ม.วลัยลักษณ์กับการจัดการความรู้แก้จนเมืองนคร


การจัดการความรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายวิสัยทัศน์เมืองนครตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงให้น้ำหนักกับการจัดการความรู้แนวขวาง(บูรณาการ)เพื่อสอดประสานกับเกณฑ์การจัดการความรู้แนวดิ่ง ของหน่วยงานและกพร.

คณะทำงานยุทธศาสตร์"อุทยานการศึกษาเฉลิมพระเกียรติ ม.วลัยลักษณ์"(อยู่ในระหว่างจัดตั้ง)

มีแนวทางในการทำให้ทุกอณูของพื้นที่ในเขตภาคใต้ตอนบนโดยเฉพาะในจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นพื้นที่เพื่อการเรียนรู้(ศึกษา) มิใช่ภายในขอบเขตของสำนักงานอุทยานการศึกษาหรือภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ประธานคณะทำงานคือรองอธิการบดีฝ่ายวางแผนสนใจเข้าร่วมประชุม"จัดการความรู้แก้จนเมืองนคร"ในวันที่7มี.ค.ด้วย

เพราะการศึกษาได้แยกตัวออกจากชีวิต/ชุมชน จนกลายเป็นสิ่งที่จับต้องได้ยาก(มีฐานันดร)

การแปรความหมายเรื่องการศึกษาให้ครอบคลุมวิถีชีวิตของผู้คน ให้เป็นเรื่องปกติของวิถีการดำเนินชีวิตงเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งเป็นหัวใจของการปฏิรูปการศึกษา

การเข้ามาเรียนรู้และตั้งความหวังที่จะเชื่อมโยงการเรียนรู้ระหว่างศาสตร์สากลและภูมิปัญญา   ท้องถิ่นของม.วลัยลักษณ์ตามวิสัยทัศน์ "เป็นหลักในถิ่น เป็นเลิศสู่สากล" เป็นแนวทางน่าสนใจ  ซึ่งต้องอาศัยแรงบันดาลใจ จินตนาการ และความมุ่งมั่น โดยใช้ การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือ
การทำเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องใช้ความรู้(ปฏิบัติ)มากมาย ต้องผสานกำลังจากทุกด้าน          ต้องจัดการความรู้ภายใน ทั้งเรื่องเทคนิค เจตคติและอารมณ์ความรู้สึกเพื่อไปสู่เป้าหมายหรือวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยซึ่งอ.สมนึกในฐานะรองอธิการบดีฝ่ายบริหารกำลังดำเนินการอยู่

การจัดการความรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายวิสัยทัศน์เมืองนครตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงให้น้ำหนักกับการจัดการความรู้แนวขวาง(บูรณาการ)เพื่อสอดประสานกับเกณฑ์การจัดการความรู้แนวดิ่ง   ของหน่วยงานและกพร.

หมายเลขบันทึก: 17745เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2006 12:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท