วิจัยในงานห้องสมุด


วิจัยในห้องสมุด คือการตามหาความจริงของห้องสมุด

จากการบรรยายวันที่ 2 มีนาคม 2549 ที่ผ่านมาโดยดร รัตนะ บัวสนธ์ เรื่อง " การเขียนโครงการวิจัยอย่างไรให้ได้รับการพิจารณา " ที่รับปากพี่วันเพ็ญทาง blog ไว้ว่าจะมาเขียนเล่าให้คนที่ไม่ได้เข้าฟัง บางอย่างอาจจะเหมือนเอามะพร้าวห้าวมาขายสวนให้กับผู้รู้ ก็ต้องขออภัยด้วยนะคะ ...

จากการสรุป Note อจ รัตนะกล่าวว่า  งานวิจัยในหน่วยงาน มีคำที่ใช้กันมากๆ อยู่ 2 คำ คือ

       1. วิจัยสถาบัน หมายถึงสถาบันอุดมศึกษาหรือวิจัยในหน่วยงานของมหาวิทยาลัยนั่นเอง เรียกว่า Institutional Research  

       2. วิจัยในที่ทำงาน หรือ Workplace Research    นอกจากนี้มีอีกคำที่ใช้ในโรงเรียนคือ วิจัยในชั้นเรียน

สำหรับห้องสมุด หรือวิจัยในห้องสมุด วัตถุประสงค์หลักก็คือ การค้นหาเกี่ยวกับความจริงของห้องสมุด เพื่อพัฒนาภารกิจของห้องสมุดให้บรรลุเป้าหมาย

ยกตัวอย่างการค้นหาภารกิจหนึ่งที่สำคัญคือ  วิจัยภารกิจเฉพาะงานหรือการวิจัยตาม Job description  ซึ่งปัญหาของการวิจัยในที่ทำงานนั้น ขึ้นอยู่กับภารกิจ นโยบายและวิสัยทัศน์  ภารกิจนั้น เกี่ยวกับผู้ปฏิบัติงานโดยตรง ส่วน นโยบายและวิสัยทัศน์นั้น เกี่ยวข้องกับผู้บริหารโดยตรง

สำหรับประเด็นหรือลักษณะของงานวิจัยที่สำคัญ  สามารถนำมาใช้ในงานวิจัยของห้องสมุด มีอยู่ 2 ลักษณะคือ

1. Job Analysis หรือการวิเคราะห์งาน  ซึ่งมีประโยชน์ต่อการปรับปรุงภาระงาน การโยกย้ายปรับเปลี่ยนบุคลากร การสรรหาบุคลากรและการพัฒนาห้องสมุด

               แนวคิดการวิเคราะห์งาน ได้แก่

     1. ประชุม ระดมสมอง     

     2. ศึกษาดูงาน  อาจศึกษาดูงานจากตัวอย่างหรือต้นแบบห้องสมุดอื่น ( Benchmark)

     3. สำรวจความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ( Stakeholder) ได้แก่

        1. ผู้จัดหา ผู้กุมนโยบายหรืองบประมาณ  (Agency )

        2. ผู้ปฏิบัติงาน ( Benificaries )

        3. ผู้ใช้บริการ ( Victim )

     4. วิเคราะห์เอกสาร Document analysis

                  โดยวิเคราะห์ SWOT /TOWS  analysis  คำบรรยายภาระงาน Job description อาจรวบรวมเป็นรายงานการวิเคราะห์ภาระงาน หรือ Executive Report บทสรุปของผู้บริหาร เพื่อเสนอเป็นเชิงนโยบายต่อไป     

                   ส่วนเทคนิคในการให้ได้ข้อมูล อาจใช้วิธี 1. การประชุม ระดมสมอง 2. ศึกษาดูงาน ดูตัวอย่างจากที่อื่น  3. สำรวจความคิดเห็น อาจโดยการสุ่มตัวอย่างก็ได้

2. วิจัยติดตามการประเมินภารกิจ  Follow up studies

      ตัวอย่างฝ่ายวิเคราะห์หมวดหมู่หนังสือ  มีหน้าที่อะไรบ้าง ได้ผลการทำงานอย่างไร

       - ผลการปฏิบัติงานช้า หรือเร็ว มีอุปสรรคอย่างไรบ้าง

       - กำหนดเป้าหมาย เช่น กี่เล่ม กี่ชื่อเรื่อง/เดือน

       - อาจเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์หรือสำรวจเอกสารลงรับ

         ฝ่ายจัดซื้อ  อาจใช้วิธีสอบถามจากหน่วยงานว่าซื้อหนังสือตรงตามความต้องการของสาขาวิชาหรือไม่ เก็บข้อมูลแบบสอบถามโดยนัดวันไปรับเพื่อป้องกันข้อมูลหล่นหาย

      * ส่วนนี้ฝ่ายพัฒนาและวิเคราะห์ฯ ได้เตรียมข้อมูลสถิติ รวมทั้ง KPI สำหรับงานไว้ประกอบการประชุมวิเคราะห์และระดมสมองแล้วค่ะ *

3.  วิจัยเชิงประเมินโครงการ

    ประเมินโครงการกิจกรรมที่หน่วยงานจัด โดยดูจาก 3 ประเด็นคือ

     1. ประสิทธิผล Effectiveness  ว่าบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่

     2. ประสิทธิภาพ Efficiency  ประสิทธิผล+ การใช้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด (Outcome)ซึ่งก่อนที่จะมีประสิทธิภาพนี้ จะต้องเกิดประสิทธิผลก่อนอันดับแรก

     3. ผลกระทบ  ทั้งผลกระทบทางบวกและทางลบ  ผลกระทบทางตรงและทางอ้อม

       อจ รัตนะ ท่านได้ยกตัวอย่าง โครงการอบรมคอมพิวเตอร์ฯ  การประเมินโครงการต้องวัดว่า

             1. ผู้อบรมสามารถใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์หรือไม่ ( ประสิทธิผล )

             2.  สามารถใช้ทรัพยากรในการดำเนินงานอย่างมีประโยชน์สูงสุดหรือไม่ คุ้มค่าหรือไม่ทั้งเงิน อุปกรณ์และคน ( ประสิทธิภาพและ Outcome อาจวัดว่าผู้เข้าอบรมสามารถกลับไปถ่ายทอดต่อหรือใช้งานต่อได้มากน้อยเพียงใด )   

             3. ผลกระทบหรือ feedback ซึ่งต้องตามไปดูระยะยาว

      

           นอกจากนี้อจ รัตนะ ยังแนะข้อคิดว่า  การทำวิจัยที่เหมาะสมที่สุดคือศึกษาเกี่ยวกับงานที่ตนเองทำหรือปฏิบัติ เพราะเป็นงานที่เรารู้ และสามารถนำมาใช้ในการปรับปรุงพัฒนาการทำงานของตนเองได้

 

 

หมายเลขบันทึก: 17622เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2006 11:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 15:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ให้กำลังใจนะนู๋พุก  วันนี้พี่มา Key new record หนังสือบริจาคก็ทำได้หลาย bib อย่างน้อย อจ. ใน มน. ท่านก็จะได้เห็นชื่อท่านที่ OPAC เราคงต้องช่วยกันทำให้ห้องสมุดเราเจริญก้าวหน้าต่อไปนะจ๊ะ

ขอบคุณค่ะ ปุ๊ก ที่นำมาลงให้ได้เพิ่มความรู้เกี่ยวกับการวิจัย
  • ขอบคุณครับที่มาเล่าเรื่องดีๆ แบ่งปันความคิดให้กันฟัง

น่าสนใจดี ขอให้พวกเราช่วยกันทำวิจัยเยอะๆ จะได้พัฒนาวิชาชีพบรรณารักษ์ และวงการห้องสมุดประเทศไทยเราด้วย แล้วถ้าอยากอ่านฉบับเต็ม มีเอกสารให้ไหมคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท