ความรู้สึก…กับผลงานวิจัยชิ้นแรกในชีวิต


พัฒนาระบบสุขภาพโดยใช้งานวิจัยเชิงคุณภาพเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างมีประสิทธิภาพในระดับพื้นที่ ”

ประสบการณ์ที่เข้ามาอยู่ในกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ

            ในที่นี้มีเพื่อนใหม่  มีความรัก มีมิตรภาพ    ถามว่ารู้สึกอย่างไร
มันบอกความรู้สึกไม่ถูก..รู้แต่ว่าตัวเองโชคดี ที่มีโอกาสมากกว่าอีกหลายๆคน    ตลอด1ปี ปฏิเสธงานอบรมต่างจังหวัดทุกเรื่อง ..แต่ไม่เคยขาดการอบรมหลักสูตรวิจัยเชิงคุณภาพแม้แต่วันเดียว อยู่ครบกระบวนการทุกครั้ง และทุกวัน
                มันเป็นความรู้สึกที่อยากเรียนรู้  มันเป็นการเปลี่ยนแปลงความคิด จากที่คิดว่าตัวเองเก่ง..กลายเป็นมีอะไรมากมายเหลือเกินที่เราต้องก้าวออกจากกรอบความคิดเก่าๆ   ที่คิดว่าตนเองเก่งความคิดที่เห็นปัญหาแล้วคิดเอง   อยากแก้ปัญหาเอง โดยไม่สนใจค้นหารากเหง้าของปัญหา และศึกษาบริบทให้ดีพอ ขอบคุณสำหรับสิ่งดี ๆ ทีเข้ามาในชีวิต

จินตนา แสงจันทร์
โรงพยาบาลเชียงกลาง  จ.น่าน

เกือบเสียโอกาส

คุณเพ็ญศรีจากเชียงใหม่โทรมาหาเรา..  บอกว่าพี่ยา (คุณ จรรยาวัฒน์ ทับจันทร์)    ให้มาเลือกชวนคนที่พอมีผลงานเด่นๆให้เห็นไปอบรมงานวิจัย ..โดยจะเลือกคนมาจาก4 ภาคเลย    พอได้ยินคำว่าวิจัยรู้สึกไม่ชอบ เพราะมันน่ากลัวเหลือเกิน   จึงปฏิเสธไปว่า.. คงไม่ไหวหรอกงานวิจัยเคยไปอบรมมาแล้วไม่เห็นเอามาทำอะไรได้เลย   คุณเพ็ญศรีพูดต่อว่า เค้าเลือกคนนะพี่ไม่ใช่ว่าใครก็ได้ที่จะเข้าอบรม หนูเห็นพี่มีผลงานในชุมชนหนูเลยชวน
คำว่า เค้าเลือกคนนะพี่  ทำให้ตกปากรับคำ ..  นึกในใจว่าลองดูอีกครั้งก็ได้ ไปดูก่อน  ถ้าไม่ชอบจริงๆ ก็ไม่เห็นเป็นไร  ไม่เสียอะไร  มีคนออกทุนให้เรียน     วันแรกทีโคราชรีสอร์ท   อาจารย์ทวีศักดิ์ บอกความแตกต่างชนิดงานวิจัย  บอกเป้าหมายการอบรมครั้งนี้ว่าเพื่อ    พัฒนาระบบสุขภาพโดยใช้งานวิจัยเชิงคุณภาพเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างมีประสิทธิภาพในระดับพื้นที่ ”  เริ่มหูผึ่งแต่ไม่อยากเชื่องานวิจัยนะหรือ   จะสามารถพัฒนาระบบสุขภาพ หรือ
ทำเพื่อแก้ไขปัญหางานในพื้นที่ที่ทำอยู่ได้   (นึกในใจว่าทำได้จริงเหรอ   เห็นคนทำวิจัยเค้าก็ทำแบบสอบถามแจกไป     เสร็จแล้วรวบรวบข้อมูลโดยใช้สถิติทียาก ๆ  แล้วทำปกสวยๆเสร็จแล้วก็เอาวางโชว์บนหิ้ง  ไม่เห็นใครทำแล้วเอาแก้ปัญหางานที่ทำอยู่แอบนึกเถียงในใจว่า.. ไม่น่าเป็นไปได้)
            แค่คิดคำว่า วิจัย ก็เครียดแล้ว   แต่ชอบวิธีการสอนของอาจารย์ เพราะให้นอนฟังได้ด้วย ชอบมาก ๆ ตรงที่อาจารย์บอกว่า     ท่านใคร่นั่ง ๆ   อยากจะนอนก็นอน   อยากพิงฝาก็ได้   เหยียดเท้าก็ตามชอบใจ   เทคนิคนี้ 
ทำให้เราผ่อนคลายนะ..เริ่มรู้สึกดีขึ้น    โชคดีที่เราเรียน เทคนิคการ CSL มาและได้ทำหน้าที่นี้อยู่บ้าง   จึงไม่ยากในการฝึกฝนกิจกรรมพื้นฐานในการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ  เช่นการสนทนากลุ่ม  การสัมภาษณ์เชิงลึก  ฯลฯ    และแล้ว 5วันก็ผ่านไปจบขั้นตอนที่1     ความรู้สึกเริ่มเปลี่ยนไปบ้าง รู้สึกเหมือนว่าเราน่าจะทำได้
ไม่น่าจะยากเท่าไร  (ยังไม่ค่อยมั่นใจว่าจะทำได้แต่ใจนึกอยากทำ)   ตรงนี้ทำให้เรียนรู้ว่า  การสื่อสารเรื่องหนักๆ  หากสร้างบรรยากาศให้ดูสบาย ๆ  ผ่อนคลาย  มันทำให้เข้าใจง่ายขึ้น มันค่อยๆ  ซึมลึก

นักเรียน..ร้อนวิชา

ในช่วงนั้น เป็นช่วงเดียวกับที่ตนเองกำลังคิดจะทำโครงการแก้ปัญหาคนอ้วนพอดี  เพราะนั่งดูรายการผู้หญิงๆช่อง3อยู่   วันนั้นเห็นคนอ้วนออกทีวี เล่าให้ฟังถึงความทุกข์ใจของคนอ้วน.. และเล่าประสบการณ์การลดน้ำหนักเค้าสามารถลดน้ำหนัก 36 กิโลกรัม ใน 7 เดือนทำให้เราทึ่งมาก    จากนั้นเราก็บ้าซื้อหนังสือ  จะซื้อหนังสือเกี่ยวกับเรื่องอ้วน5-6เล่มมานั่งอ่าน นอนอ่าน     คิดอยากแก้ปัญหาโรคที่เป็นปัญหาสุขภาพ 10 อันดับของเชียงกลาง    พอดีมีข้อมูลคนอ้วนเขตรับผิดชอบอยู่15%   อ่านหนังสือ/เอกสารวิชาการทุกเล่มบอกว่าอ้วนทำให้เกิด HT , DM ได้ง่าย    ก็เริ่มแก้ตรงโรคอ้วนนี่แหละเพราะอยากทำมันมันน่าจะสนุกดี      หลังอบรมกลับมารีบสรุปเทคนิคการสนทนากลุ่ม  ( Focus group discussion ) ทันที     เรียกน้องในฝ่ายมาสอน รอครบทุกคนก็ไม่พร้อมกันซักที    ว่างอยู่4คน…..สอน4คนนี่แหล่ะ   ไปอบรมช่วงสิงหาคม 2546   พอเดือนกันยายน 2546 เราเริ่มโครงการเลย    หลังจากเปิดรับสมัครคนอ้วนเข้าโครงการแล้วก็ลุยเลย     สาธิตการทำสนทนากลุ่มครั้งแรกเราสาธิตให้น้องดูก่อน  ให้น้องฝึกเป็นผู้จดบันทึก   ต่อมาก็สลับกับ  เออสนุกดีเหมือนกัน    เราก็สอนน้องเหมือนอาจารย์ ที่เน้นว่า ผู้บันทึก สำคัญมากหากจดไม่ดี ข้อมูลจะกลายเป็นขยะมากมายเก็บอะไรไม่ได้  “ต้องพยายามเก็บสาระ  เก็บคำพูดที่เป็นคำพูดสำคัญออกมาให้ได้ ภาษาอังกฤษเรียกว่า (Quotation)หรือพูดย่อๆว่าQuote คำพูด   อีกหน้าที่หนึ่งที่สำคัญคือ ผู้อำนวยความสะดวก  ต้องดูแลเรื่องจัดสิ่งแวดล้อมให้มีการรบกวน น้อยที่สุด  และช่วยแก้ไขเหตุการณ์เฉพาะหน้า   ไม่ให้มีใครมาสร้างความรำคาญกับวงสนทนา   ในช่วงนั้นก็ทำงานไปก็เขียน Concept paper  ส่งเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากชมรมฯ    รู้สึกเราจะเป็นศิษย์คนแรกของอาจารย์หรือเปล่านะ..ที่เรียนแล้วร้อนวิชามาก รีบลงมือเลย  (แต่ช่วงนี้ยังกลัวๆ กล้าๆอยู่นะ เอ๊ะเราจะทำได้ดีหรือเปล่า) แต่ปลอบใจตัวเองว่า งานของเราชิ้นเล็กๆ คงทำได้น่า

เรียนรู้เป็นขั้น..เป็นตอน

25-29.. 2546 ก็นำ Concept paper มาปรับปรุงเป็นโครงร่างงานวิจัย
ทีพัฒนาขึ้น (Proposal  Development) ที่โรงแรมเฟริสท์ ที่กทม. หลังจากนั้น ทุกคนก็ได้ลงมือปฏิบัติจริง(Field Work) ที่ อ.แก้งสนามนาง จ.โคราช  การ
อบรมภาคสนามทำให้เรียนรู้กระบวนการทำงาน ต้องยืดหยุ่นจริงๆ  ต้องแก้ปัญหาอยู่ตลอดเวลา   แต่เราก็รู้สึกได้ว่า   ในพื้นที่จริงๆของเราต้องไม่ยากหรอกเพราะเรารู้จักบริบทชุมชนดีกว่า    จากนั้น 29มี.. - 2เม..47 ก็มา
อบรม การวิเคราะห์ข้อมูล (Data analysis)ที่หนองคาย     ช่วง17-21..47 มาฝึกการนำเสนอข้อมูล และ(Data Presentation) และฝึกการทำ แผนเชิง
กลยุทธ  เป็นอันจบขบวนการเรียนการสอน   ระหว่างเรียนเราทำงานไปตามปกติ ติดตามกลุ่มอ้วนไปทุกเดือน  ทุกเดือน เก็บข้อมูลไป นำไปเรียนถามอาจารย์เป็นระยะๆ  มันคงเพิ่มความมั่นใจขึ้นเรื่อยๆ ว่า เราคงทำได้  (แต่ยังไม่เต็ม100อยู่ดี)
คำใหม่สำหรับเรา ..จากวิจัยเชิงคุณภาพ

การแกะรอย (Tracking)    การล้วงข้อมูลสำคัญ ความในใจ(Probe) จะได้ใช้มากเพื่อให้ได้ข้อมูลลึกๆ  ไม่ใช่เปลือกนอกหรือพูดคุยกันธรรมดา    อีกคำคือเทคนิควิเคราะห์แบบสามเส้า  (Triangulation)    ยกตัวอย่างเช่นเวลาสนทนากลุ่มคนอ้วน

พี่ผายเล่าว่า  เดี๋ยวนี้พี่ตื่นวิ่งตอนตี4 ทุกวัน    เพื่อนในกลุ่มก็หัวเราะและเสริมว่า เห็นหมาเห่าและวิ่งตามพี่ผายทุกเช้าเลย    นี่คือการยันข้อมูลนะ(ภาษาวิจัยเรียกว่าสอบทานเพื่อลดความอคติ)   คนจดต้องจดละเอียดไม่อย่างนั้นข้อมูลทีจะมาใช้ยันกันจะไม่มี    เรื่องนี้สอนเราว่าอย่าเชื่อข้อมูลทันที  ที่รู้เพราะหากแค่เพียงมีคนบอกอะไรเรา  เราเชื่อเลยทันทีมันอาจไม่จริงก็ได้ การทำวิจัยสอนให้เราต้องสอบทานก่อน อย่าเชื่อข้อมูล หรือข่าวทันที  มันอาจทำให้เราตัดสินใจผิดพลาดได้

ชีวิตสุขสบายจนน้ำตาหยด

ในระหว่างกระบวนการเรียนรู้จำไม่ได้ว่ารอบไหนมีเรื่องต้องเสียน้ำตา  ต้อง
ขอย้อนเล่าความเป็นมาของเรื่องราวก่อน   ตัวเองเริ่มทำงานปี 2529 ไปอยู่ฝ่ายการพยาบาลขึ้นเวรบ่าย-ดึก ทำงานซ้ำๆ น่าเบื่อ ไม่ชอบไม่มีความสุขกับการทำงาน    ครบ1ปีขอย้ายกลับบ้านเกิดคือ  อ.เชียงกลาง จ.น่าน  มาอยู่ฝ่ายส่งเสริมสุขภาพ  รู้เลยว่านี่แหล่ะ ตัวฉัน  ใช่เลยต้องงานแบบนี้สนุกและมีความสุขมากกับงาน     ตั้งแต่ทำงานส่งเสริมฯ มา17ปี   เปลี่ยนผู้อำนวยการโรงพยาบาลไป ประมาณ 4-5 คน   ตลอดชีวิตการทำงาน ยังไม่เคยมี  ผอ.คนไหน ไม่อนุมัติในทุกๆเรื่องทีเราขออนุมัติ    มีแต่สนับสนุนส่งเสริม  เพื่อนร่วมงานส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่  พวกเราเริ่มรู้จัก และคุ้นเคยคำว่ากระบวนการมีส่วนร่วม  , Empowerment  , การทำงานเป็นทีม  และ พัฒนาศักยภาพ    มาตั้งแต่ปี 2541 ก็ใช้มันมาตลอดกับระบบการทำงานจนปัจจุบัน     เรื่องก็มีอยู่ว่า….วันนั้นพี่อ้อย (คุณรุจิวรรณ ) พี่สาวที่คนน่ารักมากๆ    บอกให้ไปช่วยเป็นพิธีกรแทนหน่อย    ก็ตกลง พี่ขอทั้งที ก็ทำไปหน้าที่แทนพี่อ้อย..    ในกิจกรรมก็มีการเปิดใจให้เล่าความรู้สึก  ความในใจ  สิ่งที่ได้รับจากการเข้ามาร่วมเรียนรู้งานวิจัยเชิงคุณภาพ ของเพื่อนๆ รุ่น1      จำได้ว่าเพื่อนจาก หนองบัวลำภู   เค้าเล่าถึงความมุ่งมั่นตั้งใจอยากทำงานแก้ปัญหาประชาชน   ทำมาหลายอย่างแต่ไม่สำเร็จ ก็หาหนทางหลายอย่าง  พอมาพบงานวิจัยเชิงคุณภาพแล้ว รู้ว่ามันเป็นการค้นหารากเง้าของปัญหา คิดว่าสามารถแก้ปัญหาในงานได้แน่นอน    คำตอบที่ค้างคาใจว่าจะแก้ปัญหาอย่างไรสดใสมาทันตา   คงปิ๊งไอเดียกระมัง  แต่……..ฟ้าไม่เปิด    ผู้ใหญ่ไม่ให้ความสำคัญ  ดูเหมือนจะขัดขวางด้วยซ้ำจนบางครั้งเพื่อนต้องใช้วันลาของตนเองลามาพัฒนาศักยภาพ  เพื่อไปแก้ปัญหาอันใหญ่โตของประเทศชาติ ….โอย ๆ ๆ ฟังแล้วปวดใจ  
ผู้ใหญ่วิสัยทัศน์แคบจะมีเหลือขัดขวางความเจริญของชาติมากไหมเนี๊ย..อะไรชีวิตจะรันทดขนาดนั้นฟังไปก็อิน   นั่งฟังไปเราก็กลับมานึกถึงตนเองชีวิตการทำงานของตนเองทำไมสุขสบายจัง..    อยู่ในระบบงานที่ดี   มีทีมงานดี .. ผู้ใหญ่วิสัยทัศน์กว้างไกล     ว่าแล้วน้ำตาก็รินไหลมันบอกความรู้สึกไม่ถูก
ไม่ได้ร้องไห้นะแต่น้ำตามันไม่หยุดไหลเอง    เราเงียบไปสักครู่พี่อ้อยหันมาเรียก .. จิน ๆ ดำเนินการต่อซิ น้ำตาเราก็ไหลไม่หยุด   พูดก็ไม่ออก   พี่อ้อยพี่ยาก็มาทำหน้าที่แทน พูดไปพี่ๆ ก็น้าตาไหลอีก   เราก็เข้าใจนะ  พี่ยา กับพี่อ้อย  ต้องทำงานในหน้าที่ในหน่วยงานให้ดีที่สุด   แล้วยังต้องแบกภาระยิ่งใหญ่ระดับชาติ   ให้พยาบาลทั่วประเทศอีก    วันนั้นน้ำตาเลยท่วมห้อง….ประชุม  อยากฝากถึงท่านผู้ใหญ่ ผู้มีอำนาจทั้งหลายด้วยว่า  ศักยภาพคนมีอยู่เหลือล้น   มองให้เห็นคุณลองให้โอกาสคนเหล่านั้นซิ….ให้เค้าได้พัฒนาตนเองเถิด  เมื่อคนพัฒนาตนเองแล้วเค้าต้องนำศักยภาพมาพัฒนางานแน่นอน  
ฝากตะโกนดังๆถึงท่านผู้ใหญ่ด้วย ..นะคะ

พรสวรรค์..หรือ..พรแสวง

พี่ยาโทรมาว่าจะให้เป็นพิธีกรงานประชุมวิชาการ 8-9..47 ทีแอมบาสเดอร์ กทม.   เราก็ถามพี่ยาและอ้อยว่ามั่นใจแล้วหรืองานมันใหญ่นะ  (กลัวทำงานเค้าไม่ดี เสนอชื่อคนเก่งๆ  พี่ยาก็ไม่เอา   ได้แต่บอกว่า จินนะแหล่ะ  จินทำได้   เฮ้อ!! ทำได้แต่กลัวว่าจะไม่ดีนะสิ    ช่วงนั้นงานที่โรงพยาบาลยุ่งมากต้องรีบเคลียตัวเอง  แต่ทีไม่ลืมคือหยิบหนังสือคู่มีการเป็นพิธีกรติดไปด้วย 2 เล่ม     ออกเดินทางจาเชียงกลาง วันที่
5..47    พอ10โมงวันที่6.. ก็เริ่มงานกันเลย   เครียดนะเนี้ย .. วิทยากรเปลี่ยน ไปเปลี่ยน มา  ประธานก็เปลี่ยนจนวินาทีสุดท้าย   เคยแต่ทำหน้าทีพิธีกรรายการแสดงในงานส้มสีทองซุ้มสาธารณสุข กับงานโรงพยาบาลบ้างนิดหน่อย   ทำในช่วงที่เด็กใหม่ไม่เกิด พอมีคนทำเป็นเราก็ทิ้งมามาเป็น10ปีแล้ว     พี่ๆและน้องๆ ในทีมวิจัยพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า จินตนาทำได้  เอ้าได้ก็ได้   ทำสคริบท่องทั้งคืน ท่องซ้ำแล้วซ้ำอีก   โดยเฉพาะคำว่า รัฐประศาสนศาตร์ ต้องวงเล็บเป็นคำอ่าน (รัด-ทะ-ประ-สา-สะ-นะ-สาด กลัวพูดไม่ได้     (ขำตัวเองเหมือนกัน โดยเฉพาะแนะนำพันเอก นายแพทย์ ทวีศักดิ์ นพเกษร   อาจารย์เราเราต้องท่องสคริบให้เนียน    เพื่อทำให้คนได้ทราบประวัติอาจารย์  ที่เราภาคภูมิใจนำเสนอ     ซึ่งท่านจบ จากคณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ได้รับวุฒิบัตร สาขา  โสต  นาสิก  ลาริงซ์   จบหลักสูตร  Inter-nation Epidemiological Intelligent Service Course ประสบการณ์ : การเป็นผู้เชี่ยวชาญ และที่ปรึกษา งานระดับโลกคือ
UNCICEF :   โครงการให้ความช่วยเหลือการทำแผนงานพหุภาคีควบคุม
                     ป้องกันโรคเอดส์ มณฑลยูนนาน
WHO :          โครงการให้ความช่วยเหลือการป้องกันโรคเอดส์ กองทัพกัมพูชา
UNDP :         ประเมินโครงการ  Peer Education ในการควบคุมป้องกันโรค
                     เอดส์กองทัพกัมพูชา
UN – AIDS : โครงการประเมินความเสี่ยง การแพร่กระจายเชื้อเอดส์ ใน
                     เจ้าหน้าที่ สหประชาชาติ และกองกำลังรักษาสันติภาพ
                     ติมอร์ ตะวันออก

เพราะความไม่ค่อยชอบเป็นพิธีกร   ยอมรับว่าเครียดกว่าเตรียมนำเสนองานวิจัยตัวเองอีก   แต่เมื่อมันเป็นหน้าที่เราบอกตัวเองว่าจะพยายามทำให้ดีที่สุด  สิ่งหนึ่งที่อยากบอกคือ  ที่ผลงานท่านเห็นรับรองได้ว่าเป็น พรแสวง ทุกอย่างคือการที่ต้องท่องสคริบ ท่อง ๆ ๆ หลายรอบมาก    ลองประเมินผลจาก พี่ๆ  น้องๆ ว่าบทบาทพิธีกรในครั้งนี้เป็นอย่างไรทุกคนบอกว่า   ก็ดี ทำได้ดีแล้ว    น่าจะสอบผ่าน  หากถามตัวเองก็ยังไม่พอใจมันยังติดๆขัดๆ   จากเหตุการณ์ครั้งนี้บอกได้ว่า  การทำอะไรก็ตามถึงแม้จะไม่ถนัดหาก ฝึกบ่อยๆ ตั้งใจมากๆ  ทุกคนต้องทำได้  (จะดีมาก หรือดีน้อยเท่านั้นเอง ส่วนเราถ้าจะให้เลือกอยู่เบื้องหลังจะถนัดกว่า ..มีความสุขกว่า

Lunch Brief

          ประสบการณ์การทำงานวิจัยในที่ทำงานจริง   ชีวิตจริงทุกคนก็งานล้นมือ 
หาเวทีคุยกันยากมากๆ   เวทีสุดท้ายทีเก็บข้อมูลก็มีการสนทนากลุ่มปิดโครงการ ให้ทีมเป็นผู้จดบันทึก 3-4คน / ครั้ง  มีคนนำสนทนา 1คน   ทำกลุ่มอยู่2คืน   ที่นี้ก็แบ่งกันไปเอาข้อมูลที่แต่ละคนได้มอบให้2 คนไปดูแล้ว  เอาข้อมูลของแต่ละคนมาเชื่อมต่อกัน  จากนั้นก็ฝึกใส่ Code   ตอนจัดชุดข้อมูลเราทำไม่เป็นต้องอาศัยทีมงานที่เก่ง (หน.ฝ่ายการ) ได้ชุดข้อมูลก็แจกกันไปลองใส่  Code  และฝึกตีความกัน  ช่วงนั้นเตรียมรับการเยี่ยมสำรวจจาก พรพ. งานจะยุ่งกันถ้วนหน้า    เราจึงใช้วิธี นัดเลี้ยงข้าวกลางวันและพูดคุยข้อมูลงานวิจัยช่วงกินข้าวนี่เอง    ยอมรับว่ารับความรู้จากอาจารย์มา ซัก50%   เวลานำมาถ่ายทอดคิดดูก็แล้วกัน  จะเหลือกี่%    แต่อย่างน้อยทีม7-8คนก็ได้ร่วมในกระบวนการ    ได้รู้ได้เห็นบ้าง เข้าใจงานวิจัยขึ้นบ้าง    มีส่วนร่วมมากบ้างน้อยบ้าง  บางคนก็แค่เพียงฟังความก้าวหน้างาน   ลองให้ทุกคนประเมินผลดูก็ดีนะ ….. ทุกคนเห็นดีเห็นงามด้วย (แต่จะเข้าใจมากน้อยไม่รู้เหมือนกันกัน รู้แต่ว่าทุกคนบอกว่าดี    วันที่8-9.ย ที่ผ่านมาพาทีมงานที่คัดเลือกแล้วว่าเก็บประเด็นเก่งมาให้ดูบรรยากาศ   พอเสร็จประชุมถามว่ารู้สึกอย่างไร  น้อง2 คนบอกว่า  ตื่นเต้นมาก ๆ อยากรีบกลับไปทำวิจัย  น้องทีมงานพูดว่า.. ฟังมา2วัน อยากทำวิจัยหลายเรื่อง เราต้องทำได้  
พี่เรียนอะไรมาหนูอยากอ่านเอามาให้หนูอ่านด้วย   เฮ้อ..มิเสียแรง ความสำเร็จที่ได้
ในตอนนี้คือ มีทีมงาน2คน ตื่นเต้น ๆ   แค่นี้ก็สุขใจมากพอแล้ว  พี่ยารอรับ Concept paper จากเชียงกลางอีก 2-3 ชิ้นแน่นอนค่ะ

ความรู้สึกกับผลงานวิจัยชิ้นแรกในชีวิต

คำชมจากอาจารย์ผู้วิพากษ์ที่เวทีระดับชาติ (แอมบาสเดอร์ ที่บอกว่า..งานวิจัยเราคือองค์ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงาน ทำให้มีกำลังใจมากขึ้น   ผู้วิพากษ์ฝากให้ถอดบทเรียนให้ละเอียดนะ   จะได้เป็นข้อมูลเพื่อการเรียนรู้แก่ตัวเองและผู้อื่น    เฮ้อดูเหมือนเราจะสอบผ่านนะเนี้ย   แต่เหนือสิ่งอื่นใดความสุขที่อิ่มเอมอยู่ในใจ ก็คือรอยยิ้มของคนที่เค้าลดความอ้วนได้  เห็นเค้ายิ้มอย่างมีความหวังเราก็สุขใจ   ถามถึงความมั่นใจการทำวิจัยเชิงคุณภาพก็ยังไม่เต็ม100%อยู่ดี   มันต้องมีชิ้นต่อไปเพื่อความมั่นใจยิ่งขึ้น
สิ่งที่เหลือคือ 31..47  ต้องมีผลงานวิชาการที่เป็นรูปเล่มนำเสนอ   บอก
ตัวเองว่าต้องพยายามให้มากขึ้น ๆ    เพื่อจะได้ไม่เสียชื่อลูกศิษย์ อาจารย์
ทวีศักดิ์ นพเกษร   อาจารย์พี่เลี้ยง อาจารย์ นิวัต  อุณฑพันธุ์   รศ.สมมาตร
พรมภักดี  อาจารย์อดุลย์ ที่ปรึกษาภาคสนาม  และขอบคุณเครือข่ายชมรมพยาบาลชุมชนแห่งประเทศไทยผู้ให้โอกาสเรา   ขอบคุณทุกท่านที่ทำให้มิตรภาพอันงดงามระหว่างกระบวนการเรียนรู้ใน1ปีทีผ่านมา  เป็นช่วงเวลา
ที่มีค่ามากมายเหลือเกิน  ได้พบคำว่าเพื่อน กับคำว่ามิตรภาพ และองค์ความรู้ …มันเกินคำบรรยายจริง ๆคำชมจากอาจารย์ผู้วิพากษ์ที่เวทีระดับชาติ แอมบาสเดอร์ที่บอกว่างานวิจัยเราคือองค์ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงาน ทำให้มีกำลังใจมากขึ้น   ผู้วิพากษ์ฝากให้ถอดบทเรียนให้ละเอียดนะ   จะได้เป็นข้อมูลเพื่อการเรียนรู้แก่ตัวเองและผู้อื่น    เฮ้อดูเหมือนเราจะสอบผ่านนะเนี้ย   แต่เหนือสิ่งอื่นใดความสุขที่อิ่มเอมอยู่ในใจ ก็คือรอยยิ้มของคนที่เค้าลดความอ้วนได้  เห็นเค้ายิ้มอย่างมีความหวังเราก็สุขใจ   ถามถึงความมั่นใจการทำวิจัยเชิงคุณภาพก็ยังไม่เต็มอยู่ดี   มันต้องมีชิ้นต่อไปเพื่อความมั่นใจยิ่งขึ้น สิ่งที่เหลือคือ ธคต้องมีผลงานวิชาการที่เป็นรูปเล่มนำเสนอ   บอกตัวเองว่าต้องพยายามให้มากขึ้น ๆ    เพื่อจะได้ไม่เสียชื่อลูกศิษย์ อาจารย์ ทวีศักดิ์ นพเกษร   อาจารย์พี่เลี้ยง อาจารย์ นิวัต  อุณฑพันธุ์   รศสมมาตร พรมภักดี  อาจารย์อดุลย์ ที่ปรึกษาภาคสนาม  และขอบคุณเครือข่ายชมรมพยาบาลชุมชนแห่งประเทศไทยผู้ให้โอกาสเรา   ขอบคุณทุกท่านที่ทำให้มิตรภาพอันงดงามระหว่างกระบวนการเรียนรู้ในปีทีผ่านมา  เป็นช่วงเวลาที่มีค่ามากมายเหลือเกิน  ได้พบคำว่าเพื่อน กับคำว่ามิตรภาพ และองค์ความรู้ …มันเกินคำบรรยายจริง ๆ

 

คำชมจากอาจารย์ผู้วิพากษ์ที่เวทีระดับชาติ แอมบาสเดอร์ที่บอกว่างานวิจัยเราคือองค์ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงาน ทำให้มีกำลังใจมากขึ้น   ผู้วิพากษ์ฝากให้ถอดบทเรียนให้ละเอียดนะ   จะได้เป็นข้อมูลเพื่อการเรียนรู้แก่ตัวเองและผู้อื่น    เฮ้อดูเหมือนเราจะสอบผ่านนะเนี้ย   แต่เหนือสิ่งอื่นใดความสุขที่อิ่มเอมอยู่ในใจ ก็คือรอยยิ้มของคนที่เค้าลดความอ้วนได้  เห็นเค้ายิ้มอย่างมีความหวังเราก็สุขใจ   ถามถึงความมั่นใจการทำวิจัยเชิงคุณภาพก็ยังไม่เต็มอยู่ดี   มันต้องมีชิ้นต่อไปเพื่อความมั่นใจยิ่งขึ้น สิ่งที่เหลือคือ ธคต้องมีผลงานวิชาการที่เป็นรูปเล่มนำเสนอ   บอกตัวเองว่าต้องพยายามให้มากขึ้น ๆ    เพื่อจะได้ไม่เสียชื่อลูกศิษย์ อาจารย์ ทวีศักดิ์ นพเกษร   อาจารย์พี่เลี้ยง อาจารย์ นิวัต  อุณฑพันธุ์   รศสมมาตร พรมภักดี  อาจารย์อดุลย์ ที่ปรึกษาภาคสนาม  และขอบคุณเครือข่ายชมรมพยาบาลชุมชนแห่งประเทศไทยผู้ให้โอกาสเรา   ขอบคุณทุกท่านที่ทำให้มิตรภาพอันงดงามระหว่างกระบวนการเรียนรู้ในปีทีผ่านมา  เป็นช่วงเวลาที่มีค่ามากมายเหลือเกิน  ได้พบคำว่าเพื่อน กับคำว่ามิตรภาพ และองค์ความรู้ …มันเกินคำบรรยายจริง ๆ

 

คำชมจากอาจารย์ผู้วิพากษ์ที่เวทีระดับชาติ แอมบาสเดอร์ที่บอกว่างานวิจัยเราคือองค์ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงาน ทำให้มีกำลังใจมากขึ้น   ผู้วิพากษ์ฝากให้ถอดบทเรียนให้ละเอียดนะ   จะได้เป็นข้อมูลเพื่อการเรียนรู้แก่ตัวเองและผู้อื่น    เฮ้อดูเหมือนเราจะสอบผ่านนะเนี้ย   แต่เหนือสิ่งอื่นใดความสุขที่อิ่มเอมอยู่ในใจ ก็คือรอยยิ้มของคนที่เค้าลดความอ้วนได้  เห็นเค้ายิ้มอย่างมีความหวังเราก็สุขใจ   ถามถึงความมั่นใจการทำวิจัยเชิงคุณภาพก็ยังไม่เต็มอยู่ดี   มันต้องมีชิ้นต่อไปเพื่อความมั่นใจยิ่งขึ้น สิ่งที่เหลือคือ ธคต้องมีผลงานวิชาการที่เป็นรูปเล่มนำเสนอ   บอกตัวเองว่าต้องพยายามให้มากขึ้น ๆ    เพื่อจะได้ไม่เสียชื่อลูกศิษย์ อาจารย์ ทวีศักดิ์ นพเกษร   อาจารย์พี่เลี้ยง อาจารย์ นิวัต  อุณฑพันธุ์   รศสมมาตร พรมภักดี  อาจารย์อดุลย์ ที่ปรึกษาภาคสนาม  และขอบคุณเครือข่ายชมรมพยาบาลชุมชนแห่งประเทศไทยผู้ให้โอกาสเรา   ขอบคุณทุกท่านที่ทำให้มิตรภาพอันงดงามระหว่างกระบวนการเรียนรู้ในปีทีผ่านมา  เป็นช่วงเวลาที่มีค่ามากมายเหลือเกิน  ได้พบคำว่าเพื่อน กับคำว่ามิตรภาพ และองค์ความรู้ …มันเกินคำบรรยายจริง ๆ

 

ประสบการณ์การทำงานวิจัยในที่ทำงานจริง   ชีวิตจริงทุกคนก็งานล้นมือ  หาเวทีคุยกันยากมากๆ   เวทีสุดท้ายทีเก็บข้อมูลก็มีการสนทนากลุ่มปิดโครงการ ให้ทีมเป็นผู้จดบันทึก คน ครั้ง  มีคนนำสนทนา คน   ทำกลุ่มอยู่คืน   ที่นี้ก็แบ่งกันไปเอาข้อมูลที่แต่ละคนได้มอบให้คนไปดูแล้ว  เอาข้อมูลของแต่ละคนมาเชื่อมต่อกัน  จากนั้นก็ฝึกใส่ตอนจัดชุดข้อมูลเราทำไม่เป็นต้องอาศัยทีมงานที่เก่ง หนฝ่ายการได้ชุดข้อมูลก็แจกกันไปลองใส่ และฝึกตีความกัน  ช่วงนั้นเตรียมรับการเยี่ยมสำรวจจาก พรพงานจะยุ่งกันถ้วนหน้า    เราจึงใช้วิธี นัดเลี้ยงข้าวกลางวันและพูดคุยข้อมูลงานวิจัยช่วงกินข้าวนี่เอง    ยอมรับว่ารับความรู้จากอาจารย์มา ซักเวลานำมาถ่ายทอดคิดดูก็แล้วกัน  จะเหลือกี่แต่อย่างน้อยทีมคนก็ได้ร่วมในกระบวนการ ได้รู้ได้เห็นบ้าง เข้าใจงานวิจัยขึ้นบ้างมีส่วนร่วมมากบ้างน้อยบ้าง  บางคนก็แค่เพียงฟังความก้าวหน้างาน   ลองให้ทุกคนประเมินผลดูก็ดีนะ ทุกคนเห็นดีเห็นงามด้วย แต่จะเข้าใจมากน้อยไม่รู้เหมือนกันกันรู้แต่ว่าทุกคนบอกว่าดี    วันที่พย ที่ผ่านมาพาทีมงานที่คัดเลือกแล้วว่าเก็บประเด็นเก่งมาให้ดูบรรยากาศ   พอเสร็จประชุมถามว่ารู้สึกอย่างไร  น้องคนบอกว่า  ตื่นเต้นมาก ๆ อยากรีบกลับไปทำวิจัย  น้องทีมงานพูดว่าเฮ้อมิเสียแรง ความสำเร็จที่ได้ในตอนนี้คือ มีทีมงานคน ตื่นเต้น ๆ   แค่นี้ก็สุขใจมากพอแล้ว  พี่ยารอรับ จากเชียงกลางอีก ชิ้นแน่นอนค่ะ

 

 

โครงการให้ความช่วยเหลือการทำแผนงานพหุภาคีควบคุมป้องกันโรคเอดส์ มณฑลยูนนานโครงการให้ความช่วยเหลือการป้องกันโรคเอดส์ กองทัพกัมพูชาประเมินโครงการ  ในการควบคุมป้องกันโรคเอดส์กองทัพกัมพูชาโครงการประเมินความเสี่ยง การแพร่กระจายเชื้อเอดส์ ในเจ้าหน้าที่ สหประชาชาติ และกองกำลังรักษาสันติภาพ ติมอร์ ตะวันออก

 

พี่ยาโทรมาว่าจะให้เป็นพิธีกรงานประชุมวิชาการ พยทีแอมบาสเดอร์ กทมเราก็ถามพี่ยาและอ้อยว่ามั่นใจแล้วหรืองานมันใหญ่นะ  กลัวทำงานเค้าไม่ดีเสนอชื่อคนเก่งๆ  พี่ยาก็ไม่เอา   ได้แต่บอกว่า จินนะแหล่ะ  จินทำได้   เฮ้อทำได้แต่กลัวว่าจะไม่ดีนะสิ    ช่วงนั้นงานที่โรงพยาบาลยุ่งมากต้องรีบเคลียตัวเอง  แต่ทีไม่ลืมคือหยิบหนังสือคู่มีการเป็นพิธีกรติดไปด้วย เล่ม     ออกเดินทางจาเชียงกลาง วันที่พยพอโมงวันที่พยก็เริ่มงานกันเลย   เครียดนะเนี้ย วิทยากรเปลี่ยน ไปเปลี่ยน มา  ประธานก็เปลี่ยนจนวินาทีสุดท้าย   เคยแต่ทำหน้าทีพิธีกรรายการแสดงในงานส้มสีทองซุ้มสาธารณสุข กับงานโรงพยาบาลบ้างนิดหน่อย   ทำในช่วงที่เด็กใหม่ไม่เกิด พอมีคนทำเป็นเราก็ทิ้งมามาเป็นปีแล้ว     พี่ๆและน้องๆ ในทีมวิจัยพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า จินตนาทำได้  เอ้าได้ก็ได้   ทำสคริบท่องทั้งคืน ท่องซ้ำแล้วซ้ำอีก   โดยเฉพาะคำว่า รัฐประศาสนศาตร์ต้องวงเล็บเป็นคำอ่าน รัดทะประสาสะนะสาดกลัวพูดไม่ได้ขำตัวเองเหมือนกันโดยเฉพาะแนะนำพันเอก นายแพทย์ ทวีศักดิ์ นพเกษร   อาจารย์เราเราต้องท่องสคริบให้เนียน    เพื่อทำให้คนได้ทราบประวัติอาจารย์  ที่เราภาคภูมิใจนำเสนอซึ่งท่านจบ จากคณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ได้รับวุฒิบัตร สาขา  โสต  นาสิก  ลาริงซ์   จบหลักสูตร ประสบการณ์ การเป็นผู้เชี่ยวชาญ และที่ปรึกษา งานระดับโลกคือโครงการให้ความช่วยเหลือการทำแผนงานพหุภาคีควบคุมป้องกันโรคเอดส์ มณฑลยูนนานโครงการให้ความช่วยเหลือการป้องกันโรคเอดส์ กองทัพกัมพูชาประเมินโครงการ  ในการควบคุมป้องกันโรคเอดส์กองทัพกัมพูชาโครงการประเมินความเสี่ยง การแพร่กระจายเชื้อเอดส์ ในเจ้าหน้าที่ สหประชาชาติ และกองกำลังรักษาสันติภาพ ติมอร์ ตะวันออก พี่ยาโทรมาว่าจะให้เป็นพิธีกรงานประชุมวิชาการ พยทีแอมบาสเดอร์ กทมเราก็ถามพี่ยาและอ้อยว่ามั่นใจแล้วหรืองานมันใหญ่นะ  กลัวทำงานเค้าไม่ดีเสนอชื่อคนเก่งๆ  พี่ยาก็ไม่เอา   ได้แต่บอกว่า จินนะแหล่ะ  จินทำได้   เฮ้อทำได้แต่กลัวว่าจะไม่ดีนะสิ    ช่วงนั้นงานที่โรงพยาบาลยุ่งมากต้องรีบเคลียตัวเอง  แต่ทีไม่ลืมคือหยิบหนังสือคู่มีการเป็นพิธีกรติดไปด้วย เล่ม     ออกเดินทางจาเชียงกลาง วันที่พยพอโมงวันที่พยก็เริ่มงานกันเลย   เครียดนะเนี้ย วิทยากรเปลี่ยน ไปเปลี่ยน มา  ประธานก็เปลี่ยนจนวินาทีสุดท้าย   เคยแต่ทำหน้าทีพิธีกรรายการแสดงในงานส้มสีทองซุ้มสาธารณสุข กับงานโรงพยาบาลบ้างนิดหน่อย   ทำในช่วงที่เด็กใหม่ไม่เกิด พอ
คำสำคัญ (Tags): #พยาบาลชุมชน
หมายเลขบันทึก: 17790เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2006 19:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 16:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
ยินดีด้วยครับ  กับความภาคภูมิใจ (เขียนได้ดีนะ น่าติดตามอ่าน)

คิดถึงบรรยากาศเก่าๆจังเลยค้า ณ หนองวัวซอ กับงานวิจัยชิ้นแรกๆของพวกเราพยาบาลชุมชน :-)

ขอบคุณมาก ที่ติดตาม

แม่สรวย เชียงราย นักเรียนรุ่น 2.5

เข้ามาอ่านแล้วพบว่า ตัวเองยังระลึกถึงบรรยากาศการเข้าร่วมการอบรมเสมอ เป็นการเข้าร่วมการอบรมที่มีความสุขที่สุด เหมือนการไปพบเพื่อน พี่ น้อง จริงๆ ยังเคยนึกเลยว่า เหมือนโต๊ะโต๊ะจังไปโรงเรียนโทโมเอ เลย เพราะตอนที่อาจารย์ปู่สอนแล้วทำให้รู้ซึ้งถึงคำว่า active learning เป็นอย่างไร

แล้วมีเรื่องขอถามพี่สุพัฒน์ ว่าตอนนี้มีคนอยากได้หนังสือ เกี่ยวกับงานวิจัยเชิงคุณภาพของอาจารย์ปู่ทั้ง 2 เล่มที่ชมรมยังมีอยู่ไหมคะ จะซื้อที่ไหนดี วานบอกหน่อยคะ

อ้อ webชมรมเข้าไม่ได้คะ

ขอขอบคุณล่วงหน้าคะ

ติดต่อผมได้ผ่าน Email ข้างต้นนะครับ ตอนนี้ชมรมจะจัดประชุมวิชาการ 19-21 มกราคม 2552 ที่ อมารีแอร์พอร์ต ดอนเมือง กรุงเทพ ส่วนหนังสือของอาจารย์มีขายที่ศูนย์หนังสือจุฬา หรือติดต่อผ่านพี่จรรยาวัฒน์ รพ.สูงเนิน นครราชสีมา ส่วนเวบไซต์ของชมรม ติดต่อที่ http://sites.google.com/site/thainurseclub/

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท