คืนข้อมูลให้แก่ผู้เกี่ยวข้องเกิดการทบทวนในระบบ
                การวิจัยแบบ RAP เป็นจุดเชื่อมระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ กับ วิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณเป็นการวิจัยที่เน้นความแม่นยำ  และวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการมองเชิงลุกของข้อมูล แต่ RAP จะมีกระบวนการวางแผนการวิจัยได้ครอบคลุม และการเก็บข้อมูลกันเป็นทีม ดังนั้นโจทย์วิจัยจะถูกตรวจสอบโดยนักวิจัยหลายๆคนไม่ได้เกิดจากคนวิจัยเพียงคนเดียวในการวิจัยเชิงคุณภาพ  การวิจัย RAP จะมีการตรวจสอบโดยคนหลายคน ตีความโดยหลายมุมมอง ทำให้ข้อมูลมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น ดังนั้นการทำ RAPต้องมีการทำงานเป็นทีมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน การพูดคุยระหว่างทีมจะเกิดการตรวจสอบข้อมูล และตรวจสอบตนเอง
                การเขียน Code ต้องมีการเขียน Foot notes ต้องมีการเขียน ไว้คือ ความรู้สึกต่อข้อมูล มีสิ่งที่ต้องการเก็บเพิ่มเติมในครั้งต่อไป  ทำให้ทราบว่าข้อมูลใดสำคัญ ข้อมูลใดเป็นขยะ และต้องถามตัวเองว่า ข้อมูลนั้นตอบ Topic Main Question และ โจทย์วิจัย อย่าฝืนใส่ Code ถ้าไม่สมบูรณ์หรือบอกไม่ได้ และอย่าลืมว่าการใส่ Code ต้องใช้ร่วมกัน เพื่อให้เกิดการ Triangulation แท้ที่จริงต้องเติม Time line Analysis
                การคืนข้อมูล เป็นสิ่งจำเป็นต้องทำเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์จากการวิจัย อย่าให้ผลจากการวิจัยขังอยู่ในสมอง
                การกำหนดตัวบุคคลที่จะให้ข้อมูล  คือบุคคลที่อยู่ในกระบวนการแก้ปัญหาอยู่แล้ว เพราะเขาถูกให้เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่เราเริ่มทำแล้ว
            ข้อพึงระวังในการทำ RAP
                                บทบาท เรามีบทบาทต่างๆมากมาย เราต้องรู้ว่าเราขณะเก็บข้อมูล เราเป็นผู้วิจัย มิใช่พยาบาล ควรรู้ตนเองตลอดเวลา
                                ข้อมูล ต้องคำนึงถึงว่าโจทย์วิจัยเป็นอะไร อย่าโลภมากข้อมูลเดี๋ยวจะกลายเป็นขยะเต็มไปหมด
                                การดูแลผู้ให้ข้อมูล ต้องคำนึงผู้ให้ข้อมูล เขาจะได้รับผลกระทบจากการให้ข้อมูลหรือไม่ สถานที่เก็บข้อมูลควรมีการเป็นส่วนตัว ข้อมูลบางอย่างในบริบทของเขาอาจเป็นเรื่องน่าอาย อย่าไปคิดแทนเขา  ในความเป็นจริงในชีวิตของผู้ให้ข้อมูลอาจมีอะไรมากกว

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 17791เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2006 20:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 07:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ต้องการหัวข้อการนำเสนอปัจจัยเสี่ยงการเที่ยวกลางคืน

ไอ้เเดงกินเชอรี่กับวัลลภ ธนาคมมาเห็นจึงฆ่าวัลลภ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท