แนวทางการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาแนวใหม่


ยุทธศาสตร์การพัฒนาครูแนวใหม่

แนวทางการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
1.  หลักการ การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา

          1.1  การพัฒนาต้องก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ตัวผู้เรียน
          1.2  การพัฒนาต้องเกิดจากความต้องการของครูและบุคลากรทางการศึกษา
          1.3  การพัฒนาต้องมุ่งเน้นลักษณะ Site Based Development หรือ School Based Development (SBD)
          1.4  การพัฒนาต้องมีหลากหลายรูปแบบให้เลือกตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล
          1.5  การพัฒนาต้องสอดคล้องกับภารกิจและหน้าที่ที่ปฏิบัติของครูและบุคลากรทางการศึกษา
          1.6  การพัฒนาต้องดำเนินการในรูปของเครือข่ายกระจายทั่วประเทศ
          1.7  การพัฒนาต้องสอดคล้องกับนโยบายและข้อกำหนดของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
          1.8  การพัฒนาต้องกระทำอย่างทั่วถึงและครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทั้งในและนอกกระทรวง- ศึกษาธิการ ภายใต้ข้อจำกัดด้านงบประมาณ
2.  กลุ่มเป้าหมาย  ครู และบุคลากรทางการศึกษาของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนประมาณ  640,000 คน   ได้แก่
          2.1  หน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ประกอบด้วย
                   -  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
                   -  สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
                   -  สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
                   -  สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
                   -  สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
                   -  หน่วยงานในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ
          2.2  หน่วยงานนอกสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ  ประกอบด้วย
                   -  สำนักงานการศึกษากรุงเทพมหานคร
                   -  สำนักงานการศึกษาเมืองพัทยา
                   -  สำนักงานการศึกษาส่วนท้องถิ่น
                2.3  หน่วยงานในกำกับกระทรวงศึกษาธิการ ประกอบด้วย
                   -  คุรุสภา
                   -  โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
3.  รูปแบบและวิธีการพัฒนา
          3.1  การพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษา มุ่งเน้นให้มีสมรรถนะตามมาตรฐานตำแหน่ง และมาตรฐานวิชาชีพทั้งสมรรถนะหลัก (Core Competency)   สมรรถนะการปฏิบัติงานในหน้าที่ (Functional Competency) และสมรรถนะเฉพาะตามกลุ่มสาระ (Specificational Competency)  ตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด
          3.2  รูปแบบของการพัฒนามุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายที่มีคุณภาพตามมาตรฐานที่ สคบศ. กำหนด ให้กระจายอยู่ทั้งประเทศ เพื่อความสะดวกในการเข้ารับการพัฒนาของครู และบุคลากรทางการศึกษา ทั้งที่เป็นองค์กรเครือข่าย บุคคลเครือข่ายและเครือข่ายทางไกล
          3.3  วิธีการพัฒนาต้องมีความหลากหลาย สอดคล้องกับความต้องการพัฒนาของครู และบุคลากรทางการศึกษา แต่มุ่งเน้นวิธีการพัฒนาที่ใช้โรงเรียน/หน่วยงานเป็นฐาน (School Based  Development/Insite Based  Development)  เป็นสำคัญ

4.  การประเมินการพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษา
     
4.1  การประเมินก่อนการพัฒนา มีจุดประสงค์เพื่อให้ครู และบุคลากรทางการศึกษา ได้ทราบถึงความต้องการและความจำเป็นของตนที่จะต้องเข้ารับการพัฒนาแล้วจัดทำแผนพัฒนาตนเอง (Individual Development Plan : ID-Plan)  โดยใช้ข้อกำหนดสมรรถนะ (Competency)  ของครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่ ก.ค.ศ. กำหนดเป็นเป้าหมายในการประเมิน สำหรับกระบวนการและขั้นตอนการประเมินให้ดำเนินการ ดังนี้

ผังมโนทัศน์การประเมินเพื่อการพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา

4.2 การประเมินหลังการพัฒนา มีจุดประสงค์เพื่อติดตามผลการนำความรู้ และประสบการณ์            ที่ได้รับจากการพัฒนาของครู และบุคลากรทางการศึกษา ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนหรือในภารกิจที่ตนเองรับผิดชอบ ดังนั้น การประเมินในกรณีนี้ จึงมี 2 ลักษณะ คือ การประเมินภายในและการประเมินภายนอก
                   4.2.1 การประเมินภายใน มีจุดประสงค์เพื่อติดตามดูร่องรอย ขั้นตอนและพฤติกรรม        การสอนหรือการทำงานของครู และบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หรือประสิทธิผลของงานที่เกิดขึ้น โดยผู้บริหารสถานศึกษา/หน่วยงาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หน่วยงาน ต้นสังกัด และ สคบศ.
                   4.2.2 การประเมินภายนอก มีจุดประสงค์เพื่อติดตามคุณภาพและประสิทธิภาพของสถานศึกษา/หน่วยงานทางการศึกษาในภาพรวม โดยหน่วยงานต้นสังกัดและองค์กรภายนอก เช่น สมศ.

     สามารถอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้ที่ http://www.nidtep.go.th/plan

    "หากท่านมีข้อเสนอแนะหรือข้อคิดเห็นใด ๆ โปรดแสดงความคิดเห็นของท่านผ่าน Blog นี้ เพื่อประโยชน์ในการแสวงหารูปแบบการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป"

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 17754เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2006 15:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 15:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
เรือนน้อย เสียงสนั่น

เรียน คุณวีระชัย จิวะชาติ

อยากทราบว่าบุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามมาตรา 38 ค (2) จะมีการพัฒนาหรือไม่ และช่วงเวลาใหนคะ พยายามค้นหาข้อมูลการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามมาตรา 38 ค (2) เพื่อทำงานส่งอาจารย์แต่หาไม่เจอ ขอความอนุเคราะห์คุณวีระชัย ช่วยส่งข้อมูลให้ด้วยค่ะ ขอขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ

การพัฒนาครู บุคลากรทางการศึกษา นับว่าเป็นสิ่งที่ดีและสมควรทำอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยการจัดทำโครงการต่างๆที่มีผู้รับผิดชอบกำกับ นิเทศ ติดตามอย่างจริงจังและต่อเนื่อง มิใช่เป็นโครงการไม้หลักปักขี้เลน ครุ บุคลากรฯมีทั้งที่เป็น X และ Y เมื่อเขาได้รับการตองสนองความต้องการในลำดับขั้นหนึ่งแล้ว พวกเขาย่อมมีความต้องการในลำดับขั้นต่อไปอีกอย่างแน่นอน ตามหลักการของ มาสโลว์ หากมีผู้เกี่ยวข้อง หน่วยงาน องค์กร ที่รับผิดชอบให้ขวัญ กำลังใจ ส่งเสริมสนับสนุนพวกเขาอย่างจริงจัง จริงใจและต่อเนื่องแล้ว แน่นอนที่สุด ครุ บุคลากรฯเหล่านั้นย่อมมีการพัฒนาตนเองอย่างจริงจังและต่อเนื่องเช่นกัน ยกตัวอย่างวิทยฐานะ เมื่อพวกเขาได้รับในระดับหนึ่งแล้ว ก็ขวยขวายที่จะขยับตนเองขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง แม้จะแสนยากเข็ญ ครู บุคลากรของเราตอนนี้ก็ชักชวน ชี้นำกันศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น หากมีผู้เกี่ยวข้อง หน่วยงาน องค์กรมองเห็นความสำคัญ มอบสิ่งดีๆขวัญ กำลังใจแก่พวกเขา แน่นอนพวกเขาจะเป็นแกนนำที่ดี ในการพาเพื่อนๆครู บุคลากรอีกมากมายหลายชีวิต พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ทุกอย่างหากเป็นเชิงประจักษ์ดังที่กล่าวอ้างกันมา ท่านก็จะได้เห็นสิ่งที่ดีๆเป็นเชิงประจักษ์เกิดขึ้นมาเช่นกัน อัศจรรย์ย่อมเกิดขึ้นจริงฉันใด ขวัญและกำลังใจก็เป็นสิ่งอัศจรรย์ที่จะทำให้เกิดการพัฒนาฉันนั้น ขอบคุณที่ให้โอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้

รังสรรค์ สุทารัมย์

การอบรมรครูในขณะนี้ยังไม่ได้ดำเนินการตามหลักการพัฒนาครูข้อ 1 การพัฒนาต้องก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ตัวผู้เรียน ครู ผู้อำนวยการโรงเรียน ผู้อำนวยการเขพื้นที่การศึกษาได้พัฒนานเองเลื่อนวิทยฐานะแต่ onet ยังต่ำอยู่/ นักเรียนทะเลาะกันหรือวัดการเปลี่ยนแปลงที่ััััััััตัวนักเรียนตรงไหน) น่าจะมีการศึกษาเกี่ยวกับปัญหานี้ทำไม่หลักการพัฒนาครู 8 ข้อ จึงไม่ได้ผล

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท